"เวทีแห่งการสรุป แลกเปลี่ยนความรู้ RW3 ปี 2552" ของ สสข.2 จ. ราชบุรี


"แมวมอง" หาต้นแบบการจัดการความรู้ ทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ที่เหมาะสมกับหน่วยงานตนเอง...แต่ความยากก็คือ มีตัวแบบให้เลือก มาเป็น "ต้นแบบ" จำนวนมาก..นี่ซิ..ความยากส์..ที่สุด แต่ทั้งนี้ เรามีกรอบงานและเป้าหมายของการให้รางวัลเพื่อขวัญกำลังใจกับหน่วยงานย่อยในกรมส่งเสริมการเกษตร

   เมื่อวันที่ 26-27 สิงหาคม 2552 ไปเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขต (RW3) ของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ณ โรงแรมไทยนำริเวอร์ไซด์ อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี  ซึ่งจัดเวทีขึ้นมาก็เพื่อสรุปผลงานและองค์ความรู้  แลกเปลี่ยนความรู้  และกำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในปี 2553  โดยมีทีมงานของ สสข.ที่ 2 จังหวัดราชบุรี เป็นผู้ดำเนินการ  มีกลุ่มบุคคลเป้าหมายจากสำนักงานเกษตรจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตตะวันตก จำนวน 8 จังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ

   ในเวทีดังกล่าว ดิฉัน (ศิริวรรณ หวังดี)  และ คุณสำราญ  สาราบรรณ์ จากกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ประสานงานสนับสนุน และเข้าร่วมเวทีดังกล่าว

   จากปรากฎการณ์ที่ได้เห็น และเนื้อหาสาระที่ได้ฟัง ทำให้เห็นวิธีการขับเคลื่อนความรู้เพื่อใช้ดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกับหน่วยงานตนเองนั้นจะเกิดขึ้นภายใต้งานตามยุทธศาสตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง Food Safety  เรื่องวิสาหกิจชุมชน  เรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  งานตามภารกิจ 1 เรื่อง ได้แก่ เรื่องระบบส่งเสริมการเกษตร  และ งานตามนโยบาย 1 เรื่อง ได้แก่ เรื่องการจัดการความรู้

   ในการจัดการเรียนรู้ผ่านเวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตร ครั้งที่ 3 หรือ RW3 ได้ใช้วิธีการเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างที่ได้ผล  แบ่งกลุ่มเรียนรู้  เพิ่มเติมเสริมความรู้  และเปรียบเทียบประสบการณ์ปฎิบัติของหน่วยงานตนเอง กับหน่วยงาน Best Practice ที่ได้มานำเสนอวิธีการทำงานเรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง จำนวน 2 กรณีตัวอย่าง คือ 1) สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 2) สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี

   นอกจากนี้เวทีดังกล่าว ยังใช้ค้นหา Best Practice เพื่อเป็นต้นแบบการใช้ KM เพื่อพัฒนาการเกษตรกร จำนวน 5 เรื่องดังกล่าวข้างต้น โดยทีมงานใช้วิธีการสังเกตการณ์  ศึกษางานที่แต่ละหน่วยงานทำ  ความรู้และทักษะของผู้แทนหน่วยงานที่มาร่วมเวทีในแต่ละเรื่อง และเทคนิควิธีการนำเสนอเนื้อหาในเวที RW3 จึงเป็นเสมือน "แมวมอง" เพื่อค้นหาต้นแบบการทำงานให้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2552 ตลอดจนนำไปสู่การให้รางวัลในการทำงาน "ประกาศเกียรติคุณ" และสรุปรวมเป็นองค์ความรู้ขององค์กรได้

  กระบวนการจัดเวที RW3

    ขั้นที่ 1 เล่าความเป็นมาและความต้องการ ของการจัดเวที RW 3 ให้กับผู้เข้าร่วมเวทีได้ฟังร่วมกัน

 

 

     ขั้นที่ 2 นำเสนอกรณีตัวอย่างที่ได้ผล ในการใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเกษตรเรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่  สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี

     ขั้นที่ 3 แต่ละจังหวัดประเมินองค์กรตนเอง เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร ที่ได้ปฏิบัติในปี 2552 ภายใต้กรอบประสบการณ์การปฏิบัติของหน่วยงานตนเอง

    

  

     ขั้นที่ 4  แบ่งกลุ่มสรุปผลงานและองค์ความรู้ ของงาน จำนวน 5 กลุ่ม 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1  Food Safety  เรื่องที่ 2 วิสาหกิจชุมชน  เรื่องที่ 3 ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  เรื่องที่ 4 ระบบส่งเสริมการเกษตร  และเรื่องที่ 5 การจัดการความรู้

  

     ขั้นที่ 5  เสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการสรุปและรายงานผล โดยใช้หลักการของงานวิจัย ซึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตรก็คือ วิจัยในงานประจำ (R2R)

  

  

     ขั้นที่ 6 แบ่งกลุ่มประเมินผล สรุปแนวทางการดำเนินงาน และนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ จำนวน 5 เรื่อง 5 กลุ่ม  

  

  

  

  

     ขั้นที่ 7  สรุปบทเรียนจากการจัดเวที RW3 โดยเฉพาะผลงาน  องค์ความรู้  การเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่  การขับเคลื่อน KM ของหน่วยงานย่อย  และแนวทางการดำเนินงานที่เป็นภาพรวมของเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี

  

  

  

 

หมายเลขบันทึก: 293300เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาดู มาดูด..ความรู้ด้วยคนครับ
  • ตามมาดู มาดูด..ความรู้ด้วยคนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท