วิธีการประเมิน นำไปสู่ วิธีการทำงาน


ทุกคนทำงานเชิงพัฒนาได้ และได้เกินกว่าที่ได้ตกลง

    ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ก็จะเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2548  เป็นเดือนที่สำคัญเดือนหนึ่งสำหรับคนที่กินเงินเดือนหลวง เพราะเป็นเดือนที่จะต้องส่งผลการประเมินขั้นเงินเดือนประจำรอบ 6 เดือนหลัง  มีหลายคนกล่าวไว้ว่า ความล้าหลังของหน่วยงานรัฐ เทียบกับเอกชนก็เพราะมีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้สะท้อนผลการปฏิบัติงานที่แท้จริง อีกทั้งค่าตอบแทนต่อการทำดีมาก  ดีธรรมดา และไม่ดีนั้นมีความแตกต่างกันน้อยมาก ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจ หรืออาจมากไปถึงการบันทอนกำลังใจผู้ที่ตั้งใจทำงานอีกต่างหาก  

   เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลให้มีการประเมินตามมาตรการ 3 มีการปรับวิธีการประเมินให้มีการสะท้อนผลการปฏิบัติงานตามภาระที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ก่อน โดยแบ่งเป็นงานประจำและงานเชิงพัฒนา  ถือว่าเป็นโอกาสทองของการพัฒนาหน่วยงานรัฐ  น่าเสียดายที่ยกเลิกไป แต่ก็ไม่เป็นไร  ถึงไม่มีคำสั่งมา ถ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ก็น่าจะทำต่อได้  ภาคพยาธิฯ จึงเดินหน้าพัฒนาระบบการประเมินต่อไป โดยกำหนดให้มีการทำข้อตกลงภาระงาน ประเด็นสำคัญของการพัฒนาครั้งนี้ คือ การกำหนดสัดส่วนภาระงานพัฒนาในสัดส่วน 10-40% ตามตำแหน่ง (ข้าราชการซี 7-8, 20-40%  ข้าราชการซี 5-6, 20-30%  และข้าราชการซี 2-4, 10-20%)   ซึ่งก็พบว่าก่อให้เกิดความกังวลกันมากว่าจะทำงานพัฒนาได้ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ได้อย่างไร 

    อย่างไรก็ตามขณะนี้ ได้มีการประเมินผลเสร็จสิ้นแล้ว  ปรากฏว่า ทุกคนทำงานเชิงพัฒนาได้ และได้เกินกว่าที่ได้ตกลงไว้เสียด้วยซ้ำ  เกิดอะไรขึ้น และเป็นไปได้อย่างไร  โปรดติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 3111เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2005 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท