K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ


โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่เกิจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ

โรคอินฟลูเอนซ่า ในสัตว์

การติดเชื้อไวรัสทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ  ซึ่งแพร่ระบาดได้รวดเร็ว  และมีความรุนแรงต่าง ๆ กัน  พบในคนเรียกไข้หวัดใหญ่ ( Influenza )  และในสัตว์  ได้แก่

 -  อินฟลูเอนซ่าในสัตว์ปีก ( Avian  Influenza)

 -  อินฟลูเอนซ่าในสุกร (Swine  Influenza)

 -  อินฟลูเอนซ่าในม้า (Equine  Influenza)  

Influenza virus อยู่ในตระกูล Orthomyxoviridae เป็น RNA ไวรัสสายเดี่ยวมีเปลือกหุ้ม (envelope) ชั้นนอกเป็น lipid membrane ที่ได้จาก host cell มี glycoproteins 3 ชนิด  ที่สำคัญมากสองชนิดได้แก่ hemagglutinin (HA) และ neuraminidase (NA) เป็นปุ่มยื่นออกมา (spikes)  

    แบ่งได้ 3 types คือ A, B และ C

            - Type A พบในคน และสัตว์

            - Type B และ C ไม่มี subtypes พบเฉพาะในคน แต่เคยมีรายงานการแยกเชื้อ Type C ได้ในสุกรโดยสุกรไม่แสดงอาการป่วย  

Orthomyxoviridae Genera, Species, And Serotypes

Genus

Species (* indicates type species)

Serotypes or Subtypes

Hosts

Influenzavirus A

Influenza A virus (*)

H1N1, H1N2, H2N2, H3N1, H3N2, H3N8, H5N1, H5N2, H5N3, H5N8, H5N9, H7N1, H7N2, H7N3, H7N4, H7N7, H9N2, H10N7

Human, pig, bird, horse

Influenzavirus B

Influenza B virus (*)

 

Human

Influenzavirus C

Influenza C virus (*)

 

Human, pig

Isavirus

Infectious salmon anemia virus (*)

 

Atlantic salmon

Thogotovirus

Thogoto virus (*)

 

Tick, Mosquito, Mammal

 (including Human)

Dhori virus

Batken virus
Dhori virus

 

*** นกน้ำ (water fowl) ติดเชื้อได้ทุก subtypes โดยไม่แสดงอาการ จึงทำหน้าที่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้กับสัตว์ชนิดอื่นๆ *** 

             เชื้อไวรัส influenza สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง antigenicity ได้ง่ายโดยอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (Antigenic drift) ทำให้ได้ variants ใหม่เกิดขึ้น เชื้อไวรัส influenza ของคนเกิด Antigenic drift บ่อยกว่าเชื้อของสัตว์ปีกหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจนที่ต่างจากเดิมไปมาก (Antigenic shift) กลายเป็น subtype ใหม่ทำให้ได้ H หรือ N ชนิดใหม่ การเปลี่ยนของ H พบบ่อยกว่า N ในกรณีที่เซลติดเชื้อไวรัส influenza ที่แตกต่างกันระหว่างขั้นตอน 

            การเพิ่มจำนวนของเชื้อจะเกิดการสับเปลี่ยน segments ของเชื้อแต่ละชนิด (Genetic Reassortment) ได้ง่ายเนื่องจากเชื้อนี้มี viral genome ถึง 8 segments และแต่ละ segment ก็สามารถเพิ่มจำนวนได้เป็นอิสระก่อนจะมารวมกันเป็น virion ใหม่ถ้าเซลติดเชื้อที่แตกต่าง กัน 2 ชนิด จะมีโอกาสได้เชื้อไวรัส ลูกผสมที่มีความแตกต่างของ RNA segments ถึง 256 ( 28 ) ชนิด ที่ร่างกายไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้าง

 โรคอินฟลูเอนซ่าในม้า  ลา  ฬ่อ

(Equine influenza virus)

โรคอินฟลูเอนซ่าในม้า ลา ฬ่อ ทำให้สัตว์ป่วยด้วยอาการของ “ หวัด ”  และมักจะหายได้เอง  แต่โรคนี้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ  เช่น  การเกิดโรคนี้ที่ฮ่องกงในปี ค.ศ. 1992  ทำให้สนามม้าแข่งต้องเลื่อนการแข่งม้า  7  นัด  เป็นเวลานานกว่า  32  วัน  

                ปัจจุบันมีรายงานการตรวจพบ  H3N8 subtype  ในสุนัขที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และพบมีการระบาดอย่างรวดเร็วในกลุ่มสุนัข ทำให้สุนัขป่วย และแพร่เชื้อให้สุนัขตัวอื่นๆ ได้ จากการศึกษาลักษณะของเชื้อทางด้านพันธุกรรมพบว่าเชื้อมีต้นกำเนิดมาจาก H3N8 subtype ในม้า จะเห็นได้ว่า  H3N8 ปรับตัวได้ดีจนสามารถเข้าไปเพิ่มจำนวน   และแพร่เชื้อได้เป็นวงกว้างในฝูงสุนัข ทำให้เกิดการติดเชื้อข้าม species ได้เป็นผลสำเร็จ

สาเหตุ  เชื้อไวรัส  Influenza type A  ชนิด H7N7 (equine-1)  และ H3N8 (equine-2) เชื้อ  ทำให้เกิดอาการป่วยของระบบหายใจที่คล้ายคลึงกัน  ระยะฟักตัวของโรค  1-5 วัน

อาการ  ซึม  ไอ  มีไข้  ไม่กินน้ำและอาหาร  ตาอักเสบ  น้ำมูกน้ำตาไหล  ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอาจบวม  หลอดลมอักเสบ  ถ้าอาการไม่รุนแรงไข้มักลดภายใน 3 วัน  แต่ยังมีอาการไออยู่  และมักหายเป็นปกติใน 2-3 สัปดาห์ 

การติดต่อ  เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายโดยการไอและน้ำมูก เชื้อจะแพร่ระบาดในฝูงอย่างรวดเร็ว

การรักษา  ให้สัตว์ได้รับการพักผ่อน  งดการใช้งาน  ไม่มียารักษาโดยตรง  ควรให้ยาปฏิชีวนะ  เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนและทำให้ปอดบวม

โรคอินฟลูเอนซ่าในสุกร

Swine Influenza , Swine Flu

ในสุกรมีรายงานการตรวจพบ swine influenza virus 3 subtypes หลัก ๆ คือ H1N1, H3N2 และ H1N2 มักพบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากคนไปสุกร หรือจากสุกรไปยังคนอยู่บ่อยๆ เนื่องจากสุกรมีตัวรับบนผิวเซลล์ที่สามารถจับกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มาจากสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ สุกรจึงเปรียบเหมือนถังผสม “mixing vessel” เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส 2 ชนิดในเซลเดียวกันอาจทำให้เกิด “ reassortment ” ได้ไวรัสตัวใหม่เกิดขึ้น (reassortant virus) และทำหน้าที่เป็นตัวกระจายไวรัส “ viral amplifier

สุกรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบาดวิทยา และสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในคน เนื่องจากเชื้อ H1N1  เป็นเชื้อโรคสัตว์ติดคน  และสามารถแพร่สู่คนได้โดยตรง  การควบคุมป้องกันไม่ให้สุกรสัมผัสกับสัตว์ปีกทั้งทางตรงและทางอ้อม  นอกจากจะเป็นการป้องกันโรคในสุกรแล้ว  ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในคนด้วย

อาการ    สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร หายใจลำบาก ไอ จาม มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่อัตราการตายต่ำ   สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน ถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory  Disease Complex,PRDC)

การระบาด   มีการแพร่กระจายทั่วโลก เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ในคน  ในประเทศไทย ปี 2545  รายงานการแยกเชื้อจากสุกรที่แสดงอาการหวัด จาก 15  จังหวัด  พบแอนติบอดีต่อเชื้อ H1N1 ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ และสุกรขุน

ปี 2546  สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ได้รับตัวอย่าง nasal swab ของสุกรที่ป่วยด้วยอาการคล้ายหวัด  ผลการตรวจ  พบเชื้อชนิด H3N2 ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อทั้ง 2 ชนิด  (H1N1 และ H2N3) โรคนี้สามารถติดต่อทั้งทางตรงและทางอ้อมระหว่างสุกรด้วยกัน  โดยเชื้อไวรัสจะปะปนในอากาศเมื่อสุกรไอ หรือจาม จากการกินอาหารและน้ำร่วมกัน  หลังจากการติดโรคสุกรทุกตัวในฝูงจะป่วยภายใน 2 - 3 วัน  และเชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากสุกร แม้จะหายป่วยจากโรคนี้แล้วนานถึง   3   เดือน  

เป็นโรคที่สามารถพบได้ในสุกร ทั้งนี้จะพบมากในช่วงฤดูหนาว หรือในสุกรที่เพิ่งนำมาเข้าเลี้ยง

การป้องกันโรค

1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรค Swine Influnza จะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล พบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง

2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส Avian Influenza และ Swine Influenza

3. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจเข้าในคอกเลี้ยงสุกร

4. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี เช่น คอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศ ถ่ายเทได้สะดวกไม่อยู่ในที่หนาว เย็น ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไป  และเสริมวิตามินในอาหาร ตลอดจนเข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม และเข้มงวดการเข้าออกจากฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ

 มาตรการควบคุมป้องกันโรค

การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active surveillance)

 - การเฝ้าระวังทางอาการ   เริ่มดำเนินการตั้งแต่  27  เมษายน  โดยเครือข่าย  เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก  สอบถามลักษณะอาการโรคไข้หวัดสุกร  เช่น  มีไข้  ซึม  น้ำหนักลด  หายใจลำบาก  ไอ  จาม  น้ำมูกไหล  ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เพื่อตรวจสอบ

- การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ  โดยสุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งจากโพรงจมูก (nasal swab) ในสุกรอายุ  2-4  เดือน  และสุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งจากหลอดลม (tracheal swab) จากสุกรที่เข้าโรงฆ่า

 มาตรการควบคุมกรณีพบเชื้อโรคไข้หวัดสุกร

กรณีสุกรมีชีวิต  แนะนำเกษตรกร  ดังนี้

  1. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็นส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้กินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
  2. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก  เช่น กลุ่มกลูตารอลดีไฮด์   กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์  กลุ่มไอโอดีน  โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย  ซึ่งเชื้อไวรัส influenza สามารถถูกทำลายด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิ 56 oC นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60 o C นาน 30 นาที

3. ห้ามผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดเข้าคอกเลี้ยง

4. งดเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค

5. เฝ้าระวังโรคในคอกที่พบสัตว์ป่วย  อย่างต่อเนื่องนาน  1 เดือน

 กรณีสุกรในโรงฆ่า

      ตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรที่พบเชื้อไข้หวัดสุกร  และดำเนินการเช่นเดียวกับในกรณีพบเชื้อในสุกรมีชีวิต

 การควบคุมโรค

1. ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค

2. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้อง  ให้สารน้ำหากจำเป็นส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

3. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายโดยเชื้อไวรัส influenza ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิ 56 oC นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60 oC นาน 30 นาที และสารเคมีต่างๆ เช่น สารที่มีคุณสมบัติในการละลายไขมัน (lipid solvents), formalin, betapropiolactone,oxidizing agents, sodium dodecylsulfate, hydroxylamine, ammonium ions และiodine compounds

 

การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active surveillance)

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง Nasal Swab จากฟาร์มสุกรและสุกรจากโรงฆ่า เพื่อจำแนกชนิดของเชื้อไวรัส

 

โรคอินฟลูเอนซ่าในสัตว์ปีก

      Avian Influenza

-  โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำอันตรายต่อสัตว์ปีกมานานหลายปี มักพบในไก่ไข่ ไก่เนื้อ  ไก่งวง  ไก่ต๊อก  เป็ด  ห่าน  นกกระทา นกทะเล นกตามชายฝั่ง และสัตว์ปีกอื่นๆ  

-    โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ ที่มีการอพยพระหว่างประเทศ (นกเป็ดน้ำจะมีความต้านทานต่อโรคไข้หวัดนกสูงกว่าสัตว์ปีกชนิดอื่น)

สาเหตุของโรค

      -   เกิดจากไวรัสตระกูล Orthomyxoviridae     เป็น RNA ไวรัส  มีเปลือก  หุ้ม และส่วนที่ยื่นออกมาของ glycoprotein ซึ่งเป็น surface antigen เรียกว่า Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N)

      -   ปัจจุบันพบว่า มี  Hemagglutinin จำนวน 15 ชนิด และ Neuraminidase  จำนวน 9 ชนิด

      -   เชื้อชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่ม influenza type A (ปกติจะมี 3 type)  การ กำหนดว่าเป็นชนิดอะไร (A B C) ขึ้นอยู่กับ M protein บนเปลือกหุ้มไวรัส และneucleoprotien  

      -   influenza type A เกิดขึ้นในสัตว์เกือบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์

      -   influenza type B C ไม่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ความคงทนของเชื้อโรคไข้หวัดนก

ความคงทนของเชื้อโรคไข้หวัดนกใน allantoic fluid ที่ได้จากการฉีดไข่ฟัก

1. วางไว้กลางแดดที่อุณหภูมิ 33-35 C

ผลการแยกเชื้อไวรัสเป็นลบเมื่อเวลาผ่านไป

เชื้อโรคไข้หวัดนกใน allantoic fluid ล้วน ๆ

30 นาที

เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในอุจจาระสด 1 ml.

30 นาที

2. วางไว้ในร่มที่อุณหภูมิ 25-33 C

 

เชื้อโรคไข้หวัดนกใน allantoic fluid ล้วน ๆ

10  วัน

เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในอุจจาระสด 1 ml.

3  วัน

  

ความคงอยู่ของเชื้อโรคไข้หวัดนกในเนื้อสัตว์ปีกและผลิตผลสัตว์ปีก

วิธีการทดสอบ

ผลการแยกเชื้อไวรัสเมื่อเวลาผ่านไป

1. ตัวอย่างเนื้อไก่ที่ฉีดเชื้อด้วยขนาดดังกล่าว

โดยการทำให้สุกโดยปรุงตามปกติ

ไม่พบเชื้อไข้หวัดนกเมื่อปรุงอาหารให้สุกด้วยวิธีทั่วไป

2. นำเชื้อมาฉีดเข้าไปในไข่

- นำมาลวกด้วยน้ำเดือดเป็นเวลา 2 นาที

- นำมาทอดเป็นไข่ดาวที่ไข่แดงเป็นยางมะตูม

- นำมาทอดเป็นไข่เจียว

ทุกวิธีการปรุงอาหารจากไข่ดังกล่าวให้

ผลลบต่อการแยกเชื้อไวรัส

3. นำเชื้อผสมอุจจาระไก่ระบายที่เปลือกไข่ตั้งทิ้งไว้จนแห้ง เก็บตัวอย่างจากเปลือกไข่และถาดไข่ที่ใส่

โดยการ swab

หลังจาก 1 วันผ่านไป ไม่พบเชื้อไข้หวัดนกที่เปลือกไข่และถาดไข่

 ¶  แม่ไก่ที่กำลังป่วยหนักจะไม่ให้ไข่ หรือให้ไข่ได้ไม่เกิน 1 ฟอง

     หลังจากนั้นจะตาย

¶  แม่ไก่ที่เพิ่งติดเชื้อหรือยังไม่แสดงอาการนั้น มักจะไม่ให้ไข่เช่นกันเนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงและไม่กินอาหาร จึงไม่ควรที่จะวิตกกังวลในการบริโภคเนื้อไก่เนื้อเป็ดหรือไข่ไก่     ไข่เป็ด

  

ลักษณะการแพร่กระจายของเชื้อ

          1.  การแพร่กระจายระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

           -   จาก การเดินเข้าออกในฟาร์มโดยไม่ผ่านการล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 

           -   การทิ้งขยะ 

           -   หนู  สัตว์ฟันแทะอื่นๆ  แมลงวัน นกป่า โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ

           -   เชื้ออาจถูกพบบนเปลือกไข่ทั้งชั้นนอกและชั้นใน  อาจแพร่เชื้อระหว่างการนำเข้าไปยังตู้ฟัก  

        -  การพัดของลมไม่สามารถแพร่กระจาย เชื้อไปยังฟาร์มอื่นได้

        -  การแพร่เชื้อระหว่างฟาร์ม  ส่วนมากเกิดจากการเคลื่อนย้ายรถ  คน เครื่องมืออุปกรณ์ระหว่างฟาร์ม

         2.   การแพร่กระจายระหว่างสัตว์ปีก

               -   ผ่านทางเดินหายใจ เชื้อจะฟุ้งกระจายในอากาศ ซึ่งมา  

           จากน้ำคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค  

               -   จากการสัมผัสอุจจาระสัตว์ป่วย

        3.   กระแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คน

              -  มนุษย์สามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก บาดแผล

         ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเชื้อมักจะปนเปื้อนมากับอุจจาระ น้ำคัดหลั่ง

         ของสัตว์ป่วย  

             -   กลุ่มเสี่ยง ได้แก่  คนที่ทำงานในฟร์ม คนเชือดไก่ คนเลี้ยงสัตว์ปีก คนเชือดไก่ คนที่เดินผ่านตลาดซื้อขายสัตว์ปีก  คนที่สัมผัสเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน คนที่สัมผัสไข่ไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อ

 หลังจากสัตว์ปีกได้รับเชื้อ  ไวรัสจะเพิ่มจำนวนในระบบหายใจโดยเฉพาะโพรงจมูก  หรือระบบทางเดินอาหารแล้วแพร่เชื้อออกมา  ไวรัสชนิดรุนแรงจะเข้าสู่ชั้นใต้เยื่อเมือก  และเพิ่มจำนวนในเซลเยื่อบุของหลอดเลือดฝอย  จากนั้นจะแพร่กระจายไปตามระบบเลือด  และระบบน้ำเหลืองสู่อวัยวะต่าง ๆในร่างกาย เช่น  สมอง  ผิวหนัง  อาการที่ปรากฏและการตายเกิดจากความล้มเหลวของอวัยวะต่าง ๆในร่างกาย  ไวรัสสามารถคงอยู่ในเนื้อเยื่อ  สิ่งคัดหลั่งและมูลของสัตว์  รวมทั้งในน้ำและสิ่งแวดล้อม

 

อาการ    แบ่งชนิดของโรคไข้หวัดนก     ตามความรุนแรงของการก่อโรคเป็น 2 ชนิด คือ

1. ไข้หวัดนกชนิดรุนแรง (highly pathogenic avian influenza: HPAI)

2. ไข้หวัด นกชนิดไม่รุนแรง (low pathogenic avian influenza: LPAI  นอกจากนี้ยังขึ้นกับชนิดสัตว์  ความรุนแรงของเชื้อ  ระดับภูมิคุ้มกันของสัตว์  ปริมาณของเชื้อ  ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อ  โดยทั่วไปอาการที่พบมี  ดังนี้

                1.ก่และไก่งวง  มีระยะฟักตัว 3-5 วัน  แสดงอาการซึม  ไม่กินอาหาร ไข่ลดอย่างรวดเร็ว  ใบหน้า  เหนียง หงอนบวมคล้ำ  ขาดน้ำ  มีสารคัดหลั่งในช่องจมูกและปาก  ตาแดงมีเลือดคั่ง  อาจพบอาการทางประสาทร่วมด้วย  อย่างไรก็ดีอาจไม่พบอาการใด ๆ ถ้าสัตว์ตายอย่างเฉียบพลัน

                2.  นก  ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการป่วย  อาจตายเฉียบพลัน

                3.  เป็ดและห่าน   อาจไม่แสดงอาการป่วย

 รอยโรคที่พบ  คือ ปื้นเลือดที่หน้าแข้ง  มีคราบน้ำมูกน้ำตา  เยื่อตามีการคั่งเลือดอย่างรุนแรง  บวมน้ำใต้ผิวหนังบริเวณหัวและคอ  กล้ามเนื้อมีการคั่งเลือด  พบจุดเลือดออกที่ด้านในของกระดูกอก  หัวใจ  เยื่อบุช่องท้อง  ไขมันในช่องท้อง  รังไข่  ตับอ่อน เยื่อบุกระเพาะแท้ และกระเพาะบด เลือดคั่งอย่างรุนแรงที่ไต  ในรายที่ตายเฉียบพลันอาจไม่พบรอยโรคใด ๆ

                อาการดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะบ่งชี้ของโรคนี้เท่านั้น อาจต้องวินิจฉัยแยกจากโรคระบบหายใจอื่น เช่น นิวคลาสเซิล  หลอดลมอักเสบติดต่อ  และโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น  อหิวาต์สัตว์ปีกชนิดเฉียบพลัน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีชันสูตรทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย

                การแพร่เชื้อ   จากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากสัตว์ที่เป็นโรค   หรือติดต่อจากน้ำ  อาหาร  อุปกรณ์เลี้ยง เครื่องใช้ในฟาร์ม  ยานพาหนะ  เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนเชื้อ  แหล่งรังโรคที่สำคัญ  คือ สัตว์ปีกประเภทเป็ด  นกน้ำ  และนกป่า  อาจติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการแต่สามารถเพิ่มจำนวนเชื้อและแพร่สู่สัตว์ปีกอื่นได้

                การควบคุมและป้องกันโรค

             -    เมื่อเกิดการระบาดของโรคในฟาร์ม ต้องทำลายไก่ทั้งฟาร์มและในรัศมี 5 กม. เพื่อควบคุมโรคระบาด  

             -    สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคให้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ ควบคุมโรคระบาด ห้ามเคลื่อนย้ายไก่ในพื้นที่ที่มีการระบาดในรัศมี 50 กม. และต้องมีมาตรการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

ผลกระทบของโรคระบาดในไก่ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

          -    ปัจจุบันการส่งออกไก่ไทยจัดว่าเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่ทำรายได้เข้าประเทศถึงปีละ 5 หมื่นล้าน ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท ต่อปี คาดว่าจะเป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2549

          -   แต่สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบันอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทั้งระดับมหภาคและระดับจุลภาค  

          -   ผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่อาจมีผลกระทบบ้าง 

          -   แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่รายย่อยส่งผลกระทบอย่างรุนแรง

ผลกระทบของโรคระบาดในไก่ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

          -    ปัจจุบันการส่งออกไก่ไทยจัดว่าเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่ทำรายได้เข้าประเทศถึงปีละ 5 หมื่นล้าน ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท ต่อปี คาดว่าจะเป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2549

          -   แต่สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบันอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทั้งระดับมหภาคและระดับจุลภาค  

          -   ผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่อาจมีผลกระทบบ้าง 

          -   แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่รายย่อยส่งผลกระทบอย่างรุนแรง

 

โรคไข้หวัดมรณะ
 (Severe Acute Respiratory Syndrome, SARS)

-   โรคไข้หวัด (Common cold) โดยทั่วไปเกิดจากเชื้อไวรัส ใน  4 ตระกูลใหญ่ คือ Rhinovirus, Corona virus, Paramyxovirus และ Respiratory Syncytial Virus ซึ่งในปัจจุบันพบเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดในคนกว่า 500 สายพันธุ์ย่อย

-   ปัจจุบันตรวจพบเชื้อไวรัส 2 ชนิด ในระยะแรกนักวิทยาศาสตร์ จีน และเยอรมันตรวจพบเชื้อตระกูล Paramyxovirus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้หัด (Measle) โรคคางทูม (Mump) เป็นต้น

 -  ในช่วงสัปดาห์ต่อมานักวิทยาศาสตร์อเมริกันพบเชื้อ Corona virus ซึ่งจนถึงวันที่ 4 เมษายน 2546 ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนระหว่างเชื้อไวรัสทั้งสองในการก่อให้เกิดโรคระบาดที่ร้ายแรงและยังไม่มี

สาเหตุของโรค

      1.   โคโรนาไวรัส (Corona virus) มีแนวโน้มจะเป็นเชื้อสาเหตุการเกิดโรคครั้งนี้มากกว่า เพราะตรวจพบในผู้ป่วยหลายราย(autopsy)ด้วยหลายวิธีในห้องปฏิบัติการ เช่น Immunofluorescence Assey (IFA), Polymerase Chain Reaction (PCR), Isolation, Electron Microscopy (EM) และ DNA/Protein Sequencing

 

–          พารามิกโซไวรัส (Paramyxovirus) พบในคนไข้ 4 ราย จากการเก็บเสมหะ (throat swab) ตรวจดูด้วยกล้องจุลทัศน์อิเลคตรอน (EM)

มีรายงานจากสื่อมวลชนของไทย

                       -   วันที่ 3 เมษายน 254­6 เวลา 13:35 น. (Website ช่อง 9) โดยแปลข่าวมาจากหนังสือพิมพ์ South China ของฮ่องกง ว่าผู้ป่วยรายแรกของโลก เป็นชายชาวจีนแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้งอาจติดเชื้อจากการกินสัตว์ป่า หรือการล่าสัตว์ เขาต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกและสัตว์ป่าหลายชนิด

                     -   ในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่นๆและทางวิชาการหลายเวบไซท์ไม่พบรายละเอียดของข้อมูลนี้ พบแต่ในหน้าของหนังสือพิมพ์ South China Morning Post อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเชื้อใดเป็นเชื้อที่ก่อโรคที่แท้จริงหรือเกิดร่วมกันจาก co-infection อีกประการหนึ่งคือ เชื้อไวรัสทั้ง 2 กลุ่มพบได้อยู่แล้วในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory tract)

2.  ในประเด็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonosis)

            -   ปัจจุบันมีเพียงข้อสันนิฐานว่าเชื้อไวรัสอาจจะทำให้เกิดโรคในสัตว์ข้ามชนิดกันหรือติดมาสู่คน “Jump species” เนื่องจากโคโรนาไวรัสพบได้ในสัตว์เลือดอุ่นเกือบทุกชนิด และอาจจะมีการกลายพันธุ์ (mutation) เป็นสายพันธุ์ใหม่มาติดต่อสู่คน  อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่แน่ชัด

ผลจากการตรวจ sequence protein ของโคโรนาไวรัสในขั้นต้น

           -   พบว่ามีลักษณะทางพันธุกรรม ก้ำ กึ่งระหว่าง Bovine coronavirus และ Avian coronavirus ที่เป็นสาเหตุของโรค Infections Bronchitis (IB) ในสัตว์ปีก (ซึ่งกรมปศุสัตว์ตรวจสอบได้และผลิตวัคซิน ปีละ 74 ล้านโด๊ส)

           -   อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการตรวจสอบโดย sequence แค่ส่วนเล็กๆ ส่วนเดียวของไวรัส และยังไม่สามารถยืนยัน (confirm) ได้   จากการที่นักวิชาการคาดว่า

             -  น่าจะเป็นโคโรนาไวรัสมากที่สุด

             -   จึงมีการพัฒนาการตรวจแบบ Rapid test โดยใช้วิธี RT-PCR  โดยใช้ pooled primers ที่จำเพาะตัวโคโรนาไวรัส ซึ่งจะทราบผลภายใน 2-3 ชั่วโมง แต่วิธีการโดยรายละเอียดไม่เปิดเผย และ pooled primers นี้ บริษัทเทคโนโลยีทางชีวภาพ (Biotech) แห่งหนึ่งในเยอรมันเป็นผู้ผลิตจำหน่าย

 

โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์
(Nipah Viral Encephalitis)

-  เกิดจากเชื้อไวรัส  เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่

  -  ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางไวรัส  วิทยาชื่อ  นายชู การ์ บิงค์ (Dr.Chau Kaw Bing)  แห่งมหาวิทยาลัยมาลายา       ประเทศ มาเลเซีย 

  -  โดยค้นพบเมื่อเดือนมีนาคม  พ.ศ.2542  พบว่า  สาเหตุที่ทำให้คนที่ ทำงานในฟาร์ม  สุกร  คนงานที่ทำหน้าที่ขนส่งสุกรมีชีวิตไปยังโรงฆ่าสัตว์  และคนงานที่ทำงานในโรงงานฆ่าสัตว์  หรือผู้ที่สัมผัสสุกรที่ป่วยเป็นโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ 

  -  เชื้อไวรัสชนิดนี้จะทำให้คนและสุกรป่วย  แสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมกับอาการทางระบบประสาท

สาเหตุของโรค

      -  เป็นไวรัสชนิดที่อยู่ในวงศ์พารามิกโซไวริดี้ (Paramyxoviridae)  ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายไวรัสเฮนดรา (Hendra viirus)  พบครั้งแรกในประเทศออสเตรเลีย

       -   พ.ศ.2537  ม้าแข่งป่วยมีอาการไข้ ตามด้วยอาการทางระบบทางเดินหายใจ  และสามารถติดต่อมายังคนที่ฝึกม้าหรือขี่ม้า 

     -  ตอนแรกเรียกว่าโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสคล้ายไวรัสเฮนดร้า (Hendra-like virus)  แต่หลังจากนั้นต่อมาแยกความแตกต่างจำเพาะของเชื้อไวรัสจึงตั้งชื่อใหม่ว่า “นิปาห์ไวรัส” (Nipah virus) 

     -  โดยตั้งชื่อตามชื่อของหมู่บ้านที่เป็นแหล่งเกิดโรคมีผู้ป่วยมากที่สุดในรัฐเนกริ เซมบิลัน (Negri Sembilan) 

     -   สามารถติดต่อได้ในคน  ม้า  แมวและสุนัข  สุกร

     -   พบว่าสุกรที่มีอายุน้อยจะไวต่อการติดโรคและเป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี

อาการของโรคในสุกร

n      ในระยะแรกสุกรที่ได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการ  ไข้สูง  หายใจเร็ว  หอบ  หายใจลำบากจนสุกรต้องอ้าปากหายใจ 

n      สุกรป่วยมักไออย่างรุนแรงแต่ไม่มีเสมหะ

n       ต่อมาสุกรจะมีอาการทางระบบประสาท  สุกรจะแสดงอาการซึม  บางตัวมีอาการดุร้าย  วิ่งชนคอกหรือกัดราวคอก  ตัวสั่นชักกระตุก  เกร็ง  ขาหลังอ่อนแรงไม่สามารถยืนขึ้นได้

n       สุกรท้องมักแท้ง

การติดต่อของโรค

             -  มักพบในคนงานที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสุกร

      -  คนงานในโรงฆ่าสุกร 

      -  คนขับรถขนส่งสุกรมีชีวิตและมีประวัติเคยสัมผัสกับสุกรมีชีวิตที่ป่วยเป็นโรคนี้

 

หมายเลขบันทึก: 298742เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท