80. มหกรรมแห่งท้องทุ่ง: ชีวิต ชีวา และเรื่องราว


 

"ท้องนา"

 พื้นที่แห่งการรำลึกถึงรากเหง้าของตนเอง

 

 

วันนี้...จึงเก็บภาพมาเล่าเรื่อง "มหกรรมแห่งท้องทุ่ง"

แต่เป็นท้องทุ่ง...ในวิถีการผลิตแบบอุตสาหกรรม

นั่นคือ...การใช้เครื่องจักร เครื่องยนต์ แทนการใช้แรงงานคนและควาย

ที่เคยเป็นแรงงานหลักในการทำนาในอดีต

ซึ่งปัจจุบันหาดูไม่ค่อยได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท้องนา ใกล้ๆ เมืองกรุงฯ

 

 

 

ในพื้นนาที่กว้างขวาง...เต็มไปด้วยรวงข้าวที่รอเก็บเกี่ยว

แต่ข้าวภาคกลาง...มีอายุค่อนข้างสั้น 3-4 เดือน ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว

เราจึงมักไม่เห็นรวงข้าวยาวๆ หนักๆ ที่โน้มลงคาราวะผืนดิน

 

 

 

สายของวันนี้...วันนัดหมายของการเก็บเกี่ยว

และแล้ว...คอนเสริตแห่งท้องทุ่งก็เริ่มขึ้น

"รถเก็บเกี่ยว" คันใหญ่...ถูกเช่ามาใช้งาน

แทนการ "เอาแรง" หรือ "ลงแขก" ของชาวนา

 

 

 

การเก็บเกี่ยวเริ่มต้นขึ้น

พร้อมๆ กับเสียงกระหึ่มของเครื่องยนต์...บรรเลง

เกี่ยวได้รวดเร็ว ทันใจ ความเร่งร้อนของวิถีชีวิตยุคไฮเทค

ทั้งเกี่ยว ทั้งคัด ทั้งเก็บ และบรรจุลงถุง และเศษฟางถูกพ่นทิ้งเป็นทาง

 

 

 

เปลี่ยนแสงสี...เพื่อสร้างสีสันให้กับท้องนา

 

 

หรือ จะชอบภาพนี้...สีเขียวได้ใจ

 

 

รถไถ...ถูกนำไปต่อท้ายด้วยรถเข็น เพื่อใช้ในการขนถุงข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวแล้ว

ระหว่างรอ..ก็มีร่มกางกันแดดไปพลางๆ

 

 

 

"ข้าวเปลือก" ที่ถูกบรรจุลงถุงแล้ว ก็ถูกขนขึ้นรถ เพื่อทะยอยไปยังรถใหญ่ที่รออยู่ริมทาง

 ไม่ต้องตากลาน...เหมือนแต่ก่อน

 

 

 

รถบรรทุก...สำหรับถ่ายโอนข้าวเปลือกขึ้นรถ เพื่อขนไปโรงสี

 

 

  

มหกรรมแห่งท้องทุ่ง...

ได้เวลาพัก เพราะแดดแรง และเก็บเกี่ยวไปได้แล้วหนึ่งแปลง

ท้องนาหลังเก็บเกี่ยว...เตียนโล่ง

 

 

  

ชีวิตในท้องทุ่ง..ยังมีเด็กๆ ตามมาเรียนรู้วิถีชีวิต "ชาวนาในระบบทุนนิยม"

และเล่นสนุกตามประสาเด็กๆ

 

 

 

ท้องนา...เมื่อกลับมาอีก 2-3 วัน หลังเก็บเกี่ยว

สายตาปะทะอย่างแรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับท้องทุ่งนา

"เผานา"

  

 

มองใกล้ๆ จะเห็น "ตัวการ"...นั่งจุดไฟเผานาที่เก็บเกี่ยวแล้ว

วิธีการง่ายๆ คือ นั่งสูบบุหรี่ไป ใช้บุหรี่ต่อกับเศษฟางแห้ง

แค่นี้ก็ติดไฟลามไปได้ทั่วท้องทุ่ง

 

 

และแล้ว...ผืนนาก็ไหม้เกรียม

อีกไม่นาน...ท้องทุ่งก็จะถูกใช้เป็นท้องนาอีกครา

ไม่ได้พัก ไม่ได้ผ่อนเลยหนอ...แม่ธรณี.

 

 

 

.......

pis.ratana บันทึก

สถานที่ : ท้องทุ่ง จ.ฉะเชิงเทรา

 

หมายเลขบันทึก: 300256เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ข้าวกลายเป็นสินค้าไปเสียแล้ว

เศร้าจังเลยครับ

แม่โพสพคงเศร้าตามไปด้วย

อย่างนี้ไม่น่าจะเรียกนา

ไม่เห็นคันนา นาไม่เป็นบิ้ง...

ชอบภาพและคำบรรยายคะ

หากคำบรรยายตัวใหญ่กว่านี้คงดีมากนะคะ

สวัสดีค่ะ หนานเกียรติ

  • ข้าวในระบบทุนนิยม ไม่มีจิตวิญญาณของแม่โพสพอยู่แล้ว
  • เพราะข้าวกลายเป็นเพียงวัตถุเพื่อการค้า
  • และ นา..ไม่ใช่แม่ธรณี แต่เป็นเพียงโรงงานอุตสาหกรรม

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

  • ยินดีที่คุณเปรมฤดีแวะมา แล้วจะปรับปรุงตามคำแนะนำดีๆ ค่ะ

ที่ต่างจังหวัดก็ใช้รถเกี่ยวข้าว  จะหาภาพการลงแขกเกี่ยวข้าวของชาวนา สมัยนี้อยากเหลือเกินค่ะ 

เครื่องจักรทำงานแสนจะไฮเทค เกี่ยว คัดสีออกมาเป็นข้าวเปลือกใส่ถุง  โรงสีและเจ้าหนี้มายืนรออยู่ท้องทุ่ง... ขนข้าวเปลือกขึ้นรถไปต่อหน้าต่อตา อนิจจาชาวเอ๋ย... หักค่าน้ำ ค่าปุ๋ย ยังไม่รวมเรี่ยงแรงวที่ทำมาตลอดปี...แทบไม่เหลืออะไรเลย... ข้าวเปลือกที่จะเหลือไว้กินแทบไม่มี...

รู้สึกเศร้าใจทุกครั้งที่พูดถุงเรื่องนี้

สุขสันต์วันศุกร์นะคะ

  • นับวัน วัฒนธรรมชาวนา ของสังคมไทยก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนเราอาจไม่ได้เห็นวัฒนธรรมที่งดงามเช่นเดิม
  • เศร้าค่ะ...ครูใจดี
  • สุขสันต์วันสุข(ใจ) ค่ะ
  • แม้ดูไฮเทคขึ้น แต่ชาวนาส่วนใหญ่ ยังจนเหมือนเดิมครับ เพราะอะไรๆ ก็แพงขึ้น
  • ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
  • สวัสดีค่ะ ครูธนิต
  • การผลิตที่ต้องลงทุนสูงๆ ให้ผลผลิตงามๆ เพื่อกำไรมากๆ คงไม่เหมาะกับนิยามของ "ชาวนา" ค่ะ

เป็นภาพที่งดงามมากครับ...
ทุกวันนี้ รถเกี่ยวข้าว คำรามอยู่กลางทุ่ง..ฟางแหลกละเอียดใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก บางทีวัวควายยังไม่กินเลยก็มีเหมือนกัน

ผมมีบันทึกทำนองนี้อยู่มาก คงได้แลกเปลี่ยนกันอีกที...
กำลังผูกท้องนาเป็นห้องเรียนสำหรับนิสิต
เราจะไปเกี่ยวขาวกับชาวบ้าน...ใช้วิถีลงแขก..นอนนาในซุ้มที่ทำด้วยฟางข้าว..มีการละเล่นแบบพื้นบ้าน เสวนาภูมิปัญญา และการนวดข้าวด้วยมือในคืนเดือนหงาย

...ผมเรียกมันว่า เรียนนอกห้องเรียนปรับเปลี่ยนทัศนคติสู่จิตสำนึกสาธารณะ....

 

  • สวัสดีค่ะ ครูแผ่นดิน
  • ฟังเรื่องราวท้องนากับกิจกรรมนิสิตของครูแล้ว...น่าสนใจจริงๆ
  • คิดถึงบรรยากาศเหล่านั้น กับการหล่อหลอมเด็กๆ ในระดับจิตสำนึก
  • อยากไปร่วมงานด้วยจังค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท