บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


การบริหารการศึกษา

ชื่อผลงาน                   :  รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดคงคาเลียบ

ผู้ประเมิน                    :  นายเอกชัย  ส่งทวี  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคงคาเลียบ

หน่วยงาน                   :  โรงเรียนวัดคงคาเลียบ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต  2

ระยะเวลาประเมิน    :  16  พฤษภาคม  2551 – 31 มีนาคม  2552

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

                      รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดคงคาเลียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ  ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ  และประเมินผลผลิตของโครงการ  โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์  (CIPP  Model)  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น  31  คน  ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา  1  คน  ครูที่ปฏิบัติงานสอน  5  คน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  7  คน  (ไม่นับรวมผู้แทนครูและเลขานุการคณะกรรมการ)  ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน  9  คน   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนวัดคงคาเลียบ  ปีการศึกษา  2551  จำนวน  9  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย  แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน  5  ฉบับ  ได้แก่  แบบสอบถามบริบทของโครงการ  แบบสอบถามปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ  แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงานโครงการ  แบบสอบถามผลผลิตของโครงการ  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ  และแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O-NET)  จำนวน  1  ฉบับ  การเก็บรวมรวมข้อมูล  ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลก่อนดำเนินโครงการระหว่างดำเนินโครงการและเมื่อสิ้นสุดโครงการ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรด้วยวิธีการสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  SPSS  for  Windows  จากสถิติค่าเฉลี่ย ( )

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ( )  ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

                      ผลการประเมินพบว่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด  เมื่อพิจารณาประเด็นการประเมินพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง  4  ประเด็น  โดยประเด็นบริบทของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดของประเด็นการประเมินทั้ง  4  ประเด็น  จำนวนทั้งหมด  15  ตัวชี้วัด  พบว่าทุกตัวชี้วัด  ผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่กำหนด  คือ

                      1.  บริบทของโครงการ  อยู่ในระดับมากที่สุด  และผลของตัวชี้วัดทั้ง  2  ตัวชี้วัดปรากฏดังนี้

                            1.1  ความต้องการจำเป็นของโครงการ  อยู่ในระดับมากที่สุด

                            1.2  ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์  อยู่ในระดับมากที่สุด

                      2.  ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ  อยู่ในระดับมาก  และผลของตัวชี้วัดทั้ง  4  ตัวชี้วัดปรากฏดังนี้

                            2.1  การจัดโครงสร้างการบริหารงาน  อยู่ในระดับมากที่สุด

                            2.2  คุณสมบัติของบุคลากร  อยู่ในระดับมาก

                            2.3  งบประมาณมีเพียงพอ  อยู่ในระดับปานกลาง

                            2.4  วัสดุ  อุปกรณ์  และเครื่องมือ  อยู่ในระดับมาก

                      3.  กระบวนการดำเนินงานโครงการ  อยู่ในระดับมากที่สุด  และผลของตัวชี้วัดทั้ง  3  ตัวชี้วัด  ปรากฏดังนี้

                            3.1  การเตรียมการนิเทศภายใน  อยู่ในระดับมากที่สุด

                            3.2  การดำเนินงานจัดกิจกรรมนิเทศภายใน  อยู่ในระดับมาก

                            3.3  การประเมินผลและรายงาน  อยู่ในระดับมากที่สุด

                      4.  ผลผลิตของโครงการ  อยู่ในระดับมาก  และผลของตัวชี้วัดทั้ง  6  ตัวชี้วัด  ปรากฏดังนี้

                         4.1  ผลการปฏิบัติงานของครูด้านหลักสูตร  อยู่ในระดับมาก

                         4.2  ผลการปฏิบัติงานของครูด้านสื่อการเรียนการสอน  อยู่ในระดับมาก

                         4.3  ผลการปฏิบัติงานของครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  อยู่ในระดับมาก

                         4.4  ผลการปฏิบัติงานของครูด้านการวัดและประเมินผล  อยู่ในระดับมากที่สุด

                         4.5  ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง  อยู่ในระดับมาก

                               4.6  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  อยู่ในระดับปานกลาง  พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังดำเนินโครงการ  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

                      ข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการโครงการนิเทศภายในโรงเรียน

                      1.  ควรจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพิ่มเติมให้ครู  และนำคณะครูไปศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่น  จัดหาเอกสาร  ตำราไว้สำหรับครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการ  จัดให้มีการสาธิตการสอนให้มากขึ้น  และจัดให้ผู้นิเทศสังเกตการสอนของครูให้มีความต่อเนื่องเป็นระบบและสม่ำเสมอ  เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน

                      2.  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้นิเทศ  ควรใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนในการพัฒนางาน  ควบคู่กับกระบวนการควบคุมคุณภาพ  P  D  C  A  (Plan – Do – Check – Action)

                      3.  สถานศึกษาควรสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรภายในสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการยอมรับและยินดีเข้าร่วมกิจกรรมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School  Based  Management  : SBM)  เปิดโอกาสให้ครู  ผู้ปกครองนักเรียน  ชุมชน  และนักเรียน  เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา  กระตุ้นและส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจการบริหาร  และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาตลอดทั่วทั้งองค์การ

                      4.  นำข้อมูลสารสนเทศอันเกิดจากการประเมินโครงการนิเทศภายใน  เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อร่วมกำหนดแนวทางแก้ปัญหาและวางแผนพัฒนาการนิเทศภายในต่อไป

                      5.  การนิเทศภายในโรงเรียนควรดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ  เป็นประจำทุก ๆ ปีการศึกษา  เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 293309เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับท่านผอ.

ข้อเสนอแนะ

1. การประเมินโครงการโดยผู้ทำโครงการ และผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อประเมินโครงการเองเป็นการให้ข้อมูลที่อคติ (bias) หรือเปล่าครับ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ได้ย่อมขาดความเชื่อถือ

2. การวิเคราะห์ข้อมูลควรบอกสถิติที่ใช้ ไม่ใช่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ แต่การประมวลผลให้ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้

อื่นๆ ดีแล้วคร๊าบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท