ทำอย่างไรให้ธุรกิจ SME สนใจ CSR ตอนที่ ๒


บทความนี้ผมส่งไป http://www.ngobiz.org/ ซึ่งได้ย่อทำเป็น ๒ ตอน ตอนนี้เป็นตอนที่สอง ... จากตอนที่ ๑ http://gotoknow.org/blog/beever/309846

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเจ้าของธุรกิจ SME นั้น แทบทุกคนมีความตระหนักในความรับผิดชอบที่พลเมืองทุกคนควรรับผิดชอบต่อเมือง และตระหนักถึงตลาดการค้าที่ CSR มีบทบาทในฐานะกลยุทธ์แต่อย่างที่พวกเราทุกคนทราบกันคือ ธุรกิจ SME ไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีทุนเป็นถุงเป็นถัง ทางเลือกที่จะพาคนขึ้นรถบัสไปปลูกป่าชายเลนนั้น จึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับ SME นอกจากนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มีกำลังซื้อไม่มาก ก็พิจารณาสินค้าจากความคุ้มค่าในด้านราคามากกว่าพิจารณาสินค้าและบริการจากองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม แล้วถ้าหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ SME ก็ไม่ควรสนใจ CSR ใช่หรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ SME ไม่ควรมองข้าม CSR เพราะ CSR เป็นโอกาส SME ควรศึกษาและองค์กรที่สนับสนุนก็ควรให้ความรู้และทางเลือกว่า CSR ไม่ใช่เรื่องของการนำเม็ดเงินไปทุ่มให้กับสังคมเพียงอย่างเดียว 

 

18ifa113

 

          การกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานในองค์กรก็เป็นการช่วยโลกได้ แถมยังต้นลดทุนการดำเนินงาน ทุนน้อยลงกำไรก็มากขึ้นแล้วถ้าคุณเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานมาทำเป็นกราฟ คุณก็สามารถประชาสัมพันธ์ข้อมูลนี้ให้สาธารณะชนได้ทราบว่า คุณลดการใช้ไฟฟ้า ลดการใช้น้ำมัน และน้ำประปาได้เท่านี้ รวมเป็นเงินกี่บาทหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แล้วคุณก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเม็ดเงินที่ประเทศไทยเสียไปกับการนำเข้าพลังงาน มลพิษจากน้ำมัน สภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำจืดน้อยลง พร้อมเรียกร้องให้ผู้บริโภคหันมาสนับสนุนสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เพียงแค่นี้คุณก็สามารถสร้าง Brand Positioning ความรับผิดชอบต่อสังคม ให้กับธุรกิจ SME ของตนเองได้ นี่ยังไม่รวมประเด็น CSR อื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุนมาก แต่ดูดีในการประชาสัมพันธ์และแทบทั้งหมดก็เป็นผลดีต่อโลกใบนี้ เช่น การไม่ใช้แรงงานเด็ก การไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นทุจริตคอรัปชั่น การดำเนินกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ

 

27sfo833

 

          ทุกธุรกิจการค้านั้นมองผลกำไรซึ่งหมายถึงความอยู่รอดขององค์กรมาก่อนความอยู่รอดของโลกใบนี้ การที่องค์กรประเภท NGO จะเข้ามาจุดประเด็นชวน SME มาช่วยกันทำ CSR เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ประเด็นการสร้างความตระหนักโดยใช้กรณีศึกษาน้ำท่วมโลก ป่าน้อยลง เขื่อนแห้งแล้ว ก็น่าจะใช้ได้ แต่ผมเสนอให้ใช้ความสำเร็จขององค์กรที่มีบริบทใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายที่ NGO ต่างๆ ต้องการจะให้หันมาทำ CSR มาเป็นตัวอย่าง เช่น “SME ก.ไก่” หันมาทำ CSR ตามแนวทางนี้ๆ แล้วก็ลดค่าใช้จ่ายได้ร้อยละเท่านี้ กำไรเพิ่มขึ้นร้อยละเท่านี้ ผู้บริโภคมีผลตอบรับกับผลิตภัณฑ์หรือบริการในทิศทางนี้ และต่อไปในอนาคตก็วางแผนที่จะทำ CSR ในด้านใหม่อีกเพื่อหวังผลอื่นๆ ที่สร้างผลดีให้กับองค์กร คือผมกำลังจะสื่อว่า เราควรใช้ SME ที่ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจโดยมี CSR เป็นปัจจัย มาเป็นตัวล่อ SME อื่นๆ 

 

21emd949

 

          โดยเรานำเสนอว่า หาก SME ไหนสนใจมาทำ CSR กับเรา เรามีพี่เลี้ยงที่เค้าประสบความสำเร็จในทางธุรกิจจาก CSR มาประกบนะ ซึ่งนอกจากคุณจะได้ช่วยโลก ธุรกิจคุณก็จะมีพาร์ตเนอร์ อย่ามองว่าธุรกิจแตกต่างกันจะช่วยกันไม่ได้ บางทีนอกจากคุณจะได้ช่วยโลกแล้ว คุณอาจพบตัวแปรทางธุรกิจใหม่ๆ จากมุมมองใหม่ๆ ในลักษณะกัลยาณมิตร แล้วถ้าหากเรามี SME ที่เข้าร่วมอุดมการณ์มากพอ เราก็จัดตั้งเป็นเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการสร้างนวัตกรรมความร่วมมือในทางธุรกิจและ CSR และเครือข่ายเหล่านี้ก็จะเป็น Communication Brand ของ NGO ที่สามารถปั้นได้สำเร็จ ในมิติหนึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการดึง SME จาก Red Ocean มาอยู่ใน Blue Ocean ที่เน้นการสร้างนวัตกรรม แต่เราเน้นที่นวัตกรรมทาง CSR ส่วน SME จะสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจด้วยกันนั้น ก็เป็นผลที่เค้าควรจะได้ เช่นนี้ก็จะเป็นไปในลักษณะ WIN-WIN SITUATION คือธุรกิจได้ประโยชน์ โลกก็ได้ประโยชน์ และที่สำคัญมนุษยชาติที่รวมทั้ง NGO และ เจ้าของกิจการ SME ก็จะได้ประโยชน์กันอย่างถ้วนหน้า ซึ่งก็จะเข้าประเด็น White Ocean Strategy ที่หลายๆ ท่านต้องการให้เป็น

 

"""""""""

หมายเลขบันทึก: 309923เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ คุณ บีเวอร์ มาศึกษาแนวทาง sme ธุระกิจครอบครัว เผี่อเครือข่ายสนใจจะได้หาข้อมูลเพิ่มครับ

ยินดีอย่างยิ่งครับ ผมก้มือใหม่ ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ...น้องบีเวอร์... พี่ขอเข้ามาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ...

เอสเอ็มอี ใหม่ ๆ ก็ฮือฮากัน

พากันเปิดเป็นการใหญ่

แต่ภายหลัง กลับทยอยหายไปทีละรายสองราย

เป็นกิจการที่ต้องใช้ความพยายามมากหน่อย

และ ต้องศึกษาให้ดีก่อนคิดจะลงทุน

น่าศึกษาดีครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณบีเวอร์
  • มาศึกษาเรื่องธุรกิจที่น่าสนใจ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ
  • ตอบคำถามที่ถามให้แล้ว  อย่าลืมแวะไปอ่านคำตอบนะคะ

ตอบ คุณบุษยมาศ

ยินดีเสมอครับ

...

ตอบ thassana wong

มันอยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะยั่งยืนนะครับ หลายๆ แห่งทุกวันนี้ก็เจริญเติบโต มีกรณีศึกษามากมาย ที่ล้มไปก็มีน่าสงสารไม่น้อย

ผมมองนะครับ มันอยู่ที่การเตรียมตัวและการปรับตัวครับ

....

ตอบ ธรรมทิพย์

ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะกลับไปอ่าน

....

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยมบันทึกอานาปนสติ

เมื่อก่อนเคยทำผลิตภัณฑ์ชุมชนค่ะ กฏเกณฑ์เยอะมาก

เลยไม่สงสัยค่ะ ว่าทำไมถึงค่อยๆหายไปทีละเจ้าๆ

เจ้าดิฉันก็หายไปกับเค้าด้วยเหมือนกัน

พุทธศาสนานั้น แรกเริ่มมาจากทางอินเดียมากกว่า

มีหลักฐานมากมาย ที่สนับสนุนในข้อนี้

ส่วนที่ว่า เกิดในเมืองไทยนั้น ข้อสนับสนุน

ยังคงไม่เพียงพอที่จะทำให้เชื่อเช่นนั้น

ไม่งั้น พระไตรปิฎก ก็คงจะต้องเป็นภาษาไทยโบราณ

ไม่ใช่เป็น ภาษาบาลี หรือ สันสกฤต อย่างทุกวันนี้

จริงไหมครับ?

รักษาสุขภาพ

ตอบ ณัฐรดา

ผมประสบการณ์น้อยครับ พึ่งมาศึกษาเรื่องนี้ พึ่งทราบเหมือนกันว่า ประเด็นกฏระเบียบก็มีส่วนให้ SME ล้ม

น่าสนใจมากครับ รบกวนอธิบายซักนิดได้ไหมครับ ว่าปัญหานี้เป็นไงมาไง ขอบคุณครับ

...

ตอบ thassana wong

ขอบคุณครับ รักษาสุขภาพเช่นกัน (ข้อสังเกตของคุณน่าสนใจมาก)

....

กำลังเริ่มทำนำดื่มขายอยากรู้เรื่อง SME มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท