อกุศลวิตก


ความหมายของอกุศลวิตก

อกุศลวิตก ๓

paint

พระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ได้ในความหมายของอกุศลวิตก ไว้ว่า เป็น

ความตริตรึกที่เป็นอกุศล ความนึกคิดที่ไม่ดี มี ๓ อย่างคือ

กามวิตก คิดแส่ไปในทางกาม หาทางปรนปรือตน

พยาบาทวิตก คิดในทางพยาบาท

วิหิงสาวิตก คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น

ท่านพุทธทาสได้บรรยายโดยยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า ผู้ที่นั่ง นอน ยืน เดิน อยู่ด้วยอกุศลวิตกทั้งสามนี้ ทรงตรัสเรียกว่า ผู้เกียจคร้าน

กามวิตก เป็นการครุ่นคิดไปทางทางกามารมณ์ด้วยอำนาจของราคะ และโมหะ

พยาบาทวิตก เป็นการครุ่นคิดไปด้วยอำนาจของโทสะ

วิหิงสาวิตก เป็นการครุ่นคิดไปในทางทำให้ตนเองและผู้อื่นลำบากโดยไม่จำเป็น ด้วยความโง่ หรือโดยไม่เจตนาโดยท่านได้ยกตัวอย่างไว้ว่า

แม้แต่ผู้ที่เร่งหาเงินมาใช้มากๆ กินอยู่ให้เอร็ดอร่อยนี้ มันก็เป็นวิหิงสาวิตก ทำตัวเองให้ลำบากโดยไม่จำเป็น หรือเกินจำเป็น อันนี้เป็นวิหิงสาวิตก ทำตัวเองให้ลำบากโดยไม่จำเป็น หรือเกินจำเป็น นี่เป็นความโง่ที่ทำให้เกิดความลำบากขึ้นมาแก่ตนเอง แก่ครอบครัว แก่ผู้อื่นทั้งโลกโดยไม่เจตนา

อ่านแล้วชวนให้นึกไปถึงคำกล่าวของมหาตมะ คานธี ค่ะ ที่ว่าผู้ที่สะสมทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป ถือว่าเป็นการโกง เพราะธรรมชาติเป็นของส่วนรวม เมื่อคนใดสะสมมากจนเกินความจำเป็น คนอื่นก็ขาด อาจเป็นที่เดือดร้อน ผู้ที่มีมากจึงถูกท่านเรียกว่าคนโกง

ส่วนผู้ที่ครุ่นคิดในทางตรงข้ามกับผู้เกียจคร้าน คือเผากิเลสเป็นเนืองนิตย์ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า ผู้มีความเพียร

....................................................................

อ้างอิง

พุทธทาสภิกขุ โพธิปักขิยธรรมประยุกต์ ( หน้า ๒๘๘ ๒๙๐ ) ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

พระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพ ๑๐๒๐๐

หมายเลขบันทึก: 299582เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

paint

กล้วยไม้พี่ตุ๊กตาสวยเสมอเลยนะ..เพราะเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลิศอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวค่ะ..คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะ...แวะเข้ามาทักทาย และได้แง่คิดดีๆ

ดอกไม้สวยมากเลยคะ...

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

อาตมาขอเสริมว่า อกุศลวิตก คือ การหมกมุ่น หรือ การย้ำคิดย้ำทำ "ในเชิงคิด" อันเป็นการ "คิดลบ"

๑. หมกมุ่นอยู่กับการ "แสวงหาสิ่งเสพ" ซึ่งคล้อยไปในทาง "นักวัตถุนิยม" หรือ "บริโภคนิยม" สุดท้ายก็เป็นทาสของ "วัตถุ/สิ่งเสพ"

๒. หมกมุ่นอยู่กับการอาฆาต และพยาบาทใครก็ตามที่ขัดขวาง หรือทำให้เราไม่บรรลุสิ่งที่เราหวัง หรือต้องการจะได้ หรือจะเป็น

๓. หมกมุ่นอยู่กับการคิด หรือหาช่องทางที่จะทำร้าย หรือทำลายผู้อื่นที่ทำลายความรัก (เทียม) ความหวังที่เราปรารถนาจะบรรลุ

ทั้งสามประการนี้ เป็นตัวแปรสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คน หรือกลุ่มคนขัดแย้งระหว่างกัน ก็ในเมื่อ "คนสองคน ต้องการสิ่งเดียวกัน และในเวลาเดียวกัน" แล้วไม่สมประสงค์สิ่งที่ตัวเองปรารถนา และไม่ลดลาวาศอก ยึดมั่นที่จะไขว่ขว้าและแสวงหามาให้ได้ จึงต้องทำร้าย หรือทำลายอีกฝ่ายที่ตัวเองเข้าใจว่า "เป็นมาร" ที่ขวางความต้องการของตัวเอง

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เมื่อใดที่ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลกของเราจะอยูร่วมกันอย่างมีความสุข และพบสันติสุขอย่างแท้จริง

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ ที่เมตตามาเสริมความสมบูรณ์ของบันทึก

ดูเหมือนประเทศเราในยามนี้ หลายๆคนหมกมุ่นในอกุศลวิตกกันมากนะเจ้าคะ ราวกับตกสีเชียวเจ้าค่ะ

คนที่เหลือเลยถูกสีตกใส่ตามไปด้วย

ขอบคุณคุณกรุณาค่ะ รักษาสุขภาพเช่นกันนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ Phornphon ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมกัน

  • เข้ามา..ไม่ได้ดู ตาม้า ตาขุน
  • โดนไปเต็มๆ..อิอิ

สวัสดีค่ะ

  • สาธุ...ค่ะ
  • ผู้ที่ครุ่นคิดในทางตรงข้ามกับผู้เกียจคร้าน คือเผากิเลสเป็นเนืองนิตย์ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “ ผู้มีความเพียร ”

สวัสดีค่ะ...อ่านแล้วให้คิด..."วิหิงสาวิตก"...อือ!! มีบ้าง...แต่เป็นไปโดยไม่เจตนาเจ้าค่ะ...

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ...สำหรับสาระความรู้ที่ทุกคนควรได้รู้ค่ะ...นอนหลับฝันดีนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท