รายงานการประชุมคณะทำงาน KM จังหวัดหนองคาย


เป้าหมาย KM , ทักษะด้านเทคนิคชลประทาน ,

รายงานการประชุมคณะทำงาน KM จังหวัดหนองคาย
ครั้งที่ 1 / 2549    วันที่ 24 มีนาคม 2549    เวลา  14.00 -16.00 น.
     ห้องประชุม  POC   ชั้น 4   ศาลากลางจังหวัดหนองคาย
ระเบีบวาระที่  1   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ  
ประธาน   นพ.สสจ.หนองคาย   แจ้งที่ประชุม
                 ในการดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับจังหวัด การบริหารจัดการความรู้ (KM) ผู้สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด  ซึ่งอยู่ในมิติด้านการพัฒนาองค์กร      ซึ่งจังหวัดหนองคายได้คัดเลือกประเด็นยุทธศาสตร์ด้านเกษตร กลยุทธ์เพิ่มการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  โดยเลือกการพัฒนาทักษะด้านเทคนิคการชลประมาน  ในกระบวนงาน การจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนการผลิต      หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการคือ โครงการชลประทานหนองคาย   สนง.เกษตรจังหวัด   สนง.เกษตรและสหกรณ์การเกษตร    สำนักงานจังหวัด        โดยมีทีมงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคายเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนกระบวนการเนื่องจากมีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการ KM มาก่อน  ซึ่งหลักการจัดการความรู้ในองค์กรต้องอาศัยการร่วมคิด ร่วมทำของผู้ปฏิบัติไปพร้อมๆ กันทุกส่วน
ระเบียบวาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุม  ......ไม่มี.....
ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1      การแต่งตั้งคณะ CKO และทีมงาน KM ระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2549
คุณธงชัย (POC)     แจ้งว่าเดิมจะทำ KM ทั้งจังหวัด แต่ทาง กพร.ได้แนะว่าให้เลือกทำในประเด็นจาก ข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง(Blue print for change)   โดยมี  CKO คือท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด  ประสิทธิ์  โอสถานนท์  เป็นประธาน    มีท่าน นพ.สสจ.หนองคายเป็นหัวหน้าทีม  KM       โดยคณะทำงานตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำแผนงานการจัดการความรู้ส่งไปให้ กพร.ตรวจสอบแล้ว    ปรากฏว่ามีหนังสือแจ้งกลับมาว่าไม่ต้องแก้ไขอะไร ขาดแต่ในส่วนของคำสั่งคณะทำงาน KM ที่ต้องไปให้เพิ่ม แต่มีข้อเสนอแนะคือแผนควรกำหนดจำนวนครั้งหรือความถี่แทนห้วงเวลา    สำหรับเลขานุการคณะทำงานคือตัวแทน สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด   ซึ่งคณะนี้ฝ่ายเลขาฯ กำลังทำโครงการเพื่อของบประมาณ ซึ่งวันที่ 23 มีนาคม  2549  ที่ผ่านมาได้นำเรียน รองผู้ว่าราชการจังหวัด แล้ว
ทพ.วัชรพงษ์      เนื่องด้วยเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะทำงาน  จีงขอเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมคือ  สืบเนื่องจากจังหวัดโดยผู้ประสานงานเริ่มแรกและ อ.ที่ปรึกษา คือ อ.จารึก   ได้พิจารณาเลือกกลยุทธ์ที่ 1 ของยุทธศาสตร์ด้านเกษตร และเลือกทำเพียง 1 กระบวนงานซึ่งก็คือ ทักษะด้านเทคนิคชลประทาน
จากการเชื่อมโยงวิสัยทัศน์ของจังหวัดหนองคาย สู่กระบวนงานในยุทธศาสตร์  
    - เป้าหมายของการทำ KM  เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์คือ  มีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการเกษตรในพื้นที่เขตชลประทานฤดูแล้ง 
    -ตัวชี้วัด คือ สัดส่วน พื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 
    -เลือกที่จะพัฒนา สมรรถนะทักษะเทคนิคด้านชลประทานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมลงความเห็นว่า  ประเด็นที่จะทำ  KM  2 ประเด็น คือ
1.       ทักษะในการพิจารณาโครงการชลประทาน และ
2.       ทักษะด้านเทคนิคการใช้น้ำเขตชลประทานเพื่อการเกษตร
นพ.ไพโรจน์   ได้เสนอประเด็นว่าการทำ KM ทำเพื่ออะไร   ในคำรับรองจะเน้นให้มีกระบวนการทำ KM
ทพ.วัชรพงษ์    ในการประเมินของ กพร. จะมีตัวชี้วัดว่าจังหวัดมีกระบวนการบริหารจัดการความรู้(Process)  แต่ในเป้าหมายกระบวนการ KM ที่จะทำคือการมีทักษะความรู้(Competency) ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เข้าร่วมทำ KM
มติที่ประชุม          รับทราบบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างทีมงาน KM จังหวัด  ซึ่งแสดงในเอกสารที่นำเสนอซึ่งโครงสร้างหลักจะมี CKO หน่วยงานทั้ง 3  แห่ง   ทีม KM จะมีตัวแทนที่เป็นผู้อำนวยการการทำกิจกรรม (Fa)  ตัวแทนด้าน IT  และเลขาคณะทำงาน จากทั้ง 3 หน่วยงาน   ส่วน สสจ.หนองคายสนับสนุน  Fa กลาง ในการดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการ KM  
3.2      ร่างแผนกระบวนการจัดการความรู้ (KM  Process).และ กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)    
ทพ.วัชรพงษ์      ในกระบวนจัดทำแผนมี 2 ส่วนคือ  KM process  กับ KM Change process ซึ่งในเอกสารก็คือ ตารางที่ 11 และ ตารางที่ 12  (เอกสารหมายเลข......)  ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมที่ต้องทำก่อนคือ การบ่งชี้ความรู้นั้นทางโครงการชลประทานได้รับไปดำเนินการแล้ว ซึ่งแยกเป็น ความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge: EK)   และความรู้ที่ซ่อนเร้น(Tacit Knowledge: TK)     ในการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดทั้งหมด 7 กิจกรรม  สรุปเป็นภาพรวมได้ตามเอกสารหมายเลข......   ซึ่งกิจกรรมต่อไปก็คือ การจัดประชุมอบรมให้ความรู้การการจัดการความรู้ ( KM overview) แก่ทีม CKO / KM ทีม   และผู้บริหารตัวแทนจากหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัดด้วย ภายในเดือน เมษายน 2549 นึ้        
3.3    โครงการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุน ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ตามประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดหนองคาย        
คุณสุนทร  ตัวแทนจากโครงการชลประทานหนองคาย  ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำโครงการได้นำเสนอที่ประชุมว่ากำลังดำเนินการจัดทำโครงการเสนอผ่านผู้บริหาร  ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดช่วยดูรายละเอียดให้ครบถ้วนและแก้ไขก่อนเสนอขออนุมัติโดยใช้งบเหลือจ่ายของหน่วยงานชลประทาน   
ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องอื่นๆ      
ประธาน     กล่าวปิดท้ายว่าหลังจากที่ได้มีการอบรมโดยวิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรแล้วคงได้รูปแบบที่ชัดเจนขึ้น  ฝากผ่านทางผู้บริหาร 3  หน่วยงานให้มีการประกาศนโยบายและประชาสัมพันธ์การจัดการความรู้ที่จะดำเนินการในหน่วยงาน  
   ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30734เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท