ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้งโดยใช้การละเล่นเด็กไทย


แผนการจัดประสบการณ์ การละเล่นเด็กไทย

แผนการจัดประสบการณ์

การจัดกิจกรรมการละเล่นเด็กไทย ในกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัย

ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนอนุบาลบางมูลนากราษฎร์อุทิศสพท.พิจิตร เขต 2

แผนการจัดประสบการณ์ที่ 9 เรื่อง ม้าก้านกล้วย  จำนวน 60 นาที( 2 กิจกรรม)

 

สาระสำคัญ

                การเล่น ม้าก้านกล้วย เป็นการละเล่นของเด็กไทยที่ช่วยพัฒนาความพร้อม  ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ  สังคม และสติปัญญา

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านร่างกาย

1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ

2. เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ว่องไว

3. เพื่อฝึกทักษะในการใช้กล้ามเนื้อแขน ขา และมือ

4. ทำความสะอาดร่างกายภายหลังการเล่นได้

ด้านอารมณ์/จิตใจ

1. เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด

                ด้านสังคม

1. เพื่อให้ปฏิบัติตนในการเล่นกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

2. ปฏิบัติตามกฎกติกาและข้อตกลงของการเล่นได้

3. รู้จักเก็บวัสดุอุปกรณ์ หลังการเล่นให้เรียบร้อย

ด้านสติปัญญา

1.       สามารถบอกชื่ออุปกรณ์และวิธีการเล่น ได้

2.       ตอบคำถาม กล้าซักถามและแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมตามวัยได้ 

เนื้อหา

กติกาและการละเล่นเด็กไทยเรื่อง ม้าก้านกล้วย

 

กิจกรรมที่ 1 วันที่ ............เดือน .................. พ.ศ. 2552 เวลา 10.3011.00 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ขั้นนำ   ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลงม้าวิ่งและทำท่าทางประกอบเพลง  จากนั้นสนทนาซักถามเกี่ยวกับ ม้า เช่น  ม้าร้องอย่างไร  ม้าวิ่งเร็วหรือไม่ นักเรียนอยากขี่ม้าหรือไม่ ม้ามีกี่ขา อาหารของม้าคืออะไร เป็นต้น

2. ขั้นดำเนินการสอน

                                2.1 ครูนำภาพการละเล่นเด็กไทย เรื่อง ม้าก้านกล้วยให้นักเรียนดู และเล่าประวัติการเล่น ม้าก้านกล้วยของเด็กๆในสมัยก่อน ให้นักเรียนฟังอย่างย่อๆ

                                2.2 ครูแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการทำม้าก้านกล้วย คือ ก้านกล้วย  มีด เชือก ไม้เสียบลูกชิ้น(หรือไม้อื่นๆ ใช้แทนกันได้)

                                2.3 ครูสาธิตวิธีการทำ ม้าก้านกล้วย ให้นักเรียน ดู

                                                2.3.1 ใช้มีดกรีดใบกล้วยออกจากก้านกล้วย โดยเหลือส่วนปลายไว้เพื่อทำเป็นหางม้า

                                                2.3.2 วัดจากโคนก่านกล้วยลงมาประมาณ 5 นิ้ว แล้วใช้มีดกรีดก้านกล้วยทั้ง 2 ด้านเป็นแผ่นบางๆ ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อทำเป็นหูม้า

                                                2.3.3 หัก หรือ พับก้านกล้วยตรงกับใบหูลงมา เพื่อทำหัวม้า ใช้ไม้เสียบยึดส่วนที่พับลงมากับก้านกล้วย

                                                2.3.4 นำเชือกมาผูกโดยปลายด้านหนึ่งผูกที่คอม้า และปลายเชือกอีกด้านผูกกับบริเวณหางม้า เพื่อใช้สำหรับคล้องบ่า

                                2.4 ครูสาธิตการเล่น ม้าก้านกล้วย โดยใช้เชือกคล้องบ่า แล้วใช้ขายืนคล่อมตัวม้า ไว้ แล้วก็วิ่งไปวิ่งมา พร้อมทำเสียงร้องม้าร้องไปด้วย

                                2.5 ครูนำ ม้าก้านกล้วยที่เตรียมทำไว้เรียบร้อยแล้ว (ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนในการทำม้าก้านกล้วย) มาให้นักเรียนเล่น  โดยครูคอยดูแลความปลอดภัยในการเล่น และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

 

                                3. ขั้นสรุป

3.1 สนทนา  ซักถามนักเรียนเกี่ยวกับการเล่น ม้าก้านกล้วย

3.1.1 นักเรียนชอบเล่นการม้าก้านกล้วยหรือไม่

3.1.2 ทำไมถึงชอบหรือไม่ชอบเพราะอะไร

3.1.3 ประโยชน์ของการเล่นม้าก้านกล้วยมีอะไรบ้าง

                (ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนฟังอีกครั้ง)

3.1.4 อุปกรณ์สำคัญในการทำ ม้าก้านกล้วย มีอะไรบ้าง

                                3.2 ให้นักเรียนช่วยกันเก็บวัสดุ  อุปกรณ์ เข้าที่ให้เรียบร้อย  โดยครูคอยสังเกต 

                                       พฤติกรรมแล้วบันทึกลงในแบบบันทึก

                                3.3 พานักเรียนไปทำความสะอาดร่างกาย  เข้าห้องน้ำ  และล้างมือ                                

สื่อการเรียนการสอน

1. ก้านกล้วย  มีด เชือก ไม้เสียบลูกชิ้น(หรือไม้อื่นๆ ใช้แทนกันได้)

2. ภาพการเล่น ม้าก้านกล้วย

การวัดผลประเมินผล

1. วิธีการ                                การสังเกต

2. เครื่องมือ                           แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน

3. เกณฑ์การประเมิน          ตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น

บันทึกหลังการสอน

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

 

                                                                                ลงชื่อ .................................ครูผู้สอน

                                                                                  (นางธวัลรัตน์  โตคำวรพจน์)

                                                                ครูชำนาญการโรงเรียนอนุบาลบางมูลนากราษฎร์อุทิศ

ความคิดเห็นของผู้บริหาร

                                ...............................................................................................................................

 

                                                                                ลงชื่อ............................................ผู้บริหาร

                                                                                             (นายเชวง  ชัยรัตน์)

                                                                ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบางมูลนากราษฎร์อุทิศ

 

กิจกรรมที่ 2 วันที่ ............เดือน .................. พ.ศ. 2552 เวลา 10.3011.00 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ขั้นนำ

                                1.1 ให้นักเรียนเข้าแถวตอนลึก แล้วกระโดดตบพร้อมกัน 10 ครั้ง และวิ่งเหยาะอยู่กับที่ เพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกาย ก่อนการดำเนินการเล่นกิจกรรมกลางแจ้งโดยการใช้การละเล่นเด็กไทยเรื่อง ม้าก้านกล้วย

                                1.2 ครูสนทนา ทบทวน อุปกรณ์ วิธีการทำ และการเล่น ม้าก้านกล้วย

2. ขั้นดำเนินการสอน

                                2.1 ครูเรียกนักเรียนมาเข้าแถวโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ยืนเข้าแถวแบบแถวตอนลึก ครูนำอุปกรณ์ในการเล่นคือ ม้าก้านกล้วย  มาให้กลุ่มละ 1 อัน และครูกำหนดกติกาการเล่นคือกำหนดจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ห่างกันประมาณ 10 เมตร

  

                               

2.2 ให้นักเรียนแถวหน้าของแต่ละกลุ่ม  5 คน มายืนที่จุดเริ่มต้นพร้อมอุปกรณ์

และเริ่มต้นขี่ม้าก้านกล้วย ไป กลับ 1 รอบ  จากนั้นให้คนที่เล่นม้าก้านกล้วยแล้วไปยืนเข้าแถวต่อหลังแถวของตนเอง นักเรียนแถวที่ 2 ของแต่ละกลุ่ม ออกมาขี่ม้าก้านกล้วย ต่อไปจนครบทุกคน และเพื่อเพิ่มความสนุกสนานครูอาจกำหนดว่ากลุ่มใดผู้เล่นครบทุกคนก่อนเป็นผู้ชนะ ขณะที่นักเรียนเล่น ครูคอยแนะนำ สังเกตพฤติกรรม และดูแลความปลอดภัย

3. ขั้นสรุป

                                3.1 ครูให้นักเรียนเข้าแถวตอนลึกเป็นกลุ่ม นั่งลง แล้วสนทนาซักถาม เช่น

3.1.1 นักเรียนชอบเล่น ขี่ม้าก้านกล้วยหรือไม่

3.1.2 ทำไมถึงชอบหรือไม่ชอบเพราะอะไร

3.1.3 ประโยชน์ของการเล่นขี่ม้าก้านกล้วยมีอะไรบ้าง

                (ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนฟังอีกครั้ง)

3.1.4 อุปกรณ์สำคัญในการเล่นขี่ม้าก้านกล้วยมีอะไรบ้าง

                                3.2 ให้นักเรียนช่วยกันเก็บวัสดุ  อุปกรณ์ เข้าที่ให้เรียบร้อย  โดยครูคอยสังเกต 

                                       พฤติกรรมแล้วบันทึกลงในแบบบันทึก

                                3.3 พานักเรียนไปทำความสะอาดร่างกาย  เข้าห้องน้ำ  และล้างมือ                                สื่อการเรียนการสอน

1. ก้านกล้วย  มีด เชือก ไม้เสียบลูกชิ้น(หรือไม้อื่นๆ ใช้แทนกันได้)

2. ภาพการเล่น ม้าก้านกล้วย

การวัดผลประเมินผล

1. วิธีการ                                การสังเกต

2. เครื่องมือ                           แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน

3. เกณฑ์การประเมิน          ตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น

 

บันทึกหลังการสอน

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

 

                                                                                ลงชื่อ .................................ครูผู้สอน

                                                                                  (นางธวัลรัตน์  โตคำวรพจน์)

                                                                ครูชำนาญการโรงเรียนอนุบาลบางมูลนากราษฎร์อุทิศ

ความคิดเห็นของผู้บริหาร

                                ...............................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

 

                                                                                ลงชื่อ............................................ผู้บริหาร

                                                                                             (นายเชวง  ชัยรัตน์)

                                                                ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบางมูลนากราษฎร์อุทิศ

 

หมายเลขบันทึก: 293332เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ

เป็นแผนการจัดประสบการณ์ที่ดีมากค่ะ ช่วยให้เด็กๆได้หันกลับมาหาของไทยๆบ้างหลังจากเห่อของนอกกันเหลือเกิน

ครูตัวเล็กเด็กเมืองเลย

ขอบคุณมากครับ นำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีทีเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท