การประเมินผลโครงการเอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


การประเมินผลโครงการ,สิทธิของคนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

     วันนี้กำลังเตรียมเพื่อไปเป็นวิทยากรที่ คปสอ.เขาชัยสน ในการประเมินผลโครงการเอื้ออาทรผู้พิการเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการเล็ก ๆ ที่มีผลสำเร็จสูงมาก
     การประเมินผลก็จะใช้ในลักษณะการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมประเมินและกำหนดทิศทางในปีงบประมาณหน้า (2549) ด้วย ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประเมินในครั้งนี้ก็เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทั้งนั้น เช่น ตัวแทนเครือข่ายผู้พิการ ญาติผู้ดูแล จนท.ของ คปสอ. และจนท.ระดับจังหวัด (ผู้รับผิดชอบงานและสนับสนุนงบประมาณ)
     แล้วจะได้สรุปเป็นบทความไว้อีกครั้งหนึ่ง เร็ว ๆ นี้

บันทึกต่อท้าย วันที่ 29 ส.ค. 2005 03:37:16

     เตรียมสไลด์บรรยายพรุ่งนี้ (วันนี้) เรียบร้อยแล้ว จะสว่างแล้วด้วย 555  กำลังเห่อ Blog อย่างแรง ก็อดไม่ได้ที่จะฝากสไลด์ไว้อีก การประเมินก็จะใช้กระบวนการร่วมกันถอดบทเรียน วิชาการนิดหน่อย ได้ผลอย่างไร จะได้นำมาฝากไว้อีกทีนะครับ ไฟล์สไลด์อยู่ที่นี่ครับ  http://gotoknow.org/file/chinekhob/EvaKaochaison.zip

บันทึกต่อท้าย วันที่ 30 ส.ค. 2005 16:39:22

     การประเมินผลโครงการฯ เมื่อวาน ที่ประชุมได้ร่วมกันถอดบทเรียน และจะขอนำเสนอก่อนในบางส่วนที่เป็นผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของสมาชิก คือ
     1.) ได้ทราบกระบวนการคิดนอกกรอบไปยังศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมอาชีพ และการช่วยเหลือด้านการเงินแก่คนพิการ ซึ่งดูจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขเลย ตามความคิดเดิมของ จนท.สาธารณสุขระดับตำบล
     2.) กระบวนการในโครงการนี้ทำให้ จนท.สามารถมองเห็นและยอมรับความผิดพลาดของตนเอง และกล้าที่จะนำเสนอว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เช่นทัศนคติต่อการเรียกร้อง หรือการร้องขอของประชาชนที่ไม่ใช่หน้าที่ของ จนท.โดยตรง (เดิมมักจะถามในใจว่าทำไมต้องมาร้องขอที่เราด้วย)
     3.) ได้เรียนรู้ทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น และเกิดเครือข่ายเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนอย่างเป็นองค์รวม เช่น พมจ., อบต., เทศบาล เป็นต้น (และคาดหวังจะขยายไปยังกลุ่มที่รับผิดชอบการศึกษาพิเศษ, การฝึกอาชีพ และองค์กรคนพิการต่างพื้นที่)
     4.) จนท.รู้ เข้าใจ และเชื่อมั่นมากขึ้น ในเรื่องทักษะ ในการทำงานเป็นทีม ตลอดจนเชื่อว่าการยึดตัวคนพิการเป็นศูนย์กลางจะมีปัญหาให้แก้ไขหรือดำเนินการต่อน้อยมาก (ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่เราจะต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของชุมชนเสียเองในทุกเรื่อง และรู้สึกว่าเหนื่อยล้า)
     5.) ทำให้เห็นปัญหาในแต่ละขั้นตอนเร็ว และทำให้รู้ตัวว่าจะแก้จุดไหนเร็วไปด้วย
     6.) ทำให้รู้จักวิธีการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ แทนการจัดการแบบเบิกจ่ายงบประมาณให้หมด
     7.) ทำให้ทราบวิธีการประเมินผล โดยการระดมสมอง (ถอดบทเรียน) จากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย

บันทึกต่อท้าย วันที่ 9 ก.ย. 2005 16:39:22

ผลสำเร็จ/ผลผลิต ที่ได้รับจากการดำเนินงานจากการประเมินผลเมื่อ  วันที่ 29 ส.ค. 2005 ที่ผ่านมา
1.การสำรวจเชิงรุก
   1.1 คัดกรองผู้พิการรายใหม่
         1.1.1 ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการคัดกรองผู้พิการ ,ตัวแทน อสม และตัวแทนผู้พิการ ดำเนินการในวันที่ 17 สิงหาคม 2548 งบประมาณ 14,550 บาท
         1.1.2 สถานพยาบาลคัดกรองผู้พิการรายใหม่ ดำเนินการระหว่างวันที่ 18 สค. – 2 กย.2548 งบประมาณ 17,200 บาท
         1.1.3 ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการฟื้นฟูฯ ,ตัวแทนผู้พิการ ตัวแทน อสม.และแพทย์แผนไทย  ดำเนินการในวันที่ 22 กันยายน 2548 งบประมาณ 12,200 บาท
   1.2 การตรวจสอบสิทธิผู้พิการ ดำเนินการในวันที่ 2 - 30 กันยายน 2548 งบประมาณ  1,000  บาท
   1.3 จัดทำเบียนฐานข้อมูลผู้พิการ ดำเนินการในวันที่ 2 - 30 กันยายน 2548 งบประมาณ 500  บาท
   1.4 CUP ดำเนินการเปลี่ยนแปลงสิทธิผู้พิการ ดำเนินการในวันที่ 2 - 30 กันยายน 2548 งบประมาณ 500 บาท
   1.5 CUP ดำเนินการออกบัตรผู้พิการ ดำเนินการในวันที่  2 – 30 กันยายน 2548 งบประมาณ 550  บาท
2. การรับรองโดยแพทย์/ขึ้นทะเบียนผู้พิการ รหัส 74
   2.1 การรับรองโดยแพทย์ แบ่งจุดตรวจเป็น 4 จุด ดำเนินการในวันที่ 5 - 8 กันยายน 2548 งบประมาณ 3,500 บาท
   2.2 จัดคลีนิคให้บริการผู้พิการรายใหม่ ในโรงพยาบาล และขึ้นทะเบียน พร้อมบริการแบบ one stop servic ดำเนินการในวันที่ 11 กันยายน 2548 งบประมาณ - บาท
3.กิจกรรมให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ แบบบูรณาการ
   3.1 มหกรรมพบผู้พิการ จากรัฐสู่ผู้พิการ ดำเนินการในวันที่ 2 ธันวาคม 2548 งบประมาณ 10,000 บาท
   3.2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้าย,แผ่นผ้า,นิทรรศการ ดำเนินการในวันที่ 2 กันยายน 2548 งบประมาณ - บาท
   3.3 พัฒนาศักยภาพของผู้พิการ,ญาติ,จนท. ระดับตำบล QC.มิตรภาพ ดำเนินการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   3.4 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมผู้พิการ QC.มิตรภาพ ดำเนินการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ - บาท
   3.5 พัฒนาศักยภาพของผู้พิการ,ญาติ,จนท. ระดับตำบล QC.ฟ้าสีคราม ดำเนินการในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   3.6 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมผู้พิการ QC.ฟ้าสีคราม ดำเนินการในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ - บาท
   3.7 พัฒนาศักยภาพของผู้พิการ,ญาติ,จนท. ระดับตำบล QC.ควนขนุน ดำเนินการในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   3.8 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมผู้พิการ QC.ควนขนุน ดำเนินการในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ - บาท
   3.9 พัฒนาศักยภาพของผู้พิการ,ญาติ,จนท. ระดับโรงพยาบาล ดำเนินการในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   3.10 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมผู้พิการ โรงพยาบาล ดำเนินการในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ - บาท
4. การมีส่วนร่วม
   4.1 อบรม อสม.,ผู้นำชุมชน,อบต.ให้รู้สิทธิ และการฟื้นฟูผู้พิการ QC.ฟ้าสีคราม ดำเนินการในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   4.2 อบรม อสม.,ผู้นำชุมชน,อบต.ให้รู้สิทธิ และการฟื้นฟูผู้พิการ QC.มิตรภาพ ดำเนินการในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   4.3 อบรม อสม.,ผู้นำชุมชน,อบต.ให้รู้สิทธิ และการฟื้นฟูผู้พิการ QC.ควนขนุน ดำเนินการในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท
   4.4 อบรม อสม.,ผู้นำชุมชน,อบต.ให้รู้สิทธิ และการฟื้นฟูผู้พิการ โรงพยาบาลเขาชัยสน ดำเนินการในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 งบประมาณ 5,000 บาท

สรุป
     ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน
     1. ผู้พิการเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพอย่างแท้จริง
     2. สร้างการมีส่วนร่วมผู้พิการ/ภาคประชาชน
     3. มีการคักรองเชิงรุก (ลงพื้นที่)
     4. พบผู้พิการรายใหม่
     5. มีการรับรองผู้พิการโดยแพทย์ และทีม พมจ.พัทลุง
     6. มีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลผู้พิการ ระดับอำเภอ
     7. จนท.มีความรู้ เรื่งอการคัดกรอง,การดูแลการฟื้นฟูผู้พิการ,สิทธิประโยชน์ของผู้พิการมากขึ้น
     8. มีการบูรณาการงานสาธารณสุข กับ พมจ.พัทลุง
     9. มีคลีนิคผู้พิการในโรงพยาบาลเขาชัยสน
     10. สร้างความเข้มแข็งขององค์กร

     ปัญหา/อุปสรรค
     1. ความไม่พร้อมด้านสาธารณสุข
     2. การเปิดคลีนิคผู้พิการในโรงพยาบาล อาจจะไม่มีคุณภาพ
     3. การส่งต่อผู้พิการไม่ชัดเจน

     แนวทางแก้ไข
     1. ขยายองค์ความรู้ให้ผู้พิการ,ญาติ,ผู้นำชุมชน,องค์กรส่วนท้องถิ่น
     2. นำปัญหาการส่งต่อข้อมูล และการส่งต่อผู้ป่วยพิการ หารือกับผู้บริหารตามลำดับขั้น
     3. เน้นกระบวนการ และทีมงานในการเปิดคลีนิคผู้พิการ
     4. จัดตั้งผู้รับผิดชอบงานผู้พิการให้ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ ระดับสถานีอนามัย อำเภอ และจังหวัด
     5. มีการพบ พูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ กับเครือข่ายผู้พิการในทุก ๆ ด้าน

หมายเลขบันทึก: 3126เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2005 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
คปสอ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

     โครงการเอื้ออาทรผู้พิการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ
                   อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง


     “งานช่วยคนพิการนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะผู้พิการไม่ได้เป็น ผู้อยาก – พิการ……”

     นี่เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตอนหนึ่งที่ได้พระราชทานแก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ณ พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พุทธศักราช 2517

     คปสอ.เขาชันสน ได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้พิการ จึงได้จัดอบรมให้แก่บุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจในฐานะหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน และช่วยเหลือผู้พิการ ทั้งยังพัฒนาระบบโดยให้สามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันในการติดตามผู้พิการให้เข้าถึงบริการเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพได้มากขึ้น ตามโครงการเอื้ออาทรผู้พิการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพสำหรับสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2548 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขาชัยสน และในโอกาสเดียวกันได้มีการระดมสมองเพื่อจัดทำ “แผนกลยุทธ์ร่วมกับเครือข่ายคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่คนพิการ” ปีงบประมาณ 2548 โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากกลุ่มงานประกันสุขภาพ และในครั้งนี้ผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงได้ให้โอกาสโดยกำหนดให้ คปสอ.เขาชัยสน เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมสนับสนุนเงินจากกองทุนการจัดบริการเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจังหวัดพัทลุง เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เพื่อให้แผนกลยุทธ์ฯ ดังกลาวเป็นแผนกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนไปได้จริงตามวัตถุประสงค์

     แผนกลยุทธ์ที่ได้รับการอนุมัติ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน สองสิ่งนี้รวมกันความตระหนักของบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้ผู้พิการในอำเภอเขาชัยสนสามารถเข้าถึงสิทธิ และได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ อย่างทั่วถึง เพื่อผู้พิการมีความสุขในชีวิต และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

บันทึกเพิ่มเติมจากวันที่ 29 ส.ค. 2548 ครับ
ผมสนใจตัวโครงการทุกอย่างเลยครับ ไม่ทราบว่าจะขอรายละเอียดได้ไหมครับ เผื่อจะนำมาใช้บ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท