วรรณคดีสอนคิดวิเคราะห์


วรรณคดีย่อมสะท้อนวิถีความคิดและความเชื่อของคนในสมัยนั้น
     วรรณกรรมสมัยใดย่อมสะท้อนความคิดและความเชื่อของคนในสมัยนั้น เมื่อกาลเวลล่วงเลยไป สังคมเปลี่ยนไป วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป ค่านิยม ความเชื่อก็ย่อมเปลี่ยนไป แต่บางอย่างยังคงความเป็นอมตะ แต่บางอย่างเกิดความสงสัยว่าจะใช้ได้หรือไม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้ความเชื่อและค่านิยมเปลี่ยนไป  จึงทำให้วรรณคดีมักจะถูกลืมเลือนไป ซึ่งน่าวิตกว่าวรรณคดีไทยที่เป็นมรดกของชาติจะถูกลบออกจากความรู้ ความทรงจำของเด็กไทยไป  ในการสอนวรรณคดีอย่างไรให้สนุกนั้นต้องให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ว่าอะไรบ้างที่ยังคงอยู่ได้เป็นอมตะนิรันดร์กาล อะไรบ้างที่เปลี่ยนไป และเปลี่ยนไปเพราะอะไร ความน่าสนใจในการเรียนวรรณคดีคือการเสนอประเด็นให้คิด ให้อภิปราย ให้พิจารณา เปรียบเทียบค่านิยม สังคม เจตคติ ในปัจจุบัน เช่น คำสอนในสุภาษิตสอนหญิง สอนให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม ดังคำกลอนว่า
"เขารักจริงให้สู่ขอกับพ่อแม่
อย่าวิ่งแร่หลงงามไปตามง่าย
เขาไม่เลี้ยงไล่ขับจะอับอาย
ต้องเป็นม่ายอยู่กับบ้านประจานตัว" หรืออีกบทหนึ่งว่า
"จงรักนวลสงวนงามห้ามใจไว้
อย่าหลงใหลจำคำที่ร่ำสอน
คิดถึงหน้าบิดาและมารดร
อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี
เมื่อสุกงอมหอมหวนจึงควรหล่น
อยู่กับต้นอย่าให้พรากไปจากที่
อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี
เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์"
     การอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยที่บนฐานของเหตุและผล แสดงภูมิรู้ของตนออกมาไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน จะสะท้อนความคิดของนักเรียนได้ดี และกิจกรรมที่นักเรียนได้กระทำในชั่วโมง ลองให้นักเรียนทุกคนเขียนสรุปตามแบบของตนเองแล้วจะได้ผลงานที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป  เป็นการเขียนสื่อความที่สะท้อนความคิดของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
หมายเลขบันทึก: 304373เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2009 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท