ประโยคทอง วลีเด็ด ของผู้ว่าฯ KM


...การจัดการความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก้จนอย่างยั่งยืน ก็เลยตั้งชื่อให้ใหญ่ จริงๆแล้ว มี KM เรื่อง เกษตรอินทรีย์ KM เรื่องสายใยรักจากแม่สู่ลูก คือให้ลูกกินนมแม่....

วันนี้วันหยุดนั่งคิดทบทวนว่า KM แก้จนเมืองนครของเรา จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ก็เลยเอาบันทึกความรู้ต่างๆที่ได้บันทึกและสะสมไว้ (คลังความรู้ส่วนตัว ) มาอ่านดู (นี่คือประโยชน์ของการเขียนบันทึกแท้ๆ ถ้าไม่ได้บันทึกและจัดเก็บเอาไว้ ป่านนี้ก็คงมีอะไรให้อ่านให้ทบทวนอย่างแน่นอน ) อ่านไปพบบันทึกคำบรรยายของผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ บรรยายเรื่อง KM แก้จนเมืองนคร เมื่อ 4 พฤษภาคม 2549 เข้า ก็เจอวลีเด็ด ประโยคทอง โดนใจเข้าหลายวลี หลายประโยค หรือว่าเป็นย่อหน้าก็ได้ เช่นที่ว่า


 ”.. …ท่านก็คงพอจะนึกภาพออกว่า KM คือ การจัดการความรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก้จนอย่างยั่งยืน ก็เลยตั้งชื่อให้ใหญ่ จริง ๆ แล้วก็มี KM ย่อยไปอีก คือ KM เฉพาะเรื่อง คือ KM เรื่องเกษตรอินทรีย์ หรือ KM เรื่องสายใยรักจากแม่สู่ลูก คือให้ลูกกินนมแม่ ก็ถือเป็น KM ได้หรือกิจกรรมย่อย เรื่อง KM ครอบคลุมได้เยอะมาก เพราะฉะนั้นเรื่องที่สำคัญคือเราต้องเข้าใจเรื่อง กระบวนการและวิธีการของ KM นี้เสียก่อน เพราะถ้าเข้าใจเรื่องกระบวนการของ KM กระบวนการใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง ก็ได้แก่ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการรวบรวมความรู้กระบวนการคัดแยกความรู้ที่จะนำไปใช้ กับเฉพาะกิจเฉพาะเรื่อง รวบรวมความรู้ แสวงหาความรู้ และก็คัดแยก และก็เอาไปใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรา.............”


“……ก็ไปสร้างความเข้าใจเพราะว่า KM จริง ๆ หัวใจอยู่ที่คุณกิจ สมมุติว่าเราจะทำ KM ในหน่วยงาน เป็นหน่วยงานของท่าน เป็นหน้าที่ของเราที่จะทำ KM ในเรื่องนี้ เราทำด้วยจิตวิญญาณของเราและเราก็ค่อย ๆ หาวิธีบอกให้เจ้านายเขารับรู้ คุณอำนวยค่อยรับรู้แล้วก็ลงมาช่วย ที่จริงก็เป็นไปตามขั้นตอน เพราะฉะนั้นเราจะท้อทอยไม่ได้ มันเป็นไปตามขั้นตอน คล้าย ๆ รวมกลุ่มกันเพื่อให้งานของเรามีประสิทธิภาพ เมื่อเราทำงานของเราสำเร็จ งานในหน้าที่แล้ว ก็ลงไปเล่นในเรื่องของชุมชน เพราะคิดแล้วว่าหัวใจของนครศรีธรรมราช เราคิดว่าเรื่องน่าอยู่กับยั่งยืน มันต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างเดียววิสัยทัศน์ของเรา วิสัยทัศน์ของนคร คือ เรียนรู้ น่าอยู่ ยั่งยืน เรื่องน่าอยู่ยั่งยืน อยู่บนฐานของความรู้ เพราะฉะนั้นถ้าเราเอาเรื่องของ KM เข้าไปใช้ และให้กระบวนการของชุมชนเขาเข้มแข็ง และเอา KM ใส่ลงไปในชุมชนให้ดี มันทำให้น่าอยู่และยั่งยืนได้ทุกเรื่อง หัวใจมันมีแค่นี้ ที่ผมฝันหวาน เพราะฉะนั้น มันก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้โดยทุกฝ่าย ….”


สรุปข้อความที่ยกมานี้ ก็คือจัดการความรู้ไปเพื่อแก้จนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นเป้าใหญ่ท่านผู้ว่าฯต้องการให้ดำเนินการจัด KM องค์กรให้เรียบร้อยเสียก่อน องค์กรจะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้ได้ เมื่อ KM องค์กรได้เรียบร้อยแล้ว จึงให้องค์กรจัดการความรู้กับประชาชน ให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง จัดการความรู้แก้จนในภารกิจของตน เปรียบเหมือนร่มเล็กที่อยู่ภายใต้ร่มใหญ่ (นึกขึ้นได้ว่าเคยเขียนบทความในทำนองนี้แจกในที่ประชุมคุณเอื้อ คุณอำนวยและคุณกิจ คือจะไปจัดการความรู้คนอื่นต้องจัดการความรู้ตนเองเสียก่อน) ถ้าทุกหน่วยงานทุกองค์กรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน จัดการตนเอง องค์กรตนเอง ให้เป็นองค์กรเรียนรู้ (ให้ได้สักนิดก็ยังดี) ก็จะส่งสัญญาณให้การทำงานจัดการความรู้แก้จนเมืองนครเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ การบูรณาการงานในภารกิจขององค์กรกับภารกิจแก้จนของจังหวัด และการบูรณาการงานระหว่างองค์กรต่างๆเข้าด้วยกันก็จะเกิดขึ้นจริง ฝันหวานของผู้ว่าฯก็จะประสบผลสำเร็จ กระบวนการชุมชนเข้มแข็งสมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ผมคิดว่าไม่ต้องรอ KM องค์กรให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงทำ KM กับประชาชน เพราะทุกคนคือคุณกิจเหมือนกัน ทำพร้อมๆกันก็น่าจะได้นะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 29667เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท