ผู้นำทางวิชาการ


ผู้นำจะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าทีมงานล้มเหลว

ผู้บริหารผู้นำทางวิชาการ

              โดย พรชัย  ภาพันธ์

        ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)

         ผู้บริหารคือผู้ที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ภารกิจของ

ผู้บริหารจึงเป็นการส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทหน้าที่จึงต้องสวมหมวกสองใบคือบทบาทนักบริหารและบทบาท

นักวิชาการอันเป็นภารกิจหลักในการจัดการศึกษา การปฏิรูปการศึกษารอบสองมุ่งสร้างความตระหนักให้บุคลากรทางการศึกษาได้กลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่และภารกิจ

โดยเฉพาะผู้บริหารต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการอันเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภาวะผู้นำทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ก้าวสู่ความสำเร็จที่ท้าทาย

คุณลักษณะและพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการ

          อรทัย  มูลคำ ได้กำหนดคุณลักษณะและพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ไว้ดังนี้

          1. อยู่โรงเรียนเต็มวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ  3 วัน

          2. พัฒนาครูให้ครบทุกคน ครูเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้งานวิชาการก้าวสู่เป้าหมาย การพัฒนาคุณภาพครูจึงส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน หากครูเก่งนักเรียนย่อมเก่งตามไปด้วย

           3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม(green) สะอาด(clean)และปลอดภัย(safe) สิ่งแวดล้อมเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดใจให้ผู้ที่ก้าวเข้าสู่โรงเรียนเกิดความสุขความประทับใจ

          4. ปรับเปลี่ยนบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้สีสันสดใส สีมีอิทธิพลต่อจิตใจและการเรียนรู้ การนำสีสันที่สดใสส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเด็กจะชอบเป็นกรณีพิเศษ การเปลี่ยนสีถังน้ำฝนให้สดใสหรือทาสีอาคารเรียนห้องเรียนให้ดูใหม่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องกลับมาเอาใจใสมากขึ้น

         5. ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรจัดห้องที่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กให้มากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนท สื่อการเรียนรู้ที่ครูผลิตควรนำมาใช้กับเด็กให้มากขึ้น

          6. ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุดเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดนิสัยรักการอ่าน การอ่านเป็นสะพานสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ โรงเรียนจึงต้องปรับปรุงห้องสมุดให้เกิด 3 ดี ดังนี้ คือ บรรณารักษ์ดี หนังสือดีและบรรยากาศดี

          7. ส่งเสริมการใช้ KM : Knowledge Management การนำทุนทางปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนรู้เช่นภูมิปัญญท้องถิ่น หรือการนำไฟไม่สิ้นเชื้อมาร่วมทำการสอน จะพบว่าโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการจะมีครูที่มีประสบการณ์มากทำการสอน

          8. เร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจุบันสภาพโรงเรียนเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเมืองประสบปัญหาเด็กย้ายออกไปเรียนในเมืองตามค่านิยมของผู้ปกครอง ทำให้คนในชุมชนขาดความผูกพันกับโรงเรียน ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจพัฒนานักเรียนให้สู้กับในเมืองที่ครูต่อนักเรียนต่อห้องจำนวนมากย่อมไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง หากเรามีเด็กจำนวนน้อยกว่าย่อมมีเวลาที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดความเป็นเลิศได้มากกว่า

           ความล้มเหลวขององค์กรเกิดจากภารกิจขององค์กรไม่ชัดเจน สมาชิกองค์กรหย่อนสมรรถภาพ ขาดแคลนทรัพยากรการบริหาร มาตรฐานทางจริยธรรมของสมาชิกในองกรต่ำ ที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดจากผู้บริหารไร้ประสิทธิภาพ ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนแปลงตนเองให้เกิดภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อจะประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ

 

 

หมายเลขบันทึก: 299802เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

พยายามที่สุดทั้งวันได้แค่นี้เพราะลองผิดลองถูก

ดีแล้วหล่ะครับ

แค่นี้ก็สุดยอดแล้ว

ว่าแต่เขียนมาเล่าสู่กันฟังบ่อยๆ นะครับ

ประสบการณ์การบริหารโรงเรียนก็ได้ อาจจะเป็นประเด็นเล็กๆ

มาต่อยอดความคิดกับคนอื่นๆ

ไม่แน่นะครับ

ผอ. อาจจะได้ อย่างไม่รู้สึกตัวก็ได้

เรียน คนทำงานสนับสนุนบริการสาธาณะสุข

เกินคาดที่มีคนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปฏิรูปการศึกษารอบสอง จะเน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง นำห้าเหลี่ยมคุณภาพมาใช้ในการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ดังนี้

1. หลักสูตรอิงมาตรฐาน

2. ห้องเรียน ICT โรงเรียน ICT

3. การวิจัยในชั้นเรียน ครูต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

4. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารผู้นำการเปลี่ยนแปลง

5. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การสร้างวินัยเชิงบวก

ปัญหาผมขรธนี้ยังไม่สามารถนำรูปขึ้น blog ได้หากท่านใดแวะผ่านมาพบเข้ากรุณาแนะนำด้วย ที่ผ่านมาคุณหมอบุญจง

ตันติราพันธ์ แนะนำ คงได้รับความกรุณาด้วยดี ขอบพระคุณยิ่ง

ในที่สุดก็ทำได้ขอบคุณคุณอธภิชาต ธิมาชัย ครูฝึกประสบการณ์ที่ช่วยเหลือ ใกล้เกลือกินด่างจริงๆ

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.พรชัย

มาเป็นกำลังใจให้นะคะ  เรียน เขียนบล็อกได้ที่ ครูอ้อยกับคอมพิวเตอร์ค่ะ 

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • เบื้องหลังความเข้มแข็งของผู้บริหาร เบื้องหลังมีความอ่อนโยน ผู้นำจะประสบความสำเร็จ ถ้าทีมงานร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว

เรียน คุณบุษรา ขอบคุณที่มาให้กำลังใจครับ บทสรุปที่น้องสาวคนดี สรุปให้จับครับ เบื้องหลังความเข้มแข็งของผู้บริหาร เบื้องหลังมีความอ่อนโยน ผู้นำจะประสบความสำเร็จ ถ้าทีมงานร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์ค่ะ

ขอบคุณนะคะท่านผอ.ที่มีหลักการบริหารมาฝาก..อยากอ่านอีกผอ.เขียนอีกนะคะจะเป็นกำลังใจ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • หนูอ่าน..คุณลักษณะและพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร..รู้สึกชัดเจนดีค่ะ
  • ส่วนความล้มเหลวขององค์กร..เกิดจากภารกิจขององค์กรไม่ชัดเจน อันนี้น่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด..เพราะคนขาดทิศทางการทำงานค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

เรียน อาจารย์พรชัย

หนูขออนุญาต นำบทสรุปนี้ไปทำรายงาน และรายงานหน้าชั้นให้เพื่อนๆรู้ด้วยนะค่ะ หนูจะได้คะแนนเยอะเยอะด้วย

ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะเข้ามาทักทายและอวยพรปีใหม่ ขอให้ท่านและครอบครัวมีแต่ความสุขและสุขภาพแข็งแรงค่ะ

เอารูปมาฝากคะ แต่บรรยายไม่ได้ ดึงไปบรรยายให้เพื่อนอ่านรายละเอียดด้วยคะ

เรียนผอ.พรชัย

รู้สึกชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานของท่านขอให้ทำต่อไปเถิดครับ

ประชุม โพธิกุล

ขอบพระคุณ ท่านประชุม โพธิกุล

ผมเป็นคนหนึ่งที่อ่านงานเขียนท่าน ตั้งแต่สมัยอบรมผู้บริหารระดับสูง ที่สถาบันพัฒนาผู้บริหารครับ

เป็นครูผู้สอนแต่มีโอกาสได้ทำงานบริหารโดยทำหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการอยากทำให้ได้ดีมีประโยชน์กับนักเรียนและองค์กรแต่ยังขาดความรู้และประสบการณืจึงทำให้มีความรู้สึกว่าเหนื่อยมากๆทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน กำลังสับสนระหว่างว่าจะเป็นครูไปจนวันตายตามความตั้งใจเดิมหรือจะเป็นผู้บริหารดีเพราะรู้แล้วว่าการเป็นผู้บริหารนั้นไม่ยากและสามารถทำอะไรดีๆได้มากมายแต่การเป็นผู้บรหารที่มีอุดมการณืแน่วแน่ในการพัฒนาการศึกษาเพื่ออนาคตเยาวชนของชาตินั้นช่างหายากเสียจาริงๆได้อ่านบทความท่านผอ.มีกำลังใจขึ้นเยอาะเลยคะ

ท่าน ผอ. พอจะมีหลักการ/ทฤษำคุณลักษณะ/พฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนบ้างไหม

ขณะนี้กำลังทำวิจัยเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอน

ขอบคุณท่านทรงศรี

ภาวะผู้นำเกิดขึ้นได้ทั้งครูผู้สอนและผู้บริหารครับ ภาวะผู้นำคือ ภาวะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การมีพลัง การสร้างศรัทธา ให้บุคคลอื่นให้ความร่วมมือ มีอำนาจภายในที่คนอื่นคล้อยตาม

ส่วนผู้บริหารคือผู้ที่ทำให้องค์กรคงอยู่ มีอำนาจตามกฎหมายครับ

ขอบคุณท่าน rungsunsutaram

หนังสือภาวะผู้นำทางวิชาการจำได้ว่าได้เรียนอยู่นะครับ

มีหนังสือตอนเรียนปริญญาโท เรียนภาวะผู้นำทางวิชาการ ถ้าต้องการจะหาให้ครับ คิดว่าอาจารย์ผู้สอนคือ อาจารย์ประชุม  ผงผ่าน ม.ราชภัฏอุบลราชธานี

ขออวยพรให้ท่านมีความสุข สนุกกับการทำงาน โรคร้าย ภัยพาลอย่าให้มีตลอดปี 2554

กำลังต้องการหนังสือเกี่ยวกับผู้นำทางวิชาการเป็นอย่างมาก

กรุณาส่งให้ผมด้วยยินดีเสียค่าใช้จ่าย

ที่ 39 หมู่ที่ 5 บ้านพังคอง ตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 49000

โทร. 0878546314

นางสาวจันทร์ฉาย มาลัยหอม

        ดิฉันได้ใช้บทความของท่านในการอบรมก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา  ขณะนี้กำลังอบรมในระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-19 มี.ค.54   ขอบพระคุณท่านมากที่มีบทความดี ดี เสนอต่อวงการศึกษาของเรา ขอบคุณท่านอีกครั้งและขอเป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณ คุณรังสรรค์ ครับมีหนังสือสมัยเรียน ป.โท ครับ ผูนำทางวิชาการเอกสารประกอบการสอน ผศ.พิชัย เสงี่ยมจิตต์ ราชภัฏอุบลครับ

ขอบคุณ ว่าที่ ผอ.จันทร์ฉาย มาลัยหอม ครับยินดีครับ นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารครับ

เรียน ท่าน ผอ.พรชัย ค่ะ

             แวะเข้ามาอ่าน "ผู้บริหารผู้นำทางวิชาการ" เป็นบทความที่เยี่ยมมาก  ถ้าท่านผู้บริหารทุกคนปฏิบัติได้ตามบทความของท่าน วงการศึกษาไทยคงจะพัฒนาไปมากกว่านี้   นักเรียนของเราคงมีการพัฒนาดียิ่งกว่าในปัจจุบันนะคะ   ในความรู้สึกของครูผู้สอน เท่าที่เคยสัมผัสและการได้ร่วมทำงานในแวดวงผู้บริหารส่วนใหญ่(น่าจะ) ล้วนแต่ตรงข้าม เพราะเท่าที่รู้เห็นคือ ไม่ชอบอยู่โรงเรียน วางตัวสูงมากจนครูเข้าไม่ถึง ชอบคนประจบมากกว่าคนทำงานจริง ๆ มีปัญหาเรื่องเงิน และที่ไม่น่ามีคือเจ้าชู้ แต่สำหรับครูเล็กเองกว่าจะมาถึงโรงเรียนปัจจุบันก็สอนหลายโรงเรียน(ย้ายกลับภูมิลำเนาบ้านเกิด) ตั้งแต่เอกชนที่กรุงเทพฯ สอบบรรจุที่เมืองกาญจนบุรี ย้ายเข้ามาท่าม่วง และกลับบ้านเกิด สมัยที่ยังไม่ได้ย้ายกลับมา พ่อแม่ก็จะเล่าถึงผู้บริหารให้ฟังว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ จนนะวันนี้ ครูเล็กย้ายกลับมาที่บ้านเกิดตั้งแต่ปี 2545 จนปัจจุบัน ท่านเป็นอย่างที่พ่อแม่เล่าจริง ๆ ท่านเข้ากับชาวบ้านได้ทุกคน ท่านรู้จักชาวบ้านมากกว่าครูเล็กซะอีก ชาวบ้านรักท่านมาก งานทุกงานในชุมชนท่านไปหมด แม้แต่งานที่ชาวบ้านเกรงใจไม่มาบอกท่านก็ไป ท่านขัดอ่างล้างหน้าเด็ก ๆ ที่เลอะ ห้องท่านไม่ติดแอร์ เพราะท่านบอกว่าครูอยู่อย่างไรท่านผู้บริหารก็อยู่อย่างนั้น เวลาเปิดเทอมท่านจะปัดกวาดเช็ดถูห้องของท่านเอง ท่านส่งเสริมให้ครูทุกคนเพิ่มวิทยฐานะทุกคน(ทุกคนจริง ๆ ) ท่านคงคิดนะคะว่าครูเล็กยกย่องท่านผู้บริหารคนนี้เพื่อหวังอะไรหรือเปล่า เรียนว่าไม่ใช่ เพราะท่านผู้บริหารที่ครูเล็กพูดถึงท่านจะเกษียณเดือนกันยายนนี้ค่ะ มันเป็นการทำงานด้วยความศรัทธาในตัวท่าน ท่านเป็นคนนครปฐม แต่ท่านยังทุ่มเทให้กับโรงเรียนของเราได้ขนาดนี้ แล้วเราเป็นครูในพื้นที่จะอยู่เฉยได้อย่างไร เรื่องประจบหวังขั้นไม่ใช่เพราะได้ไปแล้ว 2 ครั้ง นับแต่ย้ายมา เหลืออีกตั้งหลายคนที่รออยู่ ณ วันนี้ท่านยิ่งทำงานมากกว่าที่ท่านทำอยู่อีกหลายเท่า นี่เป็นบางส่วนตัวอย่างของผู้นำที่ได้ใจลูกน้อง  ลูกน้องทำงานด้วยความศรัทธา   ชาวบ้านและครูในโรงเรียนไม่อยากให้ท่านเกษียณ และใจไม่ดีเลยว่าผู้บริหารที่จะย้ายมาแทนท่านจะเป็นอย่างไร แต่นั้นคืออนาคต ก็หวังว่าการศึกษาไทยจะพัฒนาต้องร่วมกันเดินไปพร้อมกันระหว่าง วัด โรงเรียน(ผู้บริหาร-ครู) ชุมชน การศึกษาไทยคงจะเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ครูเล็กบ้านโป่ง

ครูมนตรี เกษีสังข์

เรียน ท่าน ผอ. พรชัยที่เคารพ

ผมเป็นครูน้อย ที่มีความไฝ่ฝันที่จะเป็น ผอ. และพยายามอ่านหนังสือ สรุป ไว้อ่านประจำโดยเฉพาะในเรื่องของการบริหาร พอมาเห็นบทความของท่าน รู้สึกประทับใจครับ และผมขอเป็นกำลังใจให้ครับ แม้ว่าผมสอบ ผอ.ไม่ผ่าน แต่จะพยายามต่อไป ผมเชื่อว่าการปฏิบัติในโรงเรียนกับทฤษฎีของนักวิชาการ มันต่างกันจริงๆ  ด้วยความเคารพครับ

                                                          ครูมนตรี  น้ำใสวรวิทย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท