ครูแนะแนว กับ การขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดฯ : จำเป็น หรือ แค่จำเป็น


มันมากกว่าแค่จำเป็น เพราะ มันคือความจำเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการต้องตระหนัก

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤศจิกายนที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง "การขับเคลื่อนทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" จัดโดยสาขาวิชาชีพครู คณะศิลปศาสตาร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาัยอิสลามยะลา งานนี้มีทั้งตัวแทนสำนักงานการศึกษาเอกชน (สช) ตัวแทนครู อาจารย์ นักการศึกษา ตลอดจนนักวิจัย

 


 

    สิ่งหนึ่งที่ผมพบจากการสัมมนาในวันนี้ คือ ปัญหาของคนพื้นที่คนพื้นที่มองภาพออกได้ชัดมากกว่าคนข้างนอกที่มองเข้ามา ฉะนั้นประเด็นของผมคือการแก้ไขปัญหาการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มิใช่ใครก็ได้ที่เข้ามาแก้ไข แต่ต้องเป็นคนที่แก้ไขอะไรก็ได้ต่างหาก และคำตอบก็คือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยมีส่วนกลางเป็นผู้สนับสนุน  หลายคนพยายามพูดถึงงบ ๒ หมื่นล้านที่จะลงมาช่วยการศึกษาในพื้นที่แต่เป็นนิมิตหมายอันดีที่เรื่องนี้ไม่มีใครพูดถึงงบก้อนนี้ในงานสัมมนาครั้งนี้ ถามว่าทำไมผมถึงคิดอย่างนั้น เพราะผมคิดว่าหลายคนก็คงคิดเหมือนผมว่า งบที่ลงมาจริงอาจช่วยการศึกษาในพื้นที่ได้จริง แต่มันจะไม่ประจักษ์ชัดจริงหากงบที่ลงมาไม่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนหรือเป็นกลไกหล่อลื่นที่แท้จริง  ความจริงเครือข่ายทางการศึกษาที่มีอยู่ในพื้นที่สามารถขับเคลื่อนการศึกษาได้อย่างดีโดยไม่ต้องรอสิ่งใดๆที่มันเหมือนจะจำเป็นเร่งด่วน

       คราวนี้ประเด็นของผมอีกประเด็นหนึ่งที่ไม่อยากให้ทุกคนละเลยหากจะขับเคลื่อนทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดายแดนภาคใต้ และ ผมก็พูดประเด็นนี้มาหลายครั้งแล้ว คือ หากจะพัฒนาการศึกษาจริงๆอย่าลืมจุดเล็กจุดน้อย อย่างครูแนะแนว (ความจริงอยากใ้ช้คำนี้มากครับของโกทูโน คือ "ครูเพื่อศิษย์")  ถามว่ามันจำเป็นหรือแค่จำเป็น ผมตอบได้เลยครับว่า "จำเป็น" เพราะคนที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ในพื้นที่แทบจะไม่มีเลยหลายต่อหลายครั้งที่ผมไปเป็นวิทยากรทางการศึกษา ต้องสวมบทครูแนะแนวไปด้วยทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาหนึ่งที่พบคือ หลายโรงเรียนพอสอบถามเด็กว่าได้สมัครสอบหรือรู้เรื่องระบบการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่หรือยัง ทั้งๆที่เขาสอบไปกันสามรอบแล้ว คำตอบ คือ ยังเลยครับ ยังเลยค่ะ ยังไม่เข้าใจเลย แล้วอย่างนี้จะไม่ให้การจัดอันดับคุณภาพทางการศึกษามันตกต่ำได้อย่างไร อย่าลืมว่าการจัดอันดับคิดจากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการทดสอบทางการศึกษาของชาติ เพราะฉะนั้นหากเด็กไม่มีความรู้ในแนวทางการศึกษา ไม่เข้าใจทิศทางที่ควรจะเป็น ขาดวัฒนธรรมเิชิงบวกให้แก่พวกเขา ไม่ต้องคิดอะไรมากก็คงมองภาพการศึกษาในพื้นที่ได้


      ฉะนั้นผมอยากให้เสียงเล็กๆเสียงนี้สะท้อนออกไปให้ไกลมากที่สุดว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่าได้ละเลยกับเรื่องนี้ ความจำเป็นของครูชำนาญเฉพาะด้านในพื้นที่ไม่ใ่มีเฉพาะคณิต วิทย์ อังกฤษ หรือ ภาษาไทย แต่ความจำเป็นที่มากกว่าแค่จำเป็น คือ ครูแนะแนว เพราะนั่น หมายถึง คนที่จะมาทำหน้าที่ "ครูเพื่อศิษย์" ได้อย่างสมบูรณ์ (เอาแบบที่เข้าใจทางการศึกษาในพื้นที่จริงๆนะครับมิใ่ช่มีแต่นโยบายสร้างฝัน) วัลลอฮฺอะลัม..


        ป.ล. วันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายน นี้จะมีโครงการปูพื้นฐานความรู้สู่มหาวิทยาลัย (ติวเอนท์ตรงและโอเน็ต) ให้แก่น้องๆเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ศูนย์เยาวชนจังหวัดยะลา  จัดโดยคณะทำงานทีมงานเสียงเล็กๆ  โดยได้รับการเอื้อเฝื้อสนับสนุนอนุเคราะห์สถานที่จากสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด งานนี้ไม่มีผู้ใหญ่และภาคส่วนใดให้งบสนับสนุนนะครับ จัดโครงการด้วย(ใจ)ความร่วมมือจากทางคณะทำงานและน้องๆเยาวชนในพื้นที่เอง โดยมีน้องเยาวชนร่วม ๕๐๐ คน หากผู้ใหญ่ใจดีท่านใดจะกรุณาสนับสนุนก็จะยินดีมากครับ (อย่างน้อยก็ให้กำลังใจน้องๆเขาก็ยังดีครับ อิอิ)

หมายเลขบันทึก: 313384เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นด้วยกับอาจารย์เต็มร้อยเลยครับ

ผมสังเกตดูโรงเรียนใดก็ตามที่ครูแนะแนวดี เด็กจะไปได้ดี เพราะเด็กมีที่ปรึกษาที่ดี โดยเฉพาะในด้านการเรียน

แต่คนที่จะมาเป็นครูแนะแนวจะต้องมีความรอบรู้หลายด้าน แต่ครูส่วนใหญ่มักมองว่าครูแนะแนวไม่มีอะไร ไม่อยากเป็นครูแนะแนว

ครูแนะแนวที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ผมขอยกตัวอย่าง

เราเรียนวิชาคณิตศาสตร โดยที่ครูผู้สอนไม่เคยบอกเลยว่าเรียนคณิตศาสตร์แล้วมันได้อะไร เรียนคณิตศาสตร์ให้เก่งแล้วมันดีอย่างไร ผมคิดตั้งแต่เด็กว่าเราเรียนแค่บวก ลบ คูณ หาร ก็เพียงพอแล้ว เพราะในชีวิตประจำวันเราคงไม่ใช้ zine cos tan เพื่อนผมเป็นครูสอนคณิตศาสตร์บอกผมว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องของสังคม อย่างเช่น เราเรียนเรื่อง set มันก็เหมือนกลุ่มคนในสังคม ที่จะต้องมีความสัมพันธ์กัน ผมก็นึกในใจว่า เออ..ทำไมครูไม่บอกเราเพื่อให้เราสนใจคณิตศาสตร์นะ...เขาบอกว่าพวกบริษัทใหญ่ๆเช่น ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต เขาต้องการนักคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อจะไปคำนวณอัตราดอกเบี้ยแค่ไหนบริษัทถึงจะกำไร เราก็นึกอีก เออ..ทำไมครูไม่บอกเราวะ...

ถ้าครูแนะแนวรู้เรื่องพวกนี้เยอะ ก็อธิบายลูกศิษย์ได้ ครูแนะแนวจะต้องเก่งในเรื่องจิตวิทยาวัยรุ่น ครูแนะแนวต้องมีจิตบริการ เช่น จะสอบอะไรเมื่อไรที่ไหน ต้องหาข้อมูลมาให้ลูกศิษย์ กระทรวงประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย โรงเรียนก็ปะกาศผลได้ในเวลาไม่นานนักในวันเดียวกัน โดยมีวิธีการที่ไม่ยากเย็น เช่ย เอาเลขสิบสามหลักของนักเรียน มาค้นหาผลสอบสอบ โดยใช้เครื่องคอมฯของโรงเรียน หานักเรียนมานั่งหน้าจอและคีย์ข้อมูลหลายๆเครื่อง พักเดียวก็เสร็จ ดังนี้เป็นต้น

บางทีครูแนะแนวจะต้องรู้จักหรือสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอาชีพต่างๆและเชิญผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพนั้นๆโดยเย้ยที่ศิษย์ของโรงเรียนนั้นๆก่อนก็จะเป็นการแนะแนวที่ดี

ผมจะเขียนยาวกว่าบันทึกหรือเปล่า อิอิ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

อัยการชาวเกาะ

  ต่อเติมได้สมบูรณ์และเห็นภาพมากครับ...อยากให้ทุกคนช่วยกันตระหนักในหลายๆมุมครับ แนวทางที่อาจารย์เสนอมาผมอยากจะบอกครับว่าเคยทำในลํกษณะดังกล่าวและโรงเรียนหนึ่งในอำเภอยะหาเคยประสบความสำเร็จ(อัลฮัมดุลิลละฮฺ) มาแล้ว แต่ก็ขาดช่วงรอยต่อไปเพราะไม่มีใครสานต่อครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ...

สวัสดีครับ เสียงเล็กๆ فؤاد

  • การเรียกบรรจุครูวิชาเอกอะไรอยู่ที่โรงเรียน
  • แต่ปัญหาอยู่ที่อัตรากำลังที่จัดให้โรงเรียนไม่มี
  • โรงเรียนเกือบทุกโรงเรียนขาดแคลนบุคลากร
  • ครูต้องมาทำงานธุรการด้วย ครูต้องทำงานฝ่ายสนับสนุน
  • บางคนสอนก็แยะทำงานอื่นๆอีกหลายหน้าที่
  • พวกเราเองก็เป่าประกาศร้องเรียกมานาน
  • นับวันแต่จะยิ่งหนักมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ครูเราเหน็ดเหนื่อยมาก เขาก็ทำกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ
  • ที่จริงครูแนะแนวสำคัญมาก
  • แต่ข้อเท็จจริงในโรงเรียนกลายเ็ป็นงานฝาก
  • ปัญหาเหล่านี้ทุกคนทราบดี
  • ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกคน ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณมากครับท่าน ผอ.

P

นายประจักษ์ ปานอินทร์

ชัดเจนและแจ่มชัด...อยากให้ผู้ใหญ่ได้ยินครับ

ด้วยความเคารพ

มาสนับสนุนครับ...

มีโครงการคืนครูให้นักเรียนแล้ว น่าจะมีโครงการครู (เพื่อศิษย์) แนะแนว จะได้ชี้แนะแนวทางที่ดีให้นักเรียนไม่เฉพาะแต่แนวทางการศึกษาต่อหรือในการทำงานนะครับ แต่แนะแนวศิษย์ในทุก ๆ ด้านครับ...

ขอบคุณครับผม...

ขอบคุณมากครับบัง

P

Mr.Direct

มาสนับสนุนครับ...

มีโครงการคืนครูให้ นักเรียนแล้ว น่าจะมีโครงการครู (เพื่อศิษย์) แนะแนว จะได้ชี้แนะแนวทางที่ดีให้นักเรียนไม่เฉพาะแต่แนวทางการศึกษาต่อหรือในการทำ งานนะครับ แต่แนะแนวศิษย์ในทุก ๆ ด้านครับ...

ช่วยกันสนับสนุนครับ...เห็นด้วยๆๆ

ขอบคุณครับอาจารย์เสียงเล็กๆ

ผมยังไม่มีเวลารวบรวมนำเสนอภาพย่อๆ ของการสัมมนาครับ เพราะเสร็จจากงานนั้นก็มีงานสังสรรค์ส่วนตัวกับเพื่อนๆ และครอบครัว กลับมาก็มีอาการไม่ค่อยจะสบายเท่าไร

ประเด็นที่อาจารย์นำเสนอเป็นสำคัญและต้องขับเคลื่อนต่อไปครับ "ครูแนะแนว"

วิธีการหนึ่งที่พวกเราชอบทำงานกัน คือ การโทษสิ่งอื่นหรือคนอื่น ผมเคยเกี่ยวข้องกับกิจการแนะแนวในโรงเรียนอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ผมเจอปัญหาหลายอย่างจะเรียกว่าตั้งแต่ต้นจนจบก็ว่าได้

  • แนะแนวคืออะไร มีความจำเป็นอย่างไร อยากรู้เหมือนกันว่าผู้บริหารที่เขาเรียกว่ารุ่นใหม่ที่อยู่ในโรงเรียนทุกวันนี้เขาเข้าใจไหม (รุ่นก่อนน้อยนักที่เข้าใจ) 
  • เมื่อเข้าใจแล้ว รู้สึกอยากทำไหม หรือว่า จะโทษสิ่งอื่นอีก
  • มีสถานที่หรือที่เขาเรียกว่าห้องแนะแนวและอุปกรณ์ให้บ้างไหม แต่ผมว่าไม่สำคัญเท่าถ้าอยากทำ
  • มีเวลาให้ไหม .. อันนี้ยากสสสสส.. เพราะเท่าที่สังเกตดูเด็กนักเรียนไม่ค่อยมีเวลาให้สำหรับเรื่องอื่น นอกจากเรียนในห้องเรียน คาบแนะแนวคงไม่ค่อยจะได้ยินเท่าไร แม้แต่คาบโฮมรูมก็จะได้ยินแต่ชื่อ
  • แล้วคนที่จบทางแนะแนวโดยเฉพาะ ไม่ค่อยจะมีคุณค่าเท่าไร (เขาว่าสอนวิชาในกลุ่มสาระไม่ได้ เลยเขาไม่ค่อยจะจ้างทำงาน)
  • ..ที่มี..ก็แก้ขัด.. เป็นครูในกลุ่มวิชาอื่น แล้วมาช่วยในเรื่องนี้ บางครั้งเลยไม่รู้เรื่องว่าเขาไปถึงไหนแล้ว
  • แนะแนว ภาษาอาหรับเรียกว่า ارشاد (อิรชาด) และคนที่จะทำหน้าที่ อิรชาดได้นั้น ไม่ใช่คนง่ายๆเลย เพราะภาระงานของเขาก็ภาระงานเดียวกับท่านนบี(ศ็อลฯ)
  • ครูแนะแนวที่เราเข้าใจ คือ ทำให้เด็กพ้นทุกข์ มีชีวิตที่ถูกต้อง เหมาะสมกับตัวเอง แต่ครูแนะแนวที่ในความหมายอิรชาดจะต้องสอนเด็กให้พ้นทุกในวันอาคีเราะฮฺ มันต้องมี แต่คิดว่าหายากมาก
  • "อะลีฟ ลาม มีม นั้นคือคัมภีร์ ไม่ต้องสงสัยใดๆอีกับคัมภีร์นั้น มันเป็นทางนำแก่มวลมนุษย์" (อัลบะเกาะเราะห์)
  • ก่อนแนะแนวเรื่องการเรียน เรียนต่อ ต้องแนะแนวตามที่บอกในคัมภีร์
  • การแนะแนวไม่ใช่การบอกให้รู้ แต่เป็นการบอกให้ทำ แล้ว..ที่นักเรียนเรียนคัมภีร์ เรียนให้รู้หรือให้ทำ
  • สนับสนุนครับให้ทุกโรงเรียนมีแนะแนว และให้สมบูรณ์ตามแนวทางอิสลามด้วย

 

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

ความจริงรอติดตามอาจารย์นำเสนอภาพงานสัมมนาวันนั้นมากครับแต่ก็มาถึงบางอ้อเอาตอนที่มาอ่านบล๊อกอาจารย์ว่าอาจารย์มีกิจกรรมสานสัมพันธ์เพื่อนซี้ ก็เลยจะรอต่อไปครับ อิอิ เพราะผมเชื่อว่าอาจารย์มีประเด็นที่อยากนำเสนอและต้องนำเสนอแน่ครับ

      ประเด็นเรื่อง "ครูแนะแนว" เราควรต้องขับเคลื่อนให้เห็นเป็นรูปธรรมให้มากที่สุดครับ ผมคนนึงยินดีที่จะ่ช่วยครับ อินชาอัลลอฮฺ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

ภาพมันชัดขึ้นมากครับขจัดทุกข้อกังขากับการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ "โดยเฉพาะครูแนะแนวที่พร้อมทำหน้าที่ตามแนวทางอิสลาม คือ ไม่ใช่แค่พาเขาไปถึงฝั่งแต่เอาจริงเอาจังให้เขาไปถึงวันอาคิเราะฮฺ(โลกหน้า) อย่างสมบูรณ์แบบ" อินชาอัลลอฮฺ

        สนับสนุน...ช่วยกันสนับสนุน

  • สลามครับ
  • มาส่งไปทำงานครับ
  • เอากำลังใจมาฝาก
  • ขอให้อัลลอฮ์ทรงประทานความโชคดีและมีความสุข 
  • วาอาลัยกุมุสลามฯ

       ขอบคุณมากครับบัง P เบดูอิน

    ขออัลลอฮฺคุ้มครองเ่นกันครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท