งานวันรวมวิทยาลัยชุมชน


เป็นวันที่ชาววิทยาลัยชุมชนทั้งประเทศมาพบปะลปรร.

ช่วงระหว่างวันที่ 4 – 6 กันยายน ที่ผ่านมาทางวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี โดยจัดหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวตามความต้องการของชุมชน โดยหลักสูตรระยะยาวจะจัดหลักสูตรสูงสุดที่อนุปริญญา หากนักศึกษาที่จบหลักสูตรแล้วสนใจจะได้ปริญญาบัตรก็สามารถเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาต่อเนื่องได้ วิทยาลัยชุมชนเป็นสถาบันการศึกษาสังกัดสำนักงานการอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย(สกอ.)เฉกเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  หลักการของวิทยาลัยชุมชนคือเข้าถึงง่าย ค่าใช้จ่ายถูก การบริหารของวิทยาลัยชุมชนนอกจากสังกัดสำนักงานการอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยต้องมีมาตรฐานของ สกอ. แล้ว ทางวิทยาลัยมีคณะกรรมการสภาวิทยาลัยในส่วนกลางที่ควบคุมในภาพรวม ส่วนในวิทยาลัยในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนของแต่ละจังหวัด ในการกำกับดูแลในการอนุมัติเปิดหลักสูตรหากเป็นหลักสูตรระยะสั้นสามารถอนุมัติเปิดและปิดได้ในท้องถิ่น แต่หลักสูตรระยะยาว ตัวหลักสูตรต้องผ่านการกลั่นกรองจาก สำนักงานวิทยาลัยชุมชนและคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนในส่วนกลาง ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามกฎ ระเบียบของสำนักงานการอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนแต่ละจังหวัดจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดนั้น ๆ 4  ท่าน หนึ่งในสี่ท่านต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่งในท้องถิ่นร่วมเป็นกรรมการ และต้องมีตัวแทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ตัวแทนจากองค์การพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น ตัวแทนจากภาคศาสนาในท้องถิ่น ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่า(กรณีที่มีศิษย์ที่สำเร็จการศึกษา) ตัวแทนจากหอการค้าจังหวัด และตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัด (ผู้เขียนเป็นกรรมการในส่วนจากหอการค้าจังหวัดสงขลาการคัดเลือกต้องแสดงวิสัยทัศน์องค์ความรู้ทางการศึกษา ที่สำคัญกรรมการทุกตำแหน่งต้องเป็นผู้เสียสละเวลาและอุทิศตัวเพื่อการศึกษาได้อย่างแท้จริงเพราะหากขาดการประชุม 3 ครั้งจะพ้นจากสมาชิกภาพตามระเบียบของวิทยาลัยชุมชน)

                ในขณะนี้ทั้งประเทศมีวิทยาลัยชุมชน 19 แห่ง กระจายทั่วไป สงขลาเป็นวิทยาลัยชุมชนน้องใหม่สุดตามหลักการวิทยาลัยชุมชนจะเปิดในจังหวัดที่ยังไม่มีมหาวิทยาลัยก่อน แต่เนื่องจากจังหวัดสงขลามี 4 อำเภอกันชน(อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ) ที่ประสบปัญหาเดียวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ ในภาคใต้มีวิทยาลัยชุมชนระนอง พังงา นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา ปีนี้เป็นการครบรอบเก้าปีที่เปิดวิทยาลัยชุมชนจึงมีการจัดงานที่ห้องบางกอกคอนแวนชั่นฮอลล์ ของโรงแรมเซ็นทรัลลาดพร้าว(เป็นห้องเดียวกับที่จัดประกวดนางงามจักรวาล) มีห้องจัดนิทรรศการผลงานของแต่ละวิทยาลัย  วิทยาลัยชุมชนสตูลได้นำเด็กในเกาะหลีเป๊ะที่ทางวิทยาลัยไปสอนการทำขนมปังเบเกอรี่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวไปแสดง ทางปัตตานีนำปราชญ์ชาวบ้านที่ชักชวนชาวบ้านปลูกข้าวในนาร้างโดยทางวิทยาลัยชุมชนปัตตานีช่วยด้านองค์ความรู้และตัวอย่างข้าวที่ปลูกได้ไปแสดง  ทางวิทยาลัยชุมชนยะลานำเครื่องไม้เครื่องมือทางอิเล็คโทรนิกส์ที่ทางวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนไปแสดง ทางวิทยาลัยชุมชนนราธิวาสสาธิตการทำเรือกอและ และการทำสบู่จากน้ำมันมะพร้าว ส่วนทางวิทยาลัยชุมชนสงขลาได้นำการจัดขันหมากตามวิถีมุสลิม ที่พี่น้องมุสลิมในภาคใต้ใช้ภูมิปัญญาและทางวิทยาลัยชุมชนสงขลาเปิดสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้น โดยมีผู้สนใจเข้าชมและขอแต่งตัวเป็นเจ้าบ่าวเจ้าสาวตามวิถีมุสลิมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกจำนวนมาก อีกทั้งทางวิทยาลัยได้นำผลส้มแขกสด และผลิตภัณฑ์จากส้มแขก เป็นน้ำส้มแขก แยมส้มแขกและ ซ๊อสส้มแขกไปแสดง ที่ทางวิทยาลัยชุมชนสงขลาเปิดสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้นและส่งเสริมเพราะเป็นผลิตผลที่ขึ้นเองในแถบป่าของอำเภอสะบ้าย้อย ผู้เขียนได้แนะนำทางวิทยาลัยให้เปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์เพราะขณะนี้ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่คนใต้ใช้ผลิตภัณฑ์ส้มแขกเป็นอาหารไม่ว่าแกงส้ม  หรือปลาต้มเค็ม รวมถึงหมูฮ้อง ไปบดละเอียดบรรจุแคปซูลขายเป็นผลิตภัณฑ์การ์ซิเนียโดยขายเป็นอาหารเสริม  ผู้เขียนแนะนำให้เปลี่ยนเรียกเป็นน้ำการ์ซิเนีย แยมการ์ซิเนีย และซ๊อสการ์ซิเนีย (และผู้เขียนกำลังจะเอาส้มแขกแช่อิ่มไปทดลองทำไอศกรีม การ์ซิเนียดูด้วยครับ)

                ส่วนทางห้องประชุมใหญ่ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับวิทยาลัยชุมชนในหลายๆเรื่อง ในส่วนที่ผู้เขียนจำแม่นก็การบรรยายของท่านศาสตราจารย์ วิจารณ์ พานิช ในฐานะประธานสำนักงานการอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้บรรยายอยากให้แฟนบทความไปเปิดในบล็อกโกทูโน www.gotoknow.org  ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เพราะจะได้อรรถรสเหมือนนั่งฟังท่านบรรยายเองครับ ในส่วนที่ไม่มีบันทึกก็คือการบรรยายของรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ท่านเปรียบวิทยาลัยชุมชนเหมือนปั๊มหลอดในหมู่บ้านที่จะคอยเติมน้ำมันให้รถอีแต๋น ท่านมองนักศึกษาในชุมชนที่บางคนขาดโอกาสทางการศึกษาเสมือนรถอีแต๋นจะขับเข้าปั๊มใหญ่โต(เสมือนมหาวิทยาลัยต่างๆ) ก็ยังไม่กล้าต้องแวะหาความรู้จากวิทยาลัยชุมชนเหมือนปั๊มหลอดไปก่อนเพราะการเข้าเรียนวิทยาลัยชุมชนติดต่อง่ายเข้าสะดวกค่าเรียนถูก เทอมหนึ่งๆ ค่าเรียนประมาณ ห้าร้อยกว่าบาท จบมอหกมานานกี่ปีก็สมัครเข้าเรียนได้ ส่วนหลักสูตรระยะสั้นค่าเรียนชั่วโมงละห้าบาท จบอะไรก็เรียนได้ เดือนก่อนวิทยาลัยชุมชนสงขลามอบวุฒิบัตรระยะสั้น หลักสูตรพัฒนาผู้นำท้องถิ่น หลักสูตรทำดอกไม้จันทน์ หลักสูตรคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แก่ชุมชนควนลังโดยเรียนเชิญท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาท่านปกครอง จินดาพลเป็นประธานในวัย 79 ปีของท่าน ท่านขอสมัครเรียนคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในครั้งต่อไปที่จะเปิดสอนในเขตเทศบาลควนลัง ไม่มีใครแก่เกินเรียน และการเรียนสามารถเรียนได้ตลอดชีวิต ติดต่อวิทยาลัยชุมชนสงขลาได้ที่ โทร. 074-376667 และ 074-376663ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 301287เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2009 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

 

นำสื่อดีๆ ที่เห็นมิติของบุญกุศล
และองค์ความรู้ที่จะนำไปปฎิบัติในการเรียนการสอนมาฝากครับ


 

ขอบคุณในมุทิตาจิต ของท่านแมนอินเฟรม อย่างยิ่งครับ

  • ตามมาอ่านครับ
  • วันก่อบได้อ่านจากบันทึกอาจารย์หมอวจารณ์แล้ว
  • เจอ ผอ เนือบด้วยใช่ไหมครับ
  • อาจารย์หมอวิจารณ็ชอบมะขามส้ม ของสงขลาครับ

เขียนผิดครับ ส้มแขกครับ ส้มแขก ฮ่าๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ เอาอีก เอาอีก เอาตัวโตๆกว่านี้อีก เรื่องดีๆที่พัฒนาชุมชนท้องถิ่น ต้องนำมาอวด มาชมกัน

ด้วยความขอบคุณครับท่านอาจารย์ ชัยวุฒฺ

อาจารย์ขจิตครับ ผ.อ.เนือบไปร่วมงานด้วยครับ

ท่านก็จำท่านอ.ขจิตได้แม่นยำครับ

ส้มแขกนี้ลดไขมันในเส้นเลือดดีนักแล

ท่านผู้เฒ่า วอญ่าขอบคุณ ครับ ขอบคุณ อีกสองอาทิตย์ต้องไปสอนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ อปท. ที่พัทลุง เห็นว่าเรียนที่โรงเรียนควนขนุนครับ

ทราบว่าท่านอยู่ไกล แต่ยังไงก็ขอส่งเทียบเชิญมาถึง เพียงคนึงในมิตรไมตรี 

 

ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ โครงงานคุณธรรม 

ในงาน"พลังเยาวชน พลังสังคม" ครั้งที่ 1 
"ร่วมสร้างประเทศไทย...ด้วยการให้"

และร่วมเวทีเสวนา


วันเสาร์ที่ 10 ต.ค. : ถอดองค์ความรู้โครงงาน สร้างเป็นบทภาพยนต์โทรทัศน์ 
เวลา10.00-16.30น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ

วันอาทิตย์ที่ 11ต.ค. : ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ 
เวลา13.00-18.00น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ



ผมก็ถือโอกาสใช้เวทีเสวนาที่สยามกัมมาจลเป็นเจ้าภาพงาน จัดระดมความคิด หัวข้อ ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ขึ้น

ยังไงก็เรียนเชิญ กัลยาณมิตร ผู้รักแผ่นดินทุกท่าน ร่วม work shop ระดมความคิดในเวทีเสวนาได้นะครับ

 

แวะมาทักทายด้วยความคิดถึง

เดือน พค.นี้ คงได้ยินเสียงแห่งความทรงจำ ว่า "เอาอีก เอาอีก"ครับอาจารย์

คิดถึงท่านผู้เฒ่าเช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท