วิกฤติโรคซึมเศร้ากำลังจะเข้าไทย


 

บางกอกทูเดย์ 8 กันยายน 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "วิกฤติโรคซึมเศร้า" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ขอความกรุณาแวะไปชมเว็บไซต์ "บางกอกทูเดย์" กันครับ

บทความนี้คงจะบอกเราได้ว่า ควรมีการเตรียมบุคลากรรับมือโรคซึมเศร้า ซึ่งเฉพาะจิตแพทย์รับมือไม่ไหวแน่ ควรมีการส่งเสริมให้แพทย์ บุคลากรสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์ นักจิตวิทยา และอาสาสมัครต่างๆ ที่สนใจด้านนี้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมต่อเนื่อง

[ ข้อความคัดลอก ] > [ บางกอกทูเดย์ ] 

ปัญหาโรคจิตจะครองไทย โดยเฉพาะผู้หญิงเสี่ยง 2 เท่า

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัด โครงการคลายทุกข์ สร้างสุข คืนรอยยิ้มให้คนกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการรณรงค์คัดกรองภาวะซึมเศร้ากรุงเทพมหานครประจำปี 2552 ณ สโมสรพลเมืองอาวุโสสวนลุมพินี เขตปทุมวัน

... 

น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาจากปัจจัยภายในคือ กรรมพันธุ์ เนื่องจากการศึกษาในเรื่องรหัสพันธุกรรมพบว่า ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีแนวโน้มส่งผ่านพันธุกรรมไปยังลูกหลาน

นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องของการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เด็กเกิดความสูญเสียตั้งแต่ในวัยเด็ก อาทิ พ่อแม่เสียชีวิตส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ ความขัดแย้งภายในครอบครัว แรงกดดันจากการทำงาน การสูญเสียในเรื่องต่างๆ

... 

ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบคือ ด้านคุณภาพชีวิต จะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกไร้ค่า ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกท้อแท้ หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ มีปัญหาสัมพันธภาพต่อคนรอบข้าง การรับประทานอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม นอนไม่หลับ

ทางด้านการทำงาน การเรียน จะส่งผลให้ความสามารถในการทำงานและการเรียนน้อยลง ส่วนด้านสุขภาพทางกายพบร่วมกับการเจ็บป่วยทางกายหลายโรค เช่น โรคมะเร็งและโรคเรื้อรัง

... 

นอกจากนี้พบว่า โรคนี้ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่ารองอธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวด้วยว่า ทางกรมสุขภาพจิตมีโครงการรณรงค์ป้องกันโรคภาวะซึมเศร้า 10 ปี จนถึงปี 2563 หาไม่เช่นนั้นโรคนี้จะขึ้นมาคุกคามประชากรโลก เป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับทางป้องการที่ดีคือ หมั่นสังเกตความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด

... 

เมื่อรู้ตัวว่า เครียดจากปัญหาใด ให้พยายามแก้ปัญหานั้นให้ได้โดยเร็ว เรียนรู้การปรับเปลี่ยนความคิดจากแง่ลบให้เป็นแง่บวก ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่คุ้นเคย และให้เทคนิคเฉพาะในการคลายเครียดสำหรับผู้ต้องการสอบถามข้อมูลต่างๆโทรไปได้ที่ 1323 และ 1667

พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า กทม.ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความสามารถของประชาชนในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า

... 

จากการสำรวจสุขภาพจิตคนไทยของกรมสุขภาพจิตพบว่า ชาว กทม.เป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าภาคอื่น การรณรงค์ครั้งนี้คาดหวังให้ประชาชนได้ตระหนักรู้ และให้ความสำคัญกับความสูญเสียอันเนื่องมาจากโรคซึมเศร้า

ตลอดจนการสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลจิตใจ และเฝ้าระวังปัญหาซึมเศร้าให้กับประชาชนในพื้นที่ กทม.ทั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสดูแลจิตใจตนเองและบุคคลใกล้ชิดอย่างเป็นรูปธรรม

... 

ซึ่งหากประชาชนสามารถดูแลจิตใจตนเอง สามารถเข้าถึงบริการของศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน และมีการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นระบบก็จะสามารถลดปัญหาโรคซึมเศร้าในพื้นที่ กทม.ได้

ทราบหรือไม่!

  • จากผลสำรวจ พบว่า มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเฉลี่ยทั่วประเทศไทย โดยแบ่งเป็นอันดับ 1 กรุงเทพฯ อันดับ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับ 3 ภาคใต้อันดับ 4 ภาคเหนือ อันดับ 5 ภาคกลาง
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 100 คน ได้รับการดูแลรักษาเพียง 4 คนเท่านั้น
  • กรุงเทพฯ มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ3 แสนคน
  • 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเพศหญิง อายุส่วนใหญ่คือ 35-54 

หมายเลขบันทึก: 295858เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท