choothong (ชูทอง)
ครู thammarat (ธรรมรัตน์ ) choothong (ชูทอง)

เศรษฐกิจพอเพียง01


เศรษฐกิจพอเพียง01

                                             วิสาหกิจชุมชน

1.  วิสาหกิจชุมชน คืออะไร
           
โดยนิยามกว้าง ๆ วิสาหกิจชุมชนคือ การประกอบการขนาดย่อมและขนาดจิ๋วของชุมชนเพื่อการจัดการ "ทุน" ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง (SMCE -Small and Micro Commuonity Enterprise)  วิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม มีสมาชิกมากกว่า 15 คน วิสาหกิจชุมชนขนาดจิ๋ว มีสมาชิกตั้งแต่ 5 คน ถึง 15 คน

2.  "ทุนชุมชน" มีอะไรบ้าง
            ทุนชุมชนมีทั้งทุนที่เป็นเงิน ทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ทุนที่เป็นผลผลิตทุนความรู้ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นพี่น้องและความไว้ใจกันของชุมชน

3.  องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชนมีอะไรบ้าง
             มี อยู่อย่างน้อย 7 อย่าง คือ
1) ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
2) ผลผลิตมาจากระบวนการในชุมชน
3) ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
4) มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล
5) มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่งเป็นระบบ
6) มีกระบวนการการเรียนรู้เป็นหัวใจ
7) มีการพึ่งพาตนเองเป็นเป้าหมาย

4.  วิสาหกิจชุมชนแตกต่างจากธุรกิจชุมชนอย่างไร
              ขณะที่ธุรกิจชุมชนเน้นที่การบริหารจัดการมุ่งสู่ตลาดและมุ่งกำไร วิสาหกิจเน้นความร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อให้พึ่งตนเองได้ ขณะที่ธุรกิจชุมชนมีเป้าหมายได้ "รวย"    วิสาหกินชุมชนมีเป้าหมายให้ "รอด" ธุรกิจชุมชนมักจะดำเนินกิจกรรมเป็นเรื่อง ๆ อย่าง ๆ วิสาหหิจชุมชน เป็นระบบที่มีหลากหลายกิจกรรมเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เสริมกันแบบบูรณาการ ธุรกิจชุมชนดำเนินการตามรูปแบบและมักเลียนแบบ วิสาหกิจชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ ถ้าเปรียบเทียบธุรกิจชุมชนกับการทำการเกษตรก็คล้ายกับการปลูกพืชเดี่ยว ขณะที่วิสาหกิจชุมชนคล้ายกับการทำเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตร คือ แทนที่จะ 2-3 อย่าง ก็ทำ 20-30 อย่าง

5.  วิสาหกิจชุมชนเน้นที่เรื่องใดมากที่สุด
               เน้นที่วิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด เพราะปัญหาที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องการผลิต ซึ่งชุมชนผลิตอะไรได้มากมากย มากมายจนไม่รู้จะขายที่ไหน ประเด็นวันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ "วิธีทำ" แต่อยู่ที่ "วิธีคิด" ต้องปรับวิธีคิดใหม่ ถ้าทำแบบ "ปลูกพืชเดี่ยว" แต่ถ้าทำแบบเกษตรผสมผสานและวนเกษตรก็จะเนนการทำวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้พอกินพอใช้ก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปสู่การจัดการเชิงธุรกิจ เมื่อพอเพียงและพึ่งตนเองได้ก็สามารถผลติให้เหลือเผื่อตลาดได้ ถ้าเกิดขายไม่ได้ก็ไม่เสียหาย ถ้าขายได้ก็เป็นกำไร
             วิสาหกิจชุมชนไม่ได้เอาตลาดมาเป็นตัวตั้ง แต่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ปฏิเสธตลาด แต่ไม่เอาตลาดเป็นเป้าหมาย อย่างไรก็ดี ถ้หากคิดจะนำผลผลติออกสู่ตลาดตั้งแต่ต้นก็อาจทำได้ แต่ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มี
เอกลักษณ์ของท้องถิ่น เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อาจเรียกได้เป็น "สูตรเด็ดเคล็บลับ" มาจากการรู้จักใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
หรือทรัพยากรในท้องถิ่น บวกกับความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม
               อย่างไรก็ดี ควรเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ สร้างรากฐานเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งก่อนทำกินทำใช้ก่อนทดแทนสิ่งที่ซื้อจากตลาด
ให้มากที่สุด และหากจะนำผลิตภัณฑ์ตัวเก่งออกสู่ตลาดก็ควรเรียนรู้จักการจัดการและกลไกของตลาดให้ดี และไม่หวังพึ่งพาตลาดเป็นหลักแต่พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองมากกว่า

6.  วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงหรือ     วิสาหกิจชุมชนมีฐานคิดอยู่บนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วิสาหกิจชุมชนไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ   ที่พอเริ่มต้นก็ทำเยอะ ๆ เพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ แต่เป็นกล

กิจกรรมที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้    จาการสำรวจวิจัยสภาพชีวิตของตนเอง    รวมทั้งศักยภาพและทรัพยากรต่าง ๆ   ที่เป็นทุนของตนเอง    ที่ยังไม่ได้มีการพัฒนา    ยังไม่มีกระบวนการเพิ่มมูลค่าให้สิ่งเหล่านั้น กิจกรรมเหล่านี้ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ล้วนแต่เป็นการทำกิน ทำใช้ แทนการซื้อจากตลาด เป็นการจัดการระบบการผลิตและการบริโภคใหม่นั้นเอง เช่น จะจัดการเรื่อง ข้าวหมู เห็ด เป็ด ไก่ ปลา ผัก ผลไม้ น้ำปลา ยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน และข้าวของเครื่องใช้จำนวนมากซึ่งชุมชนทำได้เอง ผลติได้เอง โดยไม่ยุ่งยากอะไร แต่ไม่ทำเพราะคิดว่าจะหาเงินซื้อทุกอย่าง
            การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดเท่ากับเป็นการลดรายจ่าย การลดรายจ่ายเท่ากับเพิ่มรายได้ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องลดรายจ่าย เราเน้นเรื่องการเพิ่มรายได้โดยลืมไปว่า พอรายได้เพิ่มรายจ่ายก็เพิ่มและมักจะมากกว่ารายได้เสมอ

7.  วิสาหกิจชุมชนจัดการการผลิตและการตลาดพอเพียง

การจัดการเป็นเรื่องใหญ่ที่ชุมชนต้องเรียนรู้ เรียนรู้ว่าจะจัดการอย่างไรให้ชุมชนทั้งตำบลมาร่วมกันวางแผนการผลิต การตลาด การบริโภคร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างทำ และที่สุดก็ทำซ้ำกันจนขายไม่ออกเหมือนทำกล้วยฉาบทั้งตำบล ทำแชมพูทุกหมู่บ้านแข่งขันกันขายหรือคนปลูกข้าวก็ปลูก ได้ข้าวมาก็เอาไว้กินส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็ขายพ่อค้า พ่อค้าเอาไปแปรรูปแล้วเราข้าวสารกลับไปขายในหมู่บ้าน ชาวบ้านคนปลูกขายข้าวเปลือกราคาถูก ชาวบ้านที่ไม่ปลูกก็ไปซื้อข้าวสารราคาแพงจากตลาดมากิน ทำอย่างไรจึงจะตัดวงจรที่ว่านี้ และสร้าง "วงจรเศรษฐกิจชุมชน" ขึ้นมาใหม่เชื่อมโยงทุกเรื่องที่ทำได้ ข้าว ปลา อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ และทำแบบประสานพลัง (Synergy) และทำให้เกิดผลทวีคูณ คิดเชิงบวกยังน้อยไป ต้องคิดแบบทวีคูณ นี่คือลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน

8.ตัวอย่างการคิดและทำแบบทวีคูณ หรือแบบวิสาหกิจชุมชน

            หมู่บ้านส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพหลัก ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง เช่น

 ตำบลเขคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่   ปลูกยาง ปลูกปาล์มและทำการประมงชายฝั่ง มีรายได้จากกิจกรรม 3 อย่างนี้ปีละประมาณ 60 ล้าน บาท มีหนี้สิน ธ.ก.ส แห่งเดียว 94 ล้านบาท ถ้ารวมธนาคารอื่น ๆ สหกรณ์ นายทุน กลุ่มต่าง ๆ ทั้งหมดแล้วเป็นหนี้ร้อยกว่าล้านบาม มีรายจ่ายประมาณ 200 กว่าล้าน บาท ทำให้ชาวบ้านอยู่ในวังวนของหนี้สินที่เพิ่มขึ้นทุกปีแบบไม่มีทางออก      ปัจจุบันชาวบ้านเหล่านี้ได้เรียนรู้ ทำแผนแม่บทชุมชน และเข้าใสภาพาชีวิตของตนเองดี และทำไม่จึงเป็นหนี้มากขนาดนั้น ตัดสินใจวางแผนทำวิสาหกิจชุมชน จากที่ทำ 3 อย่าง มาทำ 39 อย่าง จัดระบบเศรษฐกิจชุมชนใหม่หมด โดยใช้ "ทุน" ของชุมชนให้มากที่สุด ทำให้เกิดระบบอาหารระบบของใช้ ระบบทุน ระบบการผลิต ระบบการจัดการผลิต และระบบตลาดขึ้นมา
            ระบบเหล่านี้กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โรงสีข้าว โรงงานน้ำดื่ม น้ำแข็ง ทำขนม การเลี้ยงวัว เป็ด ไก่ ให้ได้ เนื้อและไข่ การเลึ้ยงปลา การปลูกผัก โรงงานผลิตยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน ยาสระผม ผงซักฟอก สบู่ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานปุ๋ย น้ำมันดีเซลปาล์ม กลุ่มออทรัพย์ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระบบสวัสดิการชุมชน การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปูนิ่มชุมชน ทุนเงินของชุมชนอาจจะไม่มาก แต่ทุนของชุมชนยังมีทรัพยากรความรู้ภูมิปัญญาและอื่น ๆ ซึ่งตีค่าเป็นเงิน หรือประเมินค่ามิได้ แต่ก็มีความสำคัญสำหรับวิสาหกิจชุมชน
             สรุปว่าชุมชนให้ทุนตัวเองเป็นหลัก แต่ก็ต้องการทุนจากภายนอก เช่น จากหน่วยงานราชการ เอกชน หรือสถาบันการเงินเพื่อไป "สมทบ-เติมเต็ม" ให้ชุมชน

 9.  สปว่า วิสาหกิจชุมชน
              วิสหากิจชุมชนอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
              1) วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน อันได้แก่ การดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกินเพื่อใช้ในชุมชน เพื่อให้ครรอบครัวพึ่งตนเองได้ ให้ชุมชนเกิดความพอเพียงอย่างน้อยให้พออยู่พอกิน หรือพอกินพอใช้เมื่อลดรายจ่าย รายได้ก็เพิ่มขึ้น แปลว่า แม้ทำเพื่อกินเองใช้เองก็ทำให้เกิดรายได้เหมือนกัน และน่าจะดีกว่าอีก เพราะถ้ามุ่งแต่เพิ่มรายได้ โดยไม่เน้นการทำทดแทนการซื้อ เราก็จะมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซื่งก็คือ ที่มาของปัญหาหนี้สินหรือสถานการณ์ "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" ของผู้คนในขณะนี้
             2) วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า อันได้แก่ การนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดบริโภค และรวมไปถึงผลผลิตทั่วไปที่เหลือกินเหลือใช้ในท้องถิ่นที่นำออกสู่ตลาดบริโภค โดยการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต หีบห่อ การตลาด และการจัดวางต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ "แข่งขัน" ได้อย่างไรก็ดี ชุมชนต้องไม่กระโดดข้ามขั้น ต้องพัฒนาจากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นก้าวหน้าที่ละขั้น

วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์
            วิสาหกิจชุมชนทำให้ชุมชนมีระบบคิด ระบบจัดการที่ชัดเจน แยกแยะได้ว่า อะไรที่ทำเพื่อกินเพื่อใช้และอะไรที่เหลือกินเลือใช้ และอะไรที่ดีพอที่จะเอาออกสู่ตลาดใหญ่ ตัวหลังนี่เองเรียกกันว่า "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" คือ ตำบลหนึ่งคัดเอาผลิตภัณฑ์ตัวเก่งที่สุดออกไปสู่ตลาดใหญ่ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ถือว่าเป็น "พระเอก" หรือ "นางเอก" ที่ออกไปแล้วสู้ใครเขาได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตำบลได้คัดเลือกแล้ว ชาวบ้านในตำบลมีความภูมิใจในผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีลักษณะเด่นเฉพาะพองตัวเอง มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของที่อื่น ๆ

วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวอะไรกับกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท
             เกี่ยวในแง่ที่ว่า ชุมชนมีแผนการจัดการทุนของตนเองอย่างเป็นระบบขึ้น เงินกองทุน 1 ล้านบาทจากรัฐก็จะมีแนวทางการจัดการ นำไปเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพแทนที่จะให้กู้ไปทำอะไรก็
ได้แบบต่างคนต่างทำ นำไปร่วมทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนได้วางแผนเมื่อผ่านการเรียนรู้เงิน 1 ล้านบาทก็จะมีมูลค่าทวีคูณ

วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับโครงการพักชำระหนี้อย่างไร
             หนี้สินด้านหนึ่งเป็นปัญหาของความโกลาหลของชีวิตที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความรู้เท่าทัน ขาดการจัดการที่ดี การเรียนรู้ทำแผนแม่บทและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเป็นกระบวนการจัดระเบียบชีวิตใหม่ระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของชุมชน เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้จักตัวเอง ชุมชน และโลก แล้วสืบค้นหาศักยภาพและทุน พร้อมกับทางเลือกใหม่ แล้วจึงพัฒนาศักยภาพและทุนเหล่านั้น
ด้วยวิธีการใหม่ที่เป็นระบบมากขึ้น ไม่ใช่ทำอะไรเดี่ยว ๆ และมุ่งเพียงแต่การเพิ่มรายได้ แต่เน้นการลดรายจ่ายซึ่จะทำให้รายได้สูงขึ้น และจะมีเงินที่สามารถแบ่งไปใช้หนี้ได้

จุดแข็งของชุมชนเพื่อการทำวิสหกิจชุมชนมีอะไรบ้าง
             จุดแข็งของชุมชนมีอย่างน้อย 3 อย่างคือ
             1.  ความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนยังมีป่า ดิน น้ำ ธรรมชาติที่มากด้วยสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตเป็นอาหาร เป็นยา เป็นของใช้ต่าง ๆ ถ้าหากค้นให้พบคุณค่า สิ่งเหล่านั้นก็จะมีมูลค่า ดูแลหญ้าแห้วหมู
หญ้าแพรก ซึ่งคนยุคใหม่เรียกกันว่า "วัชพืช"    และพยายามทำลายด้วยสารเคมีก็ล้วนมีคุณค่าเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดัน ยอดหญ้าแพรกยังเอามาชุบแป้งทอดกันได้ และวัสดุดีที่สุดมาจากธรรมชาติ และธรรมชาติของไทยในเขตร้อนชื้นก็อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
              2.  ภูมิปัญญาท้องถิ่น แม้ว่าจะหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า แต่ก็ยังมีเหลืออยู่ไม่น้อย และหารู้จักค้นหานำมาประยุกต์และผสมผสาน
ก็อาจได้สิ่งสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าและมูลค่า
              3.  เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน แม้ว่าอาจจะไม่เหมือนเดิม แต่ก็ยังมีเพียงพอให้ฟื้นขึ้นมาจนสามารถพึ่งพาอาศัยกัน ร่วมกันจัดการองค์กรชุมชนและเครือข่ายในเชิงเศรษฐกิจร่วมกันจัดการทรัพยากรผลผลิตต่าง ๆ แบ่งกันผลิและร่วมกันบริโภค กาผลิตของกินของใช้จะได้ไม่ล้นตลาด เกิดความพอเพียงชุมชนพึ่งตนเองได้              พูดอีกนัยหนึ่ง ชุมชนมี "ทุน" สำคัญ ๆ อยู่ 3 ทุน ซึ่งเป็นจุดแข็งของตนเอง คือ 1) ทุนทรัพยากร 2) ทุนทางวัฒนธรรม 3) ทุนทางสังคม

 ------------------

ที่มา   สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
C/O ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
469 ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร.02-280-0180 ต่อ 3327,02-281-7655

หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ( One Tambon One Product )

1. ประวัติความเป็นมา

                  แผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ( พ.ศ.2545 -2549 ) ภายใต้ " ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ให้มี ความเข็มแข็ง ยั่งยืน มีเสถียรภาพตลอดทั้งการแก้ไขปัญหา ความยากจน ด้วยการบริหารจัดการที่ดี ในสังคมไทยทุกระดับ ประกอบกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในเรื่อง การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน   และชุมชนเมือง      เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน สร้างอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนพร้อมทั้งรัฐบาล    จัดให้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า และรัฐบาลจะสนับสนุนด้านความรู้สมัยใหม่ การบริหาร การเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยระบบร้านค้าและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติสันบสนุนให้ประชาชนดำเนินงาน โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ด้วยหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากลพึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างทรัพยากรมนุษย์

2.  แนวคิดและหลักการดำเนินงานโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

                 โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ( นตผ. ) : มุ่งพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้แต่ละชุมชนมีสินค้าเป็นเอกลักษณ์ มี ตลาดรองรับและขยายผล ไปสู่ธุรกิจ ยั่งยืน
                 ผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์    หมายถึง สินค้า กระบวนการคิด การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย  การท่องเที่ยว   ศิลปะวัฒนธรรมประเพณี
        
3.  หลักการ
        1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสูสากล ( Local Yet Global ) ผลิตภัณฑ์ชุมชนจะไปสู่ตลาดต่างประเทศได้ ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
        2) พึ่งตนเอและคิดอย่างสร้างสรรค์ ( Self Reliance-Creeativity ) คนในชุมชนต้องช่วยกันคิดค้นและพัฒนาสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์ของชุมชน ไม่ซ้ำแบบกับคนอื่น
        3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Development ) มุ่งผลิดบุคคลที่มีความคิดกว้างไกล มีความรู้ความ สามารถ ให้เกิดในชุมชน เน้นการวางแผน ด้านการตลาด การผลิต และการบริกาาร ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

 4.   แนวทางการส่งเสริมและพัฒนา หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ขั้นที่ 1 การเรียนรู้/ประชาสัมพันธ์โครงการ
1) ประชุมทำความเข้าใจระหว่างฝ่ายราชการ ประชาชน เอกชน
2) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ แนวคิด หลักการ ปรัชญา
3) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน จังหวัด/อำเภอ ตำบล
4) กำหนดแผนงาน แนวทางหารดำเนินการเน้นหลักการ "บูรณาการ" การทำงาน "พหุภาคี"

ขั้นที่ 2 การกำหนดผลิตภัณฑ์

1)      คณะทำงานระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด ร่วมจัดประชาคมตำบลค้นหาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเด่นในแต่ล่ะท้องถิ่น

2) คัดลอก/จัดลำดับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบล
ขั้นที่ 3 การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

1) วางแผนการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
- ด้านการบริหารการจัดการ
- การแปรรูปผลิตภัณฑ์
- การบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น อย. , มอก. , รหัสสากลฮาลาล
2) สนับสนุนแหล่งเงินทุน
3) ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
4) วิจัยผลิตภัณฑ์
ขั้นที่ 4 การขยายตลาด(กระจายสินค้า)
1) วางแผนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สู่ตลาดภายในและภายนอกประเทศ
2) วางแผนการขนส่ง จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
3) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทางสื่อ E - Commerce
4) การประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก
5) จัดประกวดผลิตภัณฑ์ มอบประกาศเกิยรติคุณ
6) จัดงานมหกรรมสินค้า "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์"
7) วิจัยตลาด
ขั้นที่ 5 การติดตาม/ประเมินผล
1) กำหนดเกณฑ์ชี้วัด แลละมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์
2) ติดตาม ประเมินผล โดยคณะกรรมการจังหวัด/อำเภอ
3) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินงาน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา...
หมายเลขบันทึก: 294282เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท