สุเทพลงพื้นที่ "ซือเลาะ"


"สุเทพ" ลงพื้นที่ “บ้านซือเลาะ” ประกาศรัฐบาลพร้อมดำเนินการตามแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

"สุเทพ" ลงพื้นที่ “บ้านซือเลาะ” ประกาศ รัฐบาลพร้อมดำเนินการตามแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคงในฐานะประธานคณะกรรมการเร่งรัด และติดตามการทำงานตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีพิเศษพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เดินทางลงพื้นที่ที่บ้านซือเลาะ หมู่ 4 ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเข้าร่วมการจัดทำประชาคมของชาวบ้านที่บ้านซือเสาะ ขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายนายณัฐพงศ์ ศิริชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ร่วมต้อนรับ

         นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอชื่มชม และขอเป็นกำลังใจให้แก่ ผู้นำชุมชน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการทำประชาคมเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ทางราชการสามารถแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนได้อย่างถูกต้องตามแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ให้เป็นครัวเรือนที่รายได้ละ 120,000 บาทต่อปี ขอให้ทุกฝ่ายมีความร่วมมือร่วมใจกัน ทั้งนี้รัฐบาลฯ ได้จัดทำโครงการที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่และระดับรายได้ของประชาชน อีกทั้งประชาชนมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมมือกับรัฐบาล ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี สำหรับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากโครงการนี้มีความก้าวหน้าจะสร้างความรักความความสามัคคีให้เกิดขึ้นได้ เชื่อว่าจะทำให้การทำงานต่าง ๆประสบความสำเร็จ

         ด้านนายสะมะแอ หะมะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ กล่าวว่า รู้สึกดีใจ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญการพัฒนาคุณภาพที่ชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ลงพื้นที่ดูการจัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะได้เห็นความต้องการและสภาพความเดือดร้อนที่แท้จริงของประชาคม ซึ่งจะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

         ส่วนนางพาสนา ศรีศรัทธา ผู้แทนเครือข่ายโครงการบ้านมั่นคงจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่าชาวบ้านที่มีความเดือนร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยมาก ซึ่งทางเครือข่ายได้ดำเนินการจัดกระบวนการดำเนินการเริ่มด้วยการออมทรัพย์ จัดทำข้อมูลความเดือนร้อน และจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การแก้ไขปัญหาประสบความสำเร็จ ตามนโยบายของรัฐบาล 

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 

            ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านซือเลาะ เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้,     ลำธารทางทิศเหนือ จะมีน้ำจากเขาไหลลงมาสู่ลำธาร ทางทิศใต้มีน้ำจากภูเขาไหลลงมาสู่หมู่บ้าน บ้านซือเลาะจึงอยู่กึ่งกลางระหว่างลำธารสองสายทิศเหนือ และทิศใต้ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับเกาะ ฤดูฝนน้ำจะไม่ท่วมเพราะอยู่บานเนินสูง และช่วงฤดูแล้งจะไม่ขาดแขลงน้ำเพราะมีลำธารรอบ ๆ หมู่บ้าน ด้วยความที่อยู่ระหว่างศูนย์กลางของความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ชาวบ้านเรียกหมู่บ้านนี้ว่า  “บ้านจือเลาะ” ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า “อยู่กึ่งกลาง”  แต่ปัจจุบันได้เรียกผิดเพี้ยนไปเป็นหมู่บ้าน“บ้านซือเลาะ”  มีประชากรประมาณ 180 ครัวเรือน จำนวน 768 คน

 นั้นแหละ.....รูปที่ชาวบ้านต้องการสร้างบ้านใหม่ค่ะ

 

     รองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ ย้ำว่าให้ พอช.ดำเนินการอย่างทั่วถึง และรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนดำเนินการอย่างต่อเนือง

 

คุณอารีย์ เจ๊ะโซ๊ะ และคุณพาสนา ศรีศรัทธา อธิบายการคัดเลือผู้เข้าร่วมโครงการ และกระบวนการทำงานโดยองค์กรชุมชนเป็นหลัก

 

 

รองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ อยากให้ผู้นำชุมชนตั้งใจทำงาน และฝากให้ทำเร็วๆ เพื่อชาวบ้านจะใด้เห็นผลงาน

 

 

ชาวบ้านเยี่ยมชมบอร์ดโครงการการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย บ้านซือเลาะ

 

เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี(ต้องนั่งนะ) คนตาบอดดูฟรี

 

น้องผู้หญิงถาม แล้วบ้านของหนูที่ไหน? ผู้ชายตอบ อยู่ที่นี้จ้ะ

 

กะ..... สนใจมากกกกกก นะคะ กับโครงการนี้

คำสำคัญ (Tags): #สุเทพ-ซือเลาะ
หมายเลขบันทึก: 306018เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 07:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สุเทพ เหมือนกันแต่เป็นสุเทพ ไชยขันธุ์

ยินดีด้วยครับ

เขียนได้ดี

รุสดี ยินดีด้วยจ้า ลงรูปได้สวยน่าสนใจแต่พี่ว่าคำว่าสุเทพน่าจะใส่คำว่ารองนายกฯสุเทพด้วยเพื่อเป็นการใช้ภาษาที่ถูกต้องแต่โดยรวมรูปประกอบที่ใช้ผ่านนะ

เยี่ยม แต่สุเทพ เนี่ยใส่คำนำหน้าให้ท่านหน่อยนะ

เรียนพี่พัชณี และพี่หญิง แก้ไขแล้วครับผม และขอขอบคุณที่มาเยี่ยม

ตามมาชื่นชมผลงานครับ รุศดี เรื่องราวทางนี้ มีข้อมูลน้อยมาก ชว่ยกันนำมาแบ่งปัน

ให้กำลังใจครับ

สลาม

เข้ามาเยี่ยมค่ะ แบดีเขียนไดน่าอ่านมาก ใช้ภาษาที่เรียบง่าย เก่ง ๆ

สู้ ๆ น่ะ

ส่งข่าวให้ส่วนประชาสัมพันธ์ พอช.แล้วนะ และลงในเว็บ souththai ให้แล้ว แต่ขอแก้ไขข้อความเล็กน้อยเพื่อให้ดูดีกว่าเดิม ขยันเขียนอย่างนี้ เก่งแล้ว ทำดีต่อไปนะ

ในการประชุมปรึกษาหารือเพื่อการสร้างโมเดลการพัฒนา พอช.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดย “การอบรมนักจัดการความรู้โดยชุมชนปฏิบัติ”ในวันที่27 พ.ย.ที่ผ่านมากับคุณเอกวิทยากรเพื่อเตรียมการ Workshopในวันที่ 14-15 ธันวาคม ที่จะถึงนี้

การWorkshopครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่จุดประกาย KMกับคนทำงานจากทุกส่วนหน่วยในพอช. จึงมีความสำคัญมากครับ ผมเห็นด้วยกับแนวคิด กับข้อเสนอคุณเอกครับ.......... “เราต้องจัดการความรู้สึกและการจัดการความรักก่อนการจัดการความรู้"

กับการจัดการความรู้สึก.....ทำอย่างไรคน พอช.จึงจะรู้สึกว่า KMเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ทำแล้วรู้สึกดีด้วย

การจัดการความรัก....... ทำอย่างไรคน พอช.จึงจะเกิดประสบการณ์ตรง จากการได้ชื่นชมยินดีกับเรื่องราวที่ดีๆของเพื่อนๆใน พอช.และเกิดความรู้สึกอยากให้เรื่องเหล่านั้นต้องเกิดการขยายผลสื่อสารต่อๆกัน

 การจัดการความรู้....... ทำอย่างไรคน พอช.เมื่อมีจุดเริ่มต้นจากการถอดความรู้ครั้งนี้ให้เป็นจุดเริ่มต้นการเกิดชุมชนนักปฏิบัติตามความสนใจและสมัครใจ”

รวมทั้งเห็นด้วยกับความเห็นของดร.ยุวนุช ทีมวิทยากรร่วมของคุณเอก “ในเรื่องของ COP และเครื่องมือ KM ต่างๆที่จะใช้ควรให้เป็นธรรมชาติ ไม่ให้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดให้ต้องทำ KM”

 สำหรับสถานที่จัดยืนยันเป็น"ภูเขางามรีสอร์ท" นครนายก สวยงามมากครับ บรรยากาศน่าจะเหมาะสำหรับการทำ Workshopครับและน่าจะเหมาะสำหรับการบ่มเพาะสิ่งดีๆให้ผลุดบังเกิดขึ้น

รุสดีชวนเพื่อนๆมาเข้าWorkshopครั้งนี้กันนะครับ มาร่วมกันสร้างทั้งการจัดการความรู้สึกที่ดี การจัดการความรักและการจัดการความรู้ครับ Workshopครั้งนี้รับ40 คนครับ มีสมัครมาแล้ว 25 คน เหลืออีก15 คนเป็นจนท.ปก.ภาคละ3 คนครับ

แวะมาเยี่ยมคนทำงานจังหวัดชายแดนใต้ จากคนทำงานส่วนกลาง

กิจกรรมที่ 12 ม.ค.2553.....  “ พวกเรามีนัดพบกับอ.เอกและทีมงานครับ” ณ.ห้องประชุมชั้น 1 กับกิจกรรมการสัมมนาติดตามผลและการยกระดับการเรียนรู้ในเรื่อง“การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา” (AAR&R)

  ช่วงเช้า

  •  กิจกรรมสานสัมพันธ์ร้อยรัดหัวใจ CODI. โดย ดร.ขจิต ฝอยทอง
  • นำเสนอผลงาน "โชว์ แชร์ และ เชียร์การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา  (AAR. การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา  จาก ภูเขางามจนถึงวันนี้ที่ พอช. /นำเสนอ Show & Share บทเรียนความสำเร็จที่เริ่มต้น /แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้)

ช่วงบ่าย

  • กิจกรรมผ่อนพัก ตระหนักรู้ โดย ดร. ขจิต  ฝอยทอง
  • Dialogue “การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา” และ จากบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนาสู่การจัดทำเป็นเรื่องเล่าเร้าพลัง
  • กระบวนการ AAR.
  • รูปแบบการเคลื่อนงาน CODI_KM จะขับเคลื่อนไปอย่างไร

ทีมวิทยากรกระบวนการ  3 หนุ่มสามมุมครับ ( อ.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร / ดร.ขจิต ฝอยทอง/ อ. เกียรติศักดิ์  ม่วงมิตร)

สถานที่ :  มีการอำนวยความสะดวกด้านไอที รวมไปถึงการจัดลานชุมชน ที่อาจปูด้วยผ้า หรือ เสื่อ ที่สามารถนอน นั่งได้

การแต่งกาย : ให้ผู้เข้าร่วมแต่งกายตามสบาย ผู้หญิงให้สวมกางเกงจะสะดวกต่อการนอนและนั่งระหว่างการสัมมนา

อุปกรณ์ : โน้ตบุ้ก(ส่วนตัว), ส่วนอุปกรณ์อื่นๆใช้ของเดิมจากที่เคยทำกระบวนการในเวทีที่ภูเขางามรีสอร์ต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท