การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบอิสลาม


อิสลามกับการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบอิสลาม 

ชัยคฺ ดร. ยุซุฟ อัล กอรอฎอวียฺ เขียน
อาอิช แปลและเรียบเรียง

 

มันเป็นสิ่งที่น่าตื่นใจทีเดียวสำหรับนักวิจัยที่มีความเป็นธรรมทั้งหลายที่ได้ พบวิธีการที่อัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺได้เอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างที่อัล กุรอานกล่าวว่า “พวกเขาไม่พิจารณาดูอูฐดอกหรือว่ามันถูกบังเกิดมาได้อย่างไร” อัล ฆอชิยะฮฺ 17

อัล กุรอานนั้นได้กล่าวถึงอูฐมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังก็คือต้องการกระตุ้นให้เกิดความสนใจที่มีต่อสัตว์ ที่โดดเด่นประเภทนี้และเรียกร้องมนุษย์เพื่อที่จะให้ครุ่นคิดเกี่ยวกับโครง สร้าง คุณสมบัติ และประโยชน์ของมัน ในฐานะที่มันเป็นปศุสัตว์ที่กินหญ้าที่ใกล้ชิดกับชาวเบดูอินผู้ที่ได้รับการ กล่าวโดย อัล กุรอานอย่างตรงไปตรงมา

อัล กุรอานได้กล่าวซ้ำอยู่บ่อยๆถึงปศุสัตว์ที่กินหญ้าเช่น อูฐ แกะ วัวควาย มากกว่าสัตว์ประเภทอื่นที่อาจจะอาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น เหตุผลคือว่าต้องการที่จะดึงดูดความสนใจของผู้คน ด้วยการกล่าวถึงสัตว์ต่างๆที่ปรากฏในสภาพแวดล้อมที่รายล้อมอยู่ โดยได้เอาประโยชน์จากมัน จากการกินเนื้อและดื่มนม ด้วยสำนึกในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังที่อัล กุรอานได้กล่าวว่า “....น้ำนมบริสุทธิ์ เป็นโอชาแก่ผู้ดื่ม” อันนะหฺลุ 66

เช่นเดียวกัน ก็จะเกิดความอิ่มเอิบอิ่มใจในการมองเห็นพวกมันเมื่อท่านได้นำพวกมันออกมาในยามเช้าและได้นำพวกมันกลับในยามเย็น “และในตัวมันมีความสง่างามสำหรับพวกเจ้า ขณะที่นำมันกลับจากทุ่งหญ้าและขณะที่นำมันออกไปเลี้ยง” อันนะหฺลุ 16

สิ่งที่คล้ายกันนี้ได้รับการกล่าวไว้ในอัล กุรอานเกี่ยวกับผึ้ง รังของมัน คุณสมบัติที่หลากหลาย คุณค่าทางอาหาร และยาบำบัดไว้ ในซูเราะฮฺที่มีชื่อว่า “ผึ้ง”(อัน นะหฺลฺ)

ในทำนองเดียวกัน อัล กุรอานได้พูดถึง อินทผลัม องุ่น พืชผลในรสชาติต่างๆ ต้นมะกอก ต้นทับทิม ที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ในที่นี้ อัล กุรอานได้เน้นไว้บนหลักการที่สำคัญสองประการนั่นคือ

1. การสัมผัสความสุขใจอันเนื่องจากกับความงามของมัน

“......พวกเจ้าจงมองดูผลของมันเมื่อเริ่มออกผล และเมื่อมันแก่สุก...” อัล อาม 99

2. การได้รับประโยชน์จากผลของมัน แต่จะต้องจ่ายส่วนที่เป็นซะกาต ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา บรรยายไว้ในอัลกุรอานว่า

“จงบริโภคจากผลของมันเถิดเมื่อมันออกผล และจงจ่ายส่วนอันเป็นสิทธิในมันด้วยในวันแห่งการเก็บเกี่ยวมัน และจงอย่าฟุ่มเฟื่อย” อัล อาม 141

อัล กุรอานกล่าวซ้ำอยู่เสมอว่า ห้ามทำลายพื้นดินหลังจากที่อัลลอฮฺ ตะอาลาได้สร้างมันไว้อย่างเหมาะสมและได้จัดเตรียมไว้อย่างดีสำหรับคนรุ่นสืบต่อมา อัลกุรอานประกาศว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นไม่ทรงชอบการทำลายหรือบรรดาผู้ที่ทำให้ชีวิตเสื่อมเสีย ดังกล่าวนี้ได้ครอบคลุมถึงการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย การทำลายมันหรือมีการรุกรานมัน อีกทั้งยังห้ามที่จะใช้มันไปในหนทางที่ผิดที่เบี่ยงเบนจากความประสงค์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ได้สร้างมันมา ดังกล่าวนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความอกตัญญูที่มีต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ที่จะทำให้อัลลอฮฺตะอาลา กริ้วโกรธ และ เป็นบทเรียนแก่บรรดาผู้ที่ได้กระทำความผิดในสิ่งนี้ ซึ่งการลงโทษที่รุนแรงอาจจะจู่โจมใส่พวกเขาโดยไม่ทันตั้งตัวเสมือนดังที่ได้ เกิดขึ้นก่อนพวกอ๊าดและพวกซะมู๊ดและบรรดาผู้ที่มาหลังพวกเขา

“บรรดาผู้ละเมิดเหล่านั้นตามหัวเมืองต่างๆ แล้วก่อความเสียหายอย่างมากมายในหัวเมืองเหล่านั้น ดังนั้นพระเจ้าของเจ้าจึงกระหน่ำการลงโทษนานาชนิดบนพวกเขา แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นทรงเฝ้าดูอย่างแน่นอน” อัล ฟัจญรฺ 11-14

นี่เป็นการลงโทษเช่นเดียวกับที่ได้กระหน่ำใส่ชาวสะบะอฺผู้ที่มิได้เห็นความสำคัญในความเมตตาที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมอบให้กับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินที่อุดสมบูรณ์ น้ำจืดที่ใสบริสุทธิ์ ไร่สวนที่มีกลิ่นหอมสดชื่นและพวกเขาได้แสดงความไม่เต็มใจ ไม่เอาใจใส่ต่อพื้นดินและทำลายความเสื่อมเสียแหล่งที่มาของความมั่นคั่ง ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

“โดยแน่นอน สำหรับพวกสะบะอฺนั้นมีสัญญาณหนึ่งในที่อาศัยของพวกเขา มีสวนสองแห่งทางขวาและทางซ้าย พวกเจ้าจงบริโภคจากปัจจัยชีพของพระเจ้าของพวกเจ้า และจงขอบคุณต่อพระองค์ อันเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ และมีพระเจ้าผู้ทรงอภัย, แต่พวกเขาได้ผินหลัง ดังนั้น เราจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนให้ท่วมพวกเขา และเราได้เปลี่ยนให้พวกเขาสวนสองแห่งของพวกเขา แทนสวนอีกสองแห่ง มีผลไม้ขมและต้นไม้พุ่ม และต้นพุทราเล็กน้อย, เช่นนั้นแหละ เราได้ตอบแทนพวกเขาเนื่องจากพวกเขาเนรคุณ และเรามิได้ลงโทษผู้ใด(ด้วยการลงโทษอย่างรุนแรงเช่นนี้) นอกจากพวกเนรคุณ” สะบะอฺ 15-17

ที่มา http://www.fityah.com

หมายเลขบันทึก: 305061เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2009 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท