Archanwellเขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2549 00:51 น. ()
แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2555 13:20 น. ()
ประเทศไทยภาคยานุวัติอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งทำให้อนุสัญญานี้มีผลในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ลังเลมากว่า จะบันทึกเรื่องอะไรดีหนอ วันนี้ มีเรื่องราวหลายเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เอาเรื่องนี้ล่ะ "คำสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ ๓๖๐/๒๕๔๙ เรื่องคณะกรรมการเพื่อพิจารณากรอบแนวทางการจัดทำรายงานประเทศตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ"
วันนี้ ได้รับคำสั่งดังกล่าวนี้แหละ มีหนังสือกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมาถึงเพื่อ "โปรดทราบ" แต่ยังไม่ได้ว่า จะต้องทำอะไรชัดๆ ในคำสั่งบอกว่า เราจะต้องมีอำนาจหน้าที่ ๔ อย่าง กล่าวคือ (๑) เสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาการจัดทำกรอบแนวทางการจัดทำรายงานประเทศตามตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (๒) ศึกษารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและข้อเสนอแนะด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาการจัดทำรายงานประเทศตามตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสม และ (๔) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ประธานกรรมการมอบหมาย
เป็นงานที่คงจะน่าสนใจนะ รอดูกันไป
มองไปรอบตัว เห็นการละเมิดอนุสัญญาเพียบเลย แล้วจะรายงานแบบตรงไปตรงมาไหมเนี่ย แต่ก็น่าสนใจว่า กรมนี้เขาตั้งเราไปเป็นกรรมการ ทั้งที่เขาน่าจะรู้นะว่า เรามีข้อมูลที่ภาคราชการละเมิดสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย และเราก็ไม่ยอมพูดเท็จแน่นอน เมื่อประเทศของเราผิด เราก็ต้องรับผิด จริงไหม อยากรู้จังว่า เนื้อหาของรายงานนี้จะเป็นอย่างไรหนอ
นึกๆ ดูแล้ว ก็สงสัยนะว่า ความคืบหน้าของงานเกี่ยวกับคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์นั้น น่าจะมาจากการที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญานี้ใช่ไหมหนอ ?
ประเทศไทยภาคยานุวัติอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งทำให้อนุสัญญานี้มีผลในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
แล้วจะมาเล่าต่อค่ะว่า งานนี้เป็นอย่างไร
ความเห็น
ยังไม่มีความเห็น