การพัฒนานักวิจัยใหม่ ควบคู่ไปกับอาจารย์พี่เลี้ยง


พัฒนานักวิจัยใหม่ พัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อเกิดความเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม

 วันที่ 28 ก.ย.52 จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย สำหรับโครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2552

โครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มข.ปี 2552

* มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ          จำนวน  79 คน

* เสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน  จำนวน  49  โครงการ

 หัวข้อการประชุม

  • เพื่อพิจารณา กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอโครงการวิจัย สำหรับนักวิจัยใหม่ ที่เสนอขอรับทุนจากมหาวิทยาลัย ประจำปี 2552

 Vja4

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 สาขา (สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ รวมประมาณ 25 คน ประกอบด้วย

1. ศ.ดร.อารันต์  พัฒโนทัย    ประธานที่ปรึกษา (ทำหน้าที่แทนประธาน)

2. รศ.ดร.สุจินต์  สิมารักษ์      ที่ปรึกษา

3. คณะกรรมการ

    1) กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาทิ รศ.ดร.วิชัย  อึงพินิจพงศ์, ผศ.ดร.นฤมล ลีลายุวัฒน์, รศ.ดร.ตรีเพชร  กาญจนภูมิ,

    2) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ รศ.ดร.สมปอง ธรรมศิริรักษ์, รศ.ดร.ศักดา  ดาดวง, รศ.งามนิจ  นนทโส, รศ.ดร.สิรินดา ยุ่นฉลาด, รศ.ดร.คมกริช พิมพ์ภักดี, ผศ.ดร.ประสาท  โพธิ์นิ่มแดง, ผศ.สมโภชน์ สุดาจันทร์

    3) กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ รศ.ดร.คงศักดิ์  ธาตุทอง, รศ.ทัศนีย์ ทองพิมพ์, รศ.สุนีย์  เลี่ยวเพ็ญวงษ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ

* นายภูมิภักด์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย ผู้ดำเนินการประชุม

* นางรัชนี  รุ่งวงษ์,  นางสาวงามจิตร กุดจอมศรี  (ผู้รับผิดชอบและดำเนินโครงการ)

รูปแบบการพิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอขอทุน แบ่งเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1  โครงการวิจัยที่มีการปรับปรุงแก้ไขชัดเจน สมบูรณ์ คณะกรรมการผ่านความเห็นชอบ เพื่ออนุมัติให้ทำสัญญารับทุน

ส่วนที่ 2  โครงการวิจัยที่ไม่ชัดเจน ไม่สอดคล้อง และงบประมาณไม่ถูกต้อง คณะกรรมการให้นัดพบปะ ระหว่าง นักวิจัย + อาจารย์ที่ปรึกษา(ของคณะ/หน่วยงานนั้น) + Mentor ประจำกลุ่มสาขาที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกันอีกครั้ง เพื่อเสนอแนะในการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (Mentor) กลางในการเห็นชอบเพื่อการอนุมัติและทำสัญญารับทุนตามลำดับต่อไป

ตัวอย่างข้อเสนอโครงการวิจัยที่ไม่สมบูรณ์ รอการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งก่อนให้ความเห็นชอบ เช่น

  • ชื่อโครงการไม่ชัดเจน ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา รวมทั้งงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนงานและกิจกรรมที่วางไว้
  • การทบทวนเอกสาร ยังขาดข้อมูลอ้างอิง
  • ระเบียบวิธีวิจัย ยังไม่ชัดเจน ไม่ใส่รายละเอียดให้ชัดว่าจะทำอะไร ทำแล้วได้อะไร ตอบสนองต่อหน่วยงานใด และผลเกิดอะไร
  • การตั้งงบประมาณยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ให้ไว้ มีการตั้งนอกเหนือจากที่กำหนด ทำให้เนื้อหาและงบประมาณไม่สอดคล้องกัน
  • ฯลฯ

 Vja1

Vja2

สรุปผลการประชุม

   โครงการวิจัยที่เสนอขอทุน จำนวน 49 โครงการ

      - ผ่านการเห็นชอบแล้ว  จำนวน 39 โครงการ

      - รอการพบปะอีกครั้ง    จำนวน  10  โครงการ

Vja3

ก่อนปิดประชุม  ประธานที่ประชุม โดย ศ.ดร.อารันต์ พัฒโนทัย ได้เสนอแนวทางในการขับเคลื่อนระบบอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง (Mentor) แก่นักวิจัยใหม่ ดังนี้

  1. เสนอให้ฝ่ายจัดการ ทำวิจัยสถาบันค้นหาคำตอบว่า ผู้เข้าอบรมจำนวน 79 คน แต่ส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน เพียง 49 โครงการ ส่วนที่เหลือทำไมไม่ขอทุน โดยศึกษาเปรียบเทียบประกอบกับการจัดฝึกอบรมทุกรุ่นที่ผ่านมา
  2. สร้างและพัฒนาระบบให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงในการพัฒนานักวิจัยใหม่ โดยกำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย คณะ/หน่วยงาน นักวิจัย ต้องให้ความร่วมมือทุกส่วน อาทิ การจัดหาพี่เลี้ยงแก่นักวิจัย ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญสาขานั้นๆ ของคณะ/หน่วยงาน เพื่อเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงแก่นักวิจัยใหม่
  3. จัดเวทีให้อาจารย์พี่เลี้ยง +นักวิจัย ได้พบปะกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรึกษาหารือการทำวิจัย
  4. นักวิจัยใหม่ ควรได้รับการบ่มเพาะอย่างถูกวิธีของระเบียบวิธีวิจัย เพื่อทำวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีเวทีการพบปะระหว่าง Mentor อาจารย์พี่เลี้ยง และนักวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนระหว่างกันในการทำวิจัยอย่างแท้จริง
  5. ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลงานบรรลุผลสัมฤทธิ์
  6. จัดให้มีการ site visit ตามหน่วยงานของนักวิจัย เพื่อให้คณะกรรมการ (Mentorกลาง) ได้พบปะ เยี่ยมเยียน และพูดคุย แลกเปลี่ยนระหว่างคณะกรรมการ (Mentor กลาง)แต่ละสาขา + อาจารย์ที่ปรึกษาของคณะ/หน่วยงาน และนักวิจัย โดยจัดกิจกรรมดังกล่าวหมุนเวียนไปตามคณะ/หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย
  7. จัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานของนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข และเป็นแนวทางในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
  8. ติดตามผลงานวิจัยของนักวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงาน เพื่อนำเสนอแนวทางด้านการวิจัยต่อมหาวิทยาลัย

((((ดังภาพการประชุมคณะกรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น))))

หมายเลขบันทึก: 301676เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 05:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กำลัง review เพื่อเขียน โครงร่าง 

โอกาสต่อไปคงได้ส่งขอค่ะ

คงจะแอบขอคำแนะนำจากพี่ แน่ๆ  

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์บัวปริ่มน้ำ

  • ผมมาทักทาย มารับรู้เรื่องราวดีๆ มีประโยชน์มากมาย
  • ขอให้อาจารย์ มีความสุขทั้งใจกาย ตลอดปีและตลอดไปนะครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยสายฝนค่ะ

            

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

  • ไม่ได้เข้ามาทักทายซะนาน ขอบคุณค่ะ
  • แล้วจะนำมาฝาก แลกเปลี่ยนเรียนรู้บ่อย ๆ ค่ะ นี่ ก็จะจัด workshop 29-30 มีค 53 อีกแล้ว เพื่อฝึกวิเคราะห์หัวข้อวิจัยที่จะทำ ให้กับนักวิจัยใหม่ มข. ปี 2553 ที่ นาข่าบุรีรีสอร์ท อ.เมือง จ.อุดรธานี
  • คอยติดตามนะคะ

แวะมาชื่นชม ผลงานดี ๆ ครับผม (รับทราบในที่ประชุม)

คุณบัวปริ่มน้ำครับ นำรายชื่องานวิจัย 39 โครงการที่ผ่านการพิจารณาเผยแพร่หน่อยนะครับ จะได้คอยติดตามผลเมื่อวิจัยเสร็จต่อไป

  • กราบขอบพระคุณ ครูหยุย มากที่ให้เกียรติมาแชร์ และเสนอแนะ
  • ความคืบหน้าทุนดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในช่วงระยะครึ่งโครงการ (6 เดือน) ซึ่งประเมินความก้าวหน้าไปแล้วเมื่อ มิย 53
  • ความคืบหน้าอย่างไร จะนำมารายงานเพื่อเผยแพร่ ตามที่ท่านเสนอแนะ ค่ะ
  • ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 

สวัสดีครับ อาจารย์ ตามหลังอาจารย์ มาจากบ้านครูหยุบ มาศึกษางานวิจัย ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ตามท่านข้างบนนี้มาค่ะขอบคุณที่แบ่งปันสาระดีๆให้ได้เรียนรู้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท