หลายคนไม่ "รู้" ว่าตัวเอง "ไม่รู้" ...


ผมว่าเราคงต้องพยายามเรียนรู้และฝึกฝนตัวเราให้ "รู้ตัว" อยู่เสมอในทุก ๆ สิ่งที่เราทำนะครับ...

             มีโอกาสได้เข้าฟังวิชาการในงาน Thailand Research Expo 2009 หัวข้อ การสร้าง Questionnaire ครับ มีคนถามท่านวิทยากรว่า หลายครั้งที่อ่านนิยามศัพท์ในงานวิจัยแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ เพราะอ่านแล้วมันไม่ครอบคลุมในสิ่งที่ต้องการศึกษา....

             ท่านวิทยากรก็ตอบไปว่า ยอมรับเถอะว่ามันไม่ใช่ ถ้าสิ่งนั้นมันไม่ใช่จริง ๆ และท่านวิทยากรก็กล่าวเสริมอีกว่า ปัญหาที่สำคัญคือ หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นมากมายในนักวิจัย และรวมถึงผู้คนในสังคมปัจจุบันด้วย...

             ผมได้ฟังแล้วก็ได้คิดและมาทบทวนกับตัวเองครับว่า สิ่งที่สำคัญสำหรับตัวเราและผู้คนต่าง ๆ ในสังคมคือ การ "รู้" รู้ตามสิ่งที่มันเป็น รู้อย่างที่มันเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ทางสังคมหรือแม้แต่เรื่องที่เกิดขึ้นภายในตัวเรานะครับ...

             มองลงไปในเรื่องของตัวเรา เราคงต้องยอมรับตัวเรานะครับว่า มีหลายเรื่องที่ตัวเรารู้และก็มีอีกหลายเรื่องเช่นกันที่ตัวเราไม่รู้ และที่สำคัญไปกว่านั้นเราต้อง "รู้" ตัวเราเองนะครับว่า เรื่องไหนเป็นเรื่องที่เรา "รู้" และเรื่องไหนเป็นเรื่องที่เรา "ไม่รู้" ...

             เพราะหากตัวเราไม่ "รู้" ว่าตัวเรา "ไม่รู้" เรื่องไหนบ้าง และคิดว่าตัวเรารู้ในทุกเรื่องแล้ว แนวทางที่เราคิดและเราดำเนินชีวิตอาจจะผิดพลาดและคลาดเคลื่อนได้นะครับ ผมว่าเราคงต้องพยายามเรียนรู้และฝึกฝนตัวเราให้ "รู้ตัว" อยู่เสมอในทุก ๆ สิ่งที่เราทำและในทุก ๆ ก้าวของชีวิตนะครับ...

 

หมายเลขบันทึก: 292831เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 05:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะเรก

เป็นครั้งแรกนะที่เปิดอ่าน แล้วก็ไม่ผิดหวังเลย รู้สึกดีจริงๆ

ก่าร"รู้ตัว"อยู่เสมอในทุกๆสิ่งที่ทำ ทุกๆก้าวของชีวิต ก็ตือการมีสติอยุ่ในทุกจังหวะของลมหายใจ...เป็นสิ่งที่หลายคน"รู้"แต่ไม่ปฏิบัติเนอะ

ครับ...พี่ณภัทร

ดีใจครับที่แวะมาอ่าน...

เห็นด้วยเลยครับ..

การมีสติอยุ่ในทุกจังหวะของลมหายใจ...เป็นสิ่งที่หลายคน"รู้"แต่ไม่ปฏิบัติเนอะ...

ขอบคุณมากครับ...

 

ผมเองต้องคอยตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอครับ ว่าที่เราคิดว่าเรารู้นั้น เรารู้จริง หรือเปล่า หรือ ว่าเราไม่ "รู้" ว่าเรา "ไม่รู้" (คิดว่ารู้แบบเข้าข้างตัวเอง)

เพราะเดี๋ยวนี้ หาคนมาเตือนลำบากครับ นอกจากต้องเตือนตนเอง

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆครับ

ความรู้ของเรานั้นในโลกนี้ แค่เพียงคาวมเค็มที่ติดนิ้วตอนที่เราเอานิ้วจุ่มไปในมหาสมุทรแค่นั้นเองครับ อ่านกี่บันทึกความรู้สึกของความรู้มันเพิ่มขึ้นตลอดเลย ขออัลลอฮฺคุ้มครองนะครับบัง

ครับ...ท่าน small man  P

หลายครั้งที่เรา "ไม่รู้" และหลาย ๆ คนก็เกรงใจที่จะบอกและเตือนเรานะครับ...

เป็นหน้าที่ของตัวเราเองนะครับที่ต้องตรวจสอบตัวเราเองอยู่เสมอ...

ขอบคุณเช่นกันครับ...

 

ครับ...เด๊ะ P

ขออัลลอฮฺคุ้มครองเช่นกันครับ...

ขอบคุณครับผม...

ครับ...P

ขอบคุณเช่นกันครับ...

เราเชื่อในมนุษย์แค่ไหน “ในการทำงานสร้างความรู้” ?

เราศรัทธาต่อธรรมชาติแค่ไหน เมื่อเราขับเคลื่อนเรื่องการสร้างความรู้ ?

แล้วเรารู้จัก “มนุษย์” มากน้อยแค่ไหน?

หรือเป็นเพียงแค่รู้ว่ามนุษย์เป็นผู้ต้องกิน – ขี้ – ปี้ – นอน ดำรงตำแหน่งทางครอบครัวและการงานเท่านั้น

มีอะไรที่มากไปกว่านั้น ลึกซึ้งมากกว่านี้ไหม ? ต่อความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เราสามารถมองเห็น “มนุษย์” ด้วยตาใน?

เรามองเห็นความดีงามที่มีอยู่ไหม?

 

ก่อนจะนำพาผู้คนอันได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์นี้ไปสู่การสร้างความรู้

เราต้องรู้และเข้าใจก่อนว่า “มนุษย์” นั้นเป็นผู้ไม่รู้ --> เป็นผู้โง่ไม่รู้และโง่เรื่องอะไรล่ะ ? ไม่รู้และโง่ในเรื่องที่เราปรารถนาอยากไปกระตุ้นให้เขาเกิดการสร้างความรู้ในเรื่องนั้นๆ น่ะสิ

อย่าอายเลย ! หรืออย่ารังเกียจต่อคำว่า “โง่” เลย...

คำว่า “โง่” นั้นไม่ได้ เป็นดั่งความชั่วร้ายหรือน่ารังเกียจอะไรเลย

คำว่า “โง่” นี้ต่างหากที่เป็นดั่งประตูนำพาให้มนุษย์ได้รู้ตามและเคลื่อนไปสู่สภาวะโง่น้อยลงรู้แจ้งมากขึ้น ในเรื่องนั้นๆ ประเด็นนั้นๆ ...

 

ก็เพราะธรรมชาติมนุษย์นั้นเป็นผู้โง่อยู่ จึงต้องมีผู้นำพาเขาเหล่านั้น เคลื่อนไปสู่ความสว่างทางปัญญาอันเป็นสภาวะ “โง่” น้อยลงหากเปรียบแล้ว “ผู้นำพา” นั้นก็เป็นดั่ง Facilitator ที่บางครั้งอาจจะเป็นผู้นำพา นำก้าวเดินไป

 

แล้วเราจะเข้าใจในความเป็นมนุษย์ได้อย่างไรเล่า?

การที่เราไม่เข้าใจในความเป็นมนุษย์อันลึกซึ้งนั่นน่ะเป็นเพราะว่าเรานั้น คือ ผู้ที่ยังโง่อยู่ ดังนั้นเมื่อใครรู้ตัวว่าเป็นผู้โง่ ผู้นั้นน่ะมีโอกาสนำพาเคลื่อนตัวเองออกจาก “ความโง่” ได้

 แต่...ถ้าหากว่าใครยังไม่ตื่น ยังไม่รู้ว่าตนเองนั้นโง่...หรืออาจยอมรับต่อตนเองไม่ได้ว่า “โง่” ก็อาจยากที่จะเคลื่อนไปสู่กระบวนการพัฒนาต่อตนเองอันเป็นหนทางนำพาตนออกมาจากความโง่ทั้งหลายได้ 

เมื่อย้อนกลับมาทำความรู้ความเข้าใจ ในความเป็นมนุษย์นั้นก็ให้น้อมกลับมาที่ตัวเราเอง อาศัยตัวเรานี่แหละเป็นเครื่องมือ (tools) ในการศึกษาค้นคว้าความโง่ของตัวเอง หาให้ได้หาให้เจอหาให้พบ พิจารณาเข้าไปทุกซอกทุกมุมอย่างถี่ถ้วน เราถึงจะเริ่มรู้ได้ว่าเรานั้นโง่ตรงไหน ... โง่อย่างไร ทำไมถึงยังโง่อยู่ และเราจะก้าวออกจากความโง่นั้นอย่างไรดี

 

รู้ในตัว...

หากใครยังไม่รู้ในตัวเอง...ก็ยากที่จะนำพาผู้คนเคลื่อนไปสู่จากอาการหายโง่ เพราะแม้แต่ความโง่ของตัวเองก็ยังไม่อาจรู้ได้ แล้วจะไปมี “ปัญญารู้แจ้ง” อันใดเล่า ที่จะนำผู้คนออกมาจากความโง่

 

เมื่อก้าวออกมาจากความโง่ได้แล้วนั้น...จะเกิดอะไรขึ้น?

ก็จะเกิด “ความแจ้ง – ความสว่าง” ในตนเอง ในปัญญา ในห้วงแห่งอันล้ำลึกลึกซึ้ง

 

 

รู้ในตัว...

หากใครยังไม่รู้ในตัวเอง...ก็ยากที่จะนำพาผู้คนเคลื่อนไปสู่จากอาการหายโง่ เพราะแม้แต่ความโง่ของตัวเองก็ยังไม่อาจรู้ได้ แล้วจะไปมี “ปัญญารู้แจ้ง” อันใดเล่า ที่จะนำผู้คนออกมาจากความโง่...

ขอบคุณมากครับ...

รู้ เป็นคำที่วิเศษมากนะครับ

ในทางธรรม

คอยรู้กาย รู้ใจ

จิตฟุ้งซ่าน จิตตั้งมั่นก็รู้

หายใจออกยาว หายใจเข้ายาวก็รู้

รู้อย่างเดียว ไม่ต้องแทรกแซง

แค่รู้ แค่นั้นเอง

แล้วจะตื่นจากความไม่รู้ครับ

ขอบคุณครับ

ครับ... P คุณ Phornphon

แค่ "รู้" อยู่กับ "ปัจจุบัน" นะครับ...

ขอบคุณครับผม...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท