Tom_NU
ทพ. วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี

พิษณุโลก-ขอนแก่น: (3) บุญบั้งไฟ


บุญบั้งไฟ เป็น 1 ใน ฮีต 12 คลอง 14

ช่วงนี้เห็นหลายท่าน ลปรร. กันเรื่องบุญบั้งไฟ อันนั้นผมก็ขอยกไว้ ไม่กล่าวถึงด้วย

แต่ขอเล่า ในทัศนที่ตนเอง บังเอิญไม่เจอมาครับ

บุญบั้งไฟ เป็น 1 ใน ฮีต 12 คลอง 14

ในภาพข้างล่างนี้ เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ใน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

โดยเขาจะจุดกันที่กลางทุ่งนา ห่างออกจาก ตัวหมู่บ้านหน่อย เพื่อไม่ให้ตกลงบ้านใคร

งานนี้ผมว่า เด็กๆ คงมีความสุขที่สุด แต่ละคนอยากที่จะเข้ากล้องทั้งนั้น

อยากโดนถ่าย ก็ต้องได้ถ่าย เป็นสิ่งที่ผมช่วยเขาได้ :-)

งานนี้เป็นงานเล็กๆ ของคนในหมู่บ้าน เท่านั้น

ภาพข้างบนนี่เป็น อันเล็ก สำหรับเด็กๆ ไว้จุดเล่นครับ (ขายเอาตังค์เด็กว่างั้นเหอะ)

ตอนเขาดู ต้องดูห่างๆ ครับ แล้วก็ลุ้นว่าของใครจะแตก ของใครจะขึ้นไปได้ไกลได้นานสุด

อีกท่าน ที่นำบั้งไฟ มาร่วมงาน

งานนี้ขึ้นทุกอันครับ ไม่มีอันไหนแตก พอเสร็จ ก็เฉลิมฉลองกัน

ที่เห็นเปลื้อนโคลน ชาวบ้านบอกว่า แตกไม่แตก โยนลงโคลนหมด

เพื่อความสนุกสนาน ครับ

นี่แหละ มันเป็นประเพณีจริงๆ ที่ยังเหลืออยู่ในบ้านเรา

------------------------------------------------------------------------------------

ฮีต 12 คือจารีต ประเพณี ที่ปฎิบัติกันในแต่ละเดือน ทั้ง 12 เดือน

ฮีตที่ ๑. บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง

ฮีตที่ ๒. บุญคูนข้าว หรือ บุญคูนลาน

ฮีตที่ ๓. บูญข้าวจี่ หรือ บุญเดือนสาม

ฮีตที่ ๔. บุญเผวส หรือ บุญเดือนสี่

ฮีตที่ ๕. บุญสรงน้ำ หรือ บุญเดือนห้า

ฮีตที่ ๖. บุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก

ฮีตที่ ๗.บุญซำฮะ หรือ บุญเดือนเจ็ด

ฮีตที่ ๘.บุญเข้าวัดสา(เข้าพรรษา) หรือ บุญเดือนแปด

ฮีตที่ ๙. บุญข้าวห่อประดับดิน หรือ บุญเดือนเก้า

ฮีตที่ ๑๐.บุญข้าวสาก หรือ บุญเดือนสิบ

ฮีตที่ ๑๑.บุญออกวัดสา (ออกพรรษา) หรือ บุญเดือนสิบเอ็ด

ฮีตที่ ๑๒. บุญกฐิน หรือ บุญเดือนสิบสอง

คลอง 14 คือ กติกาของสังคม 14 ประการ

๑. เมื่อได้ข้าวใหม่หรือผลหมากรากไม้ ให้บริจาคทานแก่ผู้มีศิลแล้วตน
จึงบริโภคและแจกจ่ายแบ่งญาติพี่น้องด้วย
๒. อย่าโลภมาก อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบช้า
กล้าแข็ง
๓ ให้ทำป้ายหรือกำแพงเอือนของตน แล้วปลูกหอบูชาเทวดาไว้ในสี่แจ
(มุม)บ้านหรือแจเฮือน
๔ ให้ล้างตีนก่อนขึ้นเฮือน ๕ เมื่อถึงวันศีล ๗-๘ ค่ำ ๑๔-๑๕ ค่ำ ให้สมมา
ก้อนเส้า สมมาคีงไฟ สมมาขั้นบันได สมมาผักตู(ประตู)เฮือนที่ตนอาศัยอยู่
๖. ให้ล้างตีนก่อนเข้านอนตอนกลางคืน
๗. ถึงวันศีล ให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนมาสมมาสามี แล้วให้เอาเอา
ดอกไม ้ไปถวายสังฆเจ้า
๘. ถึงวันศิลดับ ศิลเพ็ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสูดมนต์เฮือน แล้วทำบุญตัก บาตร
๙.เมื่อภิกษุมาคลุมบาตร อย่าให้เพิ่นคอย เวลาใส่บาตรอย่าซุน(แตะ)บาตร
อย่าซูนภิกษุสามเณร
๑๐. เมื่อภิกษุเข้าปริวาสกรรม ให้เอาขันขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน และเครื่อง
อัฐบริขารไปถวายเพิ่ม
๑๑.เมื่อเห็นภิกษุ เดินผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงค่อยเจรจา
๑๒. อย่าเหยียบเงาพระสงฆ์
๑๓. อย่าเอาอาการเงื่อน(อาหารที่เหลือจากการบริโภค)ทานแก่สังฆเจ้า
และอย่าเอาอาหารเงื่อนให้สามีตัวเองกิน
๑๔. อย่าเสพกามคุณในวันศิล วันเข้าวัดสา วัดออกพรรษา วันมหาสงกรานต
์และวันเกิดของตน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29614เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ Tom_NU                                
  • วัฒนธรรมอีสานมาแรงครับ น่าสนใจมาก
ขอบคุณอาจารย์ด้วยครับ ที่เข้ามาให้กำลังใจ :-)
เป็นประเพณีที่ควรสืบทอดต่อไปน่ะครับ ควรไม่ให้มันสูญหายน่ะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท