เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ


เค้าโครงวิทยานิพนธ์

         ปัญหาหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับนิสิตที่กำลังศึกษาปริญญาโทและเอก คือ  การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์  ซึ่งเป็นการก้าวเดินก้าวแรกหรือตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า การเรียนของนิสิตจะจบหลักสูตรหรือไม่ เพราะ วิทยานพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระคือส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตร  ดังนั้นถ้านิสิตไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์หรือทำวิทยานิพนธ์ไม่สำเร็จ ก็จะส่งผลให้ไม่จบการศึกษาตามหลักสูตรได้ ซึ่งสาเหตุของการทำวิทยานิพนธ์ไม่สำเร็จ คือ 1) เกิดจากตัวผู้วิจัยเอง เพราะตัวนิสิตสำคัญที่สุดถ้านิสิตไม่เริ่มทำ ไม่เริ่มต้นจะเขียนหรือศึกษาค้นคว้า การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์หรือการตั้งชื่อเรื่อง คงเป็นเรื่องยาก 2)ขาดที่ปรึกษาที่มีความรู้จริง ๆ เพราะถ้านิสิตได้ที่ปรึกษา แต่ไม่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในความรู้ที่ตนถนัด ก็จะทำให้นิสิตเกิดความเบื่อหน่ายในการทำหรือไม่มีทางออกในการทำวิจัย 3)ขาดการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เคยทำมาแล้ว ทำให้มีแนวทางน้อยในการเขียนเพราะขาดความรู้ที่สนับสนุนงานวิจัยที่นิสิตกำลังจะทำ 4) สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนและที่ทำงาน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเขียนเค้าโครงวิทยานพนธ์ไม่ได้  5) ขาดความอดทน ความรอบ และการวางแผนที่ดี ซึ่งการวางแผนในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำวิทยานพนธ์ เพราะการทำวิจัยมีระยะสิ้นสุด 6)ขาดแรงจูงใจและมีเจตคติต่อการทำวิทยานิพนธ์ในแง่ลบ  เพราะนิสิตจะมองว่า การทำวิทยานพนธ์เป็นเรื่องยาก ส่งผลให้ไม่มีแรงจูงใจในการทำ 7) ขาดการเริ่มต้นที่ดี ซึ่งนิสิตเริ่มต้นไม่ดี จะส่งผลให้การทำวิทยานิพนธ์ล้มเลิกกลางครันก็ได้ 8)ขาดการให้เวลากับงานวิทยานพธ์อย่างจริงจัง เพราะไม่มีเวลากับงานวิทยานิพนธ์ ก็จะทำให้งานไม่สำเร็จได้ด้วยเช่นกัน 9)ขาดการวางแผนชีวิต จะทำให้มีผลกระทบต่องานวิทยานพนธ์ที่นิสิตกำลังจะทำ อาจจะหยุดชั่วคราวได้ 10) และสุดท้ายที่สำคัญ ขาดการอ่านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยหรือเอกสารที่เราสนใจจะทำ  ซึ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่พบเป็นประจำสำหรับนิสิต

       ดังนั้นการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นการเริ่มต้นในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ยากและไม่ง่ายในการเขียน ผู้เขียนขอเสนอแนะวิธีการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จ ได้ดังนี้

            1. การตั้งชื่อเรื่อง  การตั้งชื่อเรื่องถือเป็นเรื่องที่สำคัญและก้าวที่สำคัญ งานวิทยานิพนธ์จะสำเร็จต้องเริ่มต้นจากชื่อเรื่องก่อน ซึ่งการตั้งชื่อเรื่องต้องคำนึงถึง (1) ความรู้พื้นฐานของผู้วิจัยเป็นหลัก เช่น กรณีผู้วิจัยจบระดับปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์  ก็น่าจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หรือทำงานคอมพิวเตอร์ ต้องทำวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเป็นการผลิตสื่อการสอน เป็นต้น (2)อาจารย์ที่ปรึกษา ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน  เพราะนิสิตที่จะทำวิจัยต้องพูดภาษาเดียวกันกับอาจารย์ที่ปรึกษา ถ้าเกิดความคิดเห็นทั้ง 2 ฝ่ายไม่ตรงกันก็จะส่งผลถึงชื่อเรื่องด้วย อาจจะทำให้การตั้งชื่อเรื่องไม่สำเร็จได้ และนิสิตเองอาจจะเกิดความเบื่อหน่ายเองในที่สุด อีกอย่างเรื่องที่ทำหรือไม่ได้ทำต้องขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยเช่นกัน (3) นิสิต จะต้องอ่านข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเคยทำมาแล้วและเป็นเรื่องที่เราสนใจ เพื่อจะได้แนวทางในการตั้งชื่อเรื่อง หรืออ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็จะสามารถตั้งชื่อเรื่องได้ง่ายและเร็ว เพราะถ้าตัวนิสิตหรือผู้วิจัยคิดเอง อาจจะใช้เวลานานและเบื่อ กรณีที่คิดไม่ออกได้ (4) อ่านวารสารงานวิจัยหรือค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีงานวิจัยมากมายให้เราได้อ่าน ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับที่จะทำวิจัย ซึ่งหนทางหนึ่งในการคิดและตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่จะได้งานวิจัยใหม่ ๆ และไม่ซ้ำใครด้วย (5) ถ้ากรณี คิดไม่ออกจริง ๆๆๆ วิธีการที่ง่ายในการตั้งชื่อเรื่อง คือ เอาชื่อเรื่องงานวิจัยที่ทำมาแล้ว 1 -2 เรื่อง แล้วลองเปลี่ยนวิธีการที่เราอยากทำลงไป เช่น การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  เส้นขนาน ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทีจีที  (TGT)  แบบจิ๊กซอว์  (JIGSAW)  และแบบ  สสวท. เปลี่ยนเป็น การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  เส้นขนาน   ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทีจีที  (TGT)  
และแบบ  สสวท. เท่านี้นิสิตก็ได้ชื่อใหม่แล้ว แต่พึงระวังว่า เราต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นจริง ๆๆด้วย  และเรื่องที่ทำต้องไม่ซ้ำด้วย
            2.การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา  การเลือกอาจารย์เป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะ ถ้าเราได้อาจารย์ที่ปรึกษาดี ให้คำปรึกษาดี เท่ากับว่าผู้วิจัยมีโอกาสจบสูง ที่เหลือขึ้นอยู่กับผู้วิจัยเท่านั้น แต่ถ้าอาจารย์กับผู้วิจัยมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรืออาจารย์ที่ปรึกษาไม่ชอบนิสิต หรือมีอคติ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคติ จะทำให้งานวิจัยไม่สำเร็จ ทำให้มีปัญหาตามมา คือ นิสิตเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษา นิสิตไม่สำเร็จกาศึกษา  หรือสำเร็จช้า ดังนั้นผู้วิจัยต้องประสานอาจารย์ไว้แต่เนิ่น หรือปรึกษาไว้ล่วงหน้า เพื่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้แนวทางอีกทางหนึ่งด้วย       

              3. การศึกษารูปแบบและหัวข้อวิทยานิพนธ์  เมื่อเราได้หัวข้อที่จะทำวิจัยแล้ว นิสิตจะต้องมาศึกษารูปแบบและหัวข้อวิทยานิพนธ์ ว่ารูปอย่างไร เพื่อง่ายต่อการเขียนเค้าโครง ซึ่งรูปแบบ หัวข้อแต่ละสถาบันจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ถ้านิสิต  ศึกษาอย่างเข้าใจดีจะเป็นประโยชน์ต่อการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของนิสิตเอง

              4. การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์  เป็นการศึกษาค้นว้า เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องของเรา แล้วนำเรียบเรียงใหม่ ซึ่งส่วนประกอบของเค้าโครงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนหน้าเค้าโครง ประกอบด้วย ปกเค้าโครง  สารบัญ สารบัญภาพ(ถ้ามี) สารบัญตาราง (ถ้ามี) ส่วนที่สอง คือ ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ มีหัวข้อย่อย ดังนี้ ภูมิหลัง ความมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย ของเขตของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นเอกสารค้นคว้า งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่อที่ทำ บทที่ 3 คือ วิธีดำเนินการวิจัย มีหัวข้อย่อย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และส่วนที่สาม คือ บรรณานุกรม  

                5.การตรวจสอบความถูกต้องของเค้าโครงวิทยานิพนธ์  หลังจากนิสิตเขียนเค้าโครงสมบูรณ์ ควรมีการตรวจความถูกต้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  เพื่อความสมบูรณ์ ความสอดคล้อง ความถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งสิ่งที่ควรตรวจสอบอันดับแรก คือ หัวข้อย่อย ต่าง ๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ เนื้อหามีความสอดคล้องหรือไม่ และภาษามีความถูกต้องหรือ คำผิด และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การตรวจสอบบรรณานุกรม กล่าวคือ แหล่งอ้างอิงที่ผู้วิจัยอ้างอิงในบทที่ 1-บทที่ 3 ต้องมีในบรรณานุกรมและต้องเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของแต่ละสถาบันด้วย ซึ่งการตรวจเหล่านี้เป็นการบ่งบอกถึงความรอบคอบของผู้วิจัยด้วย

             จะเห็นว่าการเขียนเค้าโครงวิทยานพนธ์ไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่เรื่องง่ายเกินไป ดังนั้นผู้วิจัยเท่านั้นจะเป็นคนกำหนดว่าง่ายหรือยากสำหรับการเขียนเค้าโครงให้สำเร็จ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30124เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
แหม แบบนี้ต้องให้คุณทองสง่าเป็นที่ปรึกษาในการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้พี่ พยาบาล ที่ รพ.สารคาม ท่าจะทำให้พี่พยาบาลเค้าเตรียมเค้าโครงได้สำเร็จ น่าจะดีนะขอรับ

อ้างอิงจาก
กลยุทธ์ ร่วมด้วยช่วยกัน กระตุ้นพี่พยาบาลตึกสงฆ์ฯ รพ.สารคาม ให้เรียนจบปริญญาโทซะที
ขอบคุณที่เขียนเรื่องการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ครับ ผมกำลังพบกับปัญหานี้อยู่พอดี หัวข้อวิจัยของผมตอนแรกๆ ก็ไม่มีเลย อยากจะทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำมาก่อน อาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่เห็นด้วย บอกว่ายากไป หรือบางงานก็บอกว่า เคยมีคนเขาทำแล้วหรือยัง หากยังก็ไม่ควรทำ อย่างนี้แหละครับ ผมสอนคอมพิวเตอร์ ผมก็พยายามที่จะทำเกี่ยวกับการสอนคอมพิวเตอร์ ครั้งแรกผมจะผลิตสื่อ CAI แต่หาความแตกต่างจากที่เขาเคยทำไม่ได้ ผมก็มองดูว่า PBL กับ Constructionism น่าสนใจ ส่งเสริมกระบวนการกลุ่ม นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการนำเสนอปัญหา และนำเสนอความสำเร็จ แต่ก็ยังไม่แน่ใจนักครับ หากมีข้อแนะนำผม ผมจะยินดีมากเลยครับ

สำหรับที่ผมเคยทำมา ผมจะใช้กระบวนการในการทำให้นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์เขาค้นพบศักยภาพของตนเองว่าในตัวเขาลึก ๆ หรือในใจลึก ๆ ที่เขาชอบเขามีศักยภาพด้านไหน เขาหมกหมุนในการเรียนค้นคว้าด้านไหนเป็นพิเศษ เพื่อที่จะทำให้การทำงานไม่ว่าจะเป็นในส่วนของบทที่หนึ่ง สอง สาม หรือเครื่องมือง่ายขึ้น เพราะเขาจะมีความรู้ที่สั่งสมมานานอยู่แล้ว และที่สำคัญเวลาที่เขาขึ้นนำเสนอ เขาจะกลั่นกรองและเรียงร้อยถ้อยค้ำให้มีพลังอย่างเยี่ยมยอดครับ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่เขาชอบบวกกับประสบการณ์ครับ ต้องใช้กระบวนการสร้างและดึงพลังของเขาออกมาให้ได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาก็จะต้องเป็นผู้จัดกระบวนการlสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่จริงจังและเต็มกำลังเพื่อที่จะให้นักศึกษาค้นพบศักยภาพของเขาและสิ่งที่เขารักเขาชอบ เพื่อจะนำไปสู่หัวข้อโครงร่างและวิทยานิพนธ์ที่ดีครับ

จากประสบการณ์ครับ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

http://gotoknow.org/papangkorn

ขอตอบข้อคิดเห็นของนายบอน ก่อนครับ ว่า การวิจัยง่ายนิดเดียว ท่องไว้เลย กระผมยินดีรับให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่นะครับ ติดได้ 2 ทางนะครับ คือทางอิเมล์ [email protected]

หรือ 047991757 นะครับ

 

ตอบขอคิดเห็นคุณเจตน์นะครับ

1. นักเรียนที่ใช้ทดลองเป็นนักเรียนระดับไหน

2. การเรียน แบบ Constructionism เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจมากครับ และมีคนทำงานวิจัยโดยตรงเรื่องนี้น้อย น่าสนใจสำหรับการทำวิทยานพินธ์

3. แต่อย่างลิมว่า คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism)  เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ เป็นการรวมประสบการณ์ใหม่ / ความรู้ใหม่+ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิมถึงจะได้องค์ความรู้ใหม่ ซึ่งความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังมาก ๆๆๆๆ ขอเน้นนะครับถ้าจะทำวิทยานิพนธ์ด้วยวิธีการจัดการเรียนการรู้แบบ คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) คือ เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ถ้าเกิดผู้เรียนไม่สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาทำอย่างไร นี้คือปัญหาใหญ่ ที่ต้องนำไปคิด การวัดผลประเมินผลก้อเรื่องยากตามมา  และที่สำคัญถ้าจะทำจริง ๆๆๆ ต้องศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเข้าใจและท่องแท้  เรานึกเสมอว่า เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ว่าเราจะให้เขาสร้างอย่างไร 

   

 

ขอตอบข้อคิดเห็นนายรักษ์สุข นะครับ

ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากครับ เพราะสิ่งแรกที่จะทำให้นักศึกษา  นิสิตมีแรงจูงใจในการทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ คือสร้างเจตคติทางบวก ว่า การวิจัยหรือการทำวิทยานิพนธ์ง่ายนิดเดียว เพราะส่วนมากแล้วนักศึกษา นิสิตระดับบัณฑิตที่เข้าเรียนใหม่จะได้ยินคำบอกเล่า ว่า การทำวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องยาก รุ่นพี่ส่วนมากก็จะติดตรงจุดนี้ชะส่วนใหญ่ ดังนั้นวิธีการหนึ่งอยากเสนอแนะ อาจารย์น่าจะลองไปใช้ดู คือ มอบให้รุ่นพี่เป็นที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์  เช่น ปี 2  1 คน ดูแลน้องปี 1 จำนวน 2 -5คน โดยอาจจะให้รุ่นพี่ถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ ตั้งแต่การเรียน  การเขียนเค้าโครง การเริ่มทำ  ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ อย่างน้อยก็จะเป็นแนวทางสำหรับน้อง ๆๆ ในการทำวิทยานพนธ์อีกหนทางหนึ่ง

จะขอให้คุณทองสง่า  เป็นที่ปรึกษาด้านงานวิจัย จะสะดวกป่าวครับ

จะขอให้คุณทองสง่า  เป็นที่ปรึกษาด้านงานวิจัย จะสะดวกป่าวครับ

ตอบผู้ไม่ประสงค์ออกนามได้ครับ บ่มีปัญหา

ดีครับที่มีเวปอย่างนี้ครับ แต่ผมพึ่งเริ่มเรียนแล้วได้ทำรายงานเกียวกับการทำวิจัยการศึกษา

บทที่ 1 ถึง บทที่ 5 ครับพอจะกาได้จากที่ไหนครับ

ดิฉันกำลังเริ่มต้นจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์นะคะ ได้คิดหัวข้อที่จะทำแล้วคือ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องเซต แต่มีคนติงว่าหัวข้อที่ใช้กว้างเกินไป ดิฉันเลยอยากจะขอให้คุณทองสง่าช่วยชี้แนะหัวข้อวิจัยของดิฉันหน่อยคะ ขอขอบคุณมาล่วงหน้า

ขอบคุณมาครับ..คุณทองสง่า คุณทำให้ผมรู้สึกสบายใจขึ้นมากเลย.. ผมจะนำคำแนะนำของคุณไปปฏิบัติครับ

ไม่ทราบว่าคุณทองสง่ายังอยู่ที่นี่หรือเปล่า อยากให้เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

จะไดหรือเปล่าครับ จะเข้ามาดูคำตอบนะครับนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้า

สวัสดีครับคุณทองสง่าผมได้อ่านเจอข้อมูต่างๆของคุณน่าสนใจและดีใจจึงอยากจะเรียนขออนุญาตคุณเป็นที่ปรึกษางานวิทยานิพนธ์ซึ่งขณะนี้ผมกำลังเรียนปริญญาโทและกำลังจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยชั้นป.๑

ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากครับ เพราะสิ่งแรกที่จะทำให้นักศึกษา นิสิตมีแรงจูงใจในการทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ คือสร้างเจตคติทางบวก ว่า การวิจัยหรือการทำวิทยานิพนธ์ง่ายนิดเดียว เพราะส่วนมากแล้วนักศึกษา นิสิตระดับบัณฑิตที่เข้าเรียนใหม่จะได้ยินคำบอกเล่า ว่า การทำวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องยาก รุ่นพี่ส่วนมากก็จะติดตรงจุดนี้ชะส่วนใหญ่ ดังนั้นวิธีการหนึ่งอยากเสนอแนะ อาจารย์น่าจะลองไปใช้ดู คือ มอบให้รุ่นพี่เป็นที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ เช่น ปี 2 1 คน ดูแลน้องปี 1 จำนวน 2 -5คน โดยอาจจะให้รุ่นพี่ถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ ตั้งแต่การเรียน การเขียนเค้าโครง การเริ่มทำ ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ อย่างน้อยก็จะเป็นแนวทางสำหรับน้อง ๆๆ ในการทำวิทยานพนธ์อีกหนทางหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท