OPPORTUNITY


โอกาส ทำอย่างไรดี

ยุทธศาสตร์

 เราจะ "รอ แสวง หรือ สร้าง โอกาสในการพัฒนา"

 นั่งฟังบรรยาย " การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐแนวใหม่" ที่ข้าราชการมาเข้ารับการอบรมที่ศูนย์บริการวิชาการ จัดระหว่างวันที่ ๒๓ ถึง ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙

 การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประเด็นที่ อ.ดร.สมโภชน์ นพคุณ ที่ปรึกษาระบบราชการ อดีตผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ท่านเล่าประสบการณ์ให้ ทีมงานข้าราชการที่เข้ารับการอบรมฟังว่า

 " ข้าราชการต้องวิเคราะห์ ตนเอง และ หน่วยงาน ว่ามีศักยภาพเพียงใด เมื่อวิเคราะห์แล้ว จะทำงานให้มีประสิทธิภาพ ต้องสร้างแรงขับเคลื่อน 

 อย่ามัวแต่รอโอกาส ต้องแสวงหาโอกาส ถ้าจะดีกว่านั้นต้อง สร้างโอกาสในการพัฒนา"

 ต้อง "ลดแรงต้านจากภายนอก และ ต้องเพิ่มแรงผลักจากภายในองค์กรให้ไปข้างหน้า"

JJ

หมายเลขบันทึก: 30735เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

มีคำกล่าวหนึ่ง กล่าวไว้ว่า

"Ability without opportunity means nothing"

การรอโอกาส ไม่น่าจะสู้ การสร้างโอกาส ได้

การจะสร้างโอกาสนั้น ข้าราชการควรเป็นคน

  • Creative
  • Innovative
  • รู้จักทำงานแบบ Bottom-Up
  • ทำงานด้วยใจ ไม่ใช่ทำไปวันวัน
  • ทำงานเพื่อชาติและประชาชนเป็นหลัก
  • รู้จักพัฒนาตนเอง ศึกษา ค้นคว้า เรียนเพิ่มเติม

ในขณะเดียวกัน ผู้บังคับบัญชาต้องให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชา เสนอความเห็นหรือแสดงความสามารถด้วย

อย่าไปคิดว่า ลูกน้องทำอะไรข้ามหน้าข้ามตา หรือนอกเหนือคำสั่ง ต้องรู้จักให้อภัยและใจกว้าง

เช่น เมื่อจะไปดูงาน (ทั้งในและต่างประเทศ) ควรให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะซีเท่าไรหรือไม่มีซี ไม่ใช่ว่า ทุกครั้งที่ไปดูงาน คนที่ไปก็เป็นคนเดิม ซี 8 - 10 เท่านั้น

และเมื่อกลับจากการไปดูงานทุกคนที่ไปควรเขียน Paper มาว่าได้อะไรจากการไปดูงานครั้งนั้นๆ และจะนำไปพัฒนางาน พัฒนาชาติได้อย่างไร ไม่ใช่แค่ไปเที่ยวกันอย่างในปัจจุบัน paper ที่เขียน ควรมีความยาวพอสมควรกับระยะเวลาที่ไปดูงาน เช่น ไป 7 วัน รายงานควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 7 หน้ากระดาษ A4 แล้วตั้งไว้ที่ส่วนกลางของสำนักงาน เพื่อคนที่ไม่ได้ไปจะได้มาอ่านบ้าง เหมือนไปดูงานทางอ้อม อาจเขียนเป็นบันทึกกิจกรรมรายวัน ว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง ไปดูอะไรบ้าง แล้วมีสรุป  Trip นี้ได้อะไรมาบ้าง และมีบทวิจารณ์ และถ้าเป็นไปได้ควรมี Presentation ให้แต่ละคน บรรยายสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้มา ไม่อย่างนั้น การไปดูงานก็คือการผลาญงบประมาณของชาติ ให้คนกลุ่มหนึ่งไปเที่ยวฟรี แค่นั้นเอง บางหน่วยงานไปเที่ยวต่างประเทศกันแทบทุกเดือน คนที่ไปก็กลุ่มเดิมๆ

ต้องปรับตัวกันทั้งหมด ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

เพียงแค่นำมาเล่าอย่างท่านอาจารย์ JJ ใน blog นี้  ผมก็คิดว่าเยี่ยมแล้วนะครับ  ไม่จำเป็นต้องทำ Paper หรือ Presentation อะไรให้ยุ่งยาก   บางคนโดยเฉพาะซีสูง ๆ presentaion เยี่ยมแต่ present เสร็จยังจำไม่ได้ว่าเสนออะไรไป ? เพราะไม่ได้เตรียมเอง !!!

  • ขอบคุณครับ
  • ผมเกรงว่าเวลาเล่า คนในหน่วยงานไม่สามารถเข้าฟังได้ทุกคนนะสิครับ
  • ถ้าเขียนเป็น Paper คนที่ไม่ว่างมาฟังเวลาที่มีการเล่าให้ฟังจะได้หยิบมาอ่านได้ทุกเวลาที่อยากอ่าน
  • อีกอย่างถ้าเล่าสดๆ อาจมีบางหัวข้อที่ตกหล่นไป ถ้าเขียนนี่ต้องใช้เวลาคิดทบทวนสักหน่อย
  • และการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นี่ก็ช่วยกันลืมได้เป็นอย่างดีครับ เวลาผ่านไปสักเดือนหรือสองเดือนก็อาจลืมไปแล้วว่าไปดูอะไรมาบ้าง และที่ไหน
  • เพราะว่ามีหน่วยงานแห่งหนึ่งที่เมืองสาระขัน ไปเมืองนอกกันแทบทุกเดือน ถ้าลองไปถามเขาว่า ปีที่แล้วไปไหนมามั่ง เชื่อได้เลยว่าไม่มีใครจำได้ เพราะว่านับกันไม่ถ้วนจริงๆ
  • อีกอย่างเป็นการดีกับผู้ไปดูงานด้วย วันดีคืนดี หวยออก สตง เรียกไปสอบว่าทำไมหน่วยงานนี้ไปเมืองนอกกันบ่อยจัง ไปดูอะไรกันนักหนา ถ้ามี Paper สตง คงหายสงสัย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท