รายงานสดการประชุมวิจัย PAR พืชปลอดภัยที่กำแพงเพชร (ภาคบ่าย)


(ลิงค์อ่านภาคเช้า)

ภาคบ่าย         

          เริ่มกิจกรรมของภาคบ่ายด้วยการสรุปกิจกรรมของภาคเช้าโดยคุณศิริวรรณ  หวังดี ถึงกระบวนการที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินในพื้นที่มาบ้างแล้ว เช่น การจำแนกพื้นที่  การค้นหาปัญหาการวิจัย  การสร้างโจทย์วิจัย  การออกแบบการวิจัย เป็นต้น แต่อาจมีความก้าวหน้าที่แตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งในกระบวนการนี้ นักส่งเสริมการเกษตรต่างก็ได้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

          13.30 อาจารย์ศักดิ์ดา  ทวิชศรี ได้มอบให้คุณสายัณห์  ปิกวงค์ อำนวยกระบวนการ เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสวิจารณ์สิ่งที่ได้ทำมาทั้งหมด

                                          อ.ศักดา ทวิชศรี

  • สิ่งที่ได้ทำแล้ว
  • สิ่งใดที่ทำแล้วแต่จะปรับปรุงทบทวน
  • สิ่งไหนที่ยังไม่ได้ทำ  สิ่งไหนที่ควรทำ

          สรุปได้ว่า สิ่งที่ได้ทำแล้ว เช่น การกำหนดพื้นที่ กำหนดและคัดเลือกนักวิจัยชาวบ้าน กำหนดชนิดสินค้า/พืช กำหนดโจทย์วิจัย การออกแบบ แผนการปฏิบัติ และการสร้างเครื่องมือ และมีประเด็นที่จะวัดได้คือ ชาวบ้านรู้สภาพ รู้ปัญหา และระดับการไม่ปลอดภัย ความเสี่ยง (มีความรู้และความเข้าใจ)

    การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น    คุณเหมียว ร่วมเป็นคุณบันทึก

          ได้มีการ ลปรร.ความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับนักวิจัยที่เป็นชาวบ้าน ปัญหาการวิจัย และโจทย์วิจัย

  • บันทึกการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น

                                   

 

  • ผลการประเมินผลลัพธ์การตั้งโจทย์วิจัย

                                  ประเมินตนเองเพื่อปรับ

          การสรุปและนัดหมายโดยคุณสายัณห์  ซึ่งพอสรุปได้ว่า ทีมงานทุกคนควรกลับไปทบทวนปัญหาและโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชนอีกครั้งหนึ่ง แล้วบันทึกผลการปฏิบัติเพื่อนำมา ลปรร.กันในครั้งต่อไปในวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัด และในครั้งต่อไป อาจเชิญนักวิจัยชาวบ้านมานำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วย

                                         

          สรุปบทเรียน 

          หลังจากในวันนี้ทีมงานจะต้องทำอะไร

  • ทีมงานจังหวัด คงต้องลงพื้นที่เพื่อร่วม ลปรร. และสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมอำเภอให้มากยิ่งขึ้น
  • หาช่องทางในการสนับสนุนในการเรียนรู้ ที่เป็นแนวคิดหรือหลักการวิจัย PAR หรือรูปแบบ/ตัวอย่างให้เพื่อนๆ ทีมงานได้ศึกษา  อาจใช้เวทีของ DW
  • หารูปแบบ และช่องทางในการกระตุ้นให้มีการบันทึกผล/เก็บข้อมูลภาคสนาม
  • หาวิธีการในการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีมงาน

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 30694เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
การจัดเวทีเพื่อให้แลกเปลี่ยน(KS) "วิธีการสร้างโจทย์วิจัย" เป็นองค์ความรู้ขั้นสูง ที่นำเข้าสู่คลังความรู้ (KA) ของจังหวัดกำแพงเพชรได้ทันที เพราะ 1. เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และ 2 เป็นความรู้เกี่ยวกับ"กระบวนการ /วิธีการสร้างโจทย์วิจัยชุมชน" ที่ม่จากเจ้าหน้าที่ที่เป็นนักวิจัยทุกคน/ทีม
     ทำงานนี้แล้ว ได้หลายอย่างตามรายทางเก็บใส่ตระกร้าได้มากเลยครับ  เพราะมีทั้ง "ทำอย่างเดียว...บรรลุหลายหัวปลา" และ " ทำหลายอย่าง...เพื่อบรรลุเพียงหัวปลาเดียว"  
เกษตรกรที่เป็น Best Practice เกิดจากการคัดเลือกหรือว่าเขาเกิดขึ้นมาเองครับ..มีความสับสนเกิดขึ้นอ่ะ(ถามคุณวีระยุทธ เล่นๆ คือปัญหามาจากที่อื่น)

เรียน  คุณbird

     ของดีแต่ละอย่างนั้น  อาจเกิดขึ้นมาเองจากการที่เกษตรกรได้เรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติ หรือส่วนหนึ่งอาจมาจากการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้จากนักส่งเสริมจากองค์กรต่างๆ (ส่วนนี้คือส่วนขององค์ความรู้ที่มีอยู่)

     ส่วนการที่จะนำมาเป็นของดีเพื่อจัดให้มีการ ลปรร. นั้น คุณอำนวยนั้นต้องเป็นแมวมอง เพื่อเสาะหาของดีที่มีอยู่แล้วมาจัดให้มีการ ลปรร. เพื่อนำความรู้ที่ดีและมีอยู่ในตัวคนให้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรรายอื่นๆ (ส่วนนี้คือการนำมา ลปรร.) แยกประเด็นได้ย่อๆ อย่างนี้นะครับตามความเข้าใจ และขอขอบคุณมากนะครับที่ได้มา ลปรร.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท