เบี้ยขยัน


แต่ที่สำคัญเงินนี้จะเป็นเงินที่ได้เพิ่มเติมไม่ใช่ที่ได้รับตามปกติ ดังนั้นทุกคนจะไม่เสียสิทธิ์พื้นฐานที่ได้ตามระเบียบ เพียงแต่ถ้าใครขยันทำงานก็จะได้เงินส่วนนี้เพิ่มขึ้น ต่างจากโบนัสตรงที่ โบนัสจ่ายเท่ากันทุกคนไม่ว่าใครจะทำงานมากน้อยเท่าไรก็ตาม

 

 ( จากแนวคิดที่ได้จากการประชุมเมื่อ 8-9 ตค. 52 , ป. โท  ม. ขอนแก่น , โรงแรมนารายณ์ กทม.)  

ในระยะหลังมีองค์กรหลายองค์กรที่พยายามจะเพิ่มประสิทธิผลหรือผลผลิตการทำงานของพนักงานโดยการจ่ายเงินเพิ่มตามปริมาณงานที่ทำ ในลักษณะที่สามารถควบคุมค่าใช่จ่ายในภาพรวมได้ ซึ่งมีชื่อเรียกกันไปต่างๆนาๆ แต่ผมขอเรียกว่า

 "เบี้ยขยัน" ซึ่งมักจะดำเนินการดังนี้

   1 . กำหนดวงเงินมาก้อนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในเป็นเบี้นขยัน ซึ่งมักเป็นเงินที่นอกเหนือจากรายจ่ายค่าแรงปกติ คือไม่ใช่ เงินเดือน,ค่าเวร,ค่าวิชาชีพ

   2 . กำหนดค่างานที่แต่ละคนทำให้ออกมาเป็นตัวเลข เช่น จำนวนตรวจคนไข้ , จำนวนเวลาทำงาน , จำนวนทำหัตการ, ค่า RW ที่ admit หรืออะไรก็ได้ที่ตกลงกันเพื่อแสดงว่าใครทำงานมากน้อยเท่าไร

   3. เอาค่างานมาแบ่งเงินตามสัดส่วนค่างาน โดยวงเงินรวมต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้ตามข้อ 1. ( งบปลายปิด)

   ข้อดีของระบบนี้คือ ทำให้คนขยันทำงานมากขึ้นเป็นรูปธรรม คนที่ขยันก็จะดึงเงินจากคนทำงานน้อย(เพราะวงเงินถูกจำกัดเพดานไว้) แต่ถ้าขยันเท่ากันก็เฉลี่ยๆกันไป คนที่ทำงานน้อยก็พยายามทำงานมากขึ้นเพื่อดึงส่วนที่ตนเองควรได้กลับมา  แต่ที่สำคัญเงินนี้จะเป็นเงินที่ได้เพิ่มเติมไม่ใช่ที่ได้รับตามปกติ ดังนั้นทุกคนจะไม่เสียสิทธิ์พื้นฐานที่ได้ตามระเบียบ เพียงแต่ถ้าใครขยันทำงานก็จะได้เงินส่วนนี้เพิ่มขึ้น ต่างจากโบนัสตรงที่ โบนัสจ่ายเท่ากันทุกคนไม่ว่าใครจะทำงานมากน้อยเท่าไรก็ตาม

 

หมายเลขบันทึก: 306758เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2009 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เบี้ยขยัน เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ

ใครทำมากได้มาก แต่ควรมีเรื่องคุณภาพมากำนดด้วย

ขอบคุณค่ะ

สรุปได้ตรงประเด็นจริงๆครับท่านพี่

สรุปได้ตรงประเด็นจริงๆครับท่านพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท