มีความปรารถนาดีที่จะเอื้อมพยุงมือให้ผู้ที่ล้มได้ลุกขึ้นเดินต่อไหว...และก้าวมุ่งสู่จุดหมายของการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มากกว่าจิตใจที่มีเพียงความต้องการช่วยเหลือ อันจือปนด้วยส่วนผสมของกิเลสเป็นสำคัญ
ในการให้คำปรึกษา สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะสับสนระหว่าง "ความต้องการ" และ "ความปรารถนา" ที่จะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์และพานพบกับความสุขในวิถีชีวิตอย่างสมดุล...แท้จริงแล้วสองคำนี้มีความเหมือนที่แตกต่างกัน

เมื่อกล่าวถึง "ความต้องการ" เกิดจากสภาวะความขาดแคลนหลายระดับ เช่น ระดับที่จำเป็น(need) และระดับที่มากกว่าจำเป็น(want) ซึ่งอาจทำเพื่อความสะบายใจ โดยเนื้อแท้ของความต้องการ เป็นสภาวะของการขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือหลายสิ่ง สภาวะดังกล่าวทำให้เกิดช่องว่างของสิ่งที่มีและสิ่งที่ขาด อันเป็นสาเหตุให้บุคคลมุ่งสู่การได้มาซึ่งสิ่งนั้น ส่วน "ความปรารถนา" เป็นความต้องการที่ลึกซึ้งกว่าและลงลึกภายในจิตใจ...ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่สิ่งนั้นก็ไม่สามารถมาบั่นทอนหรือทำลายชีวิตให้พังพินาศแต่อย่างใด เพราะแท้จริงแล้วความปรารถนาส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปสู่แนวทางที่ดีเสียมากกว่า ซึ่งอาจเป็นลักษณะของความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อผู้อื่น และเรามักจะเรียกสิ่งนี้ว่า "ความปรารถนาดี"

เมื่อได้ทบทวนดังนี้...จึงไม่น่าจะแปลกอะไร สำหรับการให้คำปรึกษา ที่ควรเต็มไปด้วยความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์และพานพบกับความสุขอย่างแท้จริง...ก็เพราะเนื้อแท้ของเจ้าสิ่งนี้ เป็นความตั้งใจดีที่ผ่องถ่ายจากส่วนลึกของจิตใจ จนกลายเป็นความหวังดี ความรู้สึกดี ๆ ที่มอบให้ผู้อื่นด้วยความปรารถนาดี....แต่หากการให้คำปรึกษาที่เต็มไปด้วยเป็นความต้องการนั้น มักจะมีส่วนแทรกของการดำรงอยู่ ความพึงพอใจ ความสะบายใจของตนเข้ามาร่วมด้วย นั้นหมายถึงการให้คำปรึกษานั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการค้นหาสิ่งตอบแทน การนำมาซึ่งชื่อเสียงหรืออำนาจ เมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว...ความต้องการจึงมุ่งไปที่ผลประโยชน์ส่วนตนเสียมากกว่า

ดังนั้น ในการให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาที่ดี จึงควรตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของการมีจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น พร้อมที่จะเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงแห่งทุกข์อย่างแท้จริง...มีความปรารถนาดีที่จะเอื้อมพยุงมือให้ผู้ที่ล้มได้ลุกขึ้นเดินต่อไหว...และก้าวมุ่งสู่จุดหมายของการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มากกว่าจิตใจที่มีเพียงความต้องการช่วยเหลือ อันจือปนด้วยส่วนผสมของกิเลสเป็นสำคัญ