การสร้างจิตสาธารณะต้องเป็นการสร้างจิตสำนึกใหม่


การสร้างจิตสาธารณะที่ยั่งยืนควรพัฒนาให้เด็กเกิดการการเปลี่ยนแปลงจากข้างใน

     หายไปเสียนาน  กับการไปทำหน้าที่ของพ่อ แต่ก็ไม่ลืมที่จะแวะเวียนมาเยี่ยม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้    วันนี้สนใจที่แลกเปลี่ยนในประเด็นการสร้างจิตสาธารณะ ที่กำลังเป็นกระแสฮอตอยู่  สนใจว่าทางที่ถูก ที่ยั่งยืนนั้นควรเป็นเช่นไร  ไม่งั้นก็อาจจะกลายเป็นเหมือนไฟไม่ฟางเหมือน  นโยบายคุณธรรมนำความรู้ ที่พอได้ตัวเลข  ได้ปริมาณ ได้ชื่อว่าได้ทำ ก็จบ ไม่ต่อเนื่อง  วันนี้การพัฒนาเรื่องจิตคงไม่เน้นด้านปริมาณ  แต่ควรเป็นเชิงคุณภาพมากกว่า  เพราะการวัดด้านจิตใจ  คงไม่มีเครื่องมือใดที่วัดแล้วได้คำตอบ ครอบคลุมแน่  จิตสาธารณะ หรือจิตอาสา นั้นเป็นคุณลักษณะที่ดีงามที่หลักสูตรมุ่งให้เกิดกับผู้เรียน เพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมไทยที่ขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม  ยิ่งเรียนสูงยิ่งมีอัตตาสูง  ไม่สนใจสังคม สิ่งแวดล้อม  การสร้างจิตสาธารณะจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก  หากจะให้ผลยั่งยืนนั้น  คงต้องพัฒนาให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงจากข้างใน  ทำให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกใหม่  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิด ร่วมลงมือปฏิบัติ  สะท้อนผลการปฏิบัติ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมีครูเป็นผู้คอยแนะนำ  ที่สำคัญครูควรเป็นแบบอย่าง แนวในการสร้างจิตสาธารณะนั้นอาจประยุกต์ใช้หลักการของจิตตปัญญาศึกษาไปใช้น่าจะช่วยให้การพัฒนานั้นไปถูกทาง ครับ    

หมายเลขบันทึก: 309929เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมว่าจุดเริ่มต้นที่สำคัญ  น่าจะอยู่ที่ตรงนี้ครับ

ครูควรเป็นแบบอย่าง แนวในการสร้างจิตสาธารณะ

   ไม่งั้นก็มักจะเป็นอย่างที่เล่นคำสนุกๆว่า คุณธรรม คือ คุณ นะ  ทำ   (ผมไม่ต้องทำ แต่ ผมให้คุณทำ)

               ขอบคุณครับ

 

   

สวัสดีค่ะคุณครูจักรกฤษณ์

  • พี่คิมเห็นน้องขึ้นบันทึกตั้งแต่เมื่อวาน  เพียงแต่ดูคร่าว ๆ ไม่ได้อ่านของใคร  เพราะไม่สบายเป็นไข้หวัดธรรมดา  วันก่อนออกไปติดตามการถ่ายสารคดีเปิดโลกคนเก่ง  ที่บ้านเด็กและติดตามไปในไร่  วันนี้อาการดีขึ้นแล้วค่ะ
  • ส่วนสารคดีมีเรื่องจิตสาธารณะ...ช่อง ๑๑ นัดถ่ายทำอีกต่างหากค่ะ  ที่ผ่านและออกอากาศไปแล้วมีนักเรียนธรรมาภิบาล
  • พี่คิมทดลองสอนจิตสาธารณะมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ค่ะ  ให้นักเรียนกำหนดกิจกรรมด้วยตนเอง
  • อุปสรรคปัญหา  ไม่ได้อยู่ที่นักเรียนนะคะ  อยู่ที่ครูบางคนไม่เข้าใจ  รอทำตามคำสั่ง  ไม่สนใจค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
  • ปัจจุบันจึงกลายมาเป็นโครงการของโรงเรียนชื่อ...โครงการนักเรียนจิตสาธารณะสู่กระบวนการเรียนรู้ (วิเคราะห์ลงสู่คุณธรรมพื่นฐาน ๙ ประการ)
  • ความสำเร็จของกิจกรรม  สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมค่ะ 

โดยส่งเสริมให้ทุกคนรู้จักปฏิบัติตนในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและมีพฤติกรรมจิตสาธารณะหรือจิตอาสา  จึงลงความเห็นแบ่งกิจกรรมย่อยออกเป็น  3  กลุ่มคือ

           1. กิจกรรมหัวใจสีขาว  เพื่อสร้างความตระหนักในด้านการลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การไม่สูบบุหรี่  การไม่ใช้สารเสพย์ติด  การรักนวลสงวนตัว  การไม่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน  การรักษาความสะอาดของโรงเรียน

 

           2. กิจกรรมหัวใจสีเขียว  เพื่อสร้างความตระหนักและมีพฤติกรรมในการรักษาสิ่งแวดล้อม  ไม่ทิ้งขยะเลอะเทอะ  ดูแลสนามหญ้าสวนหย่อม ไม่ทำลายต้นไม้  ลบรอยขีดเขียนบนโต๊ะเรียน  ฝาผนังและไม่ขีดเขียนข้อความสกปรกเลอะเทอะในที่ ๆ ไม่สมควร  ไม่ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสมบัติทางราชการ  และช่วยกันบำรุงรักษาสิ่งของให้มีสภาพดีใช้ได้คงทน  ถาวร 

 คัดลอกมาจากผลงานนักเรียนค่ะ...

http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5371507

           3. กิจกรรมหัวใจสีชมพู  เพื่อสร้างความตระหนักในการมีความรัก  มีความสามัคคี  รู้จักเห็นอกเห็นใจ  รู้จักเอื้ออาทรต่อคนรอบข้างให้มีความสุขและช่วยเหลือสังคมได้อย่างเหมาะสมเมื่อมีโอกาส  เช่นการไปเยี่ยมผู้สูงอายุ  ถามทุกข์สุข  และไม่ทำลายสิ่งของและทรัพย์สินสาธารณะ

  • สวัสดีพี่คิม
  • พอได้ทราบและชื่นชมผลงานของโรงเรียนพี่จากหนังสือ ดร.ชัยวัฒน์
  • ยอดเยี่ยมเลยครับ ผมก็ช่วยแนะนำเพื่อนที่จะทำวิจัย ป.เอก เรื่องนี้ให้มาดูงานที่โรงเรียนพี่

สวัสดีค่ะ

  • พี่ติดตามหนังสือของ ดร.ชัยวัฒน์แล้วนะคะ สั่งซื้อ ๒๐ เล่ม ๆ ละ ๑๓๓ บาท
  • เอาไว้มาแจกเพื่อน ๆ ภูมิใจที่มาช่วยประชาสัมพันธ์โรงเรียน
  • หาก นศ.ป.เอกจะมาเก็บข้อมูล  พี่ยินดีช่วยเต็มที่นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท