เคล็ด(ไม่)ลับ ; เมื่อลูกพัฒนาการช้า


           

 

         กลับมาจากหยุดหลายวัน       ได้พบเห็นการแสดงความคิดเห็นของ   คุณนฤมล ภูจอมดาว  ถามว่า " มีหลานเป็นเด็กผู้ชาย อายุ 1 ขวบกับ 2 เดือน แม่คลอดก่อนกำหนด ( คลอด 7 เดือน ) น้ำหนักตัวน้อย เข้าเตาอบต้องพาไปหาหมอตามนัดตลอด ล่าสุดผ่านมา 2-3 วันไปพบหมอ หมอบอกให้เร่งพัฒนาการ "  ( ตอนนี้น้องเขาไม่เดิน ) อยากจะรู้วิธีเร่งพัฒนาการต้องทำอย่างไรบ้าง ทานอาหารอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?

  

        อ่านแล้วสะท้อนได้ถึงความรู้สึก ความรัก ห่วงใย เศร้า ของผู้ปกครอง พ่อแม่ ญาติ ตลอดจนคนในครอบครัวทุกคนเลยค่ะ

 

        เพราะก็มีประสบการณ์ตรงจากตัวเองและคนรอบข้างโดยเฉพาะเพื่อนสนิทด้วยค่ะ  อยู่ได้ด้วย "กำลังใจ" และ " การมองโลกแบบเชิงบวก" ค่ะ

 

       ขออนุญาติเอามะพร้าวมาขายสวนเล็กน้อยค่ะ  เดี๋ยวจะว่าไร้สาระ แฮะ ๆๆ

          

 

 

             สาเหตุการพัฒนาการล่าช้า มีดังนี้ค่ะ


1. พันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อและแม่ เช่น โรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ดาวน์ซินโดรม ฯลฯ  หรือการที่พ่อกับแม่บังเอิญเป็นญาติ มีโอกาสที่ยีนผิดปกติจะแสดงออกมาทางลูกได้สูง

2. สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์ เช่น แม่ที่ไม่ดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์  สูบบุหรี่  ดื่มแอลกอฮอล์   ลูกก็มีความเสี่ยงกับการเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่

3. ภาวะการคลอดที่ไม่ราบรื่น  เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนดคือ ก่อน 9- 10 เดือนค่ะ   คลอดหลังกำหนด คืออายุครรภ์ 42 สัปดาห์ไปแล้ว ค่ะ   คลอดยากต้องใช้ระยะเวลาในคลอดยาวนานกว่าปกติ  สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ   เลือดออกในสมอง โรคปอดเรื้อรัง ตับวาย ไตวาย

4. สุขภาพของเด็กหลังคลอดและปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอดใหม่ๆ เช่น เด็กตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป   ตัวเหลืองจนต้องเปลี่ยนเลือด ต้องเข้าตู้อบเป็นเวลานาน

5. การเลี้ยงดูและภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม เช่น เด็กไม่ได้รับอาหารครบถ้วน กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ รวมถึงไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการเท่าที่ควร

 

 

        

 

         เห็นอย่างนี้คงสรุปได้แล้วบ้างนะค่ะ ว่าสาเหตุใดทำให้ลูกหรือคนรอบข้างเรามีพัฒนาการล่าช้ากันบ้าง   นอกจากปัญหาทางกายที่จะเกิดขึ้นกับเด็กแล้วยังมีปัญหาพฤติกรรมที่ ส่งผลให้พัฒนาการเด็กล่าช้าตามมา นอกจากนี้แล้วพฤติกรรมที่ส่งผลต่อพัฒนาการล่าช้า ยังมีอีกสองสาเหตุ  คือ



      1. ร่างกายผิดปกติ ส่งผลต่อพฤติกรรม  เช่น พิการขา ทำให้เดินยากหรือลำบาก  เป็นต้น

      2. สิ่งแวดล้อมรวมถึงการเลี้ยงดูจากครอบครัว เช่น ตามใจลูกมาก หรือโอ๋ มากไป ไม่ยอมให้ทำอะไร  "จะหยิบหมวก หมวกก็รีบเข้าไปหา" ทำนองพ่อแม่รังแกฉันค่ะ



* เด็กอยู่ไม่นิ่ง (ซนเกินไป) ไม่รู้จักรอคอย     แม้เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นแต่การที่เด็กมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก รับรู้ช้ากว่าและไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ก็อาจบอกถึงความผิดปกติได้  ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ มักจะเรียกว่าเด็กไฮเปอร์ (hyperactivity) หรือเด็กสมาธิสั้น

* มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำลายสิ่งของ ทำร้ายผู้อื่น และทำร้ายตัวเอง
ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าวของตัวเองได้เด็กบางคนอาจจะตีอก ชกหัว ทำร้ายตัวเอง

* ทำพฤติกรรมซ้ำๆ นั่งโยกตัว สะบัดมือ ชกตัวเอง วิ่งไปทั่ว การแก้ไขพฤติกรรมของเด็กนั้น  


        ข้อสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุด่าว่าตี เพราะยิ่งจะเป็นการสร้างภาวะกดดัน ซึ่งส่งผลไม่ดีกับพัมนาการและจิตใจเด็ก ซ้ำยังไม่อาจหยุดพฤติกรรมนั้นได้ ควรจะพาไปพบคุณหมอพัฒนาการเด็กก่อน เพื่อวิเคราะห์อาการที่เกิดขึ้นกับเด็ก

       การสังเกตอย่างอื่น ต้องอาศัยนักสังเกตอย่างเช่นคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เพราะขนาดตัวพวงเพชรเองเป็นถึงพยาบาล  ก็ยังมองข้าม เหมือนคนโบราณว่า เส้นผมบังภูเขาค่ะ

 

 

                           

 

 

         Top to Toe Sign (สังเกตจากหัวจรดเท้า)



อาการผิดปกติของอวัยวะที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจ เนื่องจากอาการนี้จะส่งผลถึงพัฒนาการและกระทบไปถึงส่วนอื่นๆ ได้

 

    * ศีรษะ Physical Sign :


ศีรษะเล็กหรือใหญ่เกินไป บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมอง อาจจะเกิดจากการที่สมองเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรืออาจจะเป็นโรคทางพันธุกรรม

Note : เส้นรอบศีรษะโดยปกติของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือนแรก
จะมีความยาว 35 เซนติเมตร / 4 เดือน : 40 เซนติเมตร / 1 ปี : 45 เซนติเมตร / 2 ปี : 47 เซนติเมตร / 5 ปี : 50 เซนติเมตร

*** ฟังอย่างนี้แล้วไม่ต้องหาอะไรมาวัดหรอกค่ะ เพราะเมื่อเราคลอดเจ้าหน้าที่จะทำการวัดไว้แล้ว และลงผลไว้ในสมุดสีชมพู และเมื่อมาตรวจพร้อมให้วัคซีนตามนัด เจ้าหน้าที่ก็จะวัดและลงผลไว้ค่ะ


 

                     


       * หู Physical Sign :


ใบหูผิดรูป อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปจนสังเกตได้ติ่งหูยาวผิดปกติ มีรูด้านหน้าหูหรือหูไม่มีรู

Development Sign :
อายุ 6 เดือนแล้วไม่สามารถหันตามทิศทางของเสียง และไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินรอบข้าง เช่น ไม่สะดุ้งตกใจเมื่อมีเสียงดัง

Note : การให้ลูกฟังเสียงที่มีโทนเสียงแตกต่างกัน เสียงที่มีความซับซ้อน
รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบเสียงที่ถูกเปล่งออกมา จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการ ฟังของลูกได้

*** เด็ก ๆ จะฟังเสียงรอบข้างได้ตั้งแต่แรกเกิดแล้วค่ะ เราควรพูดคุยโต้ตอบ เล่านิทาน หรือเปิดเพลงเบา ๆ ให้เขาฟัง เป็นการกระตุ้นพัฒนาการอีกอย่าง

 

 

 

        ตา Physical Sign :


ตา ห่างจนผิดปกติ ตาเหล่าเข้า-ตาเหล่ออกเห็นว่าแสงสะท้อนจากรูม่านตาเป็นสีขาว   แสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา อาจจะเป็นต้อ มีเนื้องอก จอประสาทตาลอก    อันนี้มักจะพบในเด็กเกิดก่อนกำเนิดค่ะ  

Development Sign : มองตามวัตถุแล้วตาแกว่งไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องวัตถุ ไม่สบตา

Note : การให้เล่นของเล่นสีสันสดใสที่เคลื่อนไหวได้ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ ช่วยกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกเคลื่อนไหวดวงตาเพื่อมองตามวัตถุ

 


 

                          



         * จมูก Physical Sign :


ดั้ง จมูกบี้หรือเชิดมาก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต้องดูหน้าตาโดยรวมด้วย เช่น หางตาชี้ กระหม่อมแบน ลิ้นใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นอาการของเด็กดาวน์ซินโดรม


        Development Sign : ไม่ตอบสนองหรือไม่มีปฏิกิริยากับกลิ่นต่างๆ เลย เช่น ไม่นิ่วหน้าหรือจามเมื่อมีกลิ่นเหม็นฉุน

Note : ทารกเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่อายุ 3 วันแล้ว ยิ่งเป็นกลิ่นคุณแม่เขาจะพยายามหันไปหาด้วยความคุ้นเคย

            
          * ปาก Physical Sign :


ปากบางเป็นปากปลา (ไม่เห็นริมฝีปากเลย) หรือปากแหว่งเพดานโหว่

Development Sign : พูดไม่ชัด ติดอ่าง เสียงผิดปกติ ไม่เล่นเสียงและส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่โต้ตอบคำพูดตามวัย    มีพัฒนาการทางภาษาช้า เช่น สองขวบแล้วยังพูดคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่งและไม่พยายามพูดกับคนอื่น

Note : สามารถกระตุ้นพัฒนาการการพูดได้จากการตอบสนองเสียง อ้อแอ้ ชวนลูกคุยโต้ตอบให้เหมือนคุยกันรู้เรื่อง   ชวนลูกออกเสียงคำง่ายๆ ให้เด็กได้เลียนเสียง   ชวนเล่นเกมเป่าฟองสบู่ เป่าลูกโป่งหรือเป่าน้ำในแก้ว ซึ่งจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเพดานช่องคอและการใช้ลมออกเสียง


 

                             

 


           
        * ลิ้น Physical Sign :


ลิ้นใหญ่ ลิ้นยืดออกมาขณะพูด การสบของฟันปกติ

         Development Sign :
น้ำลายไหลย้อย เด็กมักอ้าปากกว้างไม่หุบ ไม่กลืนอาหาร ไม่เคี้ยวข้าวหรือเคี้ยวนาน ไอหรือสำลักอาหารบ่อยๆ

Note : สามารถนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก เพื่อให้เกิดการดูด
โดยวางหัวนิ้วแม่มือลงบนคางใต้ริมฝีปากล่างแล้วลากออก เป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากล่างทั้งสองประมาณ 5-10 ครั้ง

           
     * แขนขาและบริเวณลำตัว Physical Sign :


แขนขา ยาวไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นิ้วยึดติด นิ้วเกิน 5 นิ้ว นิ้วกุด กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งเกินไป  คือเด็กเคลื่อนไหวลำบากและเคลื่อนไหวผิดปกติ ข้อยึดติด ข้อสะโพกหลุด แบะออกมามากเกินไปหรือหนีบติดกันไม่ยอมแบะ


Development Sign : กล้ามเนื้อแขนขานุ่มนิ่ม อ่อนปวกเปียก คือไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว ยกแขนยกขาลำบาก ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีความสมดุลขณะถูกอุ้ม  เช่น 3 เดือนคอยังไม่แข็ง 9 เดือนยังไม่คว่ำหรือยังไม่คลาน   1 ขวบแล้วยังหยิบขอเล่นไม่ได้ กำมือไม่ได้ ข้อเท้าติดบิดหมุนไม่ได้รอบ

Note : การกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ คุณแม่ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัด เพื่อจะได้กระตุ้นกล้ามเนื้อได้ถูกต้อง



                    

 

 
        * ผิวหนัง Physical Sign :


สี ผิวผิดปกติ เช่น ตัวเหลือง หรือมีปานเป็นริ้ว เป็นแนวสีขาวหรือสีดำเป็นแถบใหญ่ มีปานตามผิวหนังมากกว่า 6 จุด
หลังมีปานลายเป็นต้นคริสต์มาส บวกกับกล้ามเนื้อนิ่ม เป็นสัญญาณบอกอีกกลุ่มหนึ่ง ผิวหนังแห้งอย่างมาก คันและต้องเกาอยู่ตลอดเวลา

 

        แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรค่ะว่า "ลูกพัฒนาการล่าช้า" คำตอบง่าย ที่สุดคือเราเปรียบเทียบพัฒนาการจากสมุดสีชมพู เมื่อถึงเดือนที่เด็กเป็น แล้วเราเปรียบเทียบดู ทำได้ตามนั้นหรือเปล่า  เราควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามนั้นค่ะ  หากช้าหรือทำตามไม่ได้ ควรได้รับการตรวจจากผู้ชำนาญกว่าค่ะ เช่น หมอเด็กค่ะ

 

      **   หากพบว่ามีพัฒนาการล่าช้า เราไม่ควรโทษใครค่ะ  เพราะเป็นการบั่นทอนจิตใจ คุณเอง ลูก คนรอบข้างแล้ว  เราควรมองโลกในแง่บวก มีสติ มีความเชื่อมั่นในการพัฒนา กระตุ้นเด็ก  เพราะคุณหมอเป็นเพียงผู้แนะนำ แต่ใครเลยจะปฏิบัติได้ดีเท่าคุณพ่อคุณแม่  เป็นกำลังใจซึ่งกันและกันค่ะ 

 

        เด็กมีประสาทสัมผัสที่ดีเยี่ยม เพราะถ้าหากเมื่อใดเราท้อแท้หมดหวัง เด็กจะพลอยหดหู่ไปด้วยค่ะ 
   


       

                  

 

 

---------

 

 

ที่มา.. นิตยสารดวงใจพ่อแม่

 

 

 

</span></span>

หมายเลขบันทึก: 306666เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2009 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

  • บันทึกนี้ดีนะคะ  เป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยน
  • อันเป็นเป้าหมายของ G2K
  • นับว่าเป็นความรู้ที่ควรเรียนรู้ และแบ่งปัน
  • พี่คิมจะไปบอกต่อให้นะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ

นับเป็นการเติมเต็มความรู้

จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในสาขาวิชาชีพ

ดีจังค่ะ สามารถนำไปใช้แทรกในการสอนชีววิทยาได้อีก

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูคิม

- ขอบคุณมากเลยค่ะอาจารย์

- การเรียนรู้ เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบจริง ๆ เลยค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูแป๋ม

- ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

- เรื่องเรา ๆ นี่ก็เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งค่ะ

 บันทึกนี้ดีค่ะ

พี่ครูอรวรรณจะเอาไว้คอยสังเกตหลานน้อยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาอ่านบันทึกดี ๆ  เป็นประโยชน์มาก ๆ
  • ขอบคุณความรู้ที่คุณเพชรน้อยนำมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณนะค่ะ
  • สวัสดีค่ะครูอรวรรณ

    - ขอบคุณค่ะ

    - ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ

    - เด็กคืออนาคตของชาติค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณบุษรา

    - ยินดีค่ะ

    - แฟนพันธุ์แท้จริง ๆ ค่ะ

    • ค่อยๆศึกษาเพราะเป็นเสมือนตำราเล่มหนึ่งเลย คงต้องเข้ามาบ่อยๆค่ะ
    • คุณเพชรน้อย ... เด็กๆสบายดีนะค่ะ
    • มีความสุขทุกวันค่ะ

    สวัสดีค่ะป้าเหมียว

    - หนังสือเล่มโตค่ะ

    - ต้องอ่านทุกวัน เด็ก ๆ นั่นเอง

    - ทุกข์วัน อุ้ย ! ไม่ใช่สุขทุกวันค่ะ

    ***ขออนุญาตใช้พื้นที่ ฝากประกาศและประชาสัมพันธ์ครับ***

    บริการทำกายภาพบำบัดเด็กที่บ้าน ในเด็กที่พัฒนาการช้า และบกพร่องทางการเคลื่อนไหว โดยนักกายภาพบำบัดด้านเด็ก และ"เทคนิคกดจุดวอยต้า" 
    ขอบเขตพื้นที่ แจ้งวัฒนะ  ปากเกร็ด ติวานนท์ สนามบินน้ำ แคราย งามวงศ์วาน ประชาชื่น และรังสิต
    สนใจติดต่อนักกายภาพบำบัด(ให้คำปรึกษาฟรี)  
    โทร : 061-4239158 
    Line ID : komgame423

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท