บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

การนอนในทัศนะอิสลาม


อิสลามเป็นวิถีชีวิตที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงแห่งความเป็นมนุษย์ อิสลามไม่ละเลยสิ่งที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ(จิตวิญญาณ) และอิสลามถือว่า 2 สิ่งนี้ก็มีสิทธิเหนือมนุษย์ แลอิสลามได้บัญญัติให้มุสลิมต้องตอบสนองความต้องการของร่างกายและจิตวัญญาณอย่างสมดุลและเท่าเทียมกัน ร่างกายของมุสลิมก็ต้องการการผักผ่อน ต่องการหาความสุขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการกินการดื่ม ในอิสลามพระผู้ป็นเจ้าไม่ประสงค์ให้มนุษย์เคร่งเครียด และหมกมุ่นอยู่กับการปฏิบัติศาสนกิจโดยหันหลังให้กับความสนุกและรื่นเริง แต่ต้องเป็นการหาความสุขและแสวงหาความรื่นเริงในหนทางของอัลอิสลาม ไม่ใช่ไปเล่นการพนัน เข้าซ่อง กินเหล้า ขายยาเสพติด เลี้ยงนักเลงหัวไม้ คุมบ่อน ฯลฯ

           การผ่อนคลายร่างกายเป็นความจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน คนที่อยู่ในสภาวะเคร่งเครียดตลอดเวลาไม่อาจทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดี และยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาวะอีกด้วย สังคมที่มีผู้คนเคร่งเครียดมากเป็นสังคมที่มีอัตราการฆ่าตัวตาย ทำร้ายร่างกาย และก่ออาชญากรรมสูง การนอนถือเป็นฟิฏเราะฮที่พระผู้เป็นเจ้าได้กำหนดไว้ นั่นคือการนอนตั้งแต่หัวค่ำ ไม่ใช่นอนดึก จนถึงเที่งคืนหรือเกินกว่านั้น ดังพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ประทานลงมาดังนี้ ในพระพจนาถชื่ออัน นะบะฮ์ พระบัญญัติที่ 10-11 พระองค์ตรัสว่า "และเราได้ทำให้การนอนของพวกเจ้าเป็นการพักผ่อน(แก่ร่างกายหลังจากได้ตรากตรำทำงานกันมาในเวลากลางวัน)และเราได้ทำให้กลางคืนเป็นเหมือนอาภรณ์(ปกปิดและอ้อมล้อมเพื่อให้หลับสบาย)    และพระพจนาถชื่อ อัล ฟุรกอน พระบัญญัติที่ 47 พระองค์ตรัสว่า "และพระองค์เป็นผู้ซึ่งทำให้เวลากลางคืนเสมือนอาภรณ์ที่ปกปิด (ด้วยความมืดของมัน)สำหรับพวกท่าน และให้การนอนเป็นการพักผ่อนและกลางวันเป็นการออกไปทำมาหากิน" และพระพจนาถชื่อยูนุส พระบัญญัติที่ 67 พระองค์ตรัสว่า"พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนให้แก่พวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้พักผ่อนและกลางวัน(เสมือนแสงสว่าง)ที่สามารถมองเห็น(ในการแสวงหาปัจจัยยังชีพในการดำรงชีวิต)แท้จริงวในสิ่ง ดังกล่าวแน่นอนย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนที่ได้ยินเพื่อใคร่ครวญ " การนอนตั้งแต่หัวค่ำเป็นสัญญานหนึ่งของอัลลอฮ(ซ.บ)ที่มนุษย์จะต้องมาไตร่ตรองและพินิจวิเคราะห์คุณและประโยชน์อันมากมายเพราะการนอนแต่หัวค่ำเป็นกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ (ซ.บ)ที่มนุษย์จะต้องปกิบัติให้สอดคล้องกับฟิฏเราะฮ์(กฏเกณฑ์ที่สร้างความสมดุล)ในการดำเนินชีวิต  ในขณะที่ท่านศาสดามูฮัมมัด(ซ.ล)มีแบบอย่างในการนอนเป็นซุนนะห์(แบบอย่างที่สำคัญ)โดยท่านจะนอนตะแคงด้านขวา และหันหน้าไปทางตะวันตก หรือศรีษะไปทางตะวันตก ห้ามนอนชี้เท้าทิศตะวันตกเพราะถือเป็นทิศซึ่งอัลกะบะห์(บัยตุลลอฮ)บ้านของอัลลอฮ(ซ.บ)ซึ่งตั้งอยู่ที่นครเมกกะ และสำหรับประเทศไทยอยู่ทางทิศตะวันตก ดังนั้นมุสลิมทั่วโลก จึงนอนตะแคงขวา ซึ่งท่านศาสดามีเหตผลถึงการไหลเวียนโลหิต การนอนที่ไม่กระทบกับระบบการเต้นของหัวใจ และการนอนในมัสยิดห้ามนอนคว่ำหน้า 

คำสำคัญ (Tags): #การนอนในอิสลาม
หมายเลขบันทึก: 299575เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่บอกว่า "ห้ามนอนชี้เท้าทิศตะวันตกเพราะถือเป็นทิศซึ่งอัลกะบะห์(บัยตุลลอฮ)บ้านของอัลลอฮ(ซ.บ)ซึ่งตั้งอยู่ที่นครเมกกะ" ท่านเรียนมาจากไหนครับ อัลลอฮ ไม่ได้เหมือนสิ่งที่ท่านสร้าง ไม่มีบ้านไม่มีที่อยู่ ท่านอยู่ทุกที่ในจักวาล และ การละหมาดหันไปทางอัลกะบะห์นั้นเป็นทิศที่ท่านนบีกำหนดซึ่งก่อนหน้านั้นได้ละหมาดหันไปทางเยรูซาเลม และท่านนบีไม่เคยบอกว่าเป็นบ้านของอัลเลาะห์ และไม่มีหาดีษที่ไหนบอกว่าในนอนไปทางทิศไหน มีแต่ในนอนตะแขงขวา ท่านได้สร้างความรู้นอกเหนือไปจากที่ท่านนบีสอน ซึ่งท่านนบีเคยประมามคนที่เป็นแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท