การสร้างและการหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


นวัตกรรม

ชื่อเรื่อง                  การสร้างและการหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้รายงาน         อัญมณี  ถิ่นจอม

ตำแหน่ง               ครู ชำนาญการ   โรงเรียนบ้านแม่จะเราสองแคว

                           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2

ปีที่จัดทำ              2551

 บทคัดย่อ

                          การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่จะเราสองแควจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน  หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 เล่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้รายงานได้ดำเนินการสอนและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน

                        ผลการศึกษา พบว่า

                         1.  ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างใช้หนังสือ อ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษา    ปีที่ 4  ทั้ง 10 เล่ม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.32  คิดเป็นร้อยละ 83.20 และค่าเฉลี่ย ของคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.26 คิดเป็นร้อยละ 82.60  นั่นคือหนังสืออ่านเพิ่มเติม    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เท่ากับ 83.20/82.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 

                         2.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษา    ปีที่ 4  จากผลเปรียบเทียบค่าคะแนนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 เล่ม พบว่า ทุกเล่มมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที (t-test) พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 10 เล่ม ต่ำสุด 21.65 สูงสุด 34.32 ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

                        3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เนื้อหามีความหลากหลาย น่าสนใจ รองลงมา เนื้อหาและรูปภาพมีความสัมพันธ์กัน และมีความสุขและสนุกกับเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 301401เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจแทนเด็กๆ

ที่คุณครูใส่ใจเรื่องการเขียนอ่าน

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท