ขมูขีเล่าเรื่องราวย้อนกลับไปว่า ครั้งหนึ่งขิณี เขาและเพื่อนอีกคนที่ชื่อปักหลั่น ได้รู้จักกับยักษ์ตัวแดง และเป็นเพื่อนรักกัน แต่ชาวบ้านไม่มีใครยอมรับและต่างพากันหาทางกำจัดยักษ์ตัวแดงออกไปจากหมู่บ้าน ในที่สุดทั้งสี่คนก็โดนเนรเทศออกจากหมู่บ้านให้นั่งเรือออกไปจากเกาะนั้น ในที่สุดเวลาผ่านไป ขิณีหมดแรงจนสลบเพราะไม่มีน้ำไม่มีอาหารกินและต่อมายักษ์ตัวแดงจากไป เหลือเพียงขมูขี ปักหลั่นและเขาจึงจำต้องหาทางอยู่รอด ด้วยการกินเนื้อเพื่อนของเขา “ยักษ์ตัวแดง”ที่ตายไปก่อนและโกหกขิณีว่าเนื้อที่เธอกินนั้นคือหูฉลาม...



วันนี้เสร็จจากงานประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้าที่ตึก
UN ก็รีบบึ่งไปดู“ลิเกยักษ์ตัวแดง”
คำว่า“ลิเก”
นั้นว่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ยาวนานจนมาถึงวันนี้ก็ได้มีการดัดแปลงเป็นศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
เรียกว่านำมาประยุกต์ โดยมูลนิธิสื่อชาวบ้าน แสดงโดย
ทีมละครมะขามป้อม
เนื้อเรื่องนั้นนำมาจากละครของญี่ปุ่นชื่อเรื่องว่า Red
Demon (AKAONI) เป็นของ Hideki Noda
ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก แต่ลุงเอกไม่รู้จักดอกนะ
เขาได้นำมาทำเป็นลิเกร่วมสมัย จัดแสดงแบบคนดู
คนเล่นสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้ ภายใต้โรงละครของบ้านจิมส์
ทอมสัน ที่มีที่นั่งเพียง 80 ที่นั่ง
คนที่มาดูนั้นมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่นับว่าเป็นสิ่งดีที่มีการแสดงแบบนี้ทำให้ทุกฝ่ายดู
“ลิเก” อย่างไม่เคอะเขินทั้งเด็กรุ่นใหม่หรือผู้ใหญ่รุ่นเก่า
แต่ก่อนอาจจะมองว่าลิเกนั้นโบราณ
ในขณะเดียวกันทราบว่าทางกระทรวงวัฒนธรรมก็มาร่วมด้วย

เรื่องนี้นำแสดงโดยคุณ
ต็อบ(ประดิษฐ ประสาททอง) เป็นศิลปินศิลปาธรสาขาการแสดงคนแรกในปี 2547
บอกว่ากว่าจะคิดทำเรื่องนี้ยากมาก แถมทำให้เครียดมากๆด้วย
เพราะเป็นเรื่องจริงๆที่น่าเศร้ามาก
จึงพยายามที่จะสร้างลิเกเรื่องนี้ที่สะท้อนภาพความขัดแย้งในสังคมไทย
สิ่งที่ทำให้คิดระหว่างดูก็คือ
คนชอบเอาเรื่องเล็กๆน้อยๆมาเป็นประเด็นปัญหาโดยตลอด
แค่เจอขวดใบเดียวก็ตีความไปต่างๆนาๆล้วนแล้วแต่นำไปสู่ความร้ายแรงทั้งสิ้น
สังคมอยู่กับข่าวลือแล้วก็เชื่อๆๆๆๆจนเพี๊ยน
ชอบมองคนที่เปลือกไม่ได้มองลึกลงไปในจิตใจ
ยักษ์ตัวแดงที่มองกันว่าชั่วร้ายแท้จริงเป็นคนที่ดีงามจิตใจดีมีมนุษย์ธรรม
คนกลัวกันว่ายักษ์จะกินคนแต่สุดท้ายของการแสดงกลายเป็นคนนั้นกินยักษ์
ลิเกร่วมสมัยเรื่องนี้จะนำไปแสดงที่ประเทศญี่ปุ่น
ในโครงการ “Mekong Festival 2009”
เป็นการเฉลิมฉลองปีแห่งการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในลุ่มน้ำแม่โขงและประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่
18 – 25 พ.ย.นี้ และเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลละครกรุงเทพ 2552
ด้วย
ลิเกเรื่องนี้จะเป็นความภาคภูมิใจว่าในปีนี้
คุณต็อบ-ประดิษฐ ได้รับเชิญจาก ฮิเดกิ โนดะ (Hideki Noda)
ผู้กำกับการแสดงและนักเขียนบทชาวญี่ปุ่น
ผู้เลื่องชื่อทางด้านการละครไปทั่วโลก ให้นำบทละครเรื่อง
“ยักษ์ตัวแดง” มาดัดแปลงในสไตล์ของมะขามป้อม
ที่โดดเด่นในเรื่องการแสดงลิเกร่วมสมัย
ในเรื่องจะเปลี่ยนชื่อตัวละครจากชื่อญี่ปุ่น
มาเป็นชื่อไทย เพลงที่ใช้ก็ปรับเป็นเพลงไทยดั้งเดิมที่หาฟังยาก
พี่ชายนางเอกที่คนมักเรียกชื่อว่า"ไอ้ติ๊งต๊อง"ในขณะเรียกนางเอกว่า"อีนั่น"
เป็นคนใจงามทั้งคู่
ตอนจบเขาให้ลุงเอกพูดแสดงความคิดเห็นเลยบอกว่าลุงเอกชอบ
ไอ้ติ๊งต๊อง
เพราะมีความสุขดีไม่เคยทุกข์วันๆเอาแต่ฝันแล้วก็ไม่ยึดติดอะไร
จริงใจซื่อตรง ส่วนนางเอกของเรื่องคือคุณ ตุ๊กตา(บุญพร พูนล้ำเลิศ)
ที่แม้จะรับบทเด่นในการแสดงลิเกร่วมสมัยให้กับมะขามป้อมมาหลายเรื่องแล้ว
บอกว่าเรื่องนี้ยากจริงๆ

ตอนนี้ยังมีแสดงอยู่ใครสนใจเชิญร่วมได้ครับ
