แลกเปลี่ยนเรียนพับ (๕)


การเรียนรู้ด้วยวิธีใดเพียงวิธีหนึ่ง ใช้ไม่ได้ผลกับผู้เรียนทุกคน

วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ ครูระดับชั้น อนุบาล ๑

 

ครูดา : ดูขั้นตอนของการพับและลองพับดูและลองพับด้วยตนเอง ๒ ครั้ง

ครูกบ : ดูตามขั้นตอนและจับแบบเปิดดู  ลองพับเองไม่ดูแบบเพื่อดูว่าจะจำได้ไหม ขณะสอนตื่นเต้น มีบางขั้นตอนที่ไม่ต้องพับแบบนั้นก็ทำได้เลยข้ามขั้นตอนนั้นไป

ครูน้ำมนต์ : ดูตามขั้นตอนและลองพับแต่เวลาค่อนข้างกระชั้น ทำให้เมื่อไปสอนลืมขั้นตอน และสับสน

ครูจุ๋ม (ตอ.๒) : พับกระดาษตามแบบได้ แต่เวลามาสอนเพื่อนกลับจำไม่ได้

ครูโต๊ด : ลองพับตามขั้นตอนและลองพับโดยไม่ดูแบบ

ครูแน็ต : มองทีละขั้นตอนทำตามและพับโดยไม่ดูแบบ ใช้สมาธิจดจ่อ และเมื่อกลับมาทำก็ทำเองได้

ครูศิ: ใช้สมาธิเพราะขี้ลืม มองแบบและทำตามขั้นตอน และวาดภาพไว้ในใจ จำไว้ในสมองทบทวนทีละขั้นตอนอันไหนที่ชัด ก้จะเข้าไปสืบคนดูให้แน่ใจ

ครูแหม่ม (ปิยธิดา) : ปกติชอบงานพับอยู่แล้ว ได้ลองพับดูแต่ก็ได้พับครั้งเดียว แล้วก็ต้องมาเรียนพับเต่าจากเพื่อนก่อน ทำให้ลืมขั้นตอนที่จะสอนปลาเพื่อนไป

ครุหมู : ดูตามขั้นตอนและตัวอย่าง เก็บภาพไว้ในสมอง ขณะที่สอนก็พยายามรวบรวมความคิดและสามารถสอนเพื่อนจนสำเร็จ

ครูลูกตาล : จำขั้นตอนและลองทำตามด้วยตัวเอง ขณะที่สอนเพื่อน พยายามดูทิศทางของกระดาษและใช้คำพูดบอกเพื่อนเช่น ด้านขวาคือหัวปลา ด้านซ้ายคือหางปลาเป็นต้น

 

 

วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ ครูอนุบาล ๒ และ ๓

 

ครูเอ้ : ใช้การดูแบบและทดลองพับตามแบบ ขั้นตอนแลกดูง่ายแต่ขั้นตอนหลังมองตามแบบแล้วไม่เข้าใจจำได้ไม่หมด และเวลาน้อย ทำให้มาสอนเพื่อนไม่สำเร็จ

ครูแม็ก : ดูแต่ละขั้นตอน ๑ รอบ ลองพับทีละขั้นตอนตามแบบ และลองพับแบบไม่ดูแบบ แล้วนำมาถ่ายทอดโดยลองพูดกับเพื่อนคนข้างๆ และนำมาสอนเพื่อนจนสำเร็จ

ครูดั๊ก : ใช้การดูภาพรวมทั้งหมดและแทนภาพในสมองตามแบบของตนเองเป็นมโนภาพ เช่น สี่เหลี่ยมเหมือนจดหมาย สามเหลี่ยมเหมือนหมวกโชกุนและลองทดลองทำดู ๒ รอบ

ครูออน : ดูและลองทำตามขั้นตอนขณะสอนมีลืมขั้นตอนเหมือนกัน

ครูปอย : ดูแบบทุกขั้นตอนและทำตามความเข้าใจของตัวเอง ตอนแรกไม่คิดว่าจะลองพับแต่เห็นเพื่อนลองพับจึงทำตามดูบ้าง

ครูหนึ่ง : ไม่ประสบความสำเร็จในการสอนเพื่อนเนื่องจากมีเวลาน้อยในการเรียนรู้ ดูแล้วคิดว่าขั้นตอนการพับยาก เมื่อหมดเวลา ดึงตัวอย่างจะเอามาดูแต่เอาเข้ามาในห้องไม่ได้ เมื่อจำไม่ได้สอนต่อไม่ได้จึงตามใจให้เพื่อนพับตามใจ และแอบมองเพื่อนข้าง ๆ

ครูอ้อม : ใช้การพับตามตัวอย่างที่ตัวเองเข้าใจ และถามเพื่อนตามความเข้าใจลองทำโดยไม่ดูแบบ

ครูตูน : ตอนแรกคิดว่าจะให้จำเฉยๆ จึงดุเพียงขั้นตอนไม่อยากจะลองพับแต่มองไปเห็นเพื่อนพับคิดว่าถ้าปฏิบัติจริงจะแม่นขึ้น ตอนสอนเพื่อนมีบ้างที่ไม่ได้ดั่งใจ และลองใจเย็นดู

ครูหนู : ดูภาพ ตามขั้นตอนตอนแรกไม่คิดจะลองฝึกพับมีขั้นตอนที่ไม่เข้าใจเช่นตรงขาจึงลองพับดูแล้วเข้าใจมากขึ้น จึงคิดว่าไม่มีอะไรยากเกินความเข้าใจ

ครูชมภู่ : ดูแบบและลองใช้มือหยิบเปิดดูทุกชิ้นส่วนแต่ไม่ละเอียดถี่ถ้วนจึงสอนเพื่อนผิดวิธี

ครูมล : มีความกังวลใจเพราะพับไม่ได้และเวลาสอนพับต้องมองกลับข้างกับเพื่อนจึงต้องหันไปหันมา

ครูกุ้ง : จำภาพขั้นตอนเป็นรูปทรงเรขาคณิต เป็นรูป สามเหลี่ยม และลองพับดู ตอนที่เพื่อนสอนพับปลารู้ว่ามีขั้นตอนที่เหมือนกับการพับเต่า เพื่อนติดขัดในการสอนเลยช่วยคิดและถามและลองผิดลองถูก

 ครูก้อย(ดลพร) : ดูทีละขั้นตอนและลองพับจับดู สอนเพื่อนพับเต่าสำเร็จ แต่ตอนที่เพื่อนสอนพับปลาเพื่อนจำขั้นตอนไม่ได้ให้ชำเลืองดูข้างๆ

ครูโบ : ดูแบบคิดว่าง่ายเพราะเคยพับคล้ายกันลองพับตามแบบและเพื่อนที่สอนก็ทำได้เร็ว

ครูหุย : จำจากภาพเหมือนหมวกญี่ปุ่นและจำที่ละขั้นตอน ตอนที่สอนรู้ตัวว่าใช้ภาษาที่ยาก เช่น พับเข้าหาจุดเหวี่ยง

ครูแนต : สอนเพื่อนพับปลารู้ว่ายากเพราะหาภาษามาอธิบายไม่ถูก

 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้

 

ครูรู้จักวิธีการเรียนรู้ของตัวเองได้ดีขึ้น เข้าใจว่าวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกัน ทำให้การเรียนรู้ด้วยวิธีใดเพียงวิธีหนึ่ง ใช้ไม่ได้ผลกับผู้เรียนทุกคน

 

ขั้นตอนที่ช่วยให้ครูส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการสอนพับเต่าและปลา คือ

 

๑. จำขั้นตอนต่างๆ โดยศึกษาดูจากตัวอย่างที่ให้ไว้

๒.    ลองพับตามแบบตามขั้นตอนตามตัวอย่าง

๓.    ลองพับด้วยตัวเองโดยไม่ดูแบบ

๔.    แปลงความรู้ให้เป็นของเรา

๕.    นำความรู้ของเราไปสอนเพื่อน

 

การทำตามขั้นตอนที่เพื่อนสอนไปเรื่อยๆ นั้นมีโอกาสที่จำขั้นตอนไม่ได้เมื่อกลับมาทำใหม่เองอีกครั้ง ต่างจากการที่ได้เรียนรู้และทดลองด้วยตัวเอง เหมือนกับการเรียนรู้ของเด็กที่หากไม่ได้ทำซ้ำก็จะจำไม่ได้นาน เพราะความรู้นั้นยังไม่ได้เป็นของเขา เป็นเพียงแต่การจำไว้ในหน่วยความจำระยะสั้น จึงลืมได้ง่าย ต่างจากการได้ลงมือปฏิบัติที่ได้รับรู้พร้อมกันไปในหลายผัสสะ ทั้งการมองเห็น การสัมผัสจับต้อง การได้ยินเสียงต่างๆ  การได้กลิ่นกระดาษ การได้เคลื่อนไหวไปกับมิติของกระดาษที่แปรรูปร่างไปในขณะต่างๆ ของการพับ จนกระทั่งกระดาษแผ่นแบนๆ กลายเป็นรูปร่างต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์

หมายเลขบันทึก: 293963เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หัวใจแห่งการเรียนรู้ที่แท้ก็คือ อิทธิบาท ๔ และสติ เชื่อว่าครูอนุบาลรุ่งอรุณคนเก่งคนดีต้องไปถึง การค้นพบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท