ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

ผลสอบสวน


       สืบเนื่องจากบันทึกนี้ ที่ได้นำมาเล่าให้ฟังเมื่อวาน http://gotoknow.org/blog/kai-icnnurse/309251

วันนี้ติดตามรายละเอียดผลการสอบสวน จากข่าวนะคะ  แล้วท่านคิดอย่างไร

       ก่อนที่จะรับประทานยาทุกครั้ง ตรวจสอบวันหมดอายุ  เม็ดยา สี เปลี่ยนแปลงไปไหม ท่านเก็บยาไว้ในภาชนะที่ถูกต้อง ทั้งอุณหภูมิ  แสง ความร้อน ก็จะมีผลต่คุณภาพและความคงตัวของยานะคะ 

        จากกรณีที่นางแสงเดือน บ่อคำ อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121 หมู่ 1 ต.เหมืองหม้อ อ.เมือง จ.แพร่ ได้ร้องเรียนว่า พบเส้นลวดอยู่ในยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ที่ซื้อมาจากร้านขายยาในหมู่บ้าน ซึ่งยาดังกล่าวบรรจุอยู่ในซองยา โดยระบุว่า พารา จีพีโอ (PARA GPO) องค์การเภสัชกรรม และได้มีการสั่งให้นำยาพาราเซตามอลล็อตการผลิตเดือนกรกฎาคม จำนวน 1.2 ล้านเม็ด ออกจากตลาด รวมถึงสั่งโรงงานผู้ผลิตหยุดการผลิตยาดังกล่าวจนกว่าจะมีการตรวจสอบมาตรฐาน โรงงานแล้วเสร็จและนำลวดที่พบในเม็ดยาไปตรวจสอบว่าเป็นชิ้นส่วนของแร่งกรอง ยาหรือไม่

        วันนี้ (28 ต.ค.) ที่วัดพุทธปัญญา นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบเส้นลวดที่พบในยาพาราเซตามอลขององค์การ เภสัชกรรม (อภ.) ที่ผลิตโดยบริษัท โอสถอินเตอร์แลบบอราทอรีส จำกัด ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ส่งเจ้าหน้าที่วิศวกรรมลงไปตรวจสอบในพื้นที่แล้วค่อนข้างชัดเจนว่าลวดที่พบเป็นชิ้นส่วนของแร่งที่เป็นตะแกรงร่อนยาจริง ซึ่ง อย.จะต้องพิจารณาโทษของโรงงานต่อไป
       

       “ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากยาพาราเซตามอล ยี่ห้อจีพีโอ ในล็อตการผลิตเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับล็อตการผลิตที่พบลวด ผมได้สั่งเก็บยาออกจากตลาดแล้ว แต่สำหรับประชาชนที่ซื้อยาในล็อตดังกล่าวไปก่อนแล้วต้องการจำนำยามาคืน จำเป็นที่ อภ.จะต้องรับผิดชอบด้วย ทั้งนี้ ยืนยันการพบเศษลวดในยาถือเป็นครั้งแรก และในการเก็บยาในรอบการผลิตที่มีปัญหาไม่พบผู้บริโภคร้องเรียนพบเศษลวดเพิ่ม และได้มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ดูแลผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคยา ส่วนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทผู้รับจ้างผลิตยาพาราฯเป็นอำนาจของ อภ.ดำเนินการ” นายวิทยา กล่าว

         ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า โรงงานนี้ไม่ได้ผิดในแง่ของการผลิตยาที่ไม่มีคุณภาพ แต่มีความผิดตามกฎกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจีเอ็มพี ปล่อยปละละเลยให้มีสิ่งแปลกปลอมในกระบวนการผลิต มีโทษปรับตั้งแต่ 4,000-10,000 บาท และเภสัชกรผู้ควบคุมการผลิตจะได้รับโทษปรับ 2,000-5,000 บาท อย่างไรก็ตาม อย.ได้แจ้งให้โรงงานปรับปรุงมาตรฐานตามคำแนะนำแล้ว จากนี้หากโรงงานปรับปรุงแล้วเสร็จและแจ้งมายัง อย.จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ถ้าผ่านมาตรฐานก็สามารถเปิดโรงงานผลิตต่อไปได้

       นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้รอหนังสือผลสอบความเสียหายจากกรณีพบเศษลวดในยาพาราฯ จากทาง อย.อย่างชัดเจนก่อน จากนั้นจะมอบให้กองนิติการของ อภ.พิจารณาดูสัญญาที่ทาง อภ.ทำกับ บริษัท โอสถอินเตอร์ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนขณะนี้ คือ การเรียกยากลับทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทต้องรับผิดชอบ เบื้องต้นประมาณการความเสียหายจากการเรียกเก็บยาประมาณเกือบ 1,000,000 บาท ส่วนการพิจารณาในแง่อื่นๆนั้น จะดำเนินไปด้วยความเป็นธรรม ส่วนยอดการจำหน่ายยาพาราฯของ อภ.ลดลงหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นยังอยู่ในเวลาอันสั้น อีกทั้งยาพาราฯถือเป็นยาพื้นฐานที่ทุกครัวเรือนบริโภค จึงอาจไม่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจน

หมายเลขบันทึก: 309502เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

เป็นความรู้ใกล้ตัวที่เราไม่เคยระวังเลยอะค่ะ เวลาได้ยามาก็ทานเลย ต่อไปต้องคอยตรวจสอบให้รอบคอบทุกครั้งแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะน้องชาดา

ถูกต้องแล้วคะ ต่อไปเวลาจะรับประทานยาต้องตรวจสอบ ให้ชัดเจนและแน่ใจว่าใช้ยาที่คุณหมอสั่งให้ทาน

ดูชื่อ ขนาด จำนวนมิลลิกรัม วันหมดอายุ ดูสีผิดปกติไหม

  • เรื่องนี้เป็นตัวอย่างว่า
  • คุณภาพนี่สำคัญนะน้องนะ
  • และนี่คือตัวอย่างของสิ่งส่งมอบที่ผู้คนไม่ต้องการ
  • ระบบตรวจประเมินตัวเองจึงสำคัญด้วยเนอะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท