โรงเรียนแห่งการเรียนรู้


โรงเรียนเพลินพัฒนา
โรงเรียนแห่งการเรียนรู้
           สคส. มีทีมแมวมองหาองค์กรหรือหน่วยงานที่มีการจัดการความรู้     และได้พบโรงเรียนเพลินพัฒนา มีการจัดการความรู้ในลักษณะพิเศษมาก    คือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับครู,  ครูกับผู้ปกครอง,  ผู้ปกครองกับผู้ปกครอง,  ครูโรงเรียนเพลินพัฒนากับครูโรงเรียนอื่น,  ครูกับเกษตรกร,  ผู้ปกครองกับเกษตรกร,  เป็นต้น    ทางโรงเรียนมีความเชื่อในพลังเครือข่าย     ทางโรงเรียนจึงขับเคลื่อนเครือข่ายที่กว้างขวางมาก    โรงเรียนเสนอว่าตนเองเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มีเว็บไซต์ที่น่าสนใจดังนี้

http://www.plearnpattana.com/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=38

และทีมแมวมองของ สคส. ได้สรุปการไปเยี่ยมศึกษากิจการของโรงเรียนดังนี้  (ผู้เขียนคือคุณตุ่ม ศศิธร อบกลิ่น ทีมประชาสัมพันธ์) 

การจับภาพ KM ภาคการศึกษา
เรื่อง : “การจัดการความรู้โรงเรียนเพลินพัฒนา…
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม
จับภาพในมุมมอง KM : จากการสัมภาษณ์พูดคุยกับ “ครูหวาน” (อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และกรรมการบริหารโรงเรียน และ “ครูปราณี” ฝ่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้โรงเรียนเพลินพัฒนา (ขับเคลื่อนเครือข่ายพ่อแม่ให้เป็นเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้) เมื่อได้พูดคุยสอบถามและดูกระบวนการภายในโรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นเวลา 3 ชั่วโมง พอจะจับภาพรวมของการ จค.ในร.ร.เพลินพัฒนาได้ดังนี้
หัวปลา คือ การสร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม ซึ่งการ จค. ในร.ร. สามารถเห็นหัวปลาที่ชัดเจนได้จากการบูรณาการการเรียนการสอนของครูโดยอาศัยความรู้จากพ่อแม่ และชุมชน โดยครูและชุมชนเป็นคุณอำนวย ,ผู้ปกครองเป็นคุณเอื้อ  และนักเรียนเป็นคุณกิจ  ซึ่งทุกฝ่ายทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างแนบเนียนไปในทางเดียวกัน เป็นเหมือนงานประจำที่ทุกฝ่ายทำด้วยใจและด้วยความสุข
ตัวปลา คือ  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยครู , พ่อแม่, ชุมชน
ลปรร.ของครู // มีการประชุมครูกับครู ทั้งในระดับช่วงชั้น ,ข้ามช่วงชั้น,รายวิชาเดียวกัน , ข้ามรายวิชา ,ระดับหัวหน้าช่วงชั้นกับบอร์ดของร.ร. , และข้ามโรงเรียน (แลกเปลี่ยนกับ ร.ร.สามเสน, ร.ร.ลำปลายมาศ) นอกจากนี้ยังครูยัง ลปรร.กับพ่อแม่ ,ชุมชน (ลุงชวน) และแหล่งเรียนรู้ด้วย
            “กิจกรรมที่ครูได้แลกเปลี่ยนกับหน่วยต่างๆที่เรียนว่าชุมชนเล็กในโรงเรียนใหญ่นั้น จะมีการสรุปกิจกรรมกับหน่วยต่างๆ และกำหนดให้นักเรียนนำเสนอใน โครงการชื่นใจได้เรียนรู้ ใน 2 สัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียนนั้นๆ”
ลปรร.ของพ่อแม่ // พ่อแม่มีการ ลปรร. โดยเริ่มจากครู ซึ่งต่อมาเครือข่ายพ่อแม่เริ่มมากขึ้น จึงเกิด “ห้องเรียนพ่อแม่” เมื่อไม่นานมานี้เอง ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงความรู้จากพ่อแม่ มาร่วมกันออกแบบ การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยการสนับสนุนจาก ครูปราณี (ฝ่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้) ที่ต้องการสร้างให้พ่อแม่มีเครือข่ายการเรียนรู้กันในกลุ่ม เพื่อผลักดันให้พ่อแม่หันมาตระหนักถึงความสำคัญของการเป็น ”คุณเอื้อ”  ที่จะเอื้อให้ลูกมีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งเกิดจากการซึมซับการเป็นผู้ที่รักในการเรียนรู้จากพ่อแม่ และจึงขยายผลความรู้มาเชื่อมโยงกับโรงเรียนต่อไป
 ( แนวทางของโรงเรียน กับ ที่บ้านดำเนินไปในแนวเดียวกัน )
ลปรร.ของชุมชน // ชุมชนมีองค์ความรู้ในชุมขนอยู่มาก เช่น เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และการจัดตลาดน้ำในชุมชน ของ“ลุงชวน” ซึ่งลุงชวนถือได้ว่าเป็นผู้นำชุมชนที่อยู่ในละแวกเดียวกับโรงเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน เริ่มจากการเป็นผู้ให้ความรู้กับโรงเรียนเพลิน  ให้ความรู้กับพ่อแม่ของนักเรียนที่สนใจมาดูงานในวันหยุด กระทั่งกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในที่สุด ซึ่งชุมชนลุงชวนยังขยายเครือข่ายการเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ เช่น ตลาดน้ำตลิ่งชัน ได้อีกด้วย
            ฉะนั้นการผนึกขุมความรู้ จากหน่วยต่างๆ สามารถเชื่อมโยงโดยการแลกเปลี่ยนความรู้จากหน่วยต่างๆที่เรียกว่าชุมชนแห่งการเรียนรู้ มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ และเป็นการหมุนเกลียวความรู้ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา
            หางปลา คือ  สิ่งที่ครู พ่อแม่ ชุมชน และนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน คือ การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ทุกคนตระหนักและเคารพซึ่งกันและกัน  เห็นความหมายของยุทธศาสตร์ ที่เลือกทางสายกลางที่เด็กๆ ชุมชน และสังคมแห่งการเรียนรู้นี้ จะย่างก้าวไปด้วยกัน อย่างพอเหมาะ พอดี เพลิดเพลิน และพัฒนาอย่างมีความสุข  โดยผ่าน “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” ที่เป็นตัวเชื่อมโยงชุมชน CoPs ในการสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ของเพลินพัฒนาแห่งนี้ได้ตลอดไป.
           

คำสำคัญ (Tags): #โรงเรียน
หมายเลขบันทึก: 3107เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2005 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท