วิจัยในอดีตของโรงเรียนพ่อแม่


 ผลการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์

นาง สุริยา    ยังเจริญ                      

นางสาว สาวิตรี     เชี่ยวชาญธนกิจ                                                                                    

นาง  ศศิชล     หงษ์ไทย                 

 บทคัดย่อ

          การศึกษาผลการดำเนิน  งานโรงเรียนพ่อแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในสถานบริการสาธารณสุขรวมทั้งเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0–5 ปีให้มีพัฒนาการสมวัย โดยกลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์และครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนพ่อแม่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ จำนวน 325 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2547– ธันวาคม 2548  วิธีการดำเนินงานคือ กำหนดแนวทางในการให้ความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่  ในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ สามี หรือผู้ดูแลเด็ก โดยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ครอบคลุมในเรื่องของการใช้ยา  การดูแลสุขภาพฟัน  การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์  การปฏิบัติตนเองในระหว่างตั้งครรภ์    ระหว่างคลอด และหลังคลอด   รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์ และกำหนดองค์ประกอบในการให้ความรู้  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบทดสอบประเมินความรู้ก่อน – หลังเข้ารับการอบรมและแบบประเมินความพึงพอใจ   สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณาและ ร้อยละ

          ผลการดำเนินงาน : จากการดำเนินการให้บริการโรงเรียนพ่อแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้ครอบคลุมและกำหนดแผนการสอนและกิจกรรมในการให้บริการตั้งแต่ มิถุนายน 2547 – ธันวาคม 2548  ผลการศึกษาได้รูปแบบการให้บริการโรงเรียนพ่อแม่ 1 รูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย หลักสูตรการเรียนจำนวน 4 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรที่ 1 ระยะฝากครรภ์ – คลอด , หลักสูตรที่ 2 ระยะเด็กอายุ 0–1 ปี , หลักสูตรที่ 3 ระยะเด็กอายุ 1 – 2 ปี , หลักสูตรที่ 4 ระยะเด็กอายุ 2–5 ปี และแผนการสอน 31 แผนการสอนโดยรูปแบบการให้บริการเป็นหลักสูตรปกติ และขยายผลเป็นการบริการหลักสูตรพิเศษ

          ผลการศึกษา  : จากการประเมินผลความรู้เนื้อหาวิชาของผู้รับบริการตามผลการบันทึกสมุดประจำตัวของผู้รับบริการโดยแบ่งกลุ่มหลักสูตรและแบ่งการประเมินเป็น ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ผลการศึกษาพบว่าการประเมินความรู้ในแต่ละหลักสูตรทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์   สามีและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90–100  โดยมีความรู้ที่ได้คะแนนต่ำคือ  การส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้เพียงร้อยละ 66.7    ซึ่งมีการสอนซ้ำให้ในกรณีที่ไม่ผ่านการประเมิน

          ผลการประเมินความพึงพอใจ   ของผู้รับบริการในโรงเรียนพ่อแม่ พบว่าระดับความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ83  ในด้านสถานที่ให้บริการ  ความรู้ที่ได้   เนื้อหาของข้อมูลของแต่ละกิจกรรมเหมาะสมมาก มีประโยชน์ในการที่จะนำไปใช้และพึงพอใจต่อภาพรวมของบริการมากถึงร้อยละ 95.9     ส่วนระดับความพึงพอใจที่ต่ำกว่าร้อยละ 80    ประเด็นสำคัญคือ เรื่องระยะเวลาที่ให้บริการที่เหมาะสม  พบระดับความพึงพอใจเพียงร้อยละ 73.5

หมายเลขบันทึก: 312194เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีคะ แวะมาเยี่ยม สบายดีนะคะ

อยากได้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล แบบสอบถาม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจครับ

  • แวะไปเที่ยวทักทายคุณ mena มาแล้ว blog เล่าเรื่องด้วยภาพน่าสนใจดีจังเลย
  • ต้องขออภัยคุณ พรชัย ซะแล้วแน่เลยคะ  เพราะเป็นวิจัยเก่าตั้งแต่ปี 48 จะเหลืออยู่ก็แต่ paper แล้วคะ ไม่มี file ส่งไปให้ซะแล้ว ถ้าสนใจเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเรื่องการเรียนรู้ตอนนี้อยู่ระหว่าง try out อยู่คะ ขอเวลาศึกษาซักระยะหนึ่งจะนำมาลงเผยแพร่แน่นอนคะ 

  • ทำมาตั้งแต่ปี 47 ก็ 5 ปีแล้วสิคะเนี่ยะ
  • เพราะฉะนั้น พัฒนาการเป็นยังไงบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาเรียนด้วยคนค่ะ

  • ปีที่ผ่านมาและปีต่อๆไปก้จะเป็นการศึกษารูปแบบการคงอยู่ของงานโรงเรียนพ่อแม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องค่ะ

พี่กบ คราวหลังเรามาทำเป็นวิจัย ระยะยาว 5ปี แต่ว่า เราวางแผนต่อเนื่อง ว่า

วิจัย 1 เป็นการเก็บข้อมูล

วิจัย2 เป็นการลงimplement

วิจัย3 เป็นการติดตาม อะไรทำนองนี้ ดีไหม

จะได้ดูว่ามันตอเนื่อง แบบว่าไม่ต้องมานั่งคิดทีละปี หรือ พอหมดโครงนึง ก็ ต้องมาตั้งหลัก ที่กิโลเมตรที่1 ใหม่ มันไม่ค่อยต่อเนื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท