ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ


วงเวียนชีวิต เสียงสะท้อนจากผู้ด้อยโอกาส

เพื่อนชาวอเมริกัน ให้หนังสือมาอ่านเล่มหนึ่ง เขียนโดย Pual Farmer เรื่อง Infections and Inequalities: The Modern Plagues ผู้เขียนเป็นแพทย์ ที่ออกไปทำงานที่ ไฮติ และบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เสมอภาค ที่เกิดขึ้นในสังคม ไฮติ และเชื่อมโยงกับแนวนโยบายและความเป็นอยู่ของชาวอเมริกัน สะท้อนถึงปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ ไม่เพียงแต่ในแง่ ตำแหน่งแห่งหนของคนในสังคม ที่จะมีความแตกต่างต่อการ Expose ต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่ยังมองถึง Social Response ที่มีต่อกลุ่มคน ที่กระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดีและความเจ็บป่วยของคน

ผมยังอ่านหนังสือนี้ไม่จบ แต่คิดถึงความพยายามในการสร้างหลักประกันทางสุขภาพ ในระบบบริการสุขภาพของเรา ที่ได้ใช้กลไกทางการเงิน การคลัง เข้ามาจัดระเบียบ ให้เกิดหลักประกันสุขภาพแก่ประชากรโดยถ้วนหน้า (Universal Coverage) ซึ่งนับเป็นความพยายามที่ประสบความสำเร็จมาก อย่างไรก็ดี ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีจำนวนไม่น้อย ที่ ไม่มีแม้แต่โอกาส ที่จะได้นับผลประโยชน์จากการมีสิทธิอันนี้ และมีอีกบางส่วนที่บังเอิญเกิดมาโดยไม่มีใบเกิด ไร้สัญชาติ ก็ไม่อาจได้รับสิทธินี้ คนแก่เฒ่า ผู้พิการ เด็กกำพร้าที่ต้องอยู่กับตา ยาย ฯลฯ แม้คนเหล่านี้มีสิทธิใช้บริการ แต่ ขาดการเข้าถึงบริการ

ในพื้นที่ของท่าน มีคนเหล่านี้อยู่มากน้อยเพียงใด อยู่ที่ไหนบ้าง ท่านมีแผนที่จะเอื้อให้เขามีหลักประกันสุขภาพอย่างไร เครือข่ายสังคมในชุมชนมีบทบาทอย่างไร ที่จะช่วยเหลือเกือกูลคนเหล่านี้ องค์กรส่วนท้องถิ่น ตระหนักและนำประเด็นเหล่านี้ไปถกเถียง วางแผนแก้ปัญหากันหรือไม่ ท่านเคยเอาข้อมูลในแฟ้มครอบครัว ประกอบกับข้อมูลที่คุณหมอโกมาตร เขียนเป็นตำราไว้ มาใช้ประกอบการประเมินสถานการณ์และนำเสนอเข้าที่ประชุมทีมสหวิชาชีพของท่าน ที่ PCU เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่เชื่อมโยงสู่ครอบครัวและชุมชน หรือไม่ อย่างไร?

ขอให้ทุกท่านกรุณาทำการบ้านเรื่องนี้และส่งกรณีศึกษามา คนละ 1 กรณี บอกถึงสถานการณ์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาที่ท่านทำอยู่ ขอให้ใช้ประสบการณ์จริงในชุมชนของท่านนะครับ

ผมหวังจะได้รับคำตอบของ การบ้านชิ้นนี้ ภายในสิ้นเดือนนี้ นะครับ

ขอบคุณมากครับ

ชนินทร์

หมายเลขบันทึก: 311856เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

ก็กะว่าจะรอให้อาจารย์กลับมาก่อนครับค่อยตอบกลัวจะไม่มีคนอ่านครับเลยรอก่อน(ไม่ทราบว่าเหตุผลนี้พอเข้าท่าไหมครับ) ในชุมชนทั่วๆไปก็จะมีประชาชนที่เป็นบุคคลด้อยโอกาส ทั้งที่ไม่มีสิทธิ เช่นคนต่างด้าว หรือผู้ที่มีสิทธิแต่ไปใช้สิทธิไม่ได้เนื่องจากลำบากด้วยการเดินทางเช่นไม่มีผู้พาไป รพ.หรือแหล่งที่เขาจะมีโอกาสใช้สิทธิ เช่น คนแก่ เดินทางลำบาก ไม่มีลูกหลานพาไป ญาติไม่มีเวลาแค่เวลาหาข้าวให้กินก็นับว่าบุญแล้ว หรืออีกกรณีคือมีสิทธิแต่ไม่รู้ว่าสิทธิมี(งง มั้ยครับ คือไม่รู้แม้กระทั่งว่าตัวเองก็มีสิทธิที่จะได้รับบริการนั้นๆได้)เช่น ผู้พิการด้านสมองอันนี้ชัดเจนว่า ไม่มี่ทางที่เจ้าตัวจะรู้ถึงสิทธิตัวเองได้แน่นอน แต่ก็มีบางกรณีที่ไม่พิการทางด้านสมองแต่ ไม่มีโอกาสรับรู้ว่าตัวเองมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลที่ดีกว่านี้แม้แต่ จนท.สา,สุขเราเองก็ไม่รู้ว่าจริงๆเขาก็มีสิทธิที่จะไดรับการดูแลที่ดีกว่านี้ ทั้งที่พวกเราก็ใส่ใจในการดูแลประชาชนในcatchment’s area อย่างเต็มที่แล้ว คนกลุ่มนี้มีปริมาณไม่มาก ไม่ถึง1% แต่หากเราได้เข้าถึง และได้ช่วยเขาเหล่านี้ได้ก็น่าจะเป็นบุญทั้งกับเขา และเรา นะครับ มีกรณีตัวอย่าง "นายตั้มผู้พิการที่ไม่เคยถูกทอดทิ้ง มากว่า 10ปี แต่..." เขาได้รับอุบัติเหตุมาประมาณ 10ปี จากการตกจากหลังคารถนักเรียน fracture of T spine and spinal cord injury ทำให้ลำตัวท่อนล่างขยับไม่ได้เลย เลยต้องอยู่แบบผู้พิการมาตลอด โดยที่อาศัยอยู่กับตา ยาย(เป็นประธาน อสม.ของตำบล ฉะนั้น จนท.เราก็รู้จักครอบครัวนี้เป็นอย่างดี)ล่าสุดคุณยายเสียชีวิตไปเมื่อ 3ปีก่อน จึงเหลือเฉพาะ ตั้มอายุ 29ปี กับคุณตาอายุ 70ปี ตั้มใช้ชีวิตอยู่บนเตียงคู่กาย(คู่ใจ) กิน นอน อึ ฉี่ ทุกอย่างอยู่ที่เตียง และอยู่ชั้น2 ของบ้าน จะดีก็แต่เวลาตั้ม ทำธุระเสร็จก็จะเก็บใส่ถุง รอให้ตา(ตั้มเรียกว่า พ่อ)มาเก็บไปทิ้ง ส่วนอาหารคุณตาก็จะเตรียมไว้ข้างๆ ตั้งแต่เช้าแล้ว ออกไปทำนา ทำงาน เย็นค่อยกลับมาพบกันอีกที การช่วยเหลือที่ตั้มได้รับตั้งแต่รถเข็นโยก รถเข็นนั่ง ก็ได้รับมาหมด จากสงเคราะห์จังหวัดบ้าง กาชาดบ้าง แต่ไม่เคยได้ใช้เลยเพราะขึ้นรถเข็นไม่ได้ไม่มีแรงขึ้น เลยใช้ประโยชน์ไว้เป็นที่เก็บของใช้ประจำบ้าน และล่าสุดตั้มก็ได้เงินเดือนละ500 บาทกับเขาด้วยในฐานะผู้พิการ แล้วอย่างนี้ก็แสดงว่าเขาน่าจะได้รับสิทธิที่พึงจะได้รับโดยสมบูรณ์??? หลังจากที่ทีมสุขภาพอำเภอเราออกดูแลเครือข่าย(โครงการCUPละล้านที่ส่งพวกเรามาเรียนนี่แหละ) ออกเยี่ยมเครือข่ายได้เจอcase หลายคำถามจึงพรั่งพรูออกมาว่า ตั้มจะช่วยเหลือตัวเองได้เท่านี้จริงหรือ? รถเข็นที่ได้มาใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้นอกจากเก็บหมวกกันน็อก เก็บของหรือ? ผู้พิการอยู่บ้านคนเดียวแถมอยู่บนชั้น2 ถ้าไฟไหม้ล่ะ? อีกหลายคำถามที่รอคำตอบ ...ยังไม่มีคำตอบ คำถามสุดท้าย แล้วเราจะช่วยเขาได้อย่างไร? จึงเริ่มต้นที่การเชิญผู้ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้อง เช่น กายภาพบำบัด ได้คำตอบว่าน่าจะช่วยให้เขาใช้รถเข็นได้ ลุกออกเตียงได้ แต่ต้องฝึกกำลังกล้ามเนื้อแขน ต้องลดน้ำหนักเพราะตัวอ้วน (ก็มีแต่กินกับนอน) อบต.เอารถเข็นไปเปลี่ยนยางให้ใหม่ ซ่อมใหม่ ทำทางลาด ที่ชั้นล่างเพราะต่อไปจะต้องพาลงไปอยู่ชั้นล่าง ข้างบน อันตราย หมออนามัยต้องหมั่นมาดูพัฒนาการ การฝึกกล้ามเนื้อ ลดความอ้วน คุณตา เตรียมแคร่ไว้ชั้นล่าง เตรียมเก็บกวาดพื้นที่ให้สามารถเข็นรถได้สะดวก

;แนบfile รูปไม่เป็นครับ ทำยังไง?ขอส่งทาง mail ละกันครับ

เรียน อาจารย์

กำลังดำเนินการแก้ปัญหาผู้ด้อยโอกาสในบริบทมุสลิมอยู่ครับผม




เป็นกำลังใจให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงไวไวนะครับ

กฤษฎิ์

 

เรียนอ.ชนินทร์ ขอส่งกรณีศึกษาของรพ.ท่าตูม 1รายค่ะ เป็นเรื่องเล่าจากนักจิตวิทยา

ผู้ป่วยชายไทยอายุ45ปี รูปร่างสมวัย สถานภาพโสด ไม่สวมเสื้อ มีเพียงกางเกงขาสั้นมอมแมม สภาพขาดรุ่งริ่งจนแทบไม่ได้ปิดอวัยวะเพศไว้ได้เลย เคยมีประวัติการรักษาอาการทางจิตจากโรงพยาบาลจิตเวชมาหลายแห่ง รวมระยะเวลารักษาไม่น้อยกว่า 20 ปี แต่อาการไม่ดีขึ้น ยังคงมีอาการเฉยเมย ไม่ยอมพูดกับใคร ก้าวร้าว ทำลายข้าวของของเพื่อนบ้านอยู่บ่อยครั้ง พ่อแม่และเืพื่อน บ้านจึงช่วยกันจับผู้ป่วยล่ามโซ่เอาไว้กับเสาโรงครัวพื้นดินที่มีเฉพาะแผ่นสังกะสีเก่า ๆ มุงหลังคาไว้กันฝนเท่านั้น โดยไม่มีฝาด้านข้างทั้ง 4 ด้าน

บิดามารดาวัยชราของผู้ป่วยมีอาชีพทำนา ฐานะยากจน อาศัยอยู่บ้านไม้กลางทุ่งนาพร้อมกับหลานวัยอนุบาลอีก 2 คน บิดามารดาต้องการความช่วยเหลือในเรื่องเบี้ยยังชีพสำหรับผู้ป่วย แต่ได้รับการปฏิเสธความช่วยเหลือจากอปท. เนื่องจากไม่มีใบรับรองความพิการทางการแพทย์มายืนยันความพิการ แต่บิดามารดาและญาติ ๆ ไม่สามารถนำผู้ป่วยไปรับการประเมินความพิการที่รพ.ได้ เจ้าหน้าที่สอ.ได้ติดต่อมายังรพ.ท่าตูมผ่านนักจิตวิทยาเพื่อประสานงานขอความอนุเคราะห์จากแพทย์ช่วยออกไปประเมินและรับรองสภาพความพิการของผู้ป่วยที่บ้าน

วันต่อมาแพทย์พร้อมกับนักจิตวิทยาและเจ้าหน้าที่สอ.ได้ออกเดินทางจากรพ.ไปยังบ้านที่พักของผู้ป่วย เมื่อไปถึึงแพทย์และทีม

งานที่ไปด้วยถึงกับตะลึง ไม่น่าเชื่อว่าชายฉกรรจ์รูปร่างแข็งแรงสมบูรณ์คนหนึ่งจะมีสภาพไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลี้ยงที่ถูกล่ามเอาไว้กับเสาไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แพทย์และนักจิตวิทยาได้ซักประวัติการรักษาและสาเหตุที่ต้องล่ามโซ่ผู้ป่วยเอาไว้และปัญหาความต้องการของญาติ จากนั้นได้เดินเข้าไปใกล้ ๆ ตัวผู้ป่วยซึ่งไม่ได้อาบน้ำมาแล้วหลายปี แพทย์ได้ตรวจร่างกายเบื้องต้นพบว่าสุขภาพด้านร่างกายของผู้ป่วยปกติ จึงประเมินความผิดปกติไปที่ด้านจิตใจและพฤติกรรมแทน ไม่มีอาการตอบสนองด้วยคำพูดแต่อย่างใดจากผู้ป่วย ได้แต่มองหน้าทีมงานและยิ้มให้บ้างเป็นบางครั้งคราว

ผลจากการประเมินความผิดปกติด้านจิตใจและพฤติกรรม แพทย์ผู้ออกประเมินและนักจิตวิทยาได้ร่วมปรึกษากันว่าผู้ป่วยสมควรได้รับการรับรองว่ามีความพิการจริงตามสิทธิ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ

หากมองในปัญหาของผู้ป่วยรายนี้ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่สมควรอยู่อย่างปกติสุขเหมือนคนทั่วไปแล้ว เขาควรที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ แต่ด้วยความเจ็บป่วยที่รักษามาอย่างยาวนานนั้นไม่ต่างอะไรเหมือนกับร่างที่ไร้วิญญาณ แต่เจ้าหน้าที่ประิจำสถานีอนามัย แพทย์ได้มองเห็นถึงปัญหาและความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยรายนี้คือ อาหาร เพราะผู้ป่วยยังต้องดำเนินชีวิตของเขาต่อไปถึงแม้จะไม่รับรู้ว่าโลกที่เขาอาศัยอยู่มีการเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม เิงินเพียง 500 บาทต่อเดือนอาจเป็นเงินน้อยมากสำหรับบางคน แต่สำหรับญาติผู้ป่วยและหลาน ๆ แล้วมันคือเงินเดือนที่มากพอสำหนับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะเรื่องปากท้องที่เป็นความต้องการขึ้นพื้นฐานของมนุษย์

ส่วนสถานการณ์ของปัญหากำลังรวบรวมอยู่ค่ะ

ส่งการบ้านผ่านmail แล้วค่ะ

ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เงินเดือนละ 500 บาท ไม่พอกับการยังชีพ

รัฐบาลควรมีกองทุนเฉพาะเพื่อฟื้นฟูคนยากไร้อย่างทั่วถึง

ตั้ม แห่ง บ้านจานลาน อ.พนา จ.อำนาจเจริญ

  • ตามมายินดีต้อนรับ
  • ดีใจที่พบ
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับโจทย์ที่อาจารย์ตั้งไว้นะครับ "คนไทยแต่ไร้สิทธิ" บุคคลที่เป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานการเกิด ไร้สัญชาติ อีกกลุ่มคือกลุ่มที่หนีการคัดเลือกทหาร(ในช่วงสงครามเวียดนาม ระหว่างปี พ.ศ.2500-2518) ก่อนปี พ.ศ.2523 ที่มีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งที่ 2 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำให้ตกสำรวจการเป็นคนมีสัญชาติไทยและเมื่อมีการกำหนดให้คนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน(National identification number) ในระหว่าง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2547 คนเหล่านี้ตกสำรวจทำให้เสียสิทธิในการได้รับบริการสาธารณะที่จะต้องมีการระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน รวมทั้งการมีบัตรประกันสุขภาพตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี พ.ศ.2544 ที่อำเภอบ้านโพธิ์เคยพบว่าในปี พ.ศ.2548 มีทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม หลังจากกลับมามีอาการทางประสาท หลักฐานบุคคลสูญหาย ประกอบอาชีพรับจ้างเฝ้าสวน ต่อมามีอาการคุ้มคลั่งถูกส่งตัวมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ แต่เสียชีวิตระหว่างดำเนินการพิสูจน์บุคคล งานหลักประกันสุขภาพ โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ได้เริ่มทำการสำรวจคนไทยในกลุ่มนี้ใน พ.ศ.2549 พบว่ามีอยู่ในกลุ่มคนชราที่ตกสำรวจ กลุ่มเด็กวัดซึ่งเป็นเด็กกำพร้าหรือถูกทิ้งมีพระเป็นผู้อุปการะ หรือแม่กระทั่งพระบางรูปที่ไม่มีหลักฐานบุคคล ประมาณว่าบุคคลกลุ่มนี้น่าจะมีอยู่ไม่เกิน 100 คน การดำเนินการหลังจากการสำรวจคือต้องให้คนไทยเหล่านี้ เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์บุคคล ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ ให้บุคคลนั้น หรือญาติ/ผู้ปกครอง/อุปการะ(ในกรณีบุคคลนั้นไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองเช่น เป็นคนพิการ หรือไร้ความสามารถ) ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านที่เจ้าบ้านรับรอง โดยรวบรวมเอกสารที่ราชการออกให้ที่เกี่ยวข้องมาแสดง(ถ้ามี) หลักฐานที่สำคัญในกรณีนี้คือพยานบุคคลที่สามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลนั้นได้ ถ้าหลักฐานเพียงพอสามารถที่จะยืนยันว่าเป็นคนไทยจริง ถ้าอายุไม่เกิน 7 ปีถือเป็นกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด นายทะเบียนอำเภอหรือท้องถิ่นสามารถเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและกำหนดหมายเลขประจำตัวประชาชนได้เลย ถ้ากรณีบุคคลนั้นอายุมากกว่า 7 ปี หรือกรณีอายุไม่เกิน 7 ปี แต่นายทะเบียนอำเภอหรือท้องถิ่นมีข้อสงสัยไม่สามารถยืนยันได้ ให้นายอำเภอเป็นผู้พิจารณารับรอง โดยที่นายอำเภอสามารถไต่สวนหาหลักฐานเพิ่มเติมได้ หลังจากมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว ให้ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงเพื่อใช้สิทธิในฐานะคนไทยต่อไป ในส่วนของชุมชนผู้นำชุมชนหรือผู้ที่ชุมชนให้ความเคารพนับถือเป็นบุคคลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในกรณีนี้ ดังนั้นถ้าเมื่อมีการสำรวจพบบุคคลไร้สิทธิก็จะมีการประสานงานกับบุคคลอ้างอิงเพื่อใช้เป็นพยานบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิในที่สุด แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีอายุมาก การหาหลักฐานทั้งในด้านวัตถุพยาน และพยานบุคคลทำได้ยาก ยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่มาจากต่างพื้นที่ก็จะเป็นปัญหาในการพิสูจน์การเป็นคนไทย ในพื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์มีตัวอย่าง 2 กรณีนี้ คือกรณีแรกเป็นหญิงอายุ 62 ปี แยกทางกับสามี 30 กว่าปี ป่วยเป็นวัณโรค ไม่มีบัตรประชาชน และไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เพิ่งกลับมาอาศัยอยู่กับบุตรสาวที่อำเภอบ้านโพธิ์ซึ่งมีสิทธิเป็นคนไทย และไม่ทราบว่ามารดาไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและไม่มีหลักฐานการเป็นคนไทย งานประกันสุขภาพแนะนำให้ไปยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อที่นายทะเบียนอำเภอบ้านโพธิ์ ส่งเรื่องให้นายอำเภอพิจารณา นายอำเภอขอหลักฐานการเป็นมารดาและบุตร รายนี้ได้ไปตรวจพิสูจน์ DNA ที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี นำผลการตรวจไปเป็นหลักฐาน จนได้มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีเลขประจำตัวประชาชน ขณะนี้ได้สิทธิการรักษาพยาบาลเรียบร้อยแล้ว อีกรายเป็นชายอายุ 83 ปี ไม่มีญาติพี่น้องย้ายมาจากที่อื่น อาศัยอยู่ในวัด ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อนจึงไม่ได้รับบริการรักษาพยาบาล ไม่มีแฟ้มครอบครัว ไม่มีฐานข้อมูลของทั้งมหาดไทยและสาธารณสุข มีอาการเส้นเลือดในสมองตีบและเป็นอัมพาต และพบว่ามีปัญหาสมองเสื่อมจำเรื่องราวที่สำคัญไม่ได้ แต่บอกชื่อและนามสกุลได้ เบื้องต้นยังไม่สามารถหาญาติมารับรองได้ ขณะนี้โรงพยาบาลได้ส่งเรื่องให้ สถานีอนามัยประสานงานองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการประกาศหาผู้ที่อาจจะเป็นญาติ ที่มีนามสกุลเหมือนหรือพ้องกัน แสดงพร้อมรูปถ่าย ในระหว่างนี้ การช่วยเหลือผ่านทางกองทุนสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาเพื่อผู้ป่วยยากไร้ (สมเด็จพระเทพฯ ทรงประทานเงินส่วนพระองค์เริ่มต้น และให้โรงพยาบาลจัดหาเพิ่มเติมเป็นกองทุนรักษาพยาบาลผู้ป่วยยากไร้ที่มารักษาในโรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538) ในกรณีที่การเข้าถึงบริการสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้พิการ จากนโยบายของรัฐบาลให้มีการสำรวจผู้สูงอายุเพื่อให้เบี้ยยังชีพ และตั้งแต่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2552 จะมีการสำรวจและขึ้นทะเบียนผู้พิการ และจะให้เบี้ยผู้พิการ นอกจากนี้จะมีการช่วยเหลือในมิติอื่น ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยที่ผู้ดูแลก็จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือทางด้านเงินทุนกู้ยืมเพื่อดูแล ทำให้ปัญหาการทอดทิ้งผู้สูงอายุและผู้พิการลดน้อยลง ในปี พ.ศ.2553 โรงพยาบาลบ้านโพธิ์จะจัดทำโครงการ Healthy 90’s หรือ สุขภาพดีในวัย 90 เริ่มจากการสำรวจประชากรที่อายุ 90 ปีขึ้นไป ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 255 คน ทั้งอำเภอ โดยจะเป็นการให้บริการเชิงรุก โดยมีแนวทางปฏิบัติไว้ว่าผู้สูงอายุที่อายุเกิน 90 ไม่ต้องมาโรงพยาบาล ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลและสถานีอนามัยจะเข้าไปเยี่ยมที่บ้าน จัดยาถ้าเป็นโรคเรื้อรัง และให้บริการทางด้านสาธารณสุขด้านต่าง ๆ โดยที่จะถือโอกาสดูแลและเยี่ยมให้กำลังใจผู้ดูแลด้วย เป็นบริการหนึ่งที่ช่วยให้การเข้าถึงบริการสำหรับผู้สูงอายุครับ นพ.กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์

สิทธิในกระดาษที่เราเรียกว่ากฏหมายหรือระเบียบมีอีกมากที่คนไทยเราเข้าไม่ถึงครับ ที่สำคัญพวกเรานี่แหละครับไม่อ่านสิทธิของเขาดีๆ บางครั้งยังทำตัว ขวาง และริดรอนสิทธิของเขาอีกด้วย มีภาพลวงตาเยอะครับในสังคมราชการไทย

ขณะนี้ในเขตอำเภอด่านขุนทด

ถือว่ามีประชาชนหลักประกันสุขภาพมนส่วนของบัตรทอง 100 %

มีบริการ 1669 แต่ยังไม่สมบูรณ์นัก

ส่วนการเข้าถึงนั้น ยังไม่ได้เต็มที่ สาเหตุที่พอจะทราบได้ น่าจะมีประมาณนี้ค่ะ

บ้านอยู่ไกล เดินทางลำบาก หรือไม่ไกลมาก แต่ไม่มีค่ารถ

ไม่มีคนพามา ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ..

จะช่วยอย่างไร..คำตอบอยู่ที่ ชุมชนต้องเข้มแข็ง สั้นๆแค่นี้ก่อนค่ะ

เพิ่งฟังอาจารย์ เรื่อง cervical carcinoma นึกได้อีกหนึ่ง ..สาเหตุคือ อาย กลัว

หรือTeenage pregnancy ที่ยังลังเล..ว่าจะเอายังไง โดยเฉพาะ Unwanted pregnancy ไม่ได้มารับคำปรึกษาหรือได้ข้อมูลเพียงพอ ก็จะไปทำแท้งที่ไม่ถูกกฎหมายมา

เดี๋ยวมีต่อค่ะ..

แม้ว่าระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันจะมีความครอบคลุมมากขึ้น ทำให้มีความเสมอภาคในระบบสุขภาพในสังคมไทย แต่ก็ยังมีผู้ที่แม้จะมีสิทธิ์ในการใช้บริการแต่ก็ยังขาดการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพอันเนื่องมาจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น การอยู่ในภาวะพึ่งพิงต้องอาศัยการดูแลจากผู้อื่น ภาวะเจ็บป่วยที่ไม่กล้าเปิดเผย ความยากจนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ซึ่งในพื้นที่พบว่าผู้ที่ขาดโอกาสหลักๆประกอบด้วย กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวช กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเป็นต้น

โดยจะขอยกตัวอย่างกลุ่มผู้พิการในพื้นที่เนื่องจากมีปัญหาในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพมากที่สุด มีผู้พิการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจำนวน 88 ราย และยังมีผู้พิการในพื้นที่ๆยังไม่ได้รับการจดทะเบียนอีกเกือบ 200 ราย เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมาย ทำให้ไม่ได้รับสวัสดิการเงินช่วยเหลือ รวมทั้งการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ

ภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงได้ประชุมเพื่อหาทางช่วยเหลือ โดยดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มในกลุ่มที่มีความพิการเป็นที่ประจักษ์ มีการดูแลผู้พิการด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ มีนักกายภาพบำบัด ครอบครัว ชุมชน ร่วมมือกัน เช่น การออกเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลสุขภาพและสอนทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้พิการและสมาชิกครอบครัว สอนการดูแลแผล ฝึกอาชีพให้ผู้พิการที่ผ่านการฟื้นฟูแล้ว นอกจากนี้ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็ร่วมมือในการสร้างอาชีพที่เหมาะสมกับผู้พิการ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ให้เงินสงเคราะห์ ช่วยบริการรถนำส่งโรงพยาบาล ให้เงินชดเชยเมื่อมานอนรพ. ครั้งละ 500 บาท เป็นต้น ก้าวต่อไปคงต้องสร้างให้ครอบครัว ชุมชน ดูแลไม่ทอดทิ้งผู้พิการ รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การดูแลรักษา ที่ต้องเริ่มมาจากบุคคล ครอบครัว ชุมชน ระบบบริการสุขภาพ ก่อนที่จะเกิดความพิการด้วย

สวัสดีครับ อาจารย์ การบ้านกำลังเตรียมส่งครับ

                ชายไทยคู่อายุ  55  ปี   ไปทำงานต่างประเทศ   ถูกส่งตัวกลับก่อนกำหนด  ไม่มีเงินชำระหนี้  บ้านและที่นาถูกยึด   จึงไปทำงานรับจ้างทุกชนิด  โดยเฉพาะยกของหนัก  ทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขา  ซึ่งเรียกว่าอาการกระดูกทับเส้นประสาท  ไปรักษาที่คลินิกแพทย์แนะนำให้ผ่าตัด  แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ  และทำงานหนักเรื่อยมาจนกระทั่งขาอ่อนแรงจนเดินไม่ไหวจึงเข้ารักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ แพทย์จึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัด  แพทย์ได้ทำการรักษาโดยการผ่าตัด  แต่เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคแย่อยู่ก่อนแล้ว  หลังผ่าตัด  อาการอ่อนแรงจึงไม่ดีขึ้น  ได้รักษาด้วยวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพ  โดยเฉพาะการทำกายภาพบำบัด  แต่ก็ไม่สามารเดินได้  ผู้ป่วยและภรรยาจึงได้อาศัยอยู่ใต้ชายคาบ้านพักสถานีอนามัยหลังเก่าบริเวณชั้นล่าง  ประมาณหนึ่งเดือนถัดมา  สองสามีภรรยาก็ได้มีโอกาสต้อนรับบุตรชายอายุ  28  ปี   โดยถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งด้วยอาการไฟฟ้าช๊อตและเกิดไฟลวกทั่วตัว  ภรรยาและลูก  1  คน  ก็หนีจากไป  จึงต้องกลับมาอยู่กับพ่อแม่  ในสภาพบ้านที่ไม่เหมือนบ้าน พ่อก็พิการ  ลูกป่วยหนัก แถมต้องพิการอีกคนในอนาคต  สภาพจิตใจของผู้เป็นแม่แทบแตกสลาย  แต่ด้วยจิตใจที่อดทนและต่อสู้  แม่จึงออกรับจ้างเพื่อเลี้ยงลูกและสามี  ผู้ป่วยได้ไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ  ซึ่งทีมผู้ให้การรักษาได้ทำการรักษาทั้งสภาพร่างกายที่เจ็บป่วย  และจิตใจที่อ่อนแอ  แต่เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีเงินทองในการจ้างรถไปโรงพยาบาล  และมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ทางโรงพยาบาลจึงเป็นผู้ออกมาเยี่ยมผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ  ซึ่งปัญหาทางการแพทย์ได้รับการแก้ไขดีขึ้นตามลำดับ  แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ  ปัญหาทางสังคมทางโรงพยาบาลจังหวัดจึงเป็นผู้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

                1.  นายอำเภอ  บริจาคเงินส่วนตัว  สร้างห้องน้ำได้  1  ห้อง  และรับประสานเรื่องทื่อยู่อาศัยกับเทศบาล  และปัญหาที่ดินที่ถูกยึดกับฝ่ายกฏหมายและที่ดินอำเภอ

                2.  พมจ. (พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ประจำจังหวัด) ได้ให้ความช่วยเหลือเรื่อง  รถเข็นโยก, เงินช่วยเหลือบางส่วน

                3. โรงพยาบาลประจำอำเภอ  บริจาคที่นอนและผ้าปูที่นอน

                4.  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลร่วมกันบริจาคสิ่งของ เพื่อความจำเป็นในการดำรงชีพ

                ขณะนี้ผู้ป่วย พ่อ- ลูก ทั้งสองคน  เริ่มปรับตัวได้  การดูและแผลของผู้ป่วยก็ดีขึ้นตามลำดับ  เมื่อสภาพร่างกายเริ่มดีขึ้น  ทางทีมงานสุขภาพได้มีการวางแผนสำหรับฟื้นฟูเป็นระยะ ๆ  ที่สำคัญคือจะต้องฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ดีขึ้นควบคู่กันไปด้วย  จะเห็นว่าแม้ผู้ป่วย พ่อ – ลูก จะมีสิทธิการรักษาตามหลักประกันถ้วนหน้า  แต่การเข้าถึงบริการก็เป็นอุปสรรค  จึงต้องมีการปรับตัวของหน่วยบริการ แทนที่จะรอรับผู้ป่วยอย่างเดียว  ก็มีการออกเยี่ยมบ้าน  ดูแลแผล  ดูแลสภาพจิตใจ  รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  โดยอาศัยหลักมนุษยธรรม  ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์จริง ๆ  ก็ขอขอบคุณทีมงานสุขภาพของโรงพยาบาลและสถานีอนามัยทุกคน

                                                                

                                                                                                        นายแพทย์สมพงษ์  จันทร์โอวาท

"ทั่วถึง เท่าเทียม คือ ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ กับ การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ"

Primary Health Care Mobile Doctor (1)

Primary Health Care Mobile Doctor (2)

ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ

สุขภาพ หมายถึงภาวะเป็นสุขทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่มนุษย์พึงได้รับอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำรง

ชีวิตได้อย่างปกติสุข มีสุขภาวะที่เหมาะสม สังคมเอื้ออาทร ลดความรุนแรง สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ สามารถเข้าถึงบริการ

สาธารณสุขได้เสมอทั้งเรื่องการป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย หรือเมื่อทุพพลภาพ เมื่อ

มนุษย์ทุกคนได้รับบริการ มีบรรยากาศสุขภาวะที่ดี ไม่มีคนใดคนหนึ่งถูกแบ่งแยก กีดกันออกไปจากระบบสุขภาพ เมื่อนั้นจึงจะเรียก

ได้ว่าเกิดความเป็นธรรมด้านสุขภาพขึ้น( สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ) แต่ในสภาพปัจจุบัน คนที่ไม่มีเอกสารแสดงสถานะบุคคลว่าเป็นคนไทย

เช่น กลุ่มชาวเขาบางส่วน กลุ่มคนไทยที่ถูกกันออกไปเมื่อมีการแบ่งแยกประเทศ คนไร้บ้าน เหล่านี้ไม่ได้รับการดูแลรักษาเพราะถูก

มองว่าไม่ใช่คนไทยเนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน ทั้งที่เกิดและเติบโตในเมืองไทย นี่คือความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่ดำรงคงอยู่

ขณะเดียวกัน แม้เป็นคนไทย มีบัตรประชาชน เช่นผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กและคนเร่ร่อน ที่ถูกทอดทิ้ง แต่เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่อาจ

ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ เช่น

- ไม่มียาที่เหมาะสมกับสาเหตุการเกิดโรค อันเนื่องจากราคายาที่สูง รัฐบาลไม่อาจจัดสรรให้ได้ ภายใต้ระบบหลัก ประกัน

สุขภาพ

- ฐานะทางเศรษฐกิจ ความยากจน เมื่อเจ็บป่วยไม่มีเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มาขอรับบริการ

- ขาดการศึกษา ทำให้ไม่ทราบถึงสิทธิด้านสุขภาพ ไม่ทราบขั้นตอนการเข้าถึงบริการ

การมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ไม่ดี ที่อยู่อาศัยไม่ถูกหลักสุขาภิบาล

- ความเชื่อ วัฒนธรรม เช่น เชื่อว่าการรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ดีกว่าการรักษากับแพทย์

- การเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยหรือคนเร่รอน การย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ ทำให้การรักษาพยาบาลโรค

ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น วัณโรค เบาหวาน ความดันโลหิต

- สภาพทางสังคม สังคมไม่ยอมรับ เช่น ไม่มีญาติ ติดยาเสพติด เช่น ติดยาบ้า ติดสุราเรื้อรัง ยิ่งทำให้บุคคลเหล่านี้ห่าง

ไกลสังคมมากขึ้น ทำให้เป็นปัญหาเวลาจะเข้ารับบริการด้านสุขภาพ

-----

สถานการณ์ปัจจุบัน

โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร รับผิดชอบ ประชากร จำนวน 70,516 คน มีผลงานการขึ้นทะเบียน

ครอบคลุมประชากร ร้อยละ 99.97( ข้อมูล ณวันที่31 ตุลาคม 52 ) ส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ร้อยละ 0.03 ซึ่งมีปัจจัย

หลาย ๆด้าน ที่ทำให้การขึ้นทะเบียนไม่ครอบคลุม 100 % เช่น เกิดจากการย้ายถิ่นของประชากร แล้วไม่แจ้งที่อยู่ให้ชัดเจน จึง

ยากที่จะติดตาม มักเกิดฤดูหลังการเก็บเกี่ยว บางกรณีไม่มีแม้แต่เลขที่บัตรประชาชนซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียน

ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ การถูกปลดสิทธิ คนไร้สัญชาติ ฯลฯ บุคคลส่วนน้อยเหล่านี้ ยังวนเวียนอยู่ใน วงจร

แห่งความแห่งความยากจน คือ ขาดการศึกษา ยากจน และเจ็บป่วย บางคนถูกสังคมทอดทิ้ง ซึ่งจะได้เห็นเป็นประจำ

จากรายการทางโทรทัศน์ เช่น รายการ

วงเวียนชีวิต คนค้นคน เด็กเก่าหัวใจแกร่ง เป็นต้น

กรณีศึกษา

.......

 

ประวัติส่วนตัว

 

ผู้ป่วยชายไทยอายุ 66 ปี สถานภาพสมรส แยกกันอยู่กับภรรยา มีบุตร 1 คนภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 4 ตำบลลุมพุก

อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

 

ประวัติครอบครัว

 

ในครอบครัวมีพี่น้องทั้งหมด 6 คน ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ 3 คน คือตัวผู้ป่วย พี่ชาย และน้องชายที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและชอบดื่ม

สุราทำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัวอยู่เป็นนิจ

 

บุคลิกลักษณะนิสัย

 

เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่าย พูดจาโผงผางตรงไปตรงมา หยิ่ง มีศักดิ์ศรีของตนเอง สูบบุหรี่โดยใช้ใบตองพันกับยาเส้น ประมาณ 30

มวนต่อวัน ดื่มสุราวันละ 3 เป๊ก ปัจจุบันเลิกดื่มสุราแล้ว แต่ยังสูบบุหรี่ ประมาณ 3 มวนต่อวัน มีอาชีพรับจ้างโดยทำงานไปเรื่อยๆ

เนื่องจากภรรยาและลูก ไล่ออกจากบ้าน เพราะมีนิสัยชอบขโมยของภายในบ้าน และของเพื่อนบ้านไปขายเพื่อมาซื้อสุราดื่มเป็น

ประจำ

ประวัติการเจ็บป่วย

ปลายปี พ.ศ. 2547 ได้รับอุบัติเหตุทางตา โดยตาขวาโดนใบข้าวบาดจนตาเป็นหนอง แพทย์ส่งตัวไปรับการรักษาที่โรง

พยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี แต่แพทย์ก็รักษาไม่ได้ ทำให้ตาข้างขวาบอด

17 กุมภาพันธ์ 2549 ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว แต่ผู้ป่วยไป

รับจ้างที่ต่างจังหวัด ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคก็พยายามติดตามตัวมารักษาต่อ โดยเริ่มการรักษาใหม่ถึง 3 รอบ ในระหว่างติดตามการ

รักษานั้นผู้ป่วยได้แพร่เชื้อวัณโรคให้กับพี่ชายทำให้พี่ชายต้องเข้ารับการรักษาโรควัณโรคจนหายขาดโดยการกินยาจนครบ

6 เดือน แต่สำหรับผู้ป่วยนั้น ยังขาดยาทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง

5 มีนาคม 2550 เข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ด้วยโรควัณโรคปอด แต่เนื่องจากเป็นจากการกลับเป็น

ซ้ำโรคเดิมแพทย์ ให้การรักษาด้วยสูตร CAT 2 ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาทั้งยากินและยาฉีดอย่างต่อเนื่อง 8 เดือนตามแผน

การรักษาอย่างครบถ้วน แต่เนื่องจากผู้ป่วยเองไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง จึงทำให้การติดตามดูแลผู้ป่วยไม่ต่อเนื่อง ตลอดจนไม่มีญาติ

คนใดรับดูแลผู้ป่วยเลย ทำให้เกิดคำถามว่าเราทีมสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลุมพุก จะดูแลผู้ป่วยรายนี้ให้หายขาด

และไม่แพร่เชื้อวัณโรคสู่ชุมชนได้อย่างไร ดังนั้นทีมดูแลจึงได้ประสานงานกับ ผู้นำชุมชน อสม. และประชาชน ทั้ง 3 หมู่บ้าน

ประกอบไปด้วยบ้านขี้เหล็ก บ้านร่องคำ และบ้านสมสะอาด และคณะครูโรงเรียนวุฒิศักดิ์คุรุราษฎร์อุปถัมภ์ พร้อมทั้งเจ้าอาวาสวัดขี้

เหล็กใหญ่มาร่วมระดมสมอง และแสดงความคิดเห็น ในการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยรายนี้ ที่สำคัญที่สุดนั้น คือเน้นที่การให้ผู้ป่วยมีที่

อยู่อาศัยที่ปลอดภัย ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง และการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคเข้าสู่ชุมชน

 

 

 

จากการทำประชาคมในครั้งนี้ทำให้เกิดกระท่อมรวมน้ำใจขึ้นมา 1 หลังโดยที่ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมบริจาควัสดุ และ

อุปกรณ์ในการก่อสร้างและผู้นำชุมชนตลอดจน อสม.และประชาชนในหมู่บ้านมาสร้างกระท่อมหลังนี้ขึ้น และทางวัดได้ดูแลเรื่อง

ข้าวปลาอาหารของผู้ป่วยทุกวัน ทำให้การรักษาผู้ป่วยในรอบนี้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดูแลผู้ป่วย คือได้รับยาครบตามกำหนด

อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เสียงสะท้อนจากชุมชนและเจ้าหน้าที่ซึ่งคอยติดตามให้การดูแลภายหลังได้รับการรักษานั้น

ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังได้กำลังใจอย่างใกล้ชิดจนผู้ป่วยครบตามแผนการรักษาและได้รับการตรวจซ้ำว่าหายจากการ

ป่วยเป็นวัณโรคเมื่อ 21 พ.ย. 2550

ด้วยความไม่แน่นอนของชีวิตของคนเรา กระท่อมที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ได้ถูกรื้อทิ้งโดยน้องชายของผู้ป่วยเองเพราะมีเรื่อง

ทะเลาะกันอยู่เกือบทุกวันและได้ให้ผู้ป่วยไปอยู่กระท่อมปลายนาคนเดียวซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านไปประมาณ 3 กิโลเมตร ทำให้ผู้ป่วย

เที่ยวเร่ร่อนไปเรื่อยๆอีกครั้งหนึ่งแต่ช่วงตอนเย็นจะกลับไปนอนที่กระท่อมกลางนาทางลัดไปบ้านดอนเขืองและต่อมาหลานชายและ

หลานสะใภ้ถูกไล่ออกจากบ้านมาอยู่กระท่อมปลายนาทำให้ ผู้ป่วยไม่มีที่พักอาศัยจำต้องนอนพักที่โค่นต้นไม้ข้างกระท่อมปลายนา

ต่อมาผู้ป่วยมีไข้สูง ญาตินำส่ง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ที่หอผู้ป่วยในชายของโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว แต่เนื่องผู้ป่วยมีอาการติด

เชื้อรุนแรงเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว แพทย์ผู้รักษาจึงตัดสินใจส่งตัวไปรักษาที่ โรงพยาบาลยโสธร ในช่วง

ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร ตามแผนการรักษาของแพทย์ผู้ป่วยต้องเจาะคอเพื่อช่วยชีวิตและรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาล

ยโสธรเป็นเวลา 1 เดือน จึงถูกส่งตัวกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาล

คำเขื่อนแก้วเมื่อพ้นภาวะวิกฤตและได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากทีมสุขภาพของโรงพยาบาล

คำเขื่อนแก้ว จากสภาพที่คนป่วยที่ได้รับการให้อาหารทางสายยางและมีแผลกดทับจนผู้ป่วยสามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ในกิจวัตร

ประจำวันได้เป็นอย่างดีเป็นเวลา 7 เดือน มีนาคม 2552 – กันยายน 2552 และทางหอผู้ป่วยในชายได้ประสานงานมายังศูนย์

สุขภาพชุมชนตำบลลุมพุก เพื่อเตรียมครอบครัวและชุมชนในการกลับบ้านของผู้ป่วยอีกครั้ง

 

  

เมื่อมาถึงตอนนี้หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลุมพุก ก็คือการประสานงานเพื่อจัดหาที่อยู่ที่ปลอดภัยและมีผู้

ดูแลเรื่องอาหาร จึงได้มีการทำประชาคมของ 3 หมู่บ้านขึ้นอีกจำนวน ถึง 3 รอบ เพราะยังมีข้อขัดแย้งในตัวของสมาชิกในชุมชนเอง

และยังไม่มีใครที่จะยอมรับในตัวผู้ป่วย เพราะสมากชิกชุมชนยังยึดติดอยู่กับอดีตที่เคยทำกระท่อมให้แล้วแต่ก็ยังถูกรื้อทิ้ง แต่ในที่

สุดก็มีญาติของผู้ป่วยเองซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันอนุญาตให้ผู้ป่วยอาศัยอยู่ด้วย โดยมีคณะผู้นำและแพทย์ประจำตำบลเป็นผู้ดูแลใน

การจัดทำที่พักให้ซึ่งเป็นใต้ถุนยุ้งข้าวเอาเตียงไปวาง มีผ้าบังแดดบังฝน และกางมุ้งเวลานอนเพื่อป้องกันยุงกัด และอาสาเป็นผู้ดูแล

เรื่องอาหารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้งหนึ่งแต่ในการดูแลครั้งนี้ ญาติมี

เงื่อนไขว่า ตัวผู้ป่วยเองต้องไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

และทางทีมเจ้าหน้าที่ ก็ได้ออกติดตามดูแลผู้ป่วยทุกเดือนเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและส่งเสริมและเสริมสร้างกำลังใจ

ญาติผู้ดูแลเพื่อให้มีความภาคภูมิใจที่จะดูแลผู้ป่วยต่อไป

จากการประเมินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยครั้งล่าสุด ผู้ป่วยมีความสุขตามอัตภาพ มีขวัญและกำลังใจที่ดี มีความพึงพอใจ

กับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 

 

ผมส่งการบ้านให้อาจรย์ครับ ในนาม...เขื่อนแก้วครับ

อาจารย์ครับ Primary Health Care Mobile Doctor ได้รับรางวัลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ด้านแพทย์เวชศาสร์ครอบครัวและการบริการปฐมภูมิ ได้ไปดูงาน Primary Care ที่ สิงคโปร์ 21-22 ธันวาคมนี้ครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

กฤษฎิ์

เรื่องความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ขอเรียนอาจารย์ดังนี้ครับ

Q:ในพื้นที่ของท่าน มีคนเหล่านี้อยู่มากน้อยเพียงใด? อยู่ที่ไหนบ้าง?

โรงพยาบาลกมลาไสยเป็นโรงพยาบาลที่มีผู้รับบริการจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่มีฐานะดี และกลุ่มที่ยากจน ในการให้บริการโรงพยาบาลกมลาไสยได้ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่ม สามารถดูได้จากการใช้ยาในบัญชียาเดียวกันหมดทุกคน บุคคลากรไม่ว่าแพทย์หรือพยาบาลก็ให้บริการผู้ป่วยเหมือนกัน อุปกรณ์เครื่องมือก็ใช้เหมือนกัน ที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ที่เป็นผู้ด้อยโอกาส จำนวนไม่มากนัก

หากจะวิเคราะห์ลึกลงไป จะเห็นว่าผู้ด้อยโอกาส เหล่านี้จำแนกได้เป็น

1.มีสิทธิในการรักษาพยาบาล แต่เข้าไม่ถึงบริการเนื่องจาก

- ไม่มีค่ารถ หรือ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่มีพาหนะมา

- กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่มีคนพามา

- พิการ ไม่สามารถมาเองได้

- เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ เช่น โรคเรื้อน

2.ไม่มีสิทธิในการรักษาพยาบาล จึงเข้าไม่ถึงบริการ เช่น

- เป็นคนต่างด้าว

- คนไทยที่ไม่ได้แจ้งเกิด

จะเห็นว่าคนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้ด้อยโอกาส เราจะทราบได้อย่างไรว่าเขาอยู่ที่ไหนบ้าง

เราจะทราบโดยการสำรวจและออกเยี่ยมบ้านขึ้นทุกหลังคาเรือน และทำแผนที่เดินดินก็จะทราบได้ ต้องทำเป็นเชิงรุกเข้าไปในชุมชน

Q:ท่านมีแผนที่จะเอื้อให้เขามีหลักประกันสุขภาพอย่างไร? เครือข่ายสังคมในชุมชนมีบทบาทอย่างไร ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลคนเหล่านี้ องค์กรส่วนท้องถิ่น ตระหนักและนำประเด็นเหล่านี้ไปถกเถียง วางแผนแก้ปัญหากันหรือไม่?

ต้องเรียนอาจารย์ให้ทราบว่า รพ.กมลาไสย มี UC coverage สูงที่สุดใน จ.กาฬสินธุ์ 99.78% เนื่องจากว่าเรามีความร่วมมือกัน ระหว่าง รพ. ,สสอ. ,สอ. และองค์กรส่วนท้องถิ่น ในการสำรวจว่ายังมีใครบ้างในชุมชนที่ยังไม่มีหลักประกัน เราจะประสานกันเป็นอย่างดีแล้วรีบดำเนินการให้

Q:ท่านเคยเอาข้อมูลในแฟ้มครอบครัว ประกอบกับข้อมูลที่คุณหมอโกมาตร เขียนเป็นตำราไว้ มาใช้ประกอบการประเมินสถานการณ์และนำเสนอเข้าที่ประชุมทีมสหวิชาชีพของท่าน ที่ PCU เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่เชื่อมโยงสู่ครอบครัวและชุมชน หรือไม่ อย่างไร?

เราจะมีการประชุมคปสอ.ทุก1-2เดือน จะมีการนำเอาปัญหาต่างๆเหล่านี้เข้าที่ประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน และในพื้นที่อ.กมลาไสย มีการสำรวจและจัดทำแฟ้มครอบครัวครบทุกหลังคาเรือน

Q:ขอให้ทุกท่านกรุณาทำการบ้านเรื่องนี้และส่งกรณีศึกษามา คนละ 1 กรณี บอกถึงสถานการณ์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาที่ท่านทำอยู่ ขอให้ใช้ประสบการณ์จริงในชุมชนของท่านนะครับ

ขอยกตัวอย่างคนไข้ในรพ. ผู้ป่วยเพศหญิงเป็นผู้พิการและมีปัญหาด้านจิตเวช มารับยาจิตเวชโดยที่สามีพามา แต่ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากไม่มีเลขบัตรประชาชน เจ้าหน้าที่จึงได้พาผู้ป่วยและสามีมาที่ห้องประกันสุขภาพ เจ้าหน้าที่ห้องประกันสุขภาพได้พูดคุย และพบว่าสามีผู้ป่วยปั่นสามล้อ หาเลี้ยงชีพส่วนตัวผู้ป่วยไม่มีญาติพ่อแม่เสียชีวิตหมด เมื่อพ่อแม่ยังมีชีวิตไม่ได้แจ้งเกิดให้กับผู้ป่วยจึงไม่มีเลขบัตรประชาชน งานประกันสุขภาพจึงได้ประสานไปที่หน่วยปฐมภูมิที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ และให้หน่วยปฐมภูมินัดผู้ใหญ่บ้าน ประธานอสม. เจ้าหน้าที่หน่วยปฐมภูมิและเจ้าหน้าที่งานประกันสุขภาพไปที่บ้านผู้ป่วย เพื่อปรึกษาหารือหาทางช่วยเหลือผู้ป่วย สรุปผู้ใหญ่บ้านพาผู้ป่วยและสามีผู้ป่วยไปที่ที่ว่าการอำเภอ และรับรองว่าผู้ป่วยเกิดที่ประเทศไทย ผู้ป่วยจึงได้เลขบัตรประชาชน สามารถทำบัตรทองผู้พิการได้ และเป็นสาเหตุให้งานประกันสุขภาพโรงพยาบาลกมลาไสย ทำโครงการสร้างเครือข่าย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มาเป็นแนวร่วมในการร่วมมือกับโรงพยาบาลกมลาไสย ในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่พบในชุมชน โดย

1. จัดประชุมเครือข่ายอปท. ปีละ3 ครั้ง

2. นำปัญหาที่พบในชุมชน เสนอในที่ประชุมเพื่อหาทางช่วยเหลือ(ในส่วนอปท.ที่มีงบ)

3. ประสานสังคมสงเคราะห์จังหวัดเพื่อขอความช่วยเหลือตามปัญหาของผู้ด้อยโอกาส

4. ในโรงพยาบาลกมลาไสยมีทีมสังคมสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือและมีสิทธิพิจารณาช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่มารับบริการที่โรงพยาบาล

5. มีแผนที่จะใช้งบบริจาคที่มีอยู่ให้ผู้ด้อยโอกาสยืมเพื่อเป็นทุนสร้างอาชีพต่อไป

จาก..... นพ.สุพัฒน์ ธาตุเพชร

รพ.กมลาไสย จ. กาฬสินธุ์

เริ่มมีความเคลื่อนไหวของความคิดเห็นมากขึ้น พอเราได้ Case study ครบ เราก็จะมาสกัดดูว่าลักษณะของปัญหาความไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอย่างไร? มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆ แนวทางการแก้ไข เราได้ดำเนินการไปแล้วอย่างไรบ้าง? มีอะไรที่เราควรจะต้องทำเพิ่มเติม? เราจะจัดการเฝ้าระวังสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมได้อย่างไร? ซึ่งหากเราได้คำตอบเหล่านี้ เราก็จะเข้าใจสถานการณ์ปัญหาในเชิงโครงสร้างมากขึ้น และจะนำไปสู่การพัฒนาระบบเพื่อการแก้ปัญหาเหล่านี้ต่อไป

ผมขอเน้นว่า การทำกรณีศึกษาที่มอบหมายให้นั้น เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ ส่วนหนึ่ง ที่จะนำไปสู่ข้อคำถามเพื่อการวิจัย (Research Question) ตอนที่เราจะต้องเรียนวิชาระเบียบการวิจัยฯต่อไป

ช่วงปีใหม่ เราคงยุ่งกันทั้งงานในหน้าที่ และในฐานะผู้นำครอบครัว เข้าในว่าเรามีภาระงานหนัก แต่การเรียนก็ต้องมีมาตรฐาน และการประเมินผล ซึ่งผมต้องดูแลรับผิดชอบ จึงอยากจะขอให้พวกเราจัดเวลาให้ดี และถือว่า เป็นบททดสอบความเป็นผู้นำของพวกเราทุกคน

ขอให้ทุกคนมีความสุขในวันปีใหม่ที่จะมาถึง และมีความสุขในการเรียนและการทำหน้าที่ของตน

ชนินทร์ เจริญกุล

 เรื่องเล่าการการดำเนินงานในชุมชน  “ใกล้บ้านใกล้ใจ  ห่วงใยสุขภาพ”

สถานการณ์ปัญหาอำเภออาจสามารถ  จังหวัดร้อยเอ็ด 

1.ข้อมูลทั่วไป

                โรงพยาบาลอาจสามารถ  สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด  กระทรวงสาธารณสุข  เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด  30  เตียง  มีพื้นที่  25  ไร่  ปัจจุบัน  มีนายแพทย์  ธารา  รัตนอำนวยศิริ  เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล  มีเขตพื้นที่รับผิดชอบ   10  ตำบล   138 หมู่บ้าน  10  อบต.  1  เทศบาล  รวม    17,126   หลังคาเรือน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และนับถือศาสนาพุทธ       ประชากรในเขตรับผิดชอบ  74,504  คน  ชาย  37,336 คน คิดเป็น  ร้อยละ 50.11     หญิง   37,168 คน คิดเป็น  ร้อยละ 49.89     เป็นผู้สูงอายุ  จำนวน  10,113  คิดเป็น  ร้อยละ 13.57    ผู้พิการจำนวน  738  ราย  คิดเป็น ร้อยละ 0.99  วัยแรงงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 37  ไปทำงานที่ต่างจังหวัด  และส่งลูกมาให้ผู้สูงอายุที่บ้านดูแลหรือไปๆมาๆทีที่อยู่ไม่แน่นอน  ซึ่งมีผลทำให้เด็กบางส่วนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ  และไม่ได้รับการดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับตามแต่ละช่วงอายุ

                ที่สำคัญจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ปัญหาส่วนหนึ่งที่สมควรได้รับการแก้ไขคือประเด็นการเข้าถึงบริการสุขภาพ  การครอบคลุมในเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล   และการดูแลให้บุคคลผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆได้รับสวัสดิการที่สมควรได้รับอย่างเสมอภาค  และเท่าเทียมกัน  การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิซึ่งเป็นบริการด่านแรกที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เป็นกลไกและยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุข   เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นของประชาชนอย่างต่อเนื่อง   ช่วยทำให้ระบบบริการสาธารณสุขมีประสิทธิภาพและมีผลลัพธ์สุขภาพที่ดี  ด้วยค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป   เพราะระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิเอื้อต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น และสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพแก่ประชาชน  และยังพบว่าความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะสุขภาพของประชาชน  โดยเฉพาะกลุ่มผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในสังคม  ซึ่งมีบทบาทหลักในการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นของประชาชน  ซึ่งหน่วยบริการปฐมภูมิเป็นหน่วยบริการที่จัดบริการให้แก่ชุมชน  ทั้งในหน่วยบริการและในชุมชน  โดยมีการปรับให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน มีการกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่นและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการ   รวมถึงมีการทำงานเป็นทีม  มีภาคีเครือข่ายทั้งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข  กลุ่มผู้นำชุมชน  กลุ่มแม่บ้าน  และกลุ่มอื่นๆในชุมชน  รวมทั้งหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นแหล่งงบประมาณที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนบริการต่างๆในชุมชน  ซึ่งควรมีบทบาทที่สำคัญในการรับรู้สภาพปัญหาสุขภาพของประชากรในกลุ่มต่างๆเพื่อจะได้สนับสนุนงบประมาณในการดูแล  พร้อมทั้งการพิจารณาจัดสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ  ตามสิทธิที่กลุ่มต่างๆควรจะได้และตามนโยบายที่กำหนด  เพื่อช่วยเหลือให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งจะเอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนต่อไป

 

แนวคิดการดำเนินงาน

                จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า  ประชากรในเขตอำเภออาจสามารถมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย  บนพื้นฐานความเป็นชุมชนชนบท  คนในชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน  ดังนั้นการพัฒนาทุกอย่างต้องตอบสนองความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน  และต้องมาจากความร่วมมือของชุมชน  จึงได้นำแนวคิด  การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย  และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มาใช้ในการดำเนินงาน

 

โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

  1.  ทำความเข้าใจ มิติทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชน  ศึกษาข้อมูล  ประเมินสภาพปัญหา  วางแผนให้การดูแล  ประเมินผล  เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน 

2.เน้นให้บริการแบบผสมผสานครอบคลุม 4 มิติ  ทั้งด้าน การส่งเสริมสุขภาพ  ควบคุมป้องกันโรค  ฟื้นฟูสมรรถภาพ  และรักษาพยาบาลเบื้องต้น  เน้นการดูแลแบบองค์รวม  ต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  ประสานแหล่งประโยชน์ในชุมชน  เพื่อให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด

3.เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค  ฟื้นฟูสมรรถภาพ  รักษาพยาบาลเบื้องต้นให้การดูแลแบบองค์รวม อย่างต่อเนื่องและเข้าใจผู้ป่วย  และมีระบบส่งต่อที่ดี

4.เน้นการสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดูแลในชุมชน  เช่นกลุ่ม อสม.  กลุ่มจิตอาสา

5.ประสานแหล่งประโยชน์ในชุมชนที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เพื่อให้มาสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน  และจัดสวัสดิการให้กลุ่มต่างๆ  เช่น ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ  และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน  ซึ่งขั้นตอนดังนี้

5.1  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อร่วมกันรวบรวมข้อมูล จากการเสนอของผู้เข้าร่วมประชุม  ข้อมูลจากผู้นำชุมชน  ข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และข้อมูลจากสถานบริการสาธารณสุข  เพื่อนำมาวิเคราะห์   จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน  หรือความเดือดร้อนของแต่ละราย

กรณีผู้พิการ

เริ่มตั้งแต่การสำรวจจำนวน  รายชื่อผู้พิการของแต่ละหมู่บ้าน  ร่วมกับ อสม.ประเมินสภาพผู้พิการ  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนผู้พิการ  พร้อมเตรียมหลักฐาน  และส่งผู้พิการมารับการตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อขอหนังสือรับรองความพิการ  และในกรณีที่ผู้พิการไม่สามารถเดินทางมาเองได้  หรือไม่มีคนดูแล  ก็ดำเนินการประเมิน  รวบรวมข้อมูลทั้งทางกาย  จิต  เศรษฐกิจ  สังคม  เพื่อรายงานต่อแพทย์ผู้ออกหนังสือประเมิน  และรวบรวมหลักฐานเพื่อไปดำเนินการจดทะเบียนผู้พิการและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาให้เงินช่วยเหลือ  เป็นการให้บริการแบบองค์รวม  และอำนวยความสะดวกโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางและผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุด

5.2  เครือข่ายต่างๆที่ร่วมประชุมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการให้การดูแลตามบทบาทของแต่ละหน่วยงาน  และไปดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

5.3  มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานว่ากลุ่มที่มีความเดือดร้อนต่างๆได้รับการช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนหรือยัง  หรือยังเหลือส่วนไหนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ  มีปัญหาอุปสรรคอะไร  และในส่วนนั้นเป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานใด  เพื่อที่ทีมจะได้ติดตามให้ได้รับการช่วยเหลือตามนั้น  ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ในระดับพื้นที่ / อำเภอ  จะได้ดำเนินการส่งเรื่องไปขอรับความช่วยเหลือที่ระดับจังหวัดต่อไป

6.เน้นให้มีการใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7.เน้นการดูแลต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน  โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  ครอบครัวและชุมชน

8.มีการแสวงหาความรู้  ผลการวิจัย  นวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินงาน

                ผลการดำเนินการ

ประชาชนในชุมชนได้รับบริการที่สะดวก  ในการเข้าถึงบริการ  ได้รับบริการที่มีบรรยากาศเป็นกันเอง  ได้มีเวลาพูดคุยซักถามปัญหาต่างๆที่บ้าน / รวมกันในชุมชน

ทพ.สันติภาพ  มีสวัสดิ์

 

กรณีศึกษาเรื่อง     Paraplegia  c  UTI

ข้อมูลทั่วไป                ผู้ป่วย  อายุ 39 ปี    เพศชาย เชื้อชาติ   ไทย    สัญชาติ  ศาสนา  พุทธ 
ที่อยู่ปัจจุบัน   ม. 11  บ้านแวง  ต. หนองขาม  อ. อาจสามารถ  จ. ร้อยเอ็ด
เข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยในและได้ส่งปรึกษากายภาพบำบัด 

 อาการสำคัญ (CC)เดินไม่ได้ ขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน (PI)มีอาการเจ็บท้อง   ไข้   แสบขัดเวลาปัสสาวะ 
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตเคยประสบอุบัติเหตุรถชนกันเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และได้รับการผ่าตัดที่กระดูกสันหลังส่วนคอ
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวผู้ป่วยอาศัยที่บ้านมีสมาชิกทั้งหมด 5 คนประกอบด้วย ภรรยา  ลูกชาย 2  คน  ลูกสาว  1  คน และผู้ป่วย สมาชิกไม่มีโรคประจำตัว  ไม่แพ้ยา  ผู้ป่วยปกติสุขภาพแข็งแรง  ไม่มีมีโรคประจำตัว  เวลามีไข้ หรือเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ  จะไปตรวจที่ คลินิก  จนมาประสบอุบัติเหตุ                                                            

Problem  lists

  1. muscle  weakness
  2. fair ADL 

อัมพาตครึ่งท่อน
            อัมพฤต อัมพาตครึ่งท่อน ในภาษาอังกฤษ์ใช้คำว่า paraparesis หรือ paraplegia เข้าใจง่ายๆ ว่า คือ ความพิการที่แสดงในลักษณะอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ  และมีความผิดปกติของการรับรู้ของร่างกายครึ่งท่อนของร่างกาย  โดยมักเป็นตั้งแต่ช่องเอวลงไป และสามารถใช้มือแขนได้อย่างปกติ

สาเหตุของอัมพฤตอัมพาตครึ่งท่อนมีหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุกระดูกสันหลังหัก
โรคบางชนิดที่เข้าทำลายไขสันหลัง  สังเกตได้ว่า  อัมพฤต อัมพาตครึ่งท่อนจะมีปรากฏก็ต่อเมื่อมีความเสียหายต่อไขสันหลัง

ไขสันหลังของนั้นจะวางตัวในช่องกระดูกสันหลังที่มีหน้าที่คอยปกป้องไขสันหลัง (กระดูกสันหลังแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ คอ อก เอว ซาครัม (Sacrum) และค๊อกซิก (Coccyx))     ไขสันหลังทำหน้าที่ในการรับ-ส่ง และเชื่อมต่อระบบประสาทจากสมองไปสู่ร่างกายในส่วนต่างๆ

เมื่อไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บจนกลายเป็นอัมพฤตอัมพาตครึ่งท่อน ไขสันหลังจะได้รับบาดเจ็บตั้งแต่ช้ำ ฉีกขาดเล็กน้อย จนฉีกขาดออกจากกัน อาการที่ปรากฏก็ตั้งแต่อ่อนแรงเล็กน้อย จนไม่สามารถขยับเนื้อขยับตัวได้เลย  อาการอื่นๆ ที่จะพบด้วย ได้แก่ ความผิดปกติในการขับถ่าย ไม่สามารถควบคุมได้  สูญเสียการรับความรู้สึก  ไม่ก็รับรู้ผิดปกติผิดจากความเป็นจริง เช่น
ไวเกินไป

เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นอัมพฤตอัมพาตครึ่งท่อนแล้ว สิ่งแรกที่เกิดคือ ความรู้สึกช็อก จึงควรตั้งสติให้ได้เพื่อพิจารณาหนทางวิธีการในการดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อพัฒนาดำรงอยู่ให้ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีแต่อย่าขาดสติพิจารณา เพราะหากไม่รอบคอบจะกลายเป็นการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพร่างกายที่มีอยู่ให้ดี บางครั้งยังเป็นการทำลายก่อความเสียหายแก่ร่างกายมากยิ่งขึ้นดั่งปรากฏเป็นข่าวคราวต่างๆ

การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นวิธีการสำคัญในการสร้างพัฒนาความสามารถศักยภาพที่มีอยู่ให้สามารถดำรงชีวิตได้  การฟื้นฟูสมรรถภาพมีด้วยกันมีหลายประการซึ่งขึ้นกับความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

คนอัมพฤตอัมพาตครึ่งท่อนจะต้องได้รับการตรวจประเมินอย่างถูกต้อง ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถ 4 วันจึงได้รับการจำหน่ายกลับบ้าน  นักกายภาพบำบัดจึงวางแผนออกให้การฟื้นฟูสมรรถภาพต่อที่บ้าน

  การติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน
ครั้งที่  1 
ผู้ป่วย  on  urine  bag  ลุกนั่งได้เอง  นักกายภาพบำบัดสอนญาติ ( ภรรยา )  ให้ทำ passive  execise  ในส่วนของขาทั้ง  2  ข้าง  เพื่อป้องกันข้อติด  ให้ผู้ป่วยฝึกออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในส่วนของกล้ามเนื้อแขนทั้งสองข้าง  และกล้ามเนื้อต้นขาเพื่อให้มีกำลังมากขึ้น
ครั้งที่  2  นักกายภาพบำบัดสอนให้ญาติผู้ป่วยทำอุปกรณ์เพื่อให้ในการฝึกออกกำลังที่บ้านโดยดัดแปลงจากวัสดุที่หาได้ง่ายในชุมชน  ดังนี้
1  โครงเหล็กหัดยืน  เพื่อใช้ในการฝึกผู้ป่วยยืนลงน้ำหนักที่เท้าทั้งสองข้าง


2.  ราวรอกเพื่อฝึกกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างในท่ากางขา  หุบขา  ยกขาขึ้นลง  โดยทำจากไม้ไผ่ 

 

3. ทำราวฝึกเดิน  โดยผู้ป่วยสามารถเดินได้แต่ต้องอาศัยท่อ  PVC  ดัดแปลงสวมบริเวณข้อเข่าจึงจะสามารถเดินได้  ประมาณ  5  นาที

4. ต่อมา  ผู้ป่วยต้องการไป  admit  เพื่อฝึกกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ญาติจึงมาติดต่อขอใบส่งตัว

ขอโทษนะครับ เอาภาพขึ้นโชว์ไม่เป็นครับ

อาจารย์คะ ขอส่ง กรณีตัวอย่างผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านที่ได้ดุแลอยู่นะคะ

ประวัติ

ผู้ป่วยหญิง อายุ 76 ปี เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2478 ที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา มีลูกทั้งหมด 5 คน ได้อพยพพร้อมลูกสาวคนเล็กและหลานสาว 2 คน มาอยู่ที่บ้านเลขที่ 278 ม. 6 ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี. 2535 พร้อมกับสิ่งที่ติดตัวมาคือ ร่องรอยความพิการจากโรคเรื้อน ซึ่งด้วยความผูกพันและใกล้ชิดกับหลานทำให้หลานสาวคนโตติดโรคเรื้อนมาจากผู้เป็นยาย

ปัจจุบันที่บ้านยาย ฯ อาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือลูกสาวคนเล็กที่มีอาชีพรับจ้างรายวันทั่วไป สามีใหม่ของลูกสาวคนเล็กที่ขี้เมากินเหล้าเมาเกือบทุกวัน อาชีพรับจ้างรายวันเช่นกัน แต่ไม่เคยพอค่าเหล้าภรรยาต้องตามใช้หนี้ให้ประจำและชอบเมาอาละวาดที่บ้านบ่อยๆ หลานสาวคนโตที่ได้รับการรักษาโรคเรื้อนหายแล้วและตั้งท้องขณะเรียนจนคลอดลูกทิ้งไว้ให้ลูกสาวของยายเลี้ยงส่วนเจ้าตัวไปทำงานที่กรุงเทพฯและหลานสาวคนเล็กกำลังเรียน ปวช.ปี3 ที่วิทยาการอาชีพแห่งหนึ่ง ซึ่งทั้ง 6 ชีวิต ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง อาศัยบ้านหรืออาจเรียกได้ว่ากระท่อมเก่าๆ ยกใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ เสาโย้เย้ สภาพบ้านมีเพียงห้องเดียว ฝาสังกะสีเก่าๆตีสลับกับไม้ปีกปิด 3 ด้าน ไม่มีประตู หน้าต่าง ปลูกสร้างบนที่ดินประมาณ 50 ตารางวา ส่วนยายฯ เนื่องจากเป็นคนแก่ หลงๆลืมๆ จึงไม่ค่อยมีคนสนใจและลูกได้ต่อหลังคาสังกะสียื่นออกไปจากตัวกระท่อมไปด้านหลังประมาณวาเศษๆล้อมรอบด้วยหญ้าคา 3 ด้านพื้นไม้ปีกปูไม่เรียบ มีที่นอนเก่าๆ ปูไว้อาศัยเป็นที่นอน ผ้าห่มขาดกวิ่น พาดไว้กับฝาหญ้าคา พื้นสกปรกมีขี้ไก่เศษดินเต็มไปหมด และมีถังน้ำไม่มีฝาใส่น้ำไว้ให้ดื่มกินระหว่างวันเวลาหิว

เนื่องจากยาย ฯ มีรอยความพิการจากโรคเรื้อน นิ้วเท้ากุดผิดรูปลุกเดินช่วยเหลือตัวเองลำบาก จึงไม่ค่อยได้พบปะผู้คน เมื่อเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมยาย ฯ แสดงอาการหวาดกลัวใช้มือทั้งสองข้างดันตัวเองเพื่อจะคลานหนีไปป่าละเมาะหลังบ้าน เจ้าหน้าที่ต้องสกัดทางออกจากกระท่อมเพื่อไม่ให้ยายหนีและพูดจาด้วยความใจเย็น กอรปกับจัดคนไปเยี่ยมพร้อมของฝากบ่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบัน ยายสีดาหวาดกลัวคนแปลกหน้าในการเยี่ยมน้อยลง พบปะผู้คนได้มากขึ้น กล้ารับขนมมากินต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยความเอร็ดอร่อยจนหมดเกลี้ยงแม้แววตาจะยังหวาดกลัวอยู่ และยาย ฯ เริ่มมีอาการตาฝ้าฟาง ต้องกินอยู่ในพื้นที่ของตนเองเท่านั้น

ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ รพ.โนนดินแดง ได้ประสานกับสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคที่ 5 นครราชสีมา รับเบี้ยยังชีพจากสถานบันราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมย์เดือนละประมาณ 1,300 บาทเรียบร้อยแล้ว และกำลังดำเนินการขอเบี้ยยังชีพผู้พิการ,เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจาก อบต.ให้เนื่องจากกฏหมายใหม่เอื้อประโยชน์กับผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีเงินอุดหนุนจากสถานบันราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมย์ สภาพความเป็นอยู่ของยายสีดาก็ไม่ได้แต่ต่างจากเดิมมากนักเนื่องจากภาระปัญหาของครอบครัวลูกสาวยังไม่หมดไป ซึ่งจากการติดตามเยี่ยมลูกสาวให้ข้อมูลว่า ยายชอบฉีกข้าวของขาดเสียหายจึงนำของเก่ามาให้ใช้เหมือนเดิมและต้องใช้เงินยาย ฯ จุนเจือครอบครัวตนเองบ้าง ทางเจ้าหน้าที่จึงอธิบายสิทธิที่ยาย ฯ ควรจะได้รับเพื่อการดำรงค์ชีพอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และได้เชิญชวนเจ้าหน้าที่บริจาคข้าวของปัจจัย4 พร้อมกับประสาน อบต. สร้างบ้านใหม่เพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ (อยู่ในช่วงดำเนินการ)

ส่งใหม่ค่ะอาจารย์

อาจารย์คะ ขอส่ง กรณีตัวอย่างผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านที่ได้ดูแลอยู่นะคะ

ประวัติ

.       ผู้ป่วยหญิง อายุ 76 ปี เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2478 ที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา มีลูกทั้งหมด 5 คน ได้อพยพพร้อมลูกสาวคนเล็กและหลานสาว 2 คน มาอยู่ที่บ้านเลขที่ 278 ม. 6 ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี. 2535 พร้อมกับสิ่งที่ติดตัวมาคือ ร่องรอยความพิการจากโรคเรื้อน ซึ่งด้วยความผูกพันและใกล้ชิดกับหลานทำให้หลานสาวคนโตติดโรคเรื้อนมาจากผู้เป็นยาย

.      ปัจจุบันที่บ้านยาย ฯ อาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือลูกสาวคนเล็กที่มีอาชีพรับจ้างรายวันทั่วไป สามีใหม่ของลูกสาวคนเล็กที่ขี้เมากินเหล้าเมาเกือบทุกวัน อาชีพรับจ้างรายวันเช่นกัน แต่ไม่เคยพอค่าเหล้าภรรยาต้องตามใช้หนี้ให้ประจำและชอบเมาอาละวาดที่บ้านบ่อยๆ หลานสาวคนโตที่ได้รับการรักษาโรคเรื้อนหายแล้วและตั้งท้องขณะเรียนจนคลอดลูกทิ้งไว้ให้ลูกสาวของยายเลี้ยงส่วนเจ้าตัวไปทำงานที่กรุงเทพฯและหลานสาวคนเล็กกำลังเรียน ปวช.ปี3 ที่วิทยาการอาชีพแห่งหนึ่ง ซึ่งทั้ง 6 ชีวิต ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง อาศัยบ้านหรืออาจเรียกได้ว่ากระท่อมเก่าๆ ยกใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ เสาโย้เย้ สภาพบ้านมีเพียงห้องเดียว ฝาสังกะสีเก่าๆตีสลับกับไม้ปีกปิด 3 ด้าน ไม่มีประตู หน้าต่าง ปลูกสร้างบนที่ดินประมาณ 50 ตารางวา ส่วนยายฯ เนื่องจากเป็นคนแก่ หลงๆลืมๆ จึงไม่ค่อยมีคนสนใจและลูกได้ต่อหลังคาสังกะสียื่นออกไปจากตัวกระท่อมไปด้านหลังประมาณวาเศษๆล้อมรอบด้วยหญ้าคา 3 ด้านพื้นไม้ปีกปูไม่เรียบ มีที่นอนเก่าๆ ปูไว้อาศัยเป็นที่นอน ผ้าห่มขาดวิ่น พาดไว้กับฝาหญ้าคา พื้นสกปรกมีขี้ไก่เศษดินเต็มไปหมด และมีถังน้ำไม่มีฝาใส่น้ำไว้ให้ดื่มกินระหว่างวันเวลาหิว

.       เนื่องจากยาย ฯ มีรอยความพิการจากโรคเรื้อน นิ้วเท้ากุดผิดรูปลุกเดินช่วยเหลือตัวเองลำบาก จึงไม่ค่อยได้พบปะผู้คน เมื่อเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมยาย ฯ แสดงอาการหวาดกลัวใช้มือทั้งสองข้างดันตัวเองเพื่อจะคลานหนีไปป่าละเมาะหลังบ้าน เจ้าหน้าที่ต้องสกัดทางออกจากกระท่อมเพื่อไม่ให้ยายหนีและพูดจาด้วยความใจเย็น กอรปกับจัดคนไปเยี่ยมพร้อมของฝากบ่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบัน ยายสีดาหวาดกลัวคนแปลกหน้าในการเยี่ยมน้อยลง พบปะผู้คนได้มากขึ้น กล้ารับขนมมากินต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยความเอร็ดอร่อยจนหมดเกลี้ยงแม้แววตาจะยังหวาดกลัวอยู่ และยาย ฯ เริ่มมีอาการตาฝ้าฟาง ต้องกินอยู่ในพื้นที่ของตนเองเท่าน

.       ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ รพ.โนนดินแดง ได้ประสานกับสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคที่ 5 นครราชสีมา รับเบี้ยยังชีพจากสถานบันราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมย์เดือนละประมาณ 1,300 บาทเรียบร้อยแล้ว และกำลังดำเนินการขอเบี้ยยังชีพผู้พิการ,เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจาก อบต.ให้เนื่องจากกฏหมายใหม่เอื้อประโยชน์กับผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีเงินอุดหนุนจากสถาบันราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมย์ สภาพความเป็นอยู่ของยายสีดาก็ไม่ได้แต่ต่างจากเดิมมากนักเนื่องจากภาระปัญหาของครอบครัวลูกสาวยังไม่หมดไป ซึ่งจากการติดตามเยี่ยมลูกสาวให้ข้อมูลว่า ยายชอบฉีกข้าวของขาดเสียหายจึงนำของเก่ามาให้ใช้เหมือนเดิมและต้องใช้เงินยาย ฯ จุนเจือครอบครัวตนเองบ้าง ทางเจ้าหน้าที่จึงอธิบายสิทธิที่ยาย ฯ ควรจะได้รับเพื่อการดำรงค์ชีพอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และได้เชิญชวนเจ้าหน้าที่บริจาคข้าวของปัจจัย4 พร้อมกับประสาน อบต. สร้างบ้านใหม่เพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ (อยู่ในช่วงดำเนินการ)

ขณะนี้ในเขตอำเภอโพนทอง

ถือว่ามีประชาชนหลักประกันสุขภาพส่วนของบัตรทอง 99%  มีกลุ่มไม่มีสิทธิ์บ้าง เช่น แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่บางคนไปเจอกันที่ทำงาน ตามสามีมาอยู่ในอำเภอ ไม่ไปฝากท้อง เพราะไม่มีเงิน ไม่มีบัตร กลัวตำรวจจับ ยังไม่ถึงเวลาให้ไปลงทะเบียน

มีบริการ 1669  อปท.หลายที่เข้ามามีส่วนในการจัดบริการ แต่ ยังมีอุบัติการณ์ ช่วงสงกรานต์ปีที่แล้ว ผู้ป่วยเป็นลมชัก มาโรงพยาบาลไม่ได้    ไม่รู้จัก 1669 จนเป็นเรื่องเศร้า

ปัญหาการเข้าถึงอื่นๆก็ยังมี เช่น บ้านอยู่ไกล เดินทางลำบาก หรือไม่ไกลมาก แต่ไม่มีค่ารถ  ไม่มีคนเฝ้า  หยุดงานไม่ได้

มาเองไม่ได้ คนจะพามาก็ไม่มีศักยภาพ  เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ..

มีบริการเฉพาะบางอย่างที่จำเป็น แต่เข้าถึงได้ยากมากในโพนทอง เช่น บริการทางด้านกายภาพบำบัด การรักษาทางทันตกรรม

คนเล่านี้ ส่วนใหญ่เราไม่ทราบว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน

เฉพาะกรณีผู้พิการเฉพาะในอำเภอ

ข้อมูลล่าสุด  มีผู้พิการใน อำเภอ ที่ขึ้นทะเบียน ทั้ง 5 ประเภท 5 ระดับ  968  คน

ในปี 2551 ประชากร อำเภอโพนทอง ทั้งหมดทุกสิทธิ์การรักษา  101,151 คน ได้รับบริการทันตกรรม (ทั้งส่งเสริมป้องกันรักษาฟื้นฟู ทั้งหมด 21314 ครั้ง  คิดเป็น  การเข้าถึง  210 ครั้งต่อประชากร 1000 ราย

ถ้าดูในส่วนผู้พิการ   ก่อนปีงบประมาณ 2551  ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ชัดเจน แต่จากการสัมภาษณ์ผู้ปฎิบัติงาน มั่นใจว่า รวมกันแล้ว ไม่เกินปีละ 10 ราย โดยบริการที่ได้รับ เป็นการรักษา ( ถอนฟัน)และเป็นผู้ป่วยเด็กแทบทั้งหมด

  ซึ่งเมื่อดูแล้วผู้พิการ น่าจะมีการเข้าถึงบริการทันตกรรม ประมาณ 10 -15ครั้งต่อ 1000 ประชากร

แต่ในปี งบประมาณ 2552 มีการปรับระบบริการทันตกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ และมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการชัดเจน  ทำให้บริการสูงขึ้น  มีการเยี่ยมบ้าน/คัดกรองสุขภาพช่องปากผู้พิการ จำนวน 51 คน

คิดเป็นการเข้าถึงเฉพาะกลุ่มผู้พิการ  51ครั้งต่อ 1000 ประชากร 

กรณีศึกษา

 

ชายไทย ชื่อเล่น น้องนิ  อายุ 22  ปี  มารดาน้องนิบอกว่าได้ตั้งครรภ์น้องนิตามปกติเหมือนบุคคลทั่วไป  พอถึงกำหนดคลอดก็ได้รับการคลอดที่โรงพยาบาล หมอที่ทำการคลอดได้บอกกับมารดาน้องนิว่าให้ตัดสินใจว่าจะให้แม่หรือน้องนิมีชีวิตอยู่รอด  เพราะตอนคลอดนั้นน้องนิได้เอาขาออกมาก่อนซึ่งเป็นการคลอดที่ผิดปกติ  จากนั้นหัวของน้องนิยังติดอยู่ในช่องคลอดอยู่  พอน้องนิออกจากครรภ์แล้ว  ปรากฏว่าน้องไม่หายใจและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น  หมอจึงพยายามช่วยเหลือน้องนิเกือบ  1  ชั่วโมง  น้องนิจึงได้รู้สึกตัว  และได้เข้าห้องอบ  น้ำหนักแรกเกิด  3200 กรัม  หมอบอกมารดาน้องนิว่าน้องนิจะมีอายุสั้นกว่าคนปกติ  มารดาบอกว่าน้องมีหัวโต  ขาลีบ  เดินไม่ได้  พูดไม่รู้เรื่อง

                การเดินทางไปไหนมาไหนกับบิดามารดาน้องนิจะนั่งรถเข็น  ซึ่งได้จากญาติที่อยู่กรุงเทพฯ  ในปัจจุบันคันสีน้ำเงินได้ชำรุดที่จับเข็น  ส่วนคันสีเหลืองเบาะขาดที่พิงหลังขาด  ทั้งสองคันไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดินซึ่งเป็นปัญหาที่จะเดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก  ต้องให้ขี่หลังบิดามารดาตลอดเวลาซึ่งปัจจุบันน้องได้อายุ 22ปี แล้ว  และคอยการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ

ข้อมูลด้านครอบครัวน้องนิได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดา  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน  มีความพิการระดับ 5  ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีปัญหาด้านสติปัญญา  ภาระทุกอย่างจะตกอยู่กับบิดามารดาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน  การอยู่  และไม่จะเรื่องปัสสาวะหรืออุจจาระต้องอุ้มเข้าห้องน้ำทั้งกลางวันและกลางคืน  รวมถึงความสะอาดทุกอย่าง  ในส่วนของโรคทางระบบอื่น  มารดาน้องบอกว่าทุกคนในบ้านไม่มีโรคประจำและโรคทางระบบใดๆ  น้องนิยังพี่สาวและหลานสาวที่ให้การดูแลเป็นบางครั้ง  นอกจากนี้ยังมีเบี้ยยังชีพสำหรับผู้พิการจาก อบต. ให้การสนับสนุน  500  บาท/เดือนและยังอยู่ภายใต้การดูแลแนะนำจาก  จนท.สอ.หนองแวงแห่  โดยมีนายบุญจันทร์  ตาลบูรณ์เป็น  อสม. ผู้รับผิดชอบและติดตามปัญหาด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อ่างน้ำไม่พบลูกน้ำยุงลาย พบถุงทรายอะเบท

    ล้างจานที่พื้นซีเมนต์ น้ำมีสีดำคล้ำและไม่สามารถระบายออกได้  จึงเป็นปัญหาทางกลิ่น

สถานที่ในการประกอบอาหาร

 

 

ยายบอกว่าเกลือได้จากการเอาข้าวแลก   บ้านยายจะไม่ค่อยกินน้ำตาล  ถ้ายายว่าปลาร้าได้มาอย่างไร?  ยายบอกว่าทำเองและหมักไว้ประมาณ  1  ปีก็กินได้  โดยไม่ต้ม  ส่วนในเรื่องเศษและขยะทิ้งในถังสีที่ไม่มีฝาปิด  ตู้กับข้าวไม่มีฝาปิด 

การบริโภคน้ำดื่มน้ำใช้  น้ำดื่มได้จากน้ำฝนที่ตวงใส่ตุ่มมีทั้งหมด  4  ตุ่มต่อปี   ซึ่งมีภาชนะในการปิดน้ำดื่ม

ส่วนน้ำใช้ได้จากการน้ำบ่บาดาลที่อยู่ศาลากลางบ้าน

ข้อมูลด้านสุขภาพช่องปาก

นายนิ สุขภาพร่างกายทั่วไป มีความดัน 122/88  มม.ปรอท การเต้นหัวใจ  85  ครั้ง/นาที  อัตราการหายใจ  22 ครั้ง/นาที   มารดาบอกว่าน้องนิไม่ค่อยมีประวัติการเจ็บป่วยด้านสุภาพ  จะมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก  ส่วนใหญ่จะปวดฟันมากและไม่สามารถพูดออกมาคนปกติได้ว่าปวดฟัน  มารดาบอกว่ารู้เพราะสังเกตดูจะมีพฤติกรรมที่บอกถึงการเจ็บปวด  ไม่กินอาหารนาน  2-3  วัน  มีอาการอาเจียน  ร้องดัง   และยังให้จับกระพุ้งแก้มไว้ตลอดเวลา  ไปเอายาที่อนามัยให้กินบ้าง  หมอแนะนำให้ไปถอนฟันที่ รพ. แต่ไม่รู้จะพาไปยังไง โตแล้ว พาไปลำบาก

ผลจากการตรวจช่องปากพบฟันผุที่ต้องอุด  1  ซี่ (ซี่#16 )  พบฟันที่ต้องถอน  2 ซี่ ( ซี่#26,35 ) มีหินปูนและมีเหงือกอักเสบ  น้องนิได้รับการรักษาทางทันตกรรม คือ  เคยถอนฟัน  เคลือบฟลูออไรด์  สมัยยังเด็ก

การพยายามแก้ปัญหาผู้พิการด้านสุขภาพช่องปากในปีที่ผ่านมา

 ได้มีการเริ่มต้นพยายามพัฒนาระบบบริการ การบริหารจัดการหลายอย่าง http://dent4disabled.blogspot.com/2010/01/slides-1953_23.html

เช่น เริ่มแรกพยายามเข้าไปศึกษาก่อนในระบบการดูแลผู้พิการของอำเภอที่มีอยู่แล้วเป็นอย่างไร ข้อมูลผู้พิการที่มีอยู่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ทีมมีใครบ้าง ทำอะไรกันอยู่ ในระบบบริการทันตกรรมเอง แม้ไม่มีทันตบุคลากรในทุก สอ. แต่นที่เรามีทัตาภิบาล CEO ที่ต้องดูแลทุก สอ. พยายามเข้าหาทีมเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในพื้นที่ อบรม อสม.ทันตะ สอ.ละ 2 คน ที่จะเป็นตัวแทนในพื้นที่ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งพยายามบูรณาการงานผู้พิการลงในกิจกรรมที่มี ในการออกให้บริการที่ สอ.ทุกเดือน ต้องมีทีมออกเยี่ยมบ้าน นโยบาย ไปดูแลผู้พิการ/ค้นหาผู้ด้อยโอกาส

และพยายามคัดกรอง ผู้ที่จำเป็นต้องพบทันตบุคลากรจริงๆ โดยพยายามเผยแพร่แนะนำการใช้เครื่องมือ ฟันสี่สี ในทีมสหวิชาชีพ จนท.สส.ในพื้นที่ อสม. และบุคลากรอื่นๆ มีการคุยกันในทีมสหวิชาชีพเป็นรายCASEแต่ยังปริมาณน้อยอยู่ มี เวที KM ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการบ้าง

ถ้าเป็นสีเขียว เหลือง เน้นที่การดูแลความสะอาดช่องปากให้ โดยให้ความรู้ ฝึกทักษะผู้ดูแล

ถ้าเป็นสีส้ม เริ่มมีความสำคัญ แนะนำการพบทันตบุคคลากร ขึ้นทะเบียนเสี่ยง การดูแลความสะอาดยิ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก แนะนำพฤติกรรมการบริโภค

ถ้าเป็นสีแดง ผู้ที่เจอต้อง refer ทันตบุคคลากรทันที แจ้งผู้ประสานในทุกระดับหาช่องทางให้ได้พบทันตบุคลากร

 

เป้าหมายที่จะทำต่อไปในปี 53 ในส่วนของงานทันตะคงปรับให้เข้มข้นจากรูปแบบที่วางไว้ เพิ่มความต่อเนื่องและสิ่งที่ท้าทายคือ การพยายามให้ทีมระดับอำเภอที่หันมาสนใจ ตระหนักในเรื่องความเป็นธรรมของระบบสุขภาพรวมถึงการมีนโยบายและแผนงานโครงการออกมารองรับ

 1.พัฒนาตัวเองทีม เช่น เรื่ององค์ความรู้ที่ควรมี – บรรยากาศการทำงานเป็นทีม( สหวิชาชีพ จนท.สส.ในพื้นที่ ทันตบุคลากร อสม.เชี่ยวชาญทันตะ /ทีมดูแลผู้พิการในอำเภอ และอีกสารพัดทีม )  การส่งเสริมให้มี R2R การจัดการความรู้ในด้านต่างๆแบบบูรณาการ

2.พัฒนาระบบบริการที่จะสามารถเอื้ออำนวยและค้นหา จัดบริการให้เข้าถึงได้ ( แฟ้มครอบครัว ในทีมสหวิชาชีพระดับอำเภอ ยังไม่ค่อยมีการนำมาใช้อย่างจริงจัง ) FF ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำมาใช้พัฒนา ค้นหา ผู้คนเหล่านี้ การรวบรวมข้อมูล/วิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอให้องค์กรมีนโยบายที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้มีแผนงานโครงการรองรับโดยทีมสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง ( ช่วงนี้เป็นโอกาสดี เนื่องจากมี งบจากหลายแหล่งสนับสนุนทั้งในเรื่องงานทันตะ งานผู้พิการดดยรวมและงบพัฒนาคุณภาพ CUP

3.การค้นหาและพัฒนาภาคี เครือข่าย แสวงหาความร่วมมือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในระดับ CUP และพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น อปท.ที่ดูแลผู้พิการ ชมรมผู้สูงอายุออกเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสอยู่แล้ว ชมราม อสม.

 4.นอกจากในส่วนของครอบครัวที่ต้องเพิ่มศักยภาพการดูแลให้CARE GIVER ใน ชุมชนเอง เน้น อาจเริ่มนำร่องจากพื้นที่ที่เข้มแข็งอยู่แล้ว ไปหาทางที่จะให้ชุมชนเขาได้ตระหนักมีแผนที่จะดูแลผู้พิการด้อยโอกาสในชุมชนเขาเอง รวมถึงการสร้างระบบเฝ้าระวังคนของเขา

ชื่นชมผลงานของทุกๆท่านครับ อ่านแล้วมีความสุข เสาร์ อาทิตย์ จะมาเขียนเล่า Case ที่ดูแลเพิ่มเติมนะครับ

Case Study : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 43 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ

Present illness :

        5 เดือนก่อน ผู้ป่วยเริ่มมีอาการมีไข้ต่ำๆ มักเป็นตอนกลางคืน มีเหงื่อออกตอนกลางคืนทั้งที่อากาศเย็น ไอมาก มีไอเป็นเลือดครั้งละปริมาณไม่มากแต่บ่อยครั้ง มีอาการเบื่ออาหารรับประทานอาหารได้วันละ 1 มื้อ น้ำหนักลด 4-5 kg ภายใน 1 เดือน ไปพบแพทย์เมื่อ ½ เดือนก่อน ได้ x-ray แพทย์บอกผู้ป่วยว่าเป็นโรคปอด

          ไม่ได้ไปติดตามการรักษาตามแพทย์นัดเนื่องจากไม่มีเงินค่ารถไปรพ. ปัจจุบันยังคงมีไอเป็นเลือด ไข้ต่ำๆและเหงื่อออกกลางคืน แต่รับประทานอาหารได้มากขึ้น (2-3 มื้อต่อวัน) และน้ำหนักขึ้นมาอีก 2 kg ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา

           1 เดือนก่อน ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยปัสสาวะกลางคืน 3-4 ครั้ง/วัน (ก่อนหน้านี้ปัสสาวะตอนกลางคืนประมาณ 1 ครั้ง) มีรับประทานอาหารมากขึ้น อยากรับประทานอาหารหวานมาก ต้องรับประทานของหวานทุกวัน (ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดครั้งสุดท้าย 3 เดือนก่อน พบว่าปกติดี)

           ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับเป็นประจำ รับประทานยานอนหลับหลายเม็ดแต่ยังคงนอนไม่หลับอยู่

           22 ปีก่อน ผู้ป่วยเคยเป็นนิ่วในไตได้รับการยิงนิ่วไปแล้ว ปัจจุบันมีการการปัสสาวะเป็นกรวด มีอาการปัสสาวะไม่ค่อยออกต้องเบ่งปัสสาวะ มีปัสสาวะขัดและมีปัสสาวะหยดหลังปัสสาวะเสร็จบางครั้ง ไม่มีเลือดปน

         7 ปีก่อน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ความดันโลหิตสูง ได้รับยามารับประทาน ติดตามการรักษาไม่ต่อเนื่องในช่วงแรก ปัจจุบันรับประทานยาสม่ำเสมอ รับยาเป็นประจำที่สถานีอนามัย

         5 ปีก่อน ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมีอาการเจ็บร้าวไปที่แขนและคอ มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ไปพบแพทย์ พบว่าเป็นโรคหัวใจ มีหัวใจขาดเลือด หลังจากนั้นได้ยามาอมใต้ลิ้น และยาละลายลิ่มเลือดมารับประทาน ผู้ป่วยมีอาการประมาณปีละ 3-4 ครั้ง ซึ่งบางครั้งมีหมดสติ เคยถูกปั๊มหัวใจที่ศูนย์การแพทย์มาก่อน หากมีอาการจะใช้ยาอมใต้ลิ้นอาการจะดีขึ้นบ้าง ปัจจุบันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น unstable angina ไม่ได้รับประทานยาละลายลิ่มเลือดเนื่องจากยาหมด

          4 ปีก่อน พบว่ามี liver enzyme ผิดปกติแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น alcoholic hepatitis ปัจจุบันไมได้รับการรักษา

          3 ปีก่อนผู้ป่วยมีอาการปวดขามาก ไปพบแพทย์พบว่าเป็น AVN แต่ขาดการรักษา(loss follow up)ประมาณ 1 ปี 6เดือน ระหว่างนั้น ผู้ป่วยมีประวัติมีอาการอ่อนแรงและชาครึ่งซีกซ้าย มีพูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มีปวดศีรษะตลอด(ไม่ได้รับประทานยาความดันมา 3 เดือนเนื่องจากไม่มาติดตามการรักษา) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น right basal ganglion hemorrhage ผู้ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกซ้ายอยู่ 6 วัน ปัจจุบันเหลืออาการชาตั้งแต่ข้อเท้าซ้ายลงไปทั่วเท้าซ้าย

          2 ปีก่อน ผู้ป่วยได้ไปพบแพทย์เนื่องจากทนอาการปวดขาไม่ไหว แพทย์ทำการผ่าตัดใส่เหล็กที่ข้อสะโพกและต้นขาขวา (hemi-hip arthroplasty)

1 ปี 3 เดือน ผู้ป่วยมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ มอเตอร์ไซด์คว่ำ มีคิ้วแตก กระดูกมือหัก(metacarpal)ซ้ายหัก ไปรับการรักษาโดยการใส่เฝือก

Past history :

           1 ปีก่อน ได้ผ่าตัด hemi-hip arthroplasty ในข้างซ้าย หลังผ่าตัดมีขาขวาสั้นกว่าเดินไม่คล่องเท่าเดิม และหลังจากผ่ามีอาการปวดขาและสะโพกมากทุกวันปัจจุบันยังมีอาการปวดอยู่ ผู้ป่วยลุกนั่งลำบากมาก ผู้ป่วยบรรเทาอาการด้วยการประคบร้อนบริเวณที่ปวด

          ½ เดือนก่อน ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องด้านขวา มีอาเจียนเป็นเลือด และถ่ายดำ แพทย์สงสัย upper GI bleeding ได้ให้ยามารับประทานและนัดติดตามการรักษา 1 สัปดาห์ แพทย์นัดวันที่ 11/11/52 แต่ผู้ป่วยไม่ไปตามนัด ปัจจุบันไม่มีอาการถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือดหรืออาเจียนเป็นเลือด

Personal history:

  • ผู้ป่วยดื่มสุรา (เหล้าขาว 40 degree ) วันละ 1-3 ขวด ตั้งแต่อายุ 14 ปี ปัจจุบันประมาณ ½ เดือนผู้ป่วยลดการดื่มลงเหลือ ¼- ½ ขวด (ผู้ป่วยมีประวัติเลิกเหล้าโดยเคยฉีดยาเลิกเหล้า และงดเหล้าได้ประมาณ5เดือน ปัจจุบันกลับมาดื่มเช่นเดิม
  • ผู้ป่วยสูบใบจากมาตั้งแต่อายุ 14 ปี วันละประมาณ 30 มวล ปัจจุบันยังสูบเท่าเดิม
  • ผู้ป่วยเคยใช้ยาม้า ร่วมกับดื่มเหล้าขาวและใช้ยาทันใจ มานาน 8 ปี เลิกมา 23 ปีแล้ว
  • ผู้ป่วยเคี้ยวใบกระท่อม 130 ใบ/วันมา นานหลายปี ปัจจุบันลดเหลือ 10 ใบ/วัน มีอาการสู้แดด กลัวฝนตกหรืออากาศสลัว (เคี้ยวใบกระท่อมที่ใส่เกลือด้วย)

Illness :

  • Idea : ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นวัณโรค และโรคตับ(เนื่องจากเคยมีตัวเหลืองตาเหลืองมาก่อน) รวมทั้งที่ปวดขาคิดว่าเกิดจากการผ่าตัด
  • Feeling : รู้สึกท้อแท้กับโรคที่เป็น และสภาพการเงินของตน กลุ้มใจเรื่อง วัณโรคบ้างเนื่องจากไม่มีเงินรักษา เคยรู้สึกสิ้นหวังจนคิดยิงตัวตาย แต่ปัจจุบันมีกำลังใจจะสู้เพื่อหลาน
  • Function : คนไข้กินยาได้เอง จัดยากินเอง กินยาสม่ำเสมอ กินยาจนหมดตามที่ แพทย์สั่ง สามารถทำงานปลูกผักได้ แต่เดินได้ไม่ไกล บางครั้งเวลารด น้ำพรวนดินต้องนั่งคลาน ลุกจากการนั่งลำบากเนื่องจากปวดขา ไป ไหนมาไหนคนเดียวได้โดยรถมอเตอร์ไซด์ เป็นผู้ทำอาหารของครอบครัว
  • Expectation : มีความหวังจะหายจากโรค, อยากมีรายได้เพิ่มขึ้นและขยายสวนผัก

Family history :

  • มีประวัติมารดาเป็นความดันโลหิตสูงและเบาหวาน, พี่สาวเป็นความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติญาติเป็นวัณโรคเสียชีวิต เมื่อ 3 ปีก่อน (ผู้ป่วยสนิทกับญาติคนนี้มากไปมาหาสู่บ่อยๆ
  • ครอบครัวมีหนี้สิ้นนอกระบบ 12000-13000 บาท

Family census :

ครอบครัวผู้ป่วยมีสมาชิกในบ้านทั้งหมด 4 คน ได้แก่

  1. นายสังวียน บาฮา – ผู้ป่วย
  2. นางมีนา บาฮา อายุ 39 ปี -- ภรรยาผู้ป่วย (care giver)

ประวัติได้จากได้จากเพื่อนบ้านและผู้ป่วย

ปฏิเสธโรคประจำตัว

อาชีพ : ทำงานอยู่ที่โรงงานปุ๋ยและยาฆ่าแมลง

ประวัติการเจ็บป่วย : ทำงานอยู่ที่โรงงานไม่ใส่ชุดป้องกันสารเคมี ทำให้มีผิวหนังลอก คัน มือทั้งสองข้างลอกและมีนิ้วมือ เล็บ เน่า นอกจากนี้เคยโดนสารเคมีกระเด็นเข้าตาไปโรงพยาบาลมาแล้ว 3 ครั้ง(chemical burn)

ประวัติส่วนบุคคลและสังคม :

เป็นคนเข้มแข็ง, ขยันทำงานหา เงิน โดยเป็นบุคลหลักในการหาเงินเลี้ยงครอบครัว, มีอัธยาศัยดีมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน, มักบ่นว่าท้อแท้และเหนื่อยประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง บางครั้งผู้ป่วยเคยเห็นภรรยาร้องไห้คนเดียว

   3. เด็กชายทศพล บาฮา อายุ 13 ปี(ประวัติได้จาก เพื่อนบ้านและผู้ป่วย)

อาชีพ : นักเรียน แต่เลิกเรียนมา 2 สัปดาห์

ประวัติการเจ็บป่วย :

4 ปีก่อน เคยเป็น TB รักษาโดยรับประทานยาสม่ำเสมออยู่ 2 ปี จึงหาย

หลายเดือนก่อนตรวจพบว่าเป็น TB อีกรับประทานยาอยู่ประมาณ 1 เดือนกว่า ได้หยุดรับประทานยาไป ไม่ได้ไปติดตามการรักษาเนื่องจากไม่มีเงิน

ประวัติส่วนบุคคลและสังคม : เป็นเด็กร่าเริง เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่ตั้งแต่เริ่มเป็น TB อีกครั้งเพื่อนที่โรงเรียนรังเกียจ และครูบอกให้หยุดเรียน ช่วงนี้มีผลการเรียนไม่ดีโดยสอบตก จึงทำให้ไม่อยากไปเรียน ส่วนเพื่อนแถวบ้านยังคงเล่นกันได้ด้วยดีแต่มีมักถูกผู้ใหญ่ไล่ไม่ให้เข้าบ้าน

     4. เด็กหญิงนภาพร บาฮา อายุ 3 ปี

อาชีพ : นักเรียน

ประวัติการเจ็บป่วย : สุขภาพแข็งแรง

ประวัติส่วนบุคคลและสังคม : เป็นเด็กร่าเริง (เป็นกำลังใจของบุคคลในครอบครัว)

 

ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

       มุมมองเพื่อนบ้าน (ข้อมูลจาก 1.ลูกพี่ลูกน้องอายุ 32 ปี 2.น้าอายุ 78 ปี)

  • ปกติก็ไม่ค่อยอยากสุงสิงด้วย เพราะผู้ป่วยกินเหล้าจัด เวลาเมาจะโวยวาย อาละวาดเพื่อนบ้าน
  • ชอบยืมเงินเพื่อนบ้านแล้วไม่ใช้ เพราะนำเงินไปกินเหล้า ไม่ค่อยทำงานใดๆ (ผู้ป่วยชอบพูดโกหก บอกญาติว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ทำงานไม่ได้ เพื่อขอยืมเงิน)
  • ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยเริ่มประกอบอาชีพปลูกผักและเผาถ่านขาย พอมีรายได้เลี้ยงตัวเอง 50 บาท/วัน การเผาถ่านทำให้เพื่อนบ้านต้องสูดควันพิษ โดยเฉพาะมีเด็กเล็กอายุประมาณ 1 ขวบถึง2 คน คนหนึ่งเคยป่วยมีอาการเหนื่อยหอบต้องไปรักษาที่ร.พ.
  • ญาติเคยให้เงินช่วยเหลือครอบครัวนี้ เพราะสงสารภรรยา ลูกชาย และหลานสาว แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครอยากช่วย เพราะผู้ป่วยนำเงินไปกินเหล้าหมด
  • ภรรยาผู้ป่วยเป็นคนขยันทำมาหากิน ลูกชายผู้ป่วยออกจากโรงเรียนตอนอยู่ชั้น ม.1 ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีค่ารถ ค่าข้าวกลางวัน ส่วนหนึ่งเพราะถูกเพื่อนๆตั้งข้อรังเกียจ เรื่อง Pulmonary TB ที่ยังไม่ได้รักษา
  • เรื่อง Pulmonary TB ที่ยังไม่ได้รักษาของผู้ป่วย เพื่อนบ้านรู้ข่าวมาจากเจ้าหน้าที่อนามัย อยากให้ไปรับการรักษา ไม่ได้อยากขับไล่ออกจากพื้นที่ เพราะเป็นญาติกัน

มุมมองผู้ป่วย

  • มีปัญหากระทบกระทั่งกันบ้างเหมือนลิ้นกับฟัน
  • ความสัมพันธ์ดี ไปมาหาสู่กันดี
  • กินเหล้าสังสรรค์กันเป็นประจำ

Physical examination

V/S : pulse 84 beat/min, RR 16 /min, BP 160/110

  • Height : 163 cm. weight: 50 kg. BMI 18.81
  • HEENT : not pale conjunctivae, anicteric sclerae, pingecula both side of eyes,no cervical lymphadenopathy
  • Heart : no neck vein engorge, no heaving, no thrill,normal S1S2, no murmur
  • Lung : normal chest contour, equal chest movement, resonance on percussion, normal breath sound, no adventitious sound
  • Abdomen : flat shape, no distended, nomoactive bowel sound, soft, not tender ,no guarding,no mass
  • Ext : deformities at MCP on left , no edema
  • Neurological Exam
  • Mental status:Good consciousness, orientated to time place and person
  • Speech: normal speech
  • Gait: abnormal gait
  • Cranial nerve grossly intact
  • Motor power : Gr V at upper extremities, Gr 3 at right lower extremitie and Gr 5 at left extremitie
  • Sensory : loss of pinpick sensation at left foot
  • Deep tendon reflex : 2+ all
  • Barbinski’s sign : plantar flextion

 

 Home & Environment

 

 

 ผู้ป่วยอาศัยนอนในเพลิงสังกะสี ไม่ปลอดภัยจากยุงแมลง สัตว์มีพิษ ที่นอนห่างจากหลุมเผาถ่านแค่ 1 ฟุต (เอาถ่านไปขายเป็นรายได้เสริม) ช่วงกลางคืนผู้ป่วยก็เผาถ่านไปนอนเฝ้าไป จึงเสี่ยงต่ออัคคีภัยมาก บริเวณที่นอนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆที่จะใช้ได้ยามฉุกเฉินเช่น โทรศัพท์ บางทีที่นอนก็ถูกน้ำท่วมถ้าฝนตกแม้เพียงเบาๆ เคยเก็บเงินที่ขายได้สอดไว้ตามเสาเพิงสังกะสีก็ถูกคนมาขโมยไปหมด

Medications Polypharmacy?

  • HCTZ (50mg) sig ½ tab oral OD pc
  • Amlodipine (10mg) sig 1 tab oral OD pc
  • Enalapril (20mg) sig 1 tab oral OD pc
  • CPM (10mg) sig 1 tab oral hs for insomnia
  • BCO sig 1 tab tid pc
  • Cetirizine (10mg), Neurotica balm, Paracetamol (500mg)

ผู้ป่วยมีประวัติใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคปอด (Pulmonary TB)

 

Spiritual health

          ผู้ป่วยนับถือศาสนาพุทธ ส่วนภรรยานับถืออิสลาม เพื่อนบ้านละแวกเดียวกันก็นับถือพุทธ สังเกตเห็นผู้ป่วยแขวนสร้อยพระ แต่จากการสัมภาษณ์ ผู้ป่วยมีประวัติ Attempt suicide จากปัญหาสุขภาพ (เดินไม่ได้ดีเหมือนเดิมร่วมกับพี่ชายมีประวัติ Completed suicide ที่ละแวกบ้านนั่นเอง) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความยากจนของครอบครัวขนาดที่ลูกเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ต้องออกจากโรงเรียนเพราะไม่มีเงินค่ารถไปโรงเรียน แต่ภรรยารู้ทันนำลูกปืนออกมาก่อน จึงรอดตาย

         ปัจจุบันผู้ป่วยไม่คิดฆ่าตัวตายแล้วเพราะมีความหวังอยากปลูกผักและคิดจะปลูกมันสำปะหลังและข้าวโพดเพิ่มเติม เพื่อนำเงินมาส่งเสียให้หลานเรียน ส่วนของปัญหาสุขภาพผู้ป่วยเดิม ตลอดจนโรค TB ที่ผู้ป่วยเพิ่งจะเป็น ผู้ป่วยมีความคิดอยากรักษา แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายมาร.พ.

 

  Service

        ผู้ป่วย ภรรยาและลูกชายมีสิทธิ์รักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท) ที่ร.พ.ศูนย์การแพทย์ ปกติมาโรงพยาบาลโดยขี่รถจักรยานยนต์ แต่ช่วงหลังๆปวดสะโพกและต้นขาขวามากขึ้น ร่วมกับชาและอ่อนแรงขาข้างซ้าย (เคยมีประวัติ Stroke) ร่วมกับไม่มีเงินเติมน้ำมันรถ

         ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้มาโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยตามนัด มาก็เมื่อพอมีเงินค่าใช้จ่าย โดยลูกชายเป็นคนพามา หรือถ้ามาพบแพทย์เรื่องข้อสะโพก ก็จะจ้างคนละแวกบ้านพามา โดยมารับเงินค่าโดยสารจากแพทย์ผู้นัด เป็นผู้ช่วยสงเคราะห์ช่วยเหลือจ่ายค่าโดยสารให้

การเปลี่ยนแปลงหลังการเยี่ยมบ้าน

ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจที่เป็นอยู่ – ไปอนามัยเพื่อขอรับยาละลายลิ่มเลือด

  • หลังจากแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมผู้ป่วยจึงเลิกรับประทานใบกระท่อมร่วมกับเกลือ (แต่ยังคงเคี้ยวใบกระท่อมอยู่)
  • มีความตระหนักถึงผลเสียของการรับประทานอาหารรสจัด (เผ็ดและเค็ม) ผู้ป่วยแจ้งว่าจะลดการรับประทานอาหารรสจัดลง
  • ผู้ป่วยตระหนักถึงผลเสียจากการดื่มสุราและสูบใบยาสูบ มีความต้องการที่จะเลิกดื่มสุราและสูบยาสูบดั่งที่เคยทำได้มา (เลิกได้ติดต่อกัน 5 เดือน)

เป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนเยี่ยมบ้าน :

  • หวังให้ผู้ป่วยและครอบครัวมาตรวจรักษาโรควัณโรค และติดตามการรักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ
  • หวังให้ผู้ป่วยเลิกดื่มสุรา สูบบุหรี่
  • หวังให้ผู้ป่วยและครอบครัวดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
  • หวังให้ผู้ป่วยและเพื่อนบ้านมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

หลังการเยี่ยมบ้าน :

  • สิ่งบรรลุเป้าหมาย : มีความต้องการจะเลิกดื่มสุรา สูบบุหรี่, ลดการรับประทานเกลือและอาหารเค็ม,มีความต้องการจะไปรักษาโรคที่เป็นอยู่
  • สิ่งที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย :
  • ผู้ป่วยและครอบครัวยังไม่มาตรวจรักษาโรควัณโรค และติดตามการรักษาโรคประจำตัวไม่สม่ำเสมอ
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

บทสรุปและสิ่งที่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • ผู้ป่วยได้รับการประเมินแบบองค์รวม ทั้งด้าน bio, psycho, social ได้รับการดูแลรอบด้านมากยิ่งขึ้น
  • ทำให้เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น เข้าใจปัญหามากขึ้น กล่าวคือไม่ใช่แค่การเป็น Pulmonary TB แล้วไม่ยอมรับการรักษาเท่านั้น.............

ปัญหายังเป็นมิติที่ซับซ้อนมากๆ

  • ทั้งด้านการเงิน ครอบครัว สังคมเพื่อนบ้าน พฤติกรรมด้านลบที่มีมานานของผู้ป่วย การศึกษาของบุตร
  • จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ป่วยถูกเพื่อนบ้านมองในแง่ลบ และ.............เคยมีประวัติ attempted suicide

ดังนั้น..........

“การทำความเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยอย่างรอบด้านและองค์รวมโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สามารถนำไปสู่การช่วยเหลือแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างเข้าใจ เข้าถึงและยั่งยืน ”

 

 

 

 

 

 

 



 

 

ตัวอย่างผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส อำเภอบ้านโพธิ์

ผู้ป่วยหญิง อายุ 37 ปี แม่เล่าให้ฟังว่า ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ตั้งแต่อายุ 17 ตอนกำลังสอบของชั้น ม.6 ก่อนหน้าที่มีอาการเป็นเด็กดีขยัน ขณะเรียนก็ช่วยทำงานหารายได้ให้ครอบครัวด้วย ตอนป่วยตอนแรกยังพอเดินเองได้ช่วยเหลือตัวเองพอได้ ช่วยทำงานบ้านเล็กน้อยได้ ต่อมามีปัญหาล้มบ่อยมาทำแผลที่สถานีอนามัย แล้วมีอาการเดินเซ เดินไม่มีแรง จึงพาไปพบแพทย์ที่รพ.เมืองฉะเชิงเทรา และส่งต่อไปรักษาที่รพ. ชลบุรี ต่อมาอาการผู้ป่วยอาการแย่ลงเรื่อยๆ จนยืนไม่ได้ หลังจากนั้น 4-5 ปีเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ตักข้าวเริ่มไม่ตรง ไปรักษาวินิจฉัยหลายครั้ง จนแพทย์บอกว่ารักษาไม่หายขาด จึงส่งตัวมารับยาต่อ รพ.ฉะเชิงเทรา จากนั้นส่งมารักษาต่อรพ.บ้านโพธิ์ และขาดนัด จึงไม่ได้ทานยาแล้วเป็น 10 ปี

ปัจจุบันนอนตลอดนั่งไม่ได้ ประคองแล้วจะบ่นเจ็บ ตั้งคอเองไม่ได้

พอสื่อสารอ้อแอ้ได้ ทำตามคำสั่งได้ บอกเวลาจะทานข้าว เข้าห้องน้ำ เวลาไม่พอใจได้ แต่เวลาทานต้องมีคนป้อน ไม่ชอบอาหารแข็ง ตอนนี้แม่ทำใจว่าเป็นโรคสมองฝ่อ รักษาไม่หายขาด บอกว่ารู้สึกเหนื่อย หงุดหงิดบางครั้ง ที่ต้องดูแลคนไข้คนเดียว บางครั้งก็ตีผู้ป่วย เรื่องอาหารยายเป็นคนดูแล หาข้าวให้ทาน แม่อยากให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ไปห้องน้ำได้เอง ไม่อยากให้ตื่นมากลางคืนร้องกวนแม่ จนแม่รู้สึกเครียด พ่อแยกทางกับแม่ผู้ป่วยเมื่อ 2 ปีก่อน พ่อทำงานขับรถที่ชลบุรีไม่ค่อยอยู่บ้าน แต่หลังจากมายืมเงินเพื่อนบ้านแล้วไม่กลับมาอีกเลย แม่จึงเลี้ยงลูกตามลำพังทำงานรับจ้างและปลูกผักไปขายเล็ก ๆ น้อย ๆ

รพ.บ้านโพธิ์ได้เข้าเยี่ยมและติดตามเมื่อพบข้อมูลจากทะเบียนผู้พิการของอำเภอ ซึ่งมารดาไปขึ้นทะเบียนขอความช่วยเหลือไว้เมื่อปีที่แล้ว ทำให้ทราบว่า อบต.ช่วยเหลือให้เงินยังชีพเดือนละ 500 บาท แต่แม่นำเงินไปผ่อนโทรทัศน์และเครื่องเล่นดีวีดี (ผิดวัตถุประสงค์ แต่อ้างว่าเพื่อให้ผู้ป่วยไม่เครียด)

จากการไปเยี่ยมได้ให้กำลังใจกับผู้ดูแล และให้เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดประเมินสภาพและวางแผนจัดระบบการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูสภาพเท่าที่ทำได้ สำหรับข้อมูลความผิดปกติของผู้ป่วยรายนี้ เข้าได้กับโรค spinocerebellar degeneration เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางเยียวยา ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพไปโดยช้าจนกระทั่งหมดสิ้น โรคนี้มีหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดจะมีอาการแสดงแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย เริ่มต้นด้วยการไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อในการเดินทำให้หกล้มบ่อย และการสูญเสียหน้าที่ของระบบประสาทในการควบคุมกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นช้า ๆ อย่างต่อเนื่องจน กระทั่งไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้โดยสิ้นเชิง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อ หรือสำลักอาหาร แต่ผู้ป่วยมักจะยังคมมีสติและ รับรู้ได้แต่ตอบสนองไม่ได้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาผู้ป่วยเป็นภาวะนี้ และไม่มีวิธีฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยให้เป็นปกติ แต่ยังพอบรรเทาความรุนแรงของอาการได้บ้าง ด้วยการใช้เก้าอี้รถเข็น มีผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

กรณีอื่น ๆ ที่พบเกี่ยวกับโรคนี้ได้แก่ นายกลิน วอร์สนิป (Glyn Worsnip) (2481-2539) ผู้ประกาศข่าวชาวบริติชแห่งสถานีโทรทัศน์บีบีซีซึ่งป่วยเป็นโรคนี้ เริ่มมีอาการพูดไม่เป็นความ (dysarthria) ในระหว่างประกาศข่าว ทำให้ถูกผู้ชมร้องเรียนต่อสถานีและถูกไล่ออกตามลำดับ นายกลินได้จัดสร้างรายการโทรทัศน์ชื่อ "อะโลนวอยซ์" (A Lone Voice) เกี่ยวกับโรคนี้ ออกอากาศทางบีบีซี

ในประเทศญี่ปุ่น มีการสร้างละครเรื่อง 1 Litre of Tears จาก ไดอารี่ของ คิโตะ อายะ เด็กผู้หญิงที่ต่อสู้กับโรคร้ายมาตลอดได้บันทึกไว้ เป็นหนังสือที่เอาไดอารี่ของเธอทั้ง 46 เล่มมาสรุปและพิมพ์จำหน่ายในชื่อ 1 Litre of Tears

ที่ทำให้ทุกคนประทับใจและจำหน่ายได้ถึง 1.2 ล้านเล่ม และหลังจากที่ละครเรื่องนี้ฉายเป็นละครแล้ว ยอดจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 1.8 ล้านเล่ม ตอนสิ้นปี 2548

คิโต อายะ เกิดในปี พ.ศ.2505 เริ่มป่วยเมื่ออายุ 14 ปี แม้ว่าจะมีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวแต่สมองส่วนการรับรู้ จะยังทำงานเป็นปกติ "โรคนี้ทำไมถึงเลือกฉันนะ" อายะ ตั้งคำถาม แต่เธอก็ยังพยายามที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เพราะเธอได้รับความรักทั้งของครอบครัว และเพื่อนๆ ที่คอยช่วยเหลือ ร้องไห้และหัวเราะด้วยกัน อยากใช้ชีวิตกันต่อไป "ร้องไห้เสียน้ำตาไปหนึ่งลิตร" เป็นอีก คำพูดหนึ่งที่ อายะ ได้พูดกับเพื่อนร่วมชั้นมัธยมปลาย ตอนที่จะลาออกจากโรงเรียนไปอยู่ที่โรงเรียนคนพิการ เนื่องจากไม่อยากทำให้เพื่อนทุกคน ในห้องต้องลำบากใจ เพราะเพื่อนๆ ในห้องส่วนใหญ่กลัวจะเรียนไม่ทัน จะสอบต่อมหาวิทยาลัยไม่ได้ เพราะอาจารย์ต้องสอนช้าลง เพื่อให้ อายะ สามารถจดตามได้ทัน เนื่องจากเมื่ออายะ เป็นโรคนี้แล้ว ช่วงแรกก็ยังพอเดินได้ปกติ แต่หลังจากนั้นก็เดินได้ยากขึ้น จนในที่สุดเวลาจะเดินต้องนั่งรถเข็น และเวลาเขียนก็ไม่สามารถเขียนได้เร็วเท่าคนปกติ โดยที่จริงๆแล้ว อายะ ไม่อยากจะไปที่โรงเรียนคนพิการ แต่อยากจะอยู่ที่โรงเรียนกับเพื่อนๆ แต่ก็ไม่อยากให้เพื่อนต้องลำบากเพราะตนเอง จึงได้ตัดสินใจลาออก โดยที่เธอได้บอกกับเพื่อนๆว่า กว่าเธอจะตัดสินลาออกได้ ต้องนอนร้องไห้เสียน้ำตาไปหนึ่งลิตร ในที่สุดอายะเสียชีวิตเมื่ออายุ 25 ปี ทิ้งให้เรื่องราวของเธอเป็นละครชีวิตที่ให้กำลังใจกับคนญี่ปุ่นสมัยนี้

(เรื่อง 1 Litre of tears หาดูได้ใน youtube ครับ และมีแปลเป็นภาษาไทยด้วย ใน http://video.mthai.com/player.php?id=24M1201637129M0)

กสิวัฒน์

ขอบคุณพี่กสิวัฒน์ครับ ผมเพิ่งใช้เรื่องนี้ในการสอน Humanized & Holistic Medicine สำหรับนิสิตแพทย์ปี 4 ไป เด็กๆร้องไห้เกือบทั้งห้องครับ

เรื่องนี้สามารถเรียนรู้เรื่อง

  • Caregiver & Family Support
  • Breaking Bad New
  • Working with Couple
  • Grief & Beravement
  • Holistic & Humanized Care
  • Death & Dying

ขอบคุณมากๆครับผม

อยากขออนุญาตเล่าเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นที่ การเรียนการสอนเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยพิการนะครับผม

Home Care Project Based in Disability(1)

Home Care Project Based in Disability(2)

ขอบคุณครับ

กฤษฎิ์

เรื่องเล่าความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพโรงพยาบาลนิคมคสร้อย

แค่ หนึ่งครั้ง ก็ได้มากกว่าที่คิด

แต่ก่อนดิฉันคิดว่าทำไมผู้ป่วยเบาหวาน บางคนจึงมามีน้ำตาลในเลือดสูงอยู่บ่อยๆ ทั้งๆที่ให้ความรู้ก็แล้ว พาออกกำลังกายก็แล้ว แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ยังมาด้วยผลน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เสมอ จนบางครั้งเห็นหน้าผู้ป่วยแล้ว ก็รู้สึกเบื่อหน่ายและเหนื่อยที่จะให้สุขศึกษา พอเราไม่พูดอะไรสุดท้ายผู้ป่วยก็จะรายงานเองว่าไปทำอะไรมาบ้าง รู้ว่าไม่เหมาะกับโรคแต่มันทำไม่ได้ ซึ่งสุดท้ายเราก็สนิทกัน จนแยกไม่ออกว่าใครเป็นหมอ ใครเป็นคนไข้ เพราะเค้ารู้ทุกอย่างแล้ว แต่ยังทำไม่ได้ เหตุผลก็มีทั้งเพราะงานบ้าง สังคมบ้าง สุดท้ายก็ลงที่ว่าเพราะใจไม่ยอมรับว่าเป็นเบาหวาน แต่ร่างกายนั่นแหละป่วยเป็นเบาหวานเอง ใจฉันไม่ได้ป่วยสักหน่อย พอไม่ไหวจริงๆเราก็คุยกันเรื่องธรรมมะแทน ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

แต่ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านั้นก็มีรายหนึ่ง ที่น่าสนใจมากกว่าคนอื่นๆก็คือ คุณยายทองปุย ซึ่งเป็นคุณยายไฮโซประจำคลินิก แต่ไหนแต่ไรมาคุณยายแต่งตัวดี พูดภาษาไทยกลางปนอีสาน ใครลัดคิวไม่ได้ หน้าตาสวย ผลการควบคุมเบาหวานก็ดีพอใช้ในปี 2549-2550 แต่พอมาช่วงหลังๆ คุณยายมักขาดนัดอยู่บ่อยๆ ผลน้ำตาลในเลือดก็สูง พอเราคุยด้วยหน่อยคุณยายก็ทำท่าจะร้องไห้ บอกว่าก็คุมแล้วนะ ไม่ได้กินอะไรเลย(หมายถึงของต้องหลีกเลี่ยง) บางครั้งก็บอกไม่มีรถมา เราก็นึก ไม่มีได้ไง เพื่อนยังมาได้ สิทธิเบิกได้ ไม่น่ามีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้พูดอะไร นอกจากรับฟังแล้วเออออไปตามที่ยายพูด ในใจก็คิดว่าสงสัยต้องไปดูซะหน่อยเพราะยายก็เข้าเกณฑ์ที่ต้องออกเยี่ยมบ้าน แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็ได้รับแจ้ง จากงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินว่า ไม่ไหวแล้ว อาทิตย์นี้ออก EMS ไปรับยายทองปุยถึงสามครั้งแล้ว admit แล้ว admit อีกไม่ถึง 3 วันก็ต้องไปรับอีกแล้ว

แล้วทีมเยี่ยมบ้านฉุกเฉินของเรา ก็ออกเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นทีมด่วนเคลื่อนที่เร็วในขณะนั้น มีพี่ตาลเป็นพนักงานขับรถ ด้วยเราไม่ได้มีการเตรียมล่วงหน้า จึงทำให้เสียเวลา อยู่กับการหาบ้าน คุณยายทองปุยอยู่พักหนึ่ง แต่อาศัยประสบการณ์ในการลงพื้นที่บ่อยของคนขับรถ สุดท้ายเราก็หาเจอจนได้ บ้านคุณยายเป็นบ้านปูนชั้นเดียว หน้าบ้านขายของชำ ซึ่งดูแล้วระยะหลัง คงไม่ค่อยมีลูกค้า สักเท่าไหร่ เพราะสินค้ามีน้อย ฝุ่นเยอะ พื้นบ้านปูกระเบื้องอย่างดี มีชุดรับแขก มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบ พอไปถึงเราก็ถือวิสาสะเดินเข้าบ้านเลย เพราะประตูบ้านเปิดอยู่ โชคดีที่ไม่มีสุนัข ร้องเรียกยายอยู่พักหนึ่ง คุณยายก็เดินออกมาจากหลังบ้าน ด้วยชุดผ้าซิ่นแบบสบายๆ แต่สีหน้าอิดโรย ยิ้มให้หมอนิดหนึ่ง เราทำหน้าที่เจ้าของบ้าน พยุงยายมานั่งที่ชุดรับแขก สายตาก็แอบมองสำรวจภายในบ้าน หลังจากชี้แจงเหตุผลการมาให้คุณยายทราบ และชวนคุยเรื่องทั่วๆไปอยู่พักหนึ่ง เพื่อทำความรู้จักคุ้ยเคย ก็ทราบว่าคุณยายทองปุยและสามี เป็นคนที่จังหวัดอื่นย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ ต.โชคชัยเนื่องจากทางการเขา ให้เข้าจับจองที่ในสมัยนั้น หลังอยู่กินกันมีลูกด้วยกัน 4 คนทุกคนทำงานต่างจังหวัด รับราชการบ้าง ค้าขายบ้าง แรกๆยายอยู่กับตาก็มีความสุขดี แต่พอตาเสียชีวิต เรื่องเศร้าก็เกิดขึ้น

ยายทองปุยต้องอยู่คนเดียวเคย ไปอยู่กับลูกๆ ก็เกรงใจลูกสะใภ้ ลูกเขย โชคดีที่ลูกสาว ยังเอาหลานมาให้เลี้ยงตอนนี้อายุ 12 ปี พอได้พูดคุยด้วยก็ทราบว่า 2 เดือนที่แล้ว ลูกๆลงมาทำบุญให้พ่อ แล้วก็รีบกลับไม่มีใคร ถามว่าแม่สักคน ว่าเป็นยังไงบ้าง คุณยายเล่าเรื่องไป ก็ร้องไห้ไป คนที่พอพึ่งพาได้หน่อย ก็มีแต่น้องหนุ่มหลานชาย ที่กำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งพักหลังก็ติดเกมส์ กลับบ้านมืดค่ำบ่อยๆ ยิ่งทำให้คุณยายเครียดหนัก เพราะเป็นเหตุให้คุณยายฉีดยาไม่ตรงเวลาโดยเฉพาะช่วงเย็นบางวัน ปาเข้าไปถึง 1-2ทุ่ม บางวันก็ไม่ได้ฉีด คุณยายก็ไม่ได้กินข้าวเย็น เพราะเครียดต้องทะเลาะกับหลาน สุดท้ายก็จบลงที่ รถ EMS ที่ต้องมารับ คุณยายไปโรงพยาบาล เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยุ่บ่อยๆ จนน้องหนุ่มชักจะคล่องในการเรียกรถ หากวันไหน ต้องเล่นเกมส์จนดึก อีกอย่างบ้านคุณยายอยุ่ไกล เกือบติดเชิงเขา ถนนเป็นทางลูกรัง ห่างไกลชุมชนจึงไม่สามารถ มารถประจำทางได้ ไม่มี อสม.อยู่ใกล้ กับคนข้างบ้านคุณยายก็ไม่คุ้นเคย

เมื่อผู้ป่วยเปิดใจขนาดนี้แล้ว ทีมฉุกเฉินของเราก็รีบช่วยหาแนวทางบรรเทา ปัญหาของยายดังนี้

1. ช่วยยายบริหารจัดการเรื่องภายในครอบครัว (ยายและน้องหนุ่ม) โดยไม่ได้มองว่าน้องหนุ่มเป็นตัวปัญหาแต่น้องคือบุคคลที่สำคัญในบ้าน และสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือในเรื่องการดูแลสุขภาพของยายทองปุย โดยมอบให้กับหัวหน้าอรปรียา ซึ่งมีประสบการณ์ในการดูแลเด็กและวัยรุ่น เพราะน้องหนุ่มกำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่มีโอกาสที่จะเข้าไปคลุกคลี กับยาเสพติด เนื่องจากติดเกมส์ กลับบ้านดึก ขาดคนดูแล ( ผู้สูงอายุที่มีภาวะ

และเด็ก ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นอยู่ด้วยกัน ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง) และที่สำคัญน้องหนุ่ม คือคนเดียวที่ฉีดยา ให้ยายทองปุย ถ้าน้องไม่อยู่ ยายก็ไม่ได้ฉีดยา สุดท้ายก็น้อยใจและไม่ยอมทานข้าว โดยเน้นในเรื่องต่อไปนี้

- การเสริมพลังอำนาจ ให้เด็กรู้ว่าตนเอง มีความสำคัญต่อครอบครัวอย่างไร

-แนะนำเรื่องยาเสพติดและผลเสีย ของการติดเกมส์ ถ้าเลิกไม่ได้ในระยะแรกให้รู้จักแบ่งเวลา

-สอนเทคนิคการฉีดยา ผลดี ผลเสียของการฉีดยาไม่ถูกต้อง จากการประเมินน้อง ฉีดยาได้ถูกต้อง ทั้งปริมาณยาที่ใช้เละตำแหน่งที่ฉีด ขาดเรื่องเวลาที่ฉีดนั้นไม่แน่นอน ไม่มีความต่อเนื่อง บางครั้งเปลี่ยนขนาดยาแล้ว หนุ่มยังไม่รู้เพราะยายปรับยาบ่อย

-แนะนำเรื่องโรคเบาหวานและการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเบื้องต้น เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ซึ่งน้องหนุ่มก็ทำได้ดีมาก เรียกรถฉุกเฉินตลอด

คุณยายคือร่มโพธิ์ร่มไทรของบ้าน คนนี้ดิฉันคุยเองเพราะคุ้ยเคยกับผู้ป่วยมากกว่า ก็คุยกับคุณยายเรื่องทั่วไปเพราะไม่อยากทำให้คุณยายเครียดมาก ดูการเก็บยา ซึ่งพบว่าคุณยายเก็บยาเม็ดไม่ถูกต้องยาเก่า ยาใหม่ผสมปนเปกันในถุงเดียว แนะนำให้เก็บยาเก่าไปคืนทุกครั้งที่ไปตามนัด แล้วรับยาชุดใหม่มาทานต่อ ยาฉีดเก็บได้ถูกต้อง แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ ในปริมาณที่เหมาะสม แนะนำอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากเราแอบมองเห็น กล้วยสุกหวีใหญ่ที่ห้องรับแขก แนะนำเรื่องการลดความเครียดด้วยตนเอง การออกไปพูดคุยพบปะกับเพื่อนบ้านแทนการ หมกหมุ่น อยู่คนเดียว ควรทำใจให้สบาย รู้จักปล่อยวาง คิดถึงลูกก็ไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว

- คุณยายมีรายได้ จากลูกแต่ละคนส่งเงินมาให้ เป็นค่าใช้จ่ายในบ้าน เดือนละ 3,000 – 4,000 บาท รวมกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท / เดือน ส่วนน้องหนุ่มเรียนฟรี คุณยายบอกว่าเพียงพอในการใช้จ่ายแต่ละเดือน จึงไม่มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ

- แนะนำคุณยายขายของชำต่อ หากมีทุนจะได้มีคนแวะเวียนมาบ่อยๆ ไม่เหงา ใช้เวลาว่างให้เป็ประโยชน์

2. รวมพลคนในชุมชนช่วยเหลือยายทองปุย ถามยายทองปุยว่าหากน้องหนุ่มไม่ว่าง ติดเรียน ยายอยากให้ใครช่วย ยายบอกว่า ถ้าหนุ่มไม่อยู่ก็ไม่รู้จะเรียกหาใคร เกรงใจเขา เราก็ถามว่าไม่มีเลยหรือยาย สุดท้ายยายก็บอกว่า มีหมอปีที่พอจะช่วยได้ ถามอยู่นานสุดท้ายก็ได้ความว่า หมอปี คือภารโรงของสถานีอนามัย นั่นเอง เราจึงฝากฝังหมอปี ให้ช่วยมาฉีดยา ให้ยายทองปุยหาก น้องหนุ่มไม่อยู่ และ ไม่ลืมฝากคุณหมออนามัย ตัวจริงช่วยดูอีกที ส่วนในเรื่องคนพามาโรงพยาบาล นั้นเราทราบมาว่า ต.โชคชัย มีพนักงานขับรถประจำทาง เป็นผู้ป่วยเบาหวานของเราเอง ชื่อว่าลุงเจียง ก็เลยคุยกับลุงเจียงให้มารับยายทองปุยที่บ้านเป็นพิเศษ ทุกครั้งที่มาโรงพยาบาล ลุงเจียงบอกว่าจะไหวเหรอหมอ ผมนัดทุกเดือนนะ บางครั้งไม่ตรงกัน ก็ยายนัดถี่ขนาดนั้น คุยกันสักพักลุงเจียงก็รับคำ โดยเราสัญญาว่าจะพยายามดูแล ให้คุณยายนัดห่างเหมือนลุงเจียง (ไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า) หลังจากนั้นทุกครั้งที่มาหาหมอ คุณยายทองปุยจึงมากับลุงเจียง

วันนั้นเราคุยกับคุณยายนาน เกือบจะ 4 โมงเย็น ก็รีบกลับเพราะต้อง ใช้เวลาในการเดินทางพอสมควร หลังจากกลับมา ก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมากว่าทุกอย่างจะดีขึ้น แต่ก็คอยติดตามการเปลี่ยนแปลงตลอด นับตั้งแต่คอยถามอาการยาย วันนี้มากับใคร มายังไง ทุกครั้งก็จะได้รับคำตอบว่า มากับลุงเจียงบ้าง มากับน้องหนุ่มบ้าง ถามเรื่องนั้นเรื่องนี้ มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้างเพื่อให้ยายสบายใจ ทั้งยังคอยชมเมื่อยายทำได้ดีขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ส่วนเรื่องยาฉีดทุกครั้งที่เปลี่ยนขนาดยาก็จะเขียน note เป็นพิเศษติดกับสมุดนัด ของยายฝากไปให้น้องหนุ่มทุกครั้ง ตอนนี้คุณยายไม่ได้ใช้บริการรถ EMS แล้ว สัปดาห์ที่แล้วออกเยี่ยมบ้านพร้อมทีมปกติ ( มีโภชนาการ กายภาพบำบัด พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลจิตเวช หมออนามัยตัวจริง ) ผ่านบ้านคุณยายทองปุย เลยแวะไปเยี่ยมเพื่อประเมินผล ปรากฏว่าคุณยายหน้าตาสดใสขึ้นมาก ผิวพรรณผุดผ่อง กลายเป็นคุณยายไฮโซเหมือนเดิม เมื่อพยาบาลจิตเวช เข้าประเมินภาวะสุขภาพจิต ถามยายว่า คุณยายมีเรื่องอุกอัง จนอยากหนีไปอยู่ผู้เดียวบ่ คุณยายบอกว่า บ่มีค่ะ พยาบาลเลยรีบพับใบประเมินเลย แล้วเราก็ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกัน คุณยายร้องไห้ แล้วก็บอกว่า น้ำตาไม่รู้ออกมาได้ไง ฉันดีใจคุณหมอ วันนั้นน้องหนุ่มไม่อยู่เลยไม่เจอกัน คุณยายบอกว่าน้องหนุ่มดีขึ้นมาก ยายก็สบายใจ แล้ว นัดก็ห่างขึ้น จากทุก 2 สัปดาห์ ก็เป็นทุก 2 เดือน แต่ช่วงหลังสังเกตว่าคนที่โดนนัด ถี่จะเป็นลุงเจียงซะเอง เห็นมั๊ยคะแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเอง

สวัสดีครับหมอนารี ผมชื่นชมในการเปลี่ยนแปลงของการดูแลผู้ป่วยนะครับ ผมกำลังจะเสนอรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบใหม่ที่ไม่ต้องมา รพ.ที่ผู้ดูแลต้องเข้าไปค้นหาและเข้าใจบริบทของผู้ป่วยแต่ละคน เพียงแต่ผู้ป่วยและญาติต้องวางแผนร่วมกันในการเจาะเลือดที่บ้าน และนำผลมาส่งแล้วแพทย์จะปรึกษากับเภสัชกร และทีมที่ดูแล ตลอดจนผู้ป่วยและญาติ ร่วมตัดสินใจในการให้ยารักษาโดยมีข้อแม้ว่าถ้ามีปัญหาอะไรให้รีบบอก การสือสารให้ผ่านระบบโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นการโทรปรึกษา หรือ SMS มาก็ได้ เพียงแต่ว่า จะไม่มาเจาะเลือด FBS ตอนเช้าที่ รพ.แล้วปรับเปลี่ยนยาตามความต้องการของหมอโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เลือกรูปแบบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการกินยาหรือการปรับเปลี่ยนอาหารเลย คือมันจะเปลี่ยน paradigm ของการดูแลเบาหวานแบบ DM clinic in hospital เป็น Individual approach by multidisciplinary team:community base แต่คงต้องใช้พลังและเวลาพอสมควร

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวครับ

กสิวัฒน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท