รายการสายใย กศน. 14 กันยายน - 19 ตุลาคม 2552


14 ก.ย.52 เรื่อง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ “บ้านกินอิ่ม นอนอุ่น”, 21 ก.ย.52 เรื่อง “ห้องสมุดประชาชน 3ดี G7”, 28 ก.ย.52 เรื่อง "ค่ายพุทธบุตร-พุทธธรรม", 5 ต.ค.52 เรื่อง "วิสาหกิจชุมชน บ้านหนองเผือก", 12 ต.ค.52 เรื่อง "ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง", 19 ต.ค.52 เรื่อง "บูรณาการเพื่อการเรียนรู้รายบุคคล"

รายการสายใย กศน.  วันที่  19  ตุลาคม  2552

         เรื่อง “บูรณาการเพื่อการเรียนรู้รายบุคคล”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากรประกอบด้วย
         - นายบุญทรง  จิโนเป็ง ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดพะเยา
         - นางวิลาวัลย์  ไชยมงคล ผู้อำนวยการศูนย์ กศน.อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
         - นายภาณุวัฒน์  สืบเครือ ครูอาสาฯ ศศช.บ้านหนองห้า อ.เชียงคำ
         - ด.ญ.นาถอนงค์  ชนาทิป ( นาอือ  จะจ๋า ) นักศึกษา กศน. ศศช.บ้านหนองห้า

         บ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้า ติดเขตชายแดนลาว เดิมปลูกฝิ่น   สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จไปเห็นว่าป่าถูกถางเพื่อปลูกฝิ่น ประกอบกับชาวไทยภูเขาร้องทุกข์เรื่องไม่มีที่อยู่ทำมาหากิน พระองค์จึงให้จัดตั้งบ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้นที่บ้านหนองห้า เพื่อรักษาป่าที่สมบูรณ์ไม่ให้ถูกทำลาย ฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลาย ทั้งป่าธรรมชาติและป่าไม้ใช้สอย  พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้มีอาชีพ มีที่ทำกิน ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน โดยราษฎรเป็นผู้รักษาป่า
         ครั้งแรกนำชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง เย้า อาข่า มูเซอ เผ่าละ 4 ครอบครัว มาอาศัยในบ้านพักในโครงการ มีการทำถนน สาธารณูปโภค   โดยพระองค์เสด็จมาที่บ้านเล็กในป่าใหญ่หลายครั้ง รับสั่งให้มีธนาคารข้าว , ทำเครื่องเงินเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ, ปักผ้าให้ผืนใหญ่ขึ้น, ทำเครื่องเรือน, เลี้ยงปลาจีน-ปลาเป๋าฮื้อ, ปลูกผักสวนครัว, ปล่อยปลาในลำห้วย  ( ปัจจุบันมี 58 คน )
         (โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ภาคเหนือมี 4 แห่ง ที่เชียงใหม่ 3 แห่ง ที่พะเยา 1 แห่ง)

         ต่อมา กศน.จ.พะเยา, กศน.อ.เชียงคำ เข้าไปตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านหนองห้า ( ปัจจุบันมีนักศึกษา 16 คน ) ใช้หลักสูตร ศศช. บูรณาการทุกเรื่องของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ป่าไม้, พัฒนาที่ดิน, กรมการข้าว, กรมวิชาการเกษตร ( ส่งเสริมกาแฟ), กรมส่งเสริมการเกษตร ( ไม้ตัดดอก ), สาธารณสุข, ศูนย์ฝึกชายแดน ( ศิลปาชีพ ), ทหาร, อบต., อำเภอ,จังหวัด
         หลักสูตรเน้นให้คนอยู่กับป่า เช่นเรื่องสิ่งแวดล้อม การทำมาหากิน ศิลปวัฒนธรรม มีหลายชั้นเรียนตั้งแต่ระดับเตรียมความพร้อมจนถึง ม.3   ปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นทุกปี ( หลักสูตรการปลูกกาแฟ, แปรรูปกาแฟ, ปลูกข้าวน้ำรู, ปลูกมันฝรั่ง และอื่น ๆ )   ยึดความแตกต่างระหว่าง 4 ชนเผ่า เป็นรายบุคคล ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละคน ทุกคนมีแฟ้มสะสมงาน
         นาอือ ชอบอ่านหนังสือ เก่งคณิตศาสตร์ ให้เป็นผู้จัดการร้านค้าสวัสดิการชุมชน( มีที่มาจากการทำแผนชุมชน ), จะลอ ถนัดการตอกลายเครื่องเงิน, อะแต อายุ 14 ปี เรียนไม่เก่ง เก่งการเกษตร ขับรถแทรกเตอร์ได้, อาจุ๋ม ขี้อาย ถนัดงานปักผ้า จึงส่งเสริมด้านศิลปาชีพ, บางคนเป็น อสม.
         เน้นกิจกรรม ( ปฏิบัติ ) ยืดหยุ่น   มีครูดอย ( ครู ศศช. ) 2 คน อยู่ในพื้นที่เดือนละ 22 วัน  มีคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมความเร็วสูง ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมู่บ้าน

         กศน.จังหวัด สนับสนุน สื่อ-ยานพาหนะ-การพัฒนาอาคารสถานที่-บุคลากร-การอบรม-นิเทศติดตาม


รายการสายใย กศน. วันที่  12  ตุลาคม  2552

 

         เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์ ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายสุรชัย  จันทร์สถาพร ผอ.สนง.กศน.จ.กระบี่
         - นายชรินทร์  แกล้วทนงค์ ผอ.กศน.อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
         - นายบัวไล  แสนอุบล ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.คลองยาว อ.อ่าวลึก

         ( มีการมอบผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปของ จ.กระบี่ ให้ผู้ชมที่โทรศัพท์เข้าไปในรายการ )

         เดิม กศน.อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ค้นหาบุคคลที่ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวอย่างที่ดี และจัดศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( เพราะมีประชาชนที่ลงทะเบียนผู้ยากจนจำนวนไม่น้อย ) ที่พื้นที่ 13 ไร่ ของนายซ่อแล่  สังหลัง ต.อ่าวลึกน้อย ซึ่งเป็นประชาชนชาวมุสลิม ( ต.อ่าวลึกน้อย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ) โดยจัดเป็นฐานจัดการความรู้ต่าง ๆ ในพื้นที่ของ นายซ่อแล่ เช่น ฐาน หญ้าแฟก มะพร้าวน้ำหอม ปลูกผัก ปลูกมะนาว ฯลฯ จนเป็น Best practices ของภาคใต้

         ต่อมา พบว่า ครอบครัวนายบัวไล  แสนอุบล เป็นครอบครัวอบอุ่น ดำเนินชีวิตภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตัวจริง ส่งลูก 4 คน เรียนจบปริญญา จึงตั้งศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มที่พื้นที่ 62 ไร่ ของนายบัวไล ที่ ต.คลองยาว โดยนายบัวไลทำสวนปาล์มเป็นหลัก ผลผลิตต่อไร่เกินเกณฑ์ที่ทางเกษตรรณรงค์อยู่ก่อนแล้ว ทั้งที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลย
         นายบัวไลเป็นคนจังหวัดสกลนครนคร ไปทำงานรับจ้างวันละ 3-400 บาท 25 ปี ซื้อที่ได้ 62 ไร่
         ในบริเวณพื้นที่ของนายบัวไลนี้ มีการ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู่ป่าประมาณ 90 ตัว ปลูกปาล์ม ฯลฯ มีป้ายนิทรรศการ
         เลี้ยงหมูป่าแบบปล่อยในสวน ให้กินหญ้า ( ไม่ต้องถางหญ้า ) กินกล้วยป่า แต่เรียกให้อาหารสำเร็จรูปเพียงครั้งละครึ่งกระสอบ เพื่อฝึกให้เรียกมารวมกันได้ ( เรียกว่า มา ๆ ๆ ) โดยต้องเริ่มเลี้ยงตั้งแต่อายุ 3 เดือน ( 10 ก.ก. ) หมูจึงจะคุ้น ( ใช้สายไฟปล่อยกระแสไฟฟ้า 2 โวลท์ ล้อมสวน ) ขายหมูป่าได้ปีละเป็นแสน
         การปลูกปาล์ม ปลูกห่าง 9 X 9 เมตร  ขุดหลุมพอหลวมถุง ไม่ต้องถมโคน ถ้าถมจะโตช้า ( ถ้าก้านใบชี้ตรงไม่แยกออก จะเป็นปาล์มตัวผู้ )
         รับน้ำเสีย ( ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ) จากโรงงาน มาไว้ในบ่อ ใช้รดต้นปาล์ม ( ต้นปาล์มต้องการน้ำมาก ) โดยไม่ใช้ปุ๋ยเลย ( มีมูลหมูป่าที่ขับถ่ายไว้ทั่วไปในสวน )

         ดำเนินการร่วมกับ กศน. มา 1 ปี ได้ออกสื่อต่าง ๆ ทำให้มีคนมาศึกษาดูงานมากทั้งที่พื้นที่อยู่ลึก เดินทางไปลำบาก มาจากทั้งในและต่างประเทศ ( ต่างประเทศมาดูงานเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงาน ) มีคนโทรศัพท์จากแหล่งต่าง ๆ ไปปรึกษาเรื่องต่าง ๆ รายได้มากกว่าเงินเดือน ส.ส. แต่อยู่อย่างพอเพียงเรียบง่ายเป็นตัวอย่างให้ลูก

         กศน.จ. ให้กำลังใจ กศน.อ. ในการทำงาน และส่งคณะศึกษาดูงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   นายอำเภอสนับสนุน ทำให้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย   ปีนี้ กศน.อ.อ่าวลึก จะนำเข้าหลักสูตรสถานศึกษา และขยายผลสู่ชุมชนรอบ ๆ รวมทั้งกำลังจะเปิดศูนย์ฯใหม่ที่ ต.อ่าวลึกใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวมาก เป็นศูนย์ระดับอำเภอ

         ขอเสนอแนะแก่ กศน.อ.อื่น ในการเปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเลือกภูมิปัญญาที่แรง ( เป็นตัวอย่างได้อย่างดี ชัดเจน น่าสนใจมาก ) และมีองค์ประกอบอื่น เช่น โฮมสเตรย์ อาหารพื้นบ้าน


รายการสายใย กศน.  วันที่  5  ตุลาคม  2552

         เรื่อง “วิสาหกิจชุมชน บ้านหนองเผือก”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากรประกอบด้วย
         - นายสถิต  แท่นทอง ผู้อำนวยการศูนย์ กศน.อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
         - นายสมหวัง  มาแก้ว ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านหนองตาไก้เผือกใต้วิทยา
         - นายเฉลิมศักดิ์  มาแก้ว ประธานกลุ่มอาชีพ อ.วาปีปทุม
         - เกสร  เมิกข่วง ครูอาสาสมัครฯ อ.วาปีปทุม
         - กุหลาบ  นาเจิมพลอย ครู ศรช. อ.วาปีปทุม

         บ้านหนองเผือก ม.3 ต.หนองทุ่ง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการจัดการวิสาหกิจชุมชน เป็นตัวอย่างได้ ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ (เกษตร ปศุสัตว์ อนามัย-สาธารณสุข อบต. ฯลฯ ทั้งระดับตำบล-อำเภอ-จังหวัด)
         บ้านหนองเผือก อยู่ห่างจากอำเภอ 8 กม. ห่างจากจังหวัด 37 กม. มีวิสัยทัศน์ว่า “มองการไกล ร่วมใจพัฒนา สืบทอดภูมิปัญญา ก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ”   มีคำขวัญว่า “แหล่งอู้ข้าวจ่อกำเนิด เลิศล้ำสามัคคี คุณธรรมนำชีวี ตลอดปีมีงานทำ”  มีเอกลักษณ์คือ ลิง กับ จ่อ (สำหรับเลี้ยงไหม )
         เดิมหมู่บ้านหนองเผือกมีปัญหาหลายอย่าง เช่น สิ่งเสพติด แห้งแล้งกันดาร มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาก
         กศน. ร่วมกับเครือข่าย ออกสำรวจข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาปรึกษาหารือ จัดเวทีชาวบ้าน ดำเนินการทำแผนชุมชน ร่วมแรงร่วมใจจัดการพัฒนาอาชีพในชุมชน เช่น
         - กลุ่มเพาะเห็ด
         - กลุ่มจักสานจ่อ
         - กลุ่มปลอดสารพิษ
         - กลุ่มเลี้ยงหมูหลุม ( เปลี่ยนจากหมูคอก : ได้รางวัลหลายรางวัล )

         - อาชีพและกิจกรรมอื่น ๆ เช่น กลุ่มทำไร่นาสวนผสม, ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ( เศษผักให้หมู ขี้หมูให้ผัก ), ใช้จักรยานปั่นน้ำลดพืชผัก, ละครลิงขายยาสมุนไพร กลุ่มออมทรัพย์ ( กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้าน, สัจจะกองทุนหมู่บ้าน, ออมทรัพย์วันละบาท เด็กจบ ป.6 จะมีเงินออมคนละประมาณ 20,000 บาท ) เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในระดับตำบล-อำเภอ-จังหวัด, จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกครัวเรือน, มีการรักษาแหล่งน้ำ-ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม, ใช้เศษไม้ไผ่จากการทำจ่อมาทำที่ใส่ขยะลอยฟ้า, เลี้ยงปลา, เลี้ยงไก่พื้นเมือง, จัดทำซุ้มประตูกินได้โดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ, ลดละเลิกอบายมุขโดยสมาชิกในครัวเรือนไม่เสพสิ่งเสพติดไม่เล่นการพนัน อยู่ในศีลธรรมอันดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของหมู่บ้าน ฯลฯ
         การเลี้ยงหมูหลุม เป็นหมูธรรมดา เล้าขนาด 3 X 5 เมตร เลี้ยงได้ 10 ตัว 4 เดือน 10 วัน ขายได้กำไรประมาณตัวละ 1,000 บาท ขุดภายในเล้าเป็นหลุม ปูแกลบ ใส่สาร EM ไม่มีกลิ่น เปิดเพลงให้หมูฟังคลายเครียด หมูอารมณ์ดีวิ่งเล่นเพาะพื้นไม่ลื่นทำให้ไมีมันน้อย หลังขายหมูแล้วพื้นหลุมเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี สมาชิกกลุ่มแยกกันเลี้ยงแต่การจำหน่ายปรึกษาหารือกัน

         นอกจากนี้ กศน. ยังให้การศึกษาเรื่องการบริหารจัดการ การทำบัญชี   ครู ศรช. จัดการศึกษาพื้นฐานระดับ ม.ต้น-ปลาย และสายอาชีพ เช่น นวดแผนโบราณ, อาหารขนม, ช่างเชื่อมโลหะ, ถ้าอายุ 59 ปีขึ้นไป ( ผู้สุงอายุ ) ให้ความรู้เรื่อง “การดูแลรักษาสุขภาพ” โดยเครือข่ายสถานีอนามัย     กศน. ทุ่มเทงบประมาณลงไปที่หมู่บ้านนี้
         ครูอาสาสมัครฯ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถม สร้างหลักสูตรบูรณาการ นำวิถีชีวิตมาเทียบโอนเนื้อหา เหลือเวลาเรียน 1 ภาคเรียนจบ
         ร่วมกับเครือข่ายจัดกิจกรรม “ฐานอาชีพ” ในหมู่บ้าน ครั้งละ 1 วัน เช่นเรื่อง การรักษาโรคสัตว์, อาหารขนม ( ขนมครกโบราณ, ทองม้วน, ถั่วคั่ว )
         การพัฒนาหมู่บ้าน เริ่มต้นจากครอบครัวสู่ชุมชน “วิถีชีวิตสู่ความพออยู่พอกิน”

         ปัจจุบัน บ้านหนองเผือก ไม่มีคนว่างงาน ทำงานอยู่ในหมู่บ้าน 90 % นอกหมู่บ้าน 10 % รายได้สูงกว่าเกณฑ์ อยู่ระดับแนวหน้าของจังหวัด ครอบครัวอบอุ่น แต่ละบ้านไม่ค่อยมีรั้ว แลกเปลี่ยนอาหารการกิน ฝากบ้านไว้กับบ้านข้าง ๆ ได้ ( ช่วยลดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ) 4-5 ปีมานี้ไม่เคยมีคดีลักขโมย ประชาชนคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น พัฒนาตนเองได้ มีผู้มาดูงานมาก ( เรื่องกลุ่มออมทรัพย์-การทำบัญชี ) มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เข้าไปร่วมกับ กศน. ทำวิจัยเพื่อการพัฒนาต่อไป
         ไม่ค่อยมีปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เช่น ภาวะผู้นำ, ทุกครอบครัวมีส่วนร่วม
         ยังต้องพัฒนา กศ.พื้นฐาน และพัฒนาอาชีพ ต่อเนื่องต่อไป ให้เป็นหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนที่สมบูรณ์ที่สุด


รายการสายใย กศน. วันที่  28  กันยายน  2552

          เรื่อง “ค่ายพุทธบุตร-พุทธธรรม”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์ ดำเนินรายการ
         วิทยากรโดย พระปัญญานันทมุนี วัดปัญญานันทาราม กับ พระครูปลัดสุเทพ  ปัญญาวชิโร วัดภาษี(เอกมัย)

         วัดปัญญานันทาราม ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จัดค่ายพัฒนาคุณธรรมให้แก่นักเรียนนักศึกษาทั้งในและนอกระบบและประชาชนทั่วไป โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท
         - ค่ายพุทธบุตร ( 3 วัน ) สำหรับนักเรียนในระบบ เน้นศีลธรรม มากกว่า สัจธรรม
         - ค่ายพุทธธรรม ( 5 วันขึ้นไป ) สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เน้นสัจธรรม มากกว่า ศีลธรรม
         - ค่ายคุณธรรม สำหรับประชาชนทั่วไปรวมทั้งนักศึกษา กศน.

         ( ต้องจองเข้าค่ายล่วงหน้าเป็นปี )

         ( นอกจากนี้ พระปัญญานันทมุนี ยังเชิญชวนให้วัดต่าง ๆ จัดโครงการเปิดวัดวันอาทิตย์ ปีที่แล้วจัด 80 วัด ปีนี้จะเพิ่มเป็น 120 วัด )


         วัดภาษี(เอกมัย) เป็น ศรช. ของ กศน. มีนักศึกษาประมาณ 200 คน  พระครูปลัดสุเทพ  ปัญญาวชิโร ได้นำนักศึกษา กศน. ที่จะจบ ม.ต้น ม.ปลาย ไปเข้าค่ายคุณธรรมที่วัดปัญญานันทาราม ปีละครั้ง
         ในการเข้าค่าย นักศึกษาต้องตื่น 04:00 น.
         04:30 น. พร้อมกันที่ห้องประชุม สวดมนต์ภาวนา
         หลังจากนั้นออกบำเพ็ญประโยชน์ กวาดขยะ ถูพื้น รดน้ำต้นไม้
         กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่เน้น 2 ด้าน
         1) ด้านกาย
             ฝึกให้อยู่อย่างต่ำได้ โดยให้ กินข้าวจานแมว ( คลุกผสมกัน ), อาบน้ำในคู (ฝึกอาบน้ำอย่างประหยัด), นอนกุฏีเล้าหมู ( เป็นห้องโถงใหญ่ยาว ไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ เพื่อให้ตื่นพร้อมกัน ), ฟังยุงร้องเพลง ( ถ้าไม่ระมัดระวังในการนอนในมุ้ง )
         2)  ด้านจิต
              ตรงต่อเวลา, วาจาไพเราะ, สงเคราะห์ช่วยเหลือ, ทำความเชื่อให้ตรง ( เชื่อว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ),  ดำรงตนให้น่ารัก ( กายอ่อนน้อม, วาจาอ่อนหวาน จิตใจอ่อนโยน ), รู้จักละวางเพื่ออนาคต

         นักศึกษาที่ผ่านการเข้าค่ายคุณธรรมแล้ว คนใกล้ชิดจะเห็นการเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้นชัดเจน เช่น กลับไปบ้านไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอกทุกวัน


รายการสายใย กศน.  วันที่  21  กันยายน  2552 

         เรื่อง “ห้องสมุดประชาชน  3ดี  G7”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์  วิทยากรประกอบด้วย นายประยงค์  โคกแดง ผอ.สนง.กศน.จ.อุดรธานี, สุดารัตน์  คำภา บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุดรธานี และ วัลภา  ศรีปะโค บรรณารักษ์ชำนาญการ กศน.อ.เพ็ญ

         นโยบาย 3D ของกระทรวงศึกษาธิการ มีเจตนาพัฒนาห้องสมุดฯให้เชื่อมโยงวาระแห่งชาติเรื่องส่งเสริมการอ่าน
         D1 หนังสือดี ( สื่อสร้างสรรค์ปัญญา ตรงใจผู้อ่าน เนื้อหาไม่เป็นพิษเป็นภัย )
         D2 บรรยากาศดี ( ดึงดูดคนไปใช้ห้องสมุด )
         D3 บรรณารักษ์ดี ( มีจิตบริการ)

         จากการพัฒนาให้ห้องสมุดมีชีวิต ของ กศน.จ.อุดรธานี ได้ประชุมบรรณารักษ์ 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2551 ร่วมกันกำหนด “ห้องสมุด 7 ชีวิต”  และปี 2552 นี้ นำมาปรับให้สอดคล้องกับนโยบาย 3D เป็น “ห้องสมุด 3ดี G7”  โดย 3ดี เป็นเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่จะไปให้ถึง  และ G7 เป็นพันธกิจและมาตรฐานที่จะนำไปสู่ 3ดี
         องค์ประกอบของ G7 คือ
         G1 Good Decorate = จัดตกแต่งอาคารสถานที่ ( ข้างนอกร่มรื่น เย็นกายเย็นใจ ในสหวะสหวาง งามตาสง่าราศี )
         G2 Good Corporate = มีคนช่วยดำเนินการ ( คิดดี ทำดี มีคนช่วย ) ( เครือข่าย, อาสาสมัคร )
         G3 Good Management & Good Services = ระบบบริหารและบริการดีมาก ( คณะกรรมการเจ๋ง บรรณารักษ์แจ๋ว แผนเยี่ยม งานเดิน ประเมินโครงการ รายงานโอเค )
         G4 Good Multimedia & Good Activities = หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรม ( มากมายด้วยสื่อสร้างสรรค์ หรรษาด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย )
         G5 Good Technology = นำด้วยเทคโนโลยี ( เทคโนโลยีนำสมัย ไฉไลด้วยอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์อัพเดตทันเวลา จัดหา e ให้ครบ )
         G6 Good Potential = มีพลัง ( เป็นผลพวงจาก G1 - G5 ผู้ใช้เพิ่ม คนเดิมมา มากด้วยอาสา นำพารางวัลความภูมิใจ ชื่อเสียงระบือไกล ดึงดูดคนทั้งปฐพี )
         G7 Good Public Relations = สร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์ ( เช่น จัดกิจกรรมวันสำคัญ )
         ( G7 เปรียบเหมือน SAR ของห้องสมุดฯในการประกันคุณภาพ-ประเมินตนเอง )

         จาก 3ดี G7 นำมากำหนดเป็นมาตรฐานและตัวชี้วัด ให้เป็นแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน ( ส่งเอกสารให้ทุกจังหวัดแล้ว )
         ดี1 หนังสือดี มี 2 มาตรฐาน ( G4 + G5 ) รวม 25 ตัวชี้วัด
         ดี2 บรรยากาศดี มี 2 มาตรฐาน ( G1 + G7 ) รวม 16 ตัวชี้วัด
         ดี3 บรรณารักษ์ดี ( เป็นหัวใจของ 3ดี ) มี 3 มาตรฐาน ( G2 + G3 + G6 ) รวม 33 ตัวชี้วัด

         ผลการประเมินรอบแรก เมื่อ 4-5 ส.ค.52 จากเกณฑ์ 5 ระดับ ( ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง แก้ไข ) 19 แห่ง เฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ ( 87.10 % ) ( รอบแรกนี้ประเมินโดยกรรมการจาก สนง.กศน.จ.อุดรธานี ) โดย
        มาตรฐานที่ 1 จัดตกแต่งอาคารสถานที่ อยู่ในระดับ ดี ( 87.10 % )
        มาตรฐานที่ 2 มีคนช่วยดำเนินการ อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง ( 57.10 % )
        มาตรฐานที่ 3 ระบบบริหารและบริการดีมาก อยู่ในระดับ พอใช้ ( 72.54 % )
        มาตรฐานที่ 4 หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรม อยู่ในระดับ พอใช้ ( 74.43 % )
        มาตรฐานที่ 5 นำด้วยเทคโนโลยี อยู่ในระดับ พอใช้ ( 70.41 % )
        มาตรฐานที่ 6 มีพลัง อยู่ในระดับ พอใช้ ( 78.43 % )
        มาตรฐานที่ 7 สร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับ พอใช้ ( 70.17 % )

         ผลการประเมิน ทำให้แต่ละแห่งรู้ตัวเอง

         ในการดำเนินการเชิงลุกออกไปนอกห้องสมุดฯ ได้จัดโครงการสร้างชุมชนนักอ่าน ผ่านอาสาสมัคร กศน. ( ชุมชนผึ้งตอมดอกไม้ : การอ่านไม่ต้องอ่านหามรุ่งหามค่ำ แต่ทยอยอ่านเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เหมือนผึ้งเก็บน้ำหวานทีละเล็กทีละน้อย ไม่ใช่อ่านเฉพาะตอนจะสอบ )
         เน้นการอ่านโดยครอบครัวอ่าน ( พ่อดี แม่ดี ลูกดี ) อ่านใบความรู้เกี่ยวกับการทำมาหากิน ที่ กศน.จ.อุดรฯพัฒนาขึ้น อ่านร่วมกันและคิดร่วมกันปฏิบัติร่วมกัน
         ทำในทุกตำบล ( 156 ตำบล ) ใน จ.อุดรธานี ตำบลละ 2 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 อาสาสมัคร 1 กระเป๋า
         หลักการของโครงการ คือ
         1. ต้องการสร้างชุมชนผึ้งตอมดอกไม้
         2. ใช้กิจกรรมการอ่านเป็นกิจกรรมนำ

         3. เนื้อหาการอ่านเป็นเนื้อหา 3D ( ประชาธิปไตย-คุณธรรมจริยธรรม-สารเสพติด )
         4. ให้ กศน.ตำบล เป็นผู้บริหารจัดการ
         5. ให้อาสาสมัคร กศน. เป็นผู้บริการการอ่าน
         6. พัฒนาอาสาสมัครและปรับสภาพพื้นฐานการอ่าน สร้างนิสัย จัดบรรยากาศ

         กลุ่มเป้าหมาย คือ
         1. กลุ่มผู้ลืมหนังสือ ( ใช้แบบเรียนเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐานของ กศน. ฝึกอ่านฝึกเขียน )
         2. กลุ่มแม่ลูกผูกพัน ( แม่อ่านและเล่าเรื่องให้ลูกฟัง เช่น นิทานสีขาว )
         3. กลุ่มผู้สูงอายุ ( เน้นหนังสือธรรมะสำหรับสอนลูกหลาน เช่น ธรรมะติดปีก มีกิจกรรมแม่อ่านใหลูกฟัง ปู่ย่าสอนหลาน )
         4. กลุ่มอาชีพ ( หนังสือ มันสำปะหลังเพื่อชีวิตพิชิตความจน, นาอินทรีย์วิถีปลอดภัย )
         5. กลุ่มเด็กและเยาวชน
         6. กลุ่มนักศึกษาพื้นฐาน กศน. ( หนังสืออ่านนอกเวลาเรียน เช่น หนังสือรางวัลซีไรท์ )

         บรรจุหนังสือในกระเป๋า

         นอกจากนี้ มีโครงการ ดอกไม้หลากสีเคลื่อนที่สู่ชุมชน เช่น สามล้อรอรัก(การอ่าน) ติดดินแต่อินเตอร์ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์, รถ MK ( รถตุ๊ก ๆ )

         ปัญหาอุปสรรค คือ นิสัยคนไม่รักการอ่าน ไม่ชอบอ่านหนังสือ  วิธีแก้คือ ทั้งคนจัดทำและคนอ่าน ต้องขยันอดทน ทำไป อ่านไป เรื่อย ๆ 

 

 

รายการสายใย กศน. วันที่ 14 กันยายน 2552 


         เรื่อง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ บ้านกินอิ่ม นอนอุ่น

           ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์  วิทยากรประกอบด้วย นายสุประณีต  ยศกลาง ผอ.สนง.กศน.จ.กาฬสินธุ์, นายคมสัน  สารแสน ผอ.กศน.อ.ห้วยเม็ก, นายพิชัย  ภูสง่า อดีตรองนายก อบต.พิมูล, นายสุริยา  ปรุรัตน์ กำนัน ต.พิมูล และ รัชนี  เสรพล ครู ศรช.ต.พิมูล

         สนง.กศน.จ.กาฬสินธุ์ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี อยู่ภายใต้ ความรู้และการมีคุณธรรม ) มาใช้จัดโครงการหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ บ้านกินอิ่ม นอนอุ่น อยู่ดีมีสุข โดยบูรณาการกับหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กับหลักการจัดการความรู้  มีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน คือ
         1. ใช้ชุมชนเป็นฐาน
         2. บูรณาการกิจกรรมและงบประมาณจากภาคีเครือข่าย ( เน้นการทำงานเป็นทีม )
         3. ขยายปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นแหล่งการเรียนรู้
         4. ดำรงอยู่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
         โดยดำเนินการผ่านทั้ง การศึกษาสายสามัญ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม และการศึกษาตามอัธยาศัย  รวมทั้งบูรณาการกับกิจกรรมของภาคีเครือข่ายด้วย

         อ.ห้วยเม็ก เลือกดำเนินการที่หมู่บ้านพิมูล ต.พิมูล ตั้งแต่ปี 2549 โดยยึดหลักดังนี้
         1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
         2. หลักการมีส่วนร่วม ( ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมนำผลประโยชน์ไปใช้ ร่วมกันพัฒนา )
         3. หลักปรัชญาคิดเป็น ( เน้นกระบวนการคิดเป็น มีการศึกษาดูงานด้วย )
         4. หลัก PDCA ( วงจรเดรมมิ่ง )
         โดยหลังจากจัดเวทีชาวบ้านแล้ว เริ่มด้วยการ
         - สำรวจข้อมูลหมู่บ้าน / วิเคราะห์ข้อมูล
         - เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาความยากจน
         - จัดทำแผนชุมชน  แบ่งเป็น 3 ประเภท
           1) ทำได้  (ทำเอง )
           2) ทำร่วม
           3) ทำให้  ( หน่วยงานภายนอกทำให้ )

         ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล และเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะทำให้ได้ความต้องการการเรียนรู้ของชุมชน ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน   จากนั้น ดำเนินการพัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่าย ( นายอำเภอ, สนง.ปกครองอำเภอ, เกษตรอำเภอ, สาธารณสุขอำเภอ, ธกส., อบต.พิมูล ) ในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 6 ด้าน คือ 1) ลดรายจ่าย 2) เพิ่มรายได้ 3) การออม 4) การดำรงชีวิต 5) การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า 6) การเอื้ออาทร
         กิจกรรมต่าง ๆ เช่น กองทุนสวัสดิการร้านค้าชุมชน ( ลักษณะสหกรณ์ กำไรหรือทุนหมุนเวียนปีละ 2-3 แสนบาท ), กลุ่มจักสานตะกร้าด้วยพลาสติก ทอผ้า ทอเสื่อกก ทั้งใช้เองและจำหน่าย, ปลูกผักกินเอง, เลี้ยงสัตว์กินเอง, วันพระหยุดงานส่วนตัวมาทำงานส่วนรวมพัฒนาสิ่งสาธารณะ, การลงแขกเกี่ยวข้าว-ดำนา, งดเหล้าเข้าพรรษา, ไม่ดื่มเหล้าในงานศพ, เล่นกีฬา, เต้นแอโรบิค

         สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ การสนับสนุนส่งเสริมติดตามของผู้บริหารทุกระดับ ตั้งแต่ ผวจ., หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ , ครู ศรช.ลงพื้นที่เข้าหมู่บ้านเกือบทุกวัน, ชุมชนให้ความร่วมมือ ( ชุมชนเข้มแข็ง : อ.ห้วยเม็ก ได้รับรางวัลสังคมแห่งการเรียนรู้ต้นแบบระดับชาติ ปี 2551 )

         ฯลฯ


หมายเลขบันทึก: 301294เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2009 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เยี่ยมไปเลยค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ตลอด เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม

        ขอบใจจ้ะที่ ชม ผมคิดว่าส่วนใหญ่ไม่สนใจรายการสายใย กศน. กันแล้ว แต่มีบางคนจากบางอำเภอจะถามผมในเว็บบอร์ดของ สพร. เกี่ยวกับรายการสายใย กศน. ในบางวัน จึงนำมาลงในบล็อกนี้ ( อาจเป็นเพราะ ผอ.เขา ให้สรุปให้ )
        สำหรับผมคิดว่า รายการสายใย กศน. เป็นเรื่องใกล้ตัวในงานเรา จึงพยายามหาเวลาดูตลอด และ 45 % ก็จะได้ดูในเรื่องที่น่าสนใจอยากรู้ได้ประโยชน์ ส่วนอีก 55 % ก็ไม่ค่อยอยากรู้
  

จีระยุทธ กศน สังขละบุรี

ขอบคุณข้อมูลที่มีให้นะครับ

ผมก็ได้รับมอบหมายให้ดูรายการสายใย กศน แล้วสรุปเป็นรายงานเหมือนกัน

บางครั้งก็ดูไม่ทัน

ยังไงก็ขอบคุณมากๆเลยครับ

( บางตอนของรายการ สายใยกศน ก็สนุกดีนะครับ)

         ยินดีครับ คุณจีระยุทธ กศน.สังขละบุรี ที่บันทึกนี้มีประโยชน์

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำลังปรับปรุง ให้ได้ 3 D ตอนนี้เลยไม่ได้ดูสายใย กศน. ขอบคุณอาจารย์มากที่สรุปให้ทุกสัปดาห์ทำให้รู้ข้อมูลที่เป็นความรู้ และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย จะติดตามตอนต่อไปค่ะ

         ถ้าวันไหนผมได้ดู ( ไม่ได้ไปราชการ ) ก็จะสรุปทุปสัปดาห์ครับ

ขอฝากข่าว อ.เอกชัย และเพื่อนข้าราชการเจ้าหน้าที่ กศน.อำเภอทุกท่านตั้งแต่ 1 ต.ค.2552 เป็นต้นไปติดต่อได้ทื่ กศน.อ.อุทัย

ขอบคุณค่ะ อย่าลืมนะคะ

      โฮ๋.ว... แล้ว สนง.กศน.จ.อย. จะเหลือใครกี่คนครับนี่ ใครทำงานพัสดุแทนครับ ใช่พี่ชะตาหรือเปล่า

ขอส่งเทียบเชิญมาถึงคุณครู 

และกัลยาณมิตรทุกท่านด้วยนะครับ 

ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ โครงงานคุณธรรม 

ในงาน"พลังเยาวชน พลังสังคม" ครั้งที่ 1 
"ร่วมสร้างประเทศไทย...ด้วยการให้"

และร่วมเวทีเสวนา


วันเสาร์ที่ 10 ต.ค. : ถอดองค์ความรู้โครงงาน สร้างเป็นบทภาพยนต์โทรทัศน์ 
เวลา10.00-16.30น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ

วันอาทิตย์ที่ 11ต.ค. : ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ 
เวลา13.00-18.00น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ



ผมก็ถือโอกาสใช้เวทีเสวนาที่สยามกัมมาจลเป็นเจ้าภาพงาน จัดระดมความคิด หัวข้อ ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ขึ้น

ยังไงก็เรียนเชิญ กัลยาณมิตร ผู้รักแผ่นดินทุกท่าน ร่วม work shop ระดมความคิดในเวทีเสวนาได้นะครับ

 

        ขอบคุณครับ ที่  แจ้งให้ทราบ

ตอบอาจารย์เอกชัย ถูกต้องแล้วอาจารย์ชะตา ทำพัสดุ

        วันนี้เข้าไปประชุมใน สนง.กศน.จ.อย. เห็นมีเด็กหน้าใหม่ ๆ มาช่วยงาน 2-3 คน เหมือนกันนะครับ

ดิฉันได้รับมอบหมายให้ดูรายการสายใย กศน. แล้วสรุป

บางครั้งก็ดูไม่ทัน

ขอบคุณข้อมูลที่มีให้นะค่ะ

        ยินดีครับ "กศน.กมลาไสย"
        แต่ที่สรุปไว้นี้ ย่อมากๆ คงมีประโยชน์น้อยมากเมื่อเทียบกับการติดตามชมเองตลอด 1 ชั่วโมงเต็ม

แฟนรายการสายใย กศน.

ดิฉันได้รับมอบหมายให้ดูรายการสายใย กศน. แล้วสรุป

แต่วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2552 เรื่องบูรณาการเพื่อการเรียนรู้รายบุคล ดิฉันดูไม่ทัน ช่วยสรุปให้หน่อยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะค่ะ

เข้าไปดูย้อนหลังทาง เว็บไซต์ ETV ที่ http://www.etvthai.tv/veo_preview.php ได้นะครับคุณแฟนรายการสายใย กศน. ( ที่ถูกบังคับให้ดู )

จะละเอียดชัดเจนกว่า

ผอ.ให้ดูสายใย กศน.แล้วสรุปส่ง ขอบคุณมากค่ะมีประโยชน์มากเลย

ประโยชน์หรือโทษก็ไม่รู้นะคุณคน กศน.
ถ้าอ่านแต่สรุป ไม่ได้ดูโดยละเอียดน่ะ

จีระยุทธ กศน สังขละบุรี

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ต้องรับผิดชอบให้ดู สายใย กศน.คนเดียว ทั้งๆ ที่ทุกคนใน สนง.ก็น่าจะต้องดูพร้อมกัน

เพราะบางเรื่องก็ดีมีประโยชน์ ก็ต้องขอขอบคุณ อ.เอก นะคะที่สละเวลาสรุปไว้ให้ 

(ปกติจะไม่ค่อยได้ดูสด จะดูย้อนหลังซะมากกว่า)

น่าคิดนะครับ คน กศน. ไม่สนใจรายการสายใย กศน.

พี่ยังดูรายการ สายใยกศน.อยู่หรือเปล่าครับ

คือผมอยากได้สรุปรายการของเืดือนพฤษภาคม 2553 ทั้งหมดเลยครับ

รบกวนพี่หน่อยนะครับ ขอบคุณมากมายครับบบ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท