กรมอนามัยรับแขก ... KM Bakery ตอน 3 ... CoP เริ่มลุย กลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ. และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงฯ (6)


 

คุณปลา (จันทิรา) ท้าวความเรื่องลุยในอดีต ... ล้ม แล้วลุก แล้วได้ชื่นชม

คุณปลา (จันทิรา นันทมงคลชัย) ศูนย์อนามัยที่ 1ในเบื้องแรกที่ รพ. ทำกัน เราทำเป็นเหมือนเป็น KM ใน รพ. คือ เป็นกลุ่มใหญ่ โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหลายๆ แผนกเข้ามาทำร่วมกันที่ห้องประชุม ... เราทำอย่างนี้หลายครั้งแต่เราพบว่า การทำอย่างนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ใน รพ. ทีมงานหลายคนมีเวลาต้องให้บริการให้กับคนไข้ ซึ่งเวลานี้จะไม่พร้อมกัน สมมติว่าเรานัดบ่าย 3 ก็อาจจะไม่ครบ ในทีมที่จะขึ้นมาพูดคุยกัน อย่างเรานัดไว้ 10 ก็อาจมาได้ 5 หรือ 3 รู้สึกว่าตรงนี้มันไม่ได้ละ คนที่จะเป็นผู้ประสานงาน หรือ Fa ตรงนี้ต้องคิดตลอดเวลา หลังจากที่แผนของเราทำไม่สำเร็จ ควรจะทำอย่างไรต่อ หลังจากที่เราทำในทีมใหญ่แล้ว นอกจาก 1) ความไม่พร้อมเพรียงของทีมที่จะมาเรียนรู้ร่วมกัน 2) จะเป็นความรู้ของเรื่อง KM ที่แตกต่างกัน จะมีปัญหาขึ้นมาก เพราะว่าบางคนเรียนรู้เร็ว พร้อมที่จะไปได้อย่างรวดเร็ว บางคนเรียนรู้ช้า ตรงนี้ก็เป็นปัญหาว่า การไปของเราไม่พร้อมกัน จึงทำเกิดความเชื่องช้า หรือว่าเป็นระบบทางเดินที่ไม่เป็น steps เราก็เลยมาคิดใหม่ว่า คงไม่ได้แล้ว ใน รพ. จะมีเจ้าหน้าที่ทำงานในคลินิกมาก ทั้งผู้ป่วยใน และนอก เราจึงปรับใหม่

... เอาเป็นว่า เราลองทำในทีมเล็กๆ ดีไหม ในหน่วยย่อยๆ พอปรับลงมา เราก็ต้องหาคนที่มาเรียนรู้ซึ่งจะเป็นตัวแทนลงไปทำในทีมงานของตัวเองให้ได้ก่อน เราก็จะมีทีมที่เป็นตัวแทนที่มาจากแผนกต่างๆ ที่จะมาเรียนรู้ระดับหนึ่ง ให้เข้าใจ แล้วก็ลงไปทำกับทีมงานตัวเอง อันนี้ก็อาจเป็นบริบทของศูนย์ฯ 1 ที่บอกว่า เราทำในภาพใหญ่และไม่สำเร็จ เราก็เลยลงไปทำในระดับ micro ก่อนที่จะกลับขึ้นมาทำในระดับ macro ก็เป็นภาพที่สะท้อนให้เราเห็นเหมือนกันว่า การทำงานนี้จะต้อง flat ต้องราบ และคงจะเป็นระดับแนวตั้งค่อนข้างลำบาก หลังจากที่เราเหมือนกับพัฒนา Fa และ Note ในทีมย่อยๆ เราก็ลงไปทำงานกัน

ตอนนี้ค่อนข้างจะ happy แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องทำงานด้วยความสุข คือ ในทีมของ Fa และ Note เอง ในเบื้องแรกที่เรายังไม่รู้จัก KM ดีนัก มันก็เกิดความขัดแย้ง ว่า เอ๊ะ ตกลงมันใช่หรือไม่ ก็อาจเป็นตัวที่สะท้อนตัวหนึ่งที่ย้อนกลับไปมองว่า ทำไมถึงตั้งชื่อห้องนี้ว่า เป็น KM Bakery

ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงฯ ส่วนของ รพ. เมื่อเราไปรับบริการที่ รพ. ระหว่างรอรับบริการ ก็มักจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลที่มีความรู้ มาให้สุขศึกษาว่า ท่านต้องปฏิบัติอย่างนี้นะคะ ทำยังไงน้ำตาลจึงจะลด ทำยังไงไขมันจึงจะลด ทีนี้ทำวิธีนี้มานาน ทำอย่างต่อเนื่อง แต่เรามาดูว่า ในกรณีคนไข้ที่เป็นเบาหวาน หรือไขมันสูงนั้น ผลของน้ำตาลในเลือดก็ยังไม่ลดลง ไขมันในเลือดก็ยังสูงอยู่ เรามีวิธียังไงที่จะมาปรับพฤติกรรมของเขา

พอเรารู้จักกับ KM เราก็เลยคิดว่า เราเอา KM มาใช้ในกระบวนการตรงนี้ดีไหม ให้เขาเข้ากลุ่ม ให้เขาได้ ลปรร. ซึ่งกันและกัน ใครมีวิธีดีๆ ที่ปฏิบัติได้ เอามาเล่าให้เพื่อนฟังซิ

เราก็จัดเวทีขึ้นมาเลย ว่า คนไข้ที่เป็นผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงของเรานี้ ต้องมาพบกันเพื่อเข้ากลุ่ม ก่อนที่จะพบแพทย์ทุกเช้าวันจันทร์ (กลุ่มเสี่ยงทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้สูงวัย) หลังจากที่เข้ากลุ่มครั้งแรกเนี่ยะ เขาพูดกันไม่เป็น คือ ไม่รู้ว่าจะแลกเปลี่ยนยังไง พอส่งไมค์ให้ก็บอกว่า ไม่รู้จะเล่าอะไรค่ะ ให้อีกท่านเล่าก่อนก็แล้วกัน ตรงนี้ Fa และ Note จะต้องมีวิธีที่จะช่วยดึง หลังจากนั้น พอเราเข้าไปเจอกับเขา 2 ครั้ง 3 ครั้งปรากฎว่า คนไข้แย่งไมค์กันพูด คือ เขามีความรู้สึกว่า วันนี้เขามีสิ่งดีๆ ที่อยากเข้ามา share มาพูดให้ฟัง การเล่าอาจจะไม่ใช่เล่าอย่างเดียว แต่เป็นการที่เขาคิด demonstrate ให้ดูก็ได้ เช่น วิธีการออกกำลังกาย เขารู้สึกว่ามันได้ผล ออกกำลังอย่างไรใน 3 เดือนที่ทำให้น้ำหนักลด กินอาหารยังไง เขาอาจมีเมนูมาให้เพื่อนดู หลังจากนั้นพอเพื่อนรู้ แล้วเขาก็รู้สึกว่า เราคือคนกลุ่มเดียวกัน เราเชื่อถือกัน เธอก็เป็นเหมือนฉัน ฉันก็อยากน้ำหนักลดเหมือนเธอ ฉันก็อยากน้ำตาลลดเหมือนเธอ เขาก็เอาวิธีนี้ไปปฏิบัติ

คุณหนูอุ้ย (อันชิษฐา วงศ์บุญมี) ศูนย์อนามัยที่ 1หลังจากนั้น เรามีการเก็บข้อมูลผล ว่า หลังจากที่เราทำกิจกรรมตรงนี้แล้ว คนไข้ของเรามีระดับน้ำตาลลดไหม น้ำหนักไขมันลดไหม ปรากฎว่า ลด และลดอย่างมีนัยสำคัญด้วย ตรงนี้เราก็เลยคิดว่า มันเป็นวิธีที่ดี และน่านำไปใช้ในส่วนของคลินิกอื่นๆ ด้วย

ตอนนี้ รพ. ก็ยังทำกิจกรรมนี้อยู่ และได้ผลดีอย่างต่อเนื่องค่ะ บทพิสูจน์อยู่เรื่องเล่าของคุณหนุอุ้ยค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 29670เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็น story telling ที่มีประโยชน์มาก

ชื่นชม KM ในกรมอนามัยมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ อ.ปารมี ชื่นชมอาจารย์มานานแล้ว จาก blog นี้ ดีใจที่พบอาจารย์ที่นี่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท