Music, Noise, Sound and Silence


ถ้าถามว่าดนตรีคืออะไร เราสามารถให้คำนิยามของคำตอบนี้ได้ไม่ยากสำหรับช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แต่คำนิยามสำหรับดนตรีตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมานั้นอาจจะมีข้อถกเถียงที่ไม่มีที่สิ้นสุด หรือไม่ก็ไม่สามารถบรรยายโดยรวมได้มากนัก เนื่องจากดนตรีในช่วงตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมานั้นมีความหลากหลายและแตกต่างจากดนตรีตามแบบแผน (Traditional Music) อย่างมาก เหตุผลของความเปลี่ยนแปลงของดนตรีในศตวรรษที่ 20 นั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือดนตรีของนักประพันธ์หัวก้าวหน้า (Avant-Garde Composers) ไม่ว่าจะเป็น เดบุซซี่ (Debussy) เชอนเบิร์ก (Schoenberg) และ สตราวินสกี้ (Stravinsky) ต่างก็มีความท้าทายระบบเสียงแบบ Tonality และหลังจากนั้นไม่นานก็มีนักประพันธ์ดนตรีรุ่นใหม่ๆไม่ว่าจะเป็น โคเวล (Cowell), วาเรซ (Varese) หรือ เคจ (Cage) ที่สนใจรูปแบบของดนตรีที่ไม่มีระดับเสียงที่คงที่แน่นอน (Non-Pitched Sounds) นอกจากนั้นยังมีการเติบโตของดนตรีชาติพันธุ์ (Ethno music) ที่นำลักษณะเสียงดนตรีแปลกใหม่ภายนอกยุโรปเข้ามาใช้อีกด้วย

ใน ช่วงปี 1913 กลุ่มศิลปินหัวก้าวหน้าจากประเทศอิตาลีที่ถูกเรียกขานว่า The Futurist ด้วยคำประกาศ (Manifesto) ของ Luigi Russolo ที่ว่าเสียงเครื่องดนตรีตามแบบแผนนั้นไม่เพียงพอต่อการแสดงออกถึงสิ่งที่ อยู่ในจินตนาการของดนตรีในศตวรรษใหม่ที่จะต้องมีการผลิตเสียงใหม่ๆ หรือนำเอาเสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้เพิ่มเติม และกลุ่มศิลปินกลุ่มนี้ยังได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่จะผลิตเสียงตามที่พวกเขา กล่าวอ้างนั่นก็คือ Intonarumori หรือ Noise Instrument เทคโนโลยี ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงปฎิวัติอุตสาหกรรมของสังคมโลกก็เป็นส่วนสำคัญอีก ส่วนหนึ่งที่ทำให้ดนตรีเกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีที่ล่าวถึงนี้คือ การบันทึกเสียง (Sound Recording) เครื่องบันทึกเสียง และเครื่องเล่น (Recorder and Player) เป็นสิ่งที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างความแตกต่างของเสียงดนตรี (Musical Sound) และเสียงที่ไม่ใช่

เสียง ดนตรี (Non-Musical Sound) บรรเทาเบาบางลง ซึ่งจะเห็นได้จากงานประพันธ์ที่เรียกว่า Tape Composition นั้นทำให้นักประพันธ์ดนตรีไม่ต้องเขียนโน๊ตดนตรี (Musical Notation), ใช้เครื่องดนตรี (Instruments) หรือแม้แต่แสดง (Perform) ตามแบบแผน อีกทั้งยังทำให้นักประพันธ์สามารถนำเสียงที่พบได้ในธรรมชาติ (Found Sound) มาใช้ในงานประพันธ์ของตนเอง       ในปี 1948 มีกระกระจายเสียง Concert of Noise ซึ่งประพันธ์โดย Pierre Schaeffer ซึ่งบทประพันธ์ชุดนี้เป็นการนำเอาเสียงที่บันทึกจากแหล่งเสียงต่างๆ เช่น เสียงรถไฟ กะทะ หม้อ เครื่องเคาะ มาใช้ ซึ่งต่อมางานประพันธ์ดนตรีลักษณะนี้ถูกตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Musique Concrete การ เกิดขึ้นของดนตรีประเภทนี้เองที่ทำให้เป็นที่จับตามองของนักประพันธ์สมัย ใหม่ในประเทศเยอรมัน ถึงกับมีการเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ และร่ำเรียนกันเลยทีเดียว ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาของเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) ซึ่งนำพาโลกของเราไปยังเสียงแปลกใหม่มากมายอีกทั้งยังทำให้เกิดดนตรีประเภท ใหม่ๆตามมาอีกหลายแขนง และที่สำคัญมันได้ทำให้ความแตกต่างระหว่างเสียงดนตรี (Music) และเสียงรบกวน (Noise) หายไปจากความรู้สึกของผู้คนในศตวรรษนี้ เสียงรบกวนกลายเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างรูปแบบ ความเพลิดเพลิน แก่ผู้คน และนักดนตรีในศตวรรษที่ื 20

เสียง รบกวนในดนตรีร่วมสมัย (Contemporary Music) นั้นมีการพัฒนา และสืบทอดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งโดยอาจจะเปลี่ยนรูปแบบในกระบวนการทางความคิด หรือความสนใจใหม่ๆจากตัวผู้ประพันธ์ เช่น John Cage ที่พยายามจะนำเอาความเงียบ มาใช้ในดนตรีของเขา หรือ R Murray Schafer กับงานประพันธ์ที่เรียกว่า Soundscape ที่ให้ความสนใจ และความสำคัญกับเสียงที่มีอยู่ในสภาวะแวดล้อมของมนุษย์เรา

คำสำคัญ (Tags): #music#noise
หมายเลขบันทึก: 306191เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท