โลกาภิวัตน์ ข่าวลือ สังคมเสี่ยง


บทเรียนจากข่าวลือ กับภาวะเสี่ยงของสังคม ในยุคโลกาภิวัตน์ กับสมรรถนะของนักบริหารการพัฒนาระบบสุขภาพ

 

เมื่อพฤหัส (๑๕ ตุลาคม) ที่แล้ว หุ้นร่วงลงไปอย่างถล่มทลาย เพราะเกิดความลือที่ไม่เป็นมงคล ความอ่อนไหวต่อข่าวลือ เป็นเรื่องที่เราน่าให้สนใจ โดยเฉพาะในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ที่ Friedman ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นับแต่การทะลายเบอร์ลินวอลล์ในทศวรรษที่ 1980 ขั้วอำนาจของโลกได้เปลี่ยนแปลง จากเคยมีสองขั้วคือค่ายทุนนิยมที่มีสหรัฐฯ เป็นขั้วอำนาจ กับค่ายสังคมนิยมที่มีรัสเซียเป็นขั้วอำนาจ ทำให้เกิดการแพร่ของแนวคิดระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่เน้นการแข่งขันและระบบตลาดเสรี ประกอบกับความก้าวหน้าด้านการติดต่อสื่อสาร ผ่าน Internet เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โลกแบนลง เพราะการสื่อสารติดต่อถึงกันอย่างทั่วถึงมากขึ้น การติดต่อถึงกันในแนวราบแบบไม่มีขั้ว ทำให้เสมือนว่า โลกแบนลง ดังที่เขาเขียนไว้ใน The World is Flat เขายังตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า การแพร่และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จะทำให้สังคมมีการโปร่งใส (Transparent) มากขึ้น เพราะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจะทำให้ไม่สามารถปิดบังข้อมูลข่าวสาร และสามารถตรวจสอบกันมากขึ้น ซึ่งเราคงจะเห็นจากกรณีการตรวจสอบการจัดซื้อในโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขที่กำลังเป็นประเด็นร้อน

อย่างไรก็ดี Stiglitz ได้โต้แย้งว่า โลกไม่ได้แบนลง เพราะประเทศต่างๆ มีความเหลื่อมล้ำกันด้านการลงทุนพัฒนาระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะเป็นการลงทุนสูงและจะต้องมีการพัฒนากำลังคนด้านนี้ด้วย ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง  ซึ่งก่อนหน้านี้ นักสังคมวิทยาได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสังคมเสี่ยง (Risk Society) ที่เป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ ที่ความก้าวหน้าด้านการคมนาคมสื่อข่าวสาร โดยเฉพาะการสื่อสารผ่าน Internet จะมีผลเกิดแนวคิดค่านิยม ความทันสมัย (Modernization) การใช้เทคโนโลยีและการปนเปื้อนทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้ามากขึ้น และผลของการโฆษณาสินค้าเชิงพานิชย์ จะทำให้บุคคลที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร หรือการใช้ข้อมูลข่าวสารโดยขาดการกรอง จะตกเป็นเหยื่อและสังคมอยู่ในภาวะเสี่ยงมากขึ้น

การสร้างข่าวลือ และความอ่อนไหวต่อข่าวลือ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะสังคมเสี่ยง แน่นอน ข่าวลือย่อมกระจายอย่างรวดเร็ว คนที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร หรือไม่กรองข้อมูลข่าวสาร จะตกเป็นเหยื่อ การสื่อสารด้านสุขภาพในยุคนี้ ก็เช่นกัน

ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน น่าจะนำบทเรียนจากสถานการณ์เหล่านี้ เชื่อมโยงกับภาวะสังคมตื่นตระหนกเมือเกิดไข้หวัดใหญ่ 2009 และกลับมามองตนเองซิครับว่า “ท่านจำเป็นจะต้องพัฒนาสมรรถนะในการสื่อสาร และมีข้อพึงระวังอะไรบ้างในการสื่อสารกับสาธารณะ”

หมายเลขบันทึก: 307704เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

โลกาภิวัฒน์(globalization)เป็นทั้งโอกาสและภาวะคุกคาม สำคัญคือเรารู้เท่า ทัน และปรับตัวได้ทันหรือไม่ โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่มีการส่งผ่านถึงกัน นับระยะเวลาเป็นวินาที่หรือเสี้ยววินาที ซึ่งหากพิจารณา ทบทวนดูแล้ว จะพบว่า ข่าวลือสร้างขึ้นได้ง่ายขณะเดียวกันการแก้ การตอบโต้ข่าวลือก็ทำได้ง่ายและรวดเร็วเช่นกันจะเห็นตัวอย่างเช่นช่วงเหตุการณ์ช่างสงกรานต์เลือด ที่มีข่าวการใช้กองกำลังทหารทำให้คนตายจำนวนมาก แต่เมื่อข่าวจริงปรากฏในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หลายแหล่งก็ช่วยสยบข่าวลือนั้นได้ แล้วเมื่อนั้นผลสะท้อนกลับถึงแหล่งต้นตอ ความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมจะหายและผลในทางลบกลับไปทันที

ซึ่งกระบวนการตอบโต้ข่าวลือก็ควรที่จะ รวดเร็ว น่าเชื่อถือ และอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะการณ์นั้นๆ โดยการดำเนินการควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ทั้ง รับ กรอง และตอบโต้ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมา ของเราอาจมีหน่วยงานลักษณะนี้อยู่แต่ผมยังมองว่าบางครั้งก็ไม่ไวพอจนเกิดผลเสียหายเกิดขึ้น

สำหรับข่าวสารด้านสุขภาพนั้นมีลักษณะของความเป็นวิชาการอยู่มาก และบ่อยครั้งจะพบปํญหาว่า

1.น่าเบื่อ เพราะมีเนื้อหาวิชาการมากเกินไป

2.การส่ง รับ ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน(อันนี้ คุ้นๆนะครับเช่นข่าวบอกว่าฝ่ายนั้นรับสัญญาณที่ผิด แล้วตกลงว่าฝ่ายไหนถูกกันแน่)

เช่นต้องการสื่อสารลงไปอย่างหนึ่งแต่ ผู้รับเข้าใจไปอีกทางเพราะมีความแตกต่าง(gap)ในพื้นฐานความรู้ ความเข้า

ใจ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

3.ข้อเท็จจริง,ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง บางครั้งเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ พวกเราเองก็ไม่ทราบว่าเป็นยังไงเช่น ไข้หวัด

2009 ทีแรกเข้ามาชื่อว่า swine flu พวกเราหลายคนก็ยังไม่กล้ากินหมู หรือการรักษา การป้องกัน เมื่อถูกชาวบ้านถาม

เราก็ยังไม่มีความมั่นใจในการตอบ เพราะไม่ทราบจริงๆว่าเป็นยังไง

4.จรรยาบรรณ ของผู้เสนอข่าว จะพบว่าบ่อยครั้งข่าวสารจะถูกแต่งเติมเพื่อให้รู้สึกตื่นเต้นน่าสนใจ จนทำให้ผู้รับข่าวเข้าใจ

ความคลาดเคลื่อน หรือตื่นตระหนกเกินความเป็นจริง

(พอดี ถูกตามไปดูคนไข้ครับ เดี๋ยวจะกลับมาpostต่อ ครับ)

ปัจจุบันทีวีเข้าถึงทุกบ้านจริง ๆ ถ้าถามว่าตอนไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาดไม่มีชาวบ้านคนไหนไม่รู้จักวิธีป้องกัน "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" ใส่แมสก์ นี่ก็เป็นข้อดีของการเข้าถึงของสื่อ แต่พวกเราเองเกือบแย่เพราะชาวบ้านวิ่งมาโรงพยาบาลกันมากมาย ทีมSRRTต้องลงพื้นที่กันอย่างหนัก ประชุมWarroomทุกวัน แต่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็ตั้งรับได้เร็ว มีการคาดการ์ณจำนวนคนไข้ที่จะมารพ.เพิ่มขึ้นจึงเปิดคลินิกURIแยกกันออกมาเองโดยไม่ต้องรอนโยบายจากส่วนกลาง (แต่สื่อไม่เคยมองเห็น) การใช้สื่อเข้ามาช่วยรณรงค์นโยบายสุขภาพหรือส่งเสริมพฤติกรรมของสุขภาพของประชาชนมีผลในวงกว้างและรวดเร็วมาก อย่างโฆษณาของ สสส. เช่น จน เครียด กินเหล้า, เราเคยรู้จักกันมั๊ย....แล้วคุณมาทำร้ายฉันทำไม เป็นที่โดนใจมาก แต่บริษัทในปัจจุบันก็ทำโฆษณาของเขาในลักษณะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เรียก CSR ออกมา เพื่อส่งเสริมสินค้าที่จะขายให้ดูดีทั้งที่มันไม่เกี่ยวกับสินค้าเลย เช่น สังคมดี สำนึกดี รี.....บรั่นดีไทย เหล่านี้เป็นต้น

สมัยนี้โีรงเรียนเขามีทีวีให้เด็กดูในห้องเรียน แต่เคยไปเห็นเด็กดูทีวีแต่ไม่มีคุณครูอยู่ด้วย เห็นแล้วเศร้าค่ะ ได้แต่คิดว่าคงไม่เป็นอย่างนี้บ่อย ๆ ที่จริงคุณครูเอารายการทีวีมาสอนเด็กก็ดีค่ะ รายการทีวีเดี๋ยวนี้ทันสมัย เอามาสอนได้หลายเรื่อง บางทีดูคนเก่งหัวใจแกร่งยังสอนลูกเลยว่าให้ดูคนที่เขาช่วยเหลือพ่อแม่ แต่อย่าดูวงเวียนชีวิตนะคะ เดี๋ยวลูกจะทำตามตอนเราแก่ (ล้อเล่นค่ะ) สมัยนี้วัยรุ่นชอบเอาอย่างดารา ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ชอบให้ดารามาเป็นพรีเซนเตอร์ แต่วันนั้นฟังพลอย เฌอมาลย์ เธอให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เธอเมาที่ผับ แล้วรู้สึกว่าเธอพูดถูกค่ะ เธอบอกว่าหลังทำงานแล้วก็อยากพักผ่อน...และไม่เคยคิดว่าจะเ็ป็นแบบอย่างให้ใคร ที่จริงถ้าเราชื่นชอบดารา เอาอย่างความพยายาม ความสามารถ ความเป็นมืออาชีพของเขาดีกว่า ทำตามเขาเฉพาะเรื่องแฟชั่นก็พอ (เดี๋ยวนี้ของก๊อปมีเยอะ) อย่าทำนิสัยเหมือนเขาเลยเพราะทุกคนเกิดมามีความเป็นตัวตนของตนเองอยู่แล้ว น่าจะสร้างค่านิยมตรงนี้มากกว่า

วันนั้นดูข่าวเขาสัมภาษณ์เด็กนักเรียนเก็บกระเป๋าสตางค์ได้ โดยเด็กให้สัมภาษณ์ว่ามีมอเตอร์ไซด์รับจ้างมาเห็นด้วย จึงจะแบ่งเงินให้เด็ก แต่เด็กไม่เอา มอ'ไซด์ก็เลยเอาไปหมด ตอนหลังเจ้าของกระเป๋าสตางค์ได้ยินเด็กเล่าให้ป้าฟังก็เลยไปขอคืนได้จาก มอ'ไซด์รับจ้างซึ่งอยู่ปากซอยที่เด็กอยู่ ยังคิดเลยว่าแล้วหลังออกทีวีเด็กคนนี้จะเดินในซอยได้ยังไง อีกข่าวที่เขาเอาคลิปตำรวจถ่ายภาพพนักงานธนาคารด่าตำรวจออกทีวี แล้วให้สังคมประนามการกระทำของเธอ อย่างนี้ถ้าเราเป็นพนักงานคนนั้นแล้วเราจะอยู่ในสังคมได้อย่างไร รู้มาว่าพนักงานคนนั้นต้องลาออกจากงานเลยค่ะ ผู้สื่อข่าวเองก็ควรจะพัฒนาและรับผิดชอบต่อสังคมบ้างโดยเฉพาะสิทธิส่วนบุคคล หรือน่าจะคิดบ้างว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะได้รับผลอะไรที่ตามมา

สุดท้ายภาษิตยิวบอกว่า "The Half Truth is the Whole Lies" เรามาช่วยกันสร้างภูมต้านทานทีวีให้ลูก ๆ กันเถอะค่ะ หาเวลาดูทีวีพร้อมลูก และขอบคุณร้านหนังสือทุกร้านที่มีมากมายแถมเปิดแอร์ให้เราพาลูกเข้าไปอ่านหนังสือได้ฟรีค่ะ

ขอบคุณมากสำหรับความคิดเห็น ยังหวังว่าจะได้รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายมากกว่านี้ อาจแตกประเด็นถึงแนวทางการแก้ปัญหา โดยเฉพาะการสื่อสารด้านสุขภาพ ที่เราจะต้องแก้ไขข่าวลือ หรือข่าวที่คลาดเคลื่อน อย่างรวดเร็ว กระชับ จับใจผู้รับข่าว จับใจหมายถึงเป็นข่าวที่ทำให้เขาสนใจ และแสวงหาคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งเราต้องคิดถึง Presenter ด้วย ว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน อย่าข่าวลือที่ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนนั้น จะเห็นว่าเงียบไปอย่างชงัดเมือโทรทัศน์ถ่ายทอดภาพที่พระเจ้าอยู่หัว เสด็จถวายสักการะ พระบรมรูปรัชกาลที่ห้า และทอดพระเนตรนิทรรศการสมเด็จย่า

ลองนำกรณีนี้คิดต่อนะครับว่า ผู้บริการระบบบริการสุขภาพ จะต้องพัฒนาสมรรถนะตนเองอย่างไรบ้าง

ชนินทร์

The World is Flat

เป็นอย่างที่อาจารย์ว่าครับ ปัจจุบันนี้ความรวดเร็วด้านการสื่อสารนั้นมีมาก ผู้ป่วยและสังคมเองก็รับรู้และบริโภคข้อมูลได้ง่าย รายการทีวีด้านสุขภาพนั้น บางครั้งก็นำเสนอได้อย่างกระทบจิตใจ จนกระทั่งผู้ป่วยบางคนตกใจกลัว เช่น ช่วงไหนดาราหรือนักร้องคนดังป่วยเป็นอะไรเสียชีวิต ก็มักจะมีคนไข้มาขอตรวจโรคนั้นๆมากขึ้นเป็นพิเศษ ดังเช่นมะเร็งตับ เป็นต้น

รายการบางรายการ นำเสนอเป็นเรื่องราว ตบท้ายด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลโรคนั้นๆ ตบท้ายด้วยคำถามที่ว่า แล้วคุณล่ะมีอาการเหล่านี้บ้างไหม ส่งผลกระทบให้มีการดูแลสุขภาพด้วยการตื่นกลัว อยากตรวจสุขภาพทั้งตัว เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาไปกับการตรวจหาโรค

ทำอย่างไร ผู้ป่วยและแพทย์รุ่นใหม่จึงมีแนวคิดการตรวจสุขภาพที่ว่า            "ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่ไห้ได้ทุขภาพ" เป็นการตรวจและดูแลสุขภาพที่เพียงพอและพอเพียง

สมรรถนะที่สำคัญของผู้บริหารระบบสุขภาพ ในยุคข้อมูลข่าวสารสุขภาพมากมาย ในมุมมองของผมก็คือ Evidence-Based Medicine เนื่องจากมี บทความ Journal หรือแม้แต่ Clinical Trial ออกมามากมายในแต่ละวัน บ้างก็จริงและบ้างก็มี Conflict of Interest โดยเฉพาะบทความที่มีบริษัทยาสนับสนุน

ผมเชื่อว่า Knowledge is Power ดังนั้นต่อให้มีข่าวสารหรือข้อมูลทางสุขภาพอย่างไร Knowledge Based Management หากใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีจริยธรรมย่อมส่งผลให้เกิดสิ่งที่ดีต่อสังคมแน่นอนครับ

 


Leader & Communication Competency

ในส่วนตัว มุมมองของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว การสื่อสารนั้นมีอยู่ทั้ง        วัจนภาษาและอวัจนภาษา

ในการสื่อสารกับสาธารณะ หากเรามองว่า "Public as A Patient" ในการสื่อสารนี้ เราควรต้องเข้าใจ Backgroud ผู้ป่วยรายนี้เสียก่อนว่า เค้าเป็นใคร      (Characteristic & Context of Community) มีเรื่องราวความเป็นมาเป็นอย่างไร (Community Background & History) อุปนิสัยใจคอของผู้ป่วยรายนี้ และเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบอย่างไรกับผู้ป่วย Affect สิ่งใดเป็นสิ่งที่รับมือได้อย่างที่สุด Trouble แล้วตอนนี้เค้ารับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร Handle สุดท้าย อยากให้เข้าใจผู้ป่วยหรือ Community นี้โดย "เอาใจเขา มาใส่ใจเรา" จะทำให้เกิด Empathy

การสื่อสารกับผู้ป่วยหรือ Public จะเป็นไปด้วยมิติของการสื่อสารด้วยหัวใจของความเป็นเพื่อนมนุษย์ เอื้ออาทรกัน มากกว่าจะพยายามตอบโต้หรือแก้ไขด้วยจุดยืนกันคนละฝั่ง

ผมเองก็ยังมือใหม่ครับ ต้องขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยครับ ขออนุญาตแลกเปลี่ยน

Community-Oriented Communication

ปัญหาเรื่องการสื่อสารกับประชาชน ล่าสุดที่ได้ประชุมกับทาง สปสช. เขต 4 สระบุรี ในปี 2553 นี้ ทางสปสช. ได้วางกลยุทธ์ด้านการสื่อสารไว้ว่า จะพัฒนาและจัดอบรม นักประชาสัมพันธ์ ในระดับรพท. รพช. เนื่องจากในปีที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องข้อร้องเรียนต่างๆ ของประชาชน ซึ่งผมคิดว่า การพัฒนาศัีกยภาพผู้นำด้านสุขภาพในชุมชน เช่น อสม. ให้รู้เท่าทันและเป้นแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพของชุมชน ปัญหาเรื่องประชาชนมีการตื่นตระหนกกับไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุุุใหม่ก็จะมีประสิทธิภาพและนำไปปฏิบัติได้จริง จุดสำคัญ เราต้องทำความเข้าใจ และถ่ายทอดด้วยภาษาง่าย แบบบ้านๆ เพราะว่า ข่าวลือที่ชาวบ้านใช้ก็เป็นข่าวลือที่เป็นภาษาชาวบ้านของเขาเอง รวดเร็วด้วย การประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลสุขภาพที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ก็คือ การให้ข่าวลือด้านดีนั่นเอง ข้อเสียมีอย่างเดียว คือ ชาวบ้านไม่มัน ไม่สนุกในการเล่าเรื่องราวดีๆ อันนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายทีเดียวครับ

ความคิดสร้างสรรค์เชิงสุขภาวะชุมชน น่าจะช่วยให้สนุกและมีสาระในการสร้างเสริมสุขภาพได้ดีทีเดียวครับ

Seeing is Believing


เป้นอีกตัวอย่างกลยุทธ์ที่ดี ที่เราเห็นในการสยบข่าวลือในตลาดหุ้น การสื่อสารส่วนใหญ่เรานั้นมักจะนึกถึงแต่คำพูด แต่ทว่าบางครั้ง ต้องยอมรับว่า การสื่อสารด้วยการกระทำหรือการแสดงให้เห็น บางครั้ง ดัง และ ได้ผล กว่าคำพูดธรรมดาเสียอีก

การมอง Public as a patient ในการสื่อสารนั้น ผมขอตั้งข้อสังเกตบางประการดังนี้

ความแตกต่างระหว่าง ผู้ให้สารกับผู้รับสาร ผู้ให้สารซึ่งเป็นแพทย์หรือนักวิชาชีพ จะมีกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ที่แตกต่างจากผู้รับสาร ในฐานะแพทย์ การจะข้าใจว่า เขาเป็นใคร อยู่ในบริบทอะไร หากเรามองตามกรอบนักวิชาชีพ เราอาจเห็นภาพที่แตกต่างจากภาพที่ชาวบ้านมองตนเองหรือชุมชนของตนเอง เพราะใช้กรอบแห่งการอ้างอิงที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีประสบการณ์และ Concern แตกต่างกัน ทำให้สารที่ส่งไป ถูกแปลความหมายแตกต่างกันออกไป ดังมีเรื่องตลกที่น่าเศร้า เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น การบอกให้ผู้ป่วยไปรอรับยาฝั่งโน้น ผู้ป่วยนั่งเรือข้ามไปทางฝั่งท่าพระจันทร์ รอรับยาจนเย็น หรือ Dirty Joke ที่มีเรื่องเล่าว่า ภรรยามาเป็นเพื่อสามีมาหาหมอ รับยากลับไปบ้านพร้อมตำสั่งแพทย์ให้ยาไปและบอกว่า “สี่ห้าวันแล้วกลับมาดูผล” เมื่อกลับได้สามวัน ผู้ป่วยกลับมาหาหมอและบอกว่า “หมอให้สี่ ห้าวัน แค่สามวันค่อยก็จะตายอยู่แล้ว.....”

การสื่อสารรายบุคคล เช่นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยซึ่งมักจะเป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) จะแตกต่างกับการสื่อสารกับสาธารณะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น การสื่อสารทางเดียว (One-way communication) ซึ่งจะต้องระวังมาก เช่นการเพิ่มระดับความตื่นตัว (Alert) ของไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ทำให้สาธารณะ ตระหนก เพราะสารที่ออกไปทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน โดยมองว่า การแพร่ระบาดเร็ว เป็นความรุนแรง (Severity) นั่นคือ เข้าใจไปว่า แพร่เร็ว ป่วยเร็ว ตายเร็วเพราะเป็นแล้วมีโอกาสตายสูง

การสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ จึงเป็นสมรรถนะหลักอย่างหนึ่งของนักวิชาชีพสาธารณสุขใหม่

กลับมาแล้ว ต่อครับ...การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพนั้นอาจใช้หลัก ของระบาดวิทยา คือดู time, place,person เป็นองค์ประกอบโดย

1.time =ช่วงเวลานั้นมีประเด็นใดบ้างที่เป็นสำคัญ อาจเพราะสังคมให้ความสนในมาก ข้อมูลที่เป็นวิชาการ หรือข้อห่วงใยของผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ให้บริการด้าสุขภาพ แม้ในเรื่องเดียวกันประเด็นสำคัญกก็อาจเป็นลักษณะพลวัต(dynamic)เช่นไข้หวัด2009 แรกสุดชาวบ้านจะรู้สึกธรรมดา หรือกลัวเล็กน้อยแต่ก็ยังอยู่ไกล =>ต่อมามีข่าวการระบาดมากที่เม็กซิโก มีการตาย จะรู้สึกกลัวมากขึ้น มีชื่อ swine flu (ไข้หวัดหมู)ก็เลยมีบางคนไม่กล้ากินหมู =>กลัวชาวต่างชาติ ผู้ที่มาจากประเทศที่ระบาด =>เมื่อโรคมาถึงไทยกลัวมากขึ้น สื่อออกข่าวทุกวัน ทุกชั่วโมงมีคนป่วย คนตาย ด้วยโรคนี้ตลอด ไม่กล้าออกจากบ้าน ,รังเกียจ กลัวผู้ที่มาจาก กลับมาแล้ว ต่อครับ...การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพนั้นอาจใช้หลัก ของระบาดวิทยา คือดู time, place, person เป็นองค์ประกอบโดย

1.time =ช่วงเวลานั้นมีประเด็นใดบ้างที่เป็นสำคัญ อาจเพราะสังคมให้ความสนในมาก ข้อมูลที่เป็นวิชาการ หรือข้อห่วงใยของผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ให้บริการด้าสุขภาพ แม้ในเรื่องเดียวกันประเด็นสำคัญกก็อาจเป็นลักษณะพลวัต(dynamic)เช่นไข้หวัด2009 แรกสุดชาวบ้านจะรู้สึกธรรมดา หรือกลัวเล็กน้อยแต่ก็ยังอยู่ไกล =>ต่อมามีข่าวการระบาดมากที่เม็กซิโก มีการตาย จะรู้สึกกลัวมากขึ้น มีชื่อ swine flu (ไข้หวัดหมู)ก็เลยมีบางคนไม่กล้ากินหมู =>กลัวชาวต่างชาติ ผู้ที่มาจากประเทศที่ระบาด =>เมื่อโรคมาถึงไทยกลัวมากขึ้น สื่อออกข่าวทุกวัน ทุกชั่วโมงมีคนป่วย คนตาย ด้วยโรคนี้ตลอด ไม่กล้าออกจากบ้าน ,รังเกียจ กลัวผู้ที่มาจาก กรุงเทพ พัทยา =>เมื่อโรคมาถึงชุมชน ตื่นกลัวมากขึ้นและมีข่าวออกมาทุกวันที่แสดงถึงความรุนแรงมาก คิดอยากป้องกันตัว "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย แพงแค่ไหน หายากเพียงไรก็พยายามหาซื้อ(พบเห็นบ่อยๆคือ ขี่มอเตอร์ไซด์ ใส่หน้ากากอนามัย แต่ไม่ใส่หมวกกันน็อก)” =>ชิน กับคำว่าไข้หวัด2009 ไม่ป้องกันตัวเอง ( mask ,ยาล้างมือ ต่อให้แจกฟรีก็เอา แต่ไม่ยอมใช้) =>เกิดระบาดใหม่รอบ2 3 4…

2.place สถานที่ ชุมชน ตลอดจนช่องทางที่จะสื่อสารถึงคนในชุมชน

3.person ประชาชน ระดับของการรับรู้ วัฒนธรรม สื่อที่ประชาชนใช้ประจำและเข้าถึงสะดวก

จากนั้นก็เลือกประเด็นสำคัญที่เราต้องการสื่อสาร ,ช่องทางที่จะส่งถึงชาวบ้าน ซึ่งถ้าเป็นชาวนาชนบทห่างไกล ก็คงไม่เหมาะแน่หากเป็น internet หรือ sms ถึงมีมือถือก็เปิดไม่เป็น แต่ถ้าเป็นวิทยุชุมชน ก็สะดวกฟังประจำ ทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านก็ยังใช้ได้ดี หรือผ่านทางที่ประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. นำเสนอเนื้อหาสำคัญด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่ายๆก็น่าที่จะเป็นใช้ประโยชน์

น่าสนใจ ที่ใช้หลักระบาดวิทยาเข้ามาเป็นกรอบในการวิเคราะห์วางแผนการสื่อสารสุขภาพ และงานใดๆก็ตาม เพราะเราต้องรู้จักคน สถานที่และเวลา เพราะจะทำให้เรา "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามพระบรมราโชวาท

ชนินทร์

เป็นประเด็น Hot อีกประเด็น ส่ิงที่ผมเห็นได้ชัดคือการเกิดขึ้นของ "สงครามสื่อ"(The War of media) เอาแค่เรื่องข่าวอย่างเดียงหัวข้อที่น่าสนใจถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างเป็นกระแสได้ แต่ก็มีทั้งมุมบวกและลบเนื่องจากแง่มุมยังไม่ชัดเจนพอในบางเรื่อง รวมทั้งบางเรื่องยังหมิ่นเหม่ต่อความขัดแยังไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือบานปลายเป็นระดับสถาบัน ผมอดสังเกตุไม่ได้ว่าผู้สื่อข่าวก็มีส่วนที่สำคัญมากในการชี้นำเนื่องจากผู้บริโภคข่าวมีหลายระดับมาก การนำเสนอก็เป็นลักษณะแบบสองทาง(two-way communication)มากขึ้นก็ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วขึ้น ส่ิงที่ผมค่อนข้างกังวลมากคือข่าวลือ หรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หลายครั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ตอบสนองอย่างทันเวลา ทำให้ข้อมูลหรือข่าวสารถูกบิดเบือนและยากต่อการแก้ไข เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเอง มักเชื่อตามที่ผู้สื่อข่าวชี้นำ ดังนั้นส่ิงที่ต้องแก้ไขคือสร้างจริยธรรมในการนำเสนอของผู้สื่อข่าว มีช่องทางในการให้ข้อมูลย้อนกลับหรือข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบในข้อเท็จจริงหรือข่าวสารหลาย ๆ ด้านก่อนตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อ ในส่วนของผู้บริโภคสื่อก็จำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับการรับข้อมูล เปลี่ยนจากการ "เชื่อไว้ก่อน" เป็น ยังไม่เชื่อจนกว่าจะมีการตรวจสอบหรือหาข้อมูลให้รอบด้านก่อน แบบหลักการ กาลามสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนไว้เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อนในเรื่องการเชื่อเรื่องใด ๆ โดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน ที่ยังทันสมัยอยู่เสมอ ในด้านของสุขภาพ ในประเทศแคนาดามีระบบ Health link สำหรับให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพให้กับประชาชน ไว้ตอบคำถามทุกอย่างไม่ให้เชื่ออย่างผิด ๆ โดยที่เป็นหน่วยงานที่เกิดจากการจัดการของท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการ update ข้อมูลอยู่เสมอ และหน่วยงานต้องทำ active information ไม่ใช่รอนั่งแก้ข่าวจากผู้สื่อข่าวตลอดเวลา

ผมเห็นด้วยว่า The world is flat อย่างทืี่ Friedman แสดงทัศนะไว้ แต่แย้งนิด ๆ ว่า โลกโคจรรอบตัวคนมากขึ้นด้วยครับ

กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์

ใครกุมสื่อได้ ย่อมทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจ คล้อยตามได้ อยู่ที่สื่อจะทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนให้ใคร

กราบสวัสดีอาจารย์ชนินทร์ครับผม

ขออนุญาตตอบที่อาจารย์ถามว่า

“ท่านจำเป็นจะต้องพัฒนาสมรรถนะในการสื่อสาร และมีข้อพึงระวังอะไรบ้างในการสื่อสารกับสาธารณะ”

นึกย้อนเมื่อครั้งได้มีโอกาสเรียนกับ อ.ชนินทร์เมื่อเกือบสิบปีก่อนครับ

ยังจำสิ่งที่อาจารย์สอนได้เสมอ

อาจารย์พูดประโยคอมตะให้เราฟังว่า "เรา (หมายถึง นักศึกษา สม รุ่นปี 2544) จ้องจะไปหาแต่ข้อมูล (data) ในขณะที่คนในชุมชนสื่อกับเราด้วยเรื่องราว (stories)"

แง่คิดนี้ผมคิดว่าสามารถนำมาใช้ในเรื่องการสื่อสารด้านสุขภาพได้ด้วยครับ

สมรรถนะ ที่จะเปลี่ยน data เป็น information และสื่อสารในรูปแบบ "เรื่องราว" ไม่ใช่ "การบอกข้อมูล"

เทียบการสื่อสารสุขภาพด้วยเรื่องราวของ สสส กับการบอกข้อมูล ของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อสักสิบปีก่อน จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นครับ

ขอบพระคุณครับ

สุธี สุขสุเดช

"เรื่องราว" ที่สนุก

เปลี่ยนพฤติกรรมได้

ลองดูการรณรงค์ทิ้งขยะให้ลงถัง, เดินขึ้นลงบันได และการแยกขวดสำหรับ recycle แบบไม่ต้องบอกข้อมูล

แต่สร้างเรื่องราว

ได้ที่นี่ครับ

http://www.thefuntheory.com/

ดีใจมากที่ศิษย์เก่า คุณหมอสุธี มาร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้นึกได้ว่า เคยพูดอะไรกับนักศึกษาไว้บ้าง คำกล่าวที่ว่านั้น ไปเก็บมาจากหนังสืออะไรก็จำไม่ได้แล้ว เขาเขียนไว้ทำนองว่า Professionals do the studies, people tell the stories. ขอบคุณที่จำเรื่องที่ครูพร่ำบ่นให้ฟังในระหว่างการฝึกภาคสนาม เสียงสะท้อนของชาวบ้าน จะมาจากประสบการณ์ตรงที่เขาพบอยู่ อย่างคำพูดที่ ส.ม รุ่น 36 หรือ 37 เภสัชกรหญิง เสาวนีย์ (ถ้าจำชื่อไม่ผิด) ที่นครศรีฯ รายงานให้ครูฟังตอนไปเยี่ยมทีม เธอพูดแบบเอียงอายว่า "อาจารย์รู้เปล่า ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นี่เขาพูดว่า เด็กน้อยเอากัน ผู้เฒ่าเลี้ยงลูก" ทำให้บรรดาครูได้คิดและเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงทางประชากร โดยเฉพาะการย้ายออกของหนุ่มสาววัยแรงงาน ไปทำงานในเขต กทม และเมืองใหญ่ๆ ไปเจอกัน ได้เสียกัน แล้วเอาลูกมาให้แม่ใหญ่ พ่อใหญ่เลี้ยง คนแก่ หูตาก็ฝ้าฟาง ต้องตื่นมาชงนมให้หลานกินดึกๆดื่นๆ น้ำร้อนหกลวกตัว กระเด็นไปโดนหลาน เกิดปัญหาทั้งเด็กและผู้เฒ่า โยงกันไปหมด เป็นลักษณะ "กลุ่มอาการปัญหาชุมชน (Community Syndrome) ที่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และผลกระทบจากภายนอก ลองจินตนาการดูว่า สถานการณืทำนองนี้จะซับว้อนมากขึ้นขนาดไหน ในยุคโลกาภิวัตน์

การสะท้อนปัญหาของชุมชน จากเรื่องเล่า ที่ออกจากปากชาวบ้าน นับเป็นหลักฐาน (Evidence) เชิงวิชาการที่เราจะละเลยไม่ได้ ลองย้อนดูตอนที่ไข้หวัดนกระบาด ตอนแรกที่เจ้าของฟาร์มไก่ที่นครสวรรค์ออกมาพูดว่า การตายของไก่ผิดปกติ ไม่ใช่เป็นสาเหตจากโรคขี้ขาว หรือโรคอหิวาห์ไก่ แต่นักวิชาการไม่ค่อยจะฟัง จนเกิดการระบาดใหญ่ และพิสูจน์ว่าเป็น H5N1 เราก็โดนสังคมโลกประนามว่า ปิดบังข้อมูล

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ........ ไปคิดกันต่อนะครับ

ผมจะต้องลาไปราชการที่พม่าแล้วต่อไปเชียงใหม่ ระหว่าง 9-21 พ.ย หวังว่าเหล่า สม อำนาจเจริญ จะช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ต่อ ใครได้เรียนรู้อะไร ใครมีประสบการณ์อะไรเอามาแลกเปลี่ยนกันหน่อย นะนะ

ถือเป็นการบ้านด้วยนะ ช่วยแสดงความคิดเห็นหน่อย ท่านพรเจริญ ช่วยบอกต่อด้วยเด้อ

รักทุกคน

ชนินทร์

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคม และเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ง่ายมากขึ้น นอกจากนั้นคุณภาพของข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับมีความเชื่อถือได้ มีความสมบรูณ์ทันสมัยมากขึ้น ในฐานะที่เป็นนักบริหาร ควรมีการพัฒนาสมรรถนะอย่างหนึ่งสำหรับการเป็นผู้นำ

การสื่อสารนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม สมัยก่อนการติดต่อสื่อสารเป็นแบบปากต่อปาก ผ่านสื่อโทรทัศน์บ้าง อาจมีการคลาดเคลื่อนมากน้อยแล้วแต่สถานการณ์ แต่สมัยนี้ การติดต่อสื่อสารผ่าน internetมากขึ้น การสืบค้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสามารถทำได้ง่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำข้อมูลมาใช้มีการประมวลผลของข้อมูลมากน้อยเพียงใด

ดังเห็นได้จาก ระบบสารสนเทศประกอบด้วย

ส่วนนำเข้า ส่วนประมวลผล ส่วนผลลัพธ์

ส่วนนำเข้า คือข้อมูล แหล่งข้อมูลทั้งภายในและนอกองค์กร

นำไปใช้ในการประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ และนำไปใช้ได้

ผลัพธ์ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้ใช้สารสนเทศนำไปปรับปรุงการทำงานได้ต่อไป

จากกรณีตัวอย่างของอาจารย์ เรื่องไข้หวัดนก ชาวบ้านมีการให้ข้อมูลเรื่องของไก่ที่ตายแบบผิดปกติ เจ้าหน้าที่ขาดการประมวลผลไม่มีการค้นคว้าเพิ่มเติมหรือตรวจสอบการตายที่แท้จริง หรืออาจเชื่อจากข้อมูลผ่านสื่อว่ายังไม่มีการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศไทย ทำให้เกิดการละเลยที่จะตรวจสอบที่ดี ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ทำให้เกิดความผิดหลาดการทำหน้าที่เฝ้าระวัง เกิดการระบาดของไข้หวัดนกเกิดขึ้น

สอนให้รู้ว่าแม้มีระบบการสือสารที่ก้าวหน้ามากเพียงใด มีการส่งข้อมูลมากมาย แต่ถ้าผู้ใช้ไม่ให้ความสำคัญไม่นำมาใช้ หรือนำมาใช้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ก็ไม่มีประโยชน์

ดังนั้นระดับในการเป็นผู้บริหาร การฝึกในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีความจำเป็น เพื่อให้สามารถที่จะค้นคว้าข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ต้องฝึกในใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เป็น(ใช้ได้ ไม่เหมือน ใช้เป็น เพราะใช้ได้คือแค่ใช้ แต่ใช้เป็นคือใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง) รู้จักเลือกข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล ก่อนนำไปใช้

อาจารย์ค่ะ ข้อความข้างบน (#1662087)หนูเขียนเองค่ะ พลาดที่ลืมพิมพ์ชื่อ

ประเสริฐ ตั้งจิตธรรม

บทเรียนที่อาจารย์นำเสนอตัวอย่างถึงผล(อิทธิพล)ของสื่อ ที่มีทั้งผลดีและผลที่ไม่ดี ต่อผู้เกี่ยวของทำให้เราต้องตระหนักถึงการวางแผนการใช้สื่อ(ให้มีผลดี/บวกต่อการดูแลระบบสุขภาพ อาจช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น/ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย) ระบบคงต้องมีกระบวนการ/ช่องทางการสื่อสาร/ติดตามสื่อ มีการพัฒนาสมรรถนะในการสื่อสาร( ผู้ส่งสาร สาร/เนื้อหา และผู้รับสาร/ช่องทางสื่อสาร)

ผู้ส่งสารมีทักษะในการส่งสารให้เข้าใจง่าย ครบถ้วน สาร/เนื้อหา ต้องถูกต้อง( ครบถ้วน??.)ให้ในสิ่งที่ควรรับรู้ ในขณะที่ผู้รับสาร/ช่องทางการสื่อสาร สามารถกระจายข่าวสารได้ทั่วถึง ครบถ้วนจากผู้ส่งสาร

ข้อพึ่งระวังในการสื่อสารกับสาธารณะ คงต้องเดินสายกลางคือการสื่อสารไม่มากเกิน( อาจเกิด overreaction ตื่นตระหนักเกิน.. )ไม่น้อยเกิน(ผู้รับสารไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เสียโอกาสในการใช้สื่อให้เป็นประโยชน์....)

ท่านจำเป็นจะต้องพัฒนาสมรรถนะในการสื่อสาร และมีข้อพึงระวังอะไรบ้างในการสื่อสารกับสาธารณะ”

ขออนุญาตทวนคำถาม ..

อย่างแรกเลยที่นึกออก ..ต้องหัดฟัง Listening..not hearing ให้มากๆ

อย่างที่สอง สื่อสารให้ตรงประเด็น เชิงบวก อย่างกัลยาณมิตร จริงใจ น่าจะดีค่ะ

ขอโทษค่ะอาจารย์ ที่เพิ่งpostไป..ลืมเข้าระบบก่อน

มาช้า ดีกว่าไม่มา ต้องตาfrom ด่านขุนทดค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง สมรรถนะในการสื่อสารต้องเร่งพัฒนา ในพวกเราที่เป็นคุณหมอทั้งหลาย จะให้ดี กำหนดให้เป็น Core Competency ไปเลย ส่วนหนึ่งที่โดนร้องเรียน ฟ้องร้องกันอยู่ทุกวันนี้ มาจากแพทย์ขาดทักษะในการสื่อสาร ไม่ว่า จะเป็น กาย วาจา หรือ ใจ เป็นตัวกระตุ้นต่อมโกรธอย่างดี โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้นำด้วย สำคัญมากๆ (ตัวอย่างที่ดีน่าจะประมาณ บารัค โอบามา....อภิสิทธิ เวชชาชีวะ ...ท่าน ว.วชิรเมธี...) ทัศนคติ กระบวนทัศน์ คิดเชิงบวก มีผลต่อการแสดงออก.................และบางครั้ง...

.......You say it best

.......When you say

Nothing at all

ข้อควรระวังในการสื่อสารกับสาธารณะ...................................................................................................................ข้อมูลควรต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ถ้าไม่รู้ข้อมูลจริงๆอย่าให้ข้อมูล ที่สำคัญให้ตรงประเด็น กระชับ ก่อนให้ข้อมูลอะไรก็ตาม นึกถึงImpactที่จะตามมาบ้างก็น่าจะดี..

เรียน อ.ชนินทร์ ที่เคารพ

ในประเด็นโลกาภิวัตน์ ข่าวลือ สังคมเสี่ยงนั้น ผมขอแจมด้วยคนดังนี้ครับ

หากจะว่าไปแล้วในยุคโลกาภิวัตน์ โลกในการสื่อสารนั้นเร็วมากโดยเฉพาะ internet แบบreal time ดังนั้น จะเห็นว่า The World is Flat เป็นเรื่องจริง ถ้าการให้ข่าวนั้น มีจริงแค่บางส่วน และบางส่วนไม่พูดถึงเลย ก็จะเป็นการทำให้เกิดการเข้าใจกันผิดได้ ยิ่งเป็นเรื่องธุรกิจ โดยเฉพาะหุ้นแล้วแมงเม่าทั้งหลายยิ่งขี้ตกใจอยู่ พอมีข่าวลือหน่อย หุ้นก็ร่วงแล้ว อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ไม่หวังดีได้ ในมุมมองของนักสาธารณสุขแล้วโดยทั่วๆไปในเรื่องสื่อ ผมคิดว่า

1.ประชาชนควรพัฒนาเรื่องการใช้สื่อสาธารณะต่างๆ ทักษะ(Skill) ส่วนบุคคล จะเห็นว่าเด็กๆ ทุกวันนี้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเกือบทุกคนโดยไม่ต้องสอน แต่ผู้ใหญ่หลายคนยังใช้ไม่เป็นและการใช้ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ก็จะเป็นการเพิ่มศักยภาพ (Capacity) มากยิ่งขึ้น

2.รัฐเองจะต้องจัดให้มีเครือข่ายที่ประชาชนใช้ได้อย่างสะดวก เช่น ระบบ3G หรือ ระบบที่เอื้อต่อการเข้าถึง Internet ความเร็วสูงมากๆ เช่น 8 Mbps,12 Mbps

3.ในเรื่องการเข้าถึง (Accessibility) ในเรื่องของ Internet สาธารณะนั้น จะต้องเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย และมีการควบคุมกำกับที่ดี

4.ในการควบคุมสื่อก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะเด็กๆ อาจจะเข้า web หรือเล่นเกมส์ออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม หากมีการควบคุมกำกับที่ดีและมีการจัดการอย่างเด็ดขาด ก็จะทำให้การใช้สื่อสาธารณะเป็นสิ่งที่ปลอดภัย

ในมุมมองด้านสุขภาพ ผมเห็นว่า

1. เราต้องมีข่าวด้านสุขภาพหรือ web site ด้านสุขภาพให้มากขึ้น ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ในช่วงที่ผ่านมา web ต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีเฉพาะนักวิชาการด้านการแพทย์หรือ สาธารณุสุขเท่านั้นที่เข้าไปใช้ข้อมูล แต่ประชาชนโดยทั่วไป กลับเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ไช่ของจริงจึงทำให้ได้รับข้อมูลที่ผิดๆ ดังนั้นเราต้องประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน รู้จัก web ต่างๆ มากขึ้น และทำให้น่าสนใจด้วย

2. กรณีที่มี web site ตอบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหรือสื่ออื่นๆ ก็ตาม ที่พูดถึงเรื่องสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง รัฐและพวกเราเองต้องรีบช่วยกัน comment แล้วให้ข้อมูลที่ถูกต้องจะได้ไม่เข้าใจผิด

3. หากมีข้อมูลต่างๆ บิดเบือนไปจากความจริงจะต้องมีการจัดการและเสนอข่าวการจัดการนั้นอย่างรวดเร็ว เช่น “กรณีของป้าเช็ง” เป็นต้น

4. ให้มองสุขภาพเป็นเรื่องสาธารณะที่ประชาชนทุกคนต้อง Keep in mind และปลูกฝังให้ปฏิบัติจนเป็นสุขนิสัยส่วนตัว การปลุกจิตสำนึกของคนเป็นเรื่องยาก แต่จะต้องช่วยกันทำ

ผมว่าถ้าคนเราทุกคนช่วยกัน ถึงแม้ว่า The world is Flat ก็ตาม พวกเราก็สามารถที่จะมีความสุขและมีสุขภาพที่ดีได้

นพ.สุพัฒน์ ธาตุเพชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท