การจัดการความรู้ (อย่างเดียว) เพียงพอหรือไม่


ทำไมเราถึงไม่สร้างโรงงานผลิตหัวรถจักรรถไฟและตู้โดยสารรถไฟเองเสียที

ที่มาของบันทึกนี้เนื่องจากผมได้อ่านคอลัมน์กาแฟดำในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ที่เขียนโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น หัวข้อ "เราตื่นหรือยัง? เวียดนามมาแรง แซงไทยแล้ว..."

ผมเลยคิดถึงเรื่องที่เราจะเอาลำใย (กี่หมื่นตันก็ไม่ทราบจำไม่ได้แล้ว) ไปแลกกับหัวรถจักรรถไฟ 7 หัว จากประเทศจีน ต่อมาก็ว่าจะไม่เอาลำใยแล้ว เปลี่ยนเป็นข้าวดีกว่าไปแลกหัวรถจักรรถไฟจากจีนเจ้าเก่า ต่อมาไม่นานก็บอกว่าไม่เอาข้าวแล้ว เปลี่ยนเป็นมันสำปะหลังดีกว่า ต่อไปก็ผมเดาไม่ถูกว่าจะเปลี่ยนจากมันสำปะหลังไปเป็นอะไรดี

นี่เป็นความคิดแบบไทยๆ (หรือปล่าว ?) ที่คิดจะซื้อทุกลูก (ไม่ใช่ซื้อลูกเดียว)

ในขณะที่ผมก็พูดบ่อยๆ ตามเว็บบอร์ดและที่ต่างๆ เพราะหาเวทีไม่ได้จนมาถึงที่นี่ ว่าทำไมเราถึงไม่สร้างโรงงานผลิตหัวรถจักรรถไฟ และตู้โดยสารรถไฟเองเสียที ผมมองว่าไม่น่าจะยากเย็นอะไร ทีอาจารย์อาจอง ยังทำเครื่องช่วยลงจอดบนดาวอังคารได้ตั้งหลายปีมาแล้ว

หัวรถจักรรถไฟนี่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนอะไร เมื่อเทียบกับเครื่องช่วยลงจอดบนดาวอังคาร ทำไมเรื่องแค่นี้เราจะทำไม่ได้ เรามีสถาบันการศึกษาทางวิศวกรรมชั้นนำมากมาย ที่ต่างก็มี Vision และ Mission สวยหรูว่าจะเป็นที่หนึ่ง ในระดับชาติบ้าง นานาชาติบ้าง

แต่ทำไมเราไม่ทำ (สร้างรถไฟเองทั้งรถดีเซลและรถไฟฟ้า)

มีคำกล่าวของชาวตะวันตกหนึ่งที่ว่า "Ability without opportunity mean nothing" ส่วนชาวตะวันออกนั้นกล่าวว่า "การเดินทางหมื่นลี้ เริ่มจากก้าวแรก" แต่ ณ วันนี้เราก็เสมือนแต่ถอยหลังลงคลอง เพราะเพื่อนๆ ต่างเดินไปข้างหน้ากันหมดแล้ว

ถ้าไม่มีเอกชนใดกล้าลงทุน ทำไมรัฐไม่ลงทุนเสียเอง แล้วเอารถไฟนี้มาใช้กับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งหลายของ กทม แล้วก็รถไฟ ของ รฟท

อาจเริ่มจากร่วมทุนกับเจ้าของเทคโนโลยี ในอัตราส่วน 51:49 หรืออัตราส่วนอื่นๆ แล้วระบุ (ใน TOR) เลยว่า รถไฟ (หรือไฟฟ้า) ที่จะใช้ในประเทศไทยต้องใช้ของโรงงานนี้ หรือถ้ามั่นใจก็ลงทุนเอง 100 เปอร์เซ็นต์ก็ยังได้ เหมือนกับมาเลย์เซียที่ผลิตรถโมโนเรลใช้เอง

  • เคยมีผู้ทักท้วงผมว่า เราไม่มีเหล็กเพื่อจะทำแท่นเครื่อง (Chasis) หรืออะไรทำนองนี้
  • ผมก็บอกว่าแล้วทำไมไม่ทำให้มันมีล่ะ เรามีโรงงานเหล็กใหญ่ๆ ตั้งกี่โรง

พูดไปพูดมาชักจะยาวเลยเรื่องเวียตนามไป เรื่องของเรื่องคือว่า เวียตนามมีโรงงานผลิตรถไฟตั้ง 2 โรง

สุดท้ายนี้ ในเมื่อเรายังไม่ได้หัวรถจักรใหม่มา ก็ช่วยกันอย่าให้หัวรถจักรที่มีอยู่พังไปเสียหมด ปัจจุบันมีข่าวรถไฟชนรถบ้างรถชนรถไฟบ้าง เฉลี่ยแล้วประมาณเดือนละครั้ง ถ้าชนในอัตรานี้ต่อไปเรื่อยๆ อีกไม่นานประเทศไทยจะไม่มีรถไฟไว้รับส่งผู้โดยสารหรือสินค้าอีกต่อไป เพราะว่าหัวรถจักรพังหมดแล้ว ฝันที่จะเป็น Hub Logistics ก็จะสลายไป

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

  • มีจุดตัดระหว่างทางรถไฟและถนนรถยนต์ (At grade crossing) เป็นพันๆ จุดที่ไม่ได้รับการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม
  • ผู้ขับรถส่วนใหญ่จะประมาท คิดว่าแค่นี้พ้น น่ะ
  • มองไม่เห็นว่ารถไฟมา
  • ไม่รู้ว่าเป็นทางตัด (Rail road crossing)
  • อื่นๆ

ขอบคุณที่อ่านครับ

-----------------------------------------------------------------------------

เราตื่นหรือยัง? เวียดนามมาแรง แซงไทยแล้ว...

11 พฤษภาคม 2549 18:25 น.
ผมมีกำหนดจะแวะเวียนไปเมืองจีนกับเวียดนามในเร็ววันนี้ กำลังเก็บข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสองประเทศเพื่อนบ้านที่น่าติดตามยิ่งอยู่ก็มีข่าวคราวเรื่องเวียดนาม

     กลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในหลายๆ ด้านขึ้นมา จึงต้องนำมาปูทางเอาไว้ก่อน ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปถึงการเมืองและเศรษฐกิจของเวียดนามวันนี้

เวียดนามมาแรงนั้นไม่ใช่ประเด็นใหม่ มีสัญญาณบอกกล่าวมาหลายปีแล้ว เพียงแค่คนไทยไม่ได้ใส่ใจเพียงพอ และผู้นำไทยที่กำลังต้องการจะสร้างภาพว่าเป็น "ผู้นำแห่งภูมิภาค" ด้วยกิจกรรมโฉ่งฉ่างทั้งหลายก็กลบ "ของจริง" ไปหลายเรื่อง

ข่าวจากกระทรวงพาณิชย์บอกว่า การส่งออกของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นข้าว, สิ่งทอ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, อาหารทะเล, หรือแม้สินค้าที่ไทยคุยว่าแข็งแกร่งเป็นพิเศษ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ กำลังตามไล่หลังไทยเรามาติดๆ และบางเรื่องก็แซงหน้าไทยไปแล้ว

วันนี้ เขาอาจจะขยับไม่แซง แต่ถ้าดูจากอัตราโตอย่างต่อเนื่องและสภาพ "นิ่ง" ของไทยเราทางด้านนี้, ก็เป็นไปได้ว่าต่อไปเวียดนามจะกลายเป็นประเทศที่ส่งสินค้าออกได้มากกว่าไทย และเพราะตลาดเกือบจะเหมือนกับไทย, เวียดนามจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว

ไม่เพียงแต่เรื่องส่งออกเท่านั้น, การลงทุนจากต่างประเทศก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่เวียดนามแข่งกับเรา ล่าสุด ผลการสำรวจประจำปีของ "JETRO" หรือองค์การการค้าต่างประเทศญี่ปุ่นถามความเห็นของนักลงทุนญี่ปุ่นประจำภูมิภาคเอเชียสำหรับปีที่แล้ว ได้ผลออกมาว่าพวกเขาเห็นพ้องว่าเวียดนามเป็นประเทศน่าลงทุนที่กำลังดีวันดีคืน และกำลังจะเทียบได้กับประเทศไทย

ที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งคือนักลงทุนญี่ปุ่นไม่น้อยมองว่าเวียดนามอาจจะเป็น "ทางเลือก" ใหม่สำหรับทดแทนตลาดจีนหากจำเป็นต้อง "กระจายความเสี่ยง"

ขณะที่ไทยอาจจะไม่ถูกจัดอยู่ในหมวดของการที่จะเป็น "แหล่งลงทุนทางเลือก" เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในจีน

ผลสำรวจของเจโทรครั้งนี้น่าสนใจตรงที่ว่านักลงทุนญี่ปุ่น บอกว่า ในบรรดา 6 ประเทศอาเซียน (อินโด, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม) บวกกับอินเดีย นั้น ในระยะยาวแล้ว ไทยกับเวียดนาม จุดหมายปลายทางที่พึงปรารถนาที่สุด

เดิมไทยอยู่เหนือชั้นเวียดนามเพราะความสะดวกหลายด้าน และที่สำคัญประการหนึ่งคือบรรยากาศแห่งเสรีภาพและคล่องแคล่วของสังคมไทย แต่วันนี้ เมื่อการไหลเทของข่าวสารและเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดลง จุดแข็งด้านนี้ของไทยก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้โดดเด่นกว่าเวียดนามที่ยังปกครองด้วยระบอบการเมืองแบบรวมศูนย์

น่าสนใจว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ก็มีข่าวว่าไทยกับเวียดนามต่างก็เข้าไปแข่งขันในตลาดกัมพูชาอย่างเข้มข้น และสินค้าบริโภคหลายยี่ห้อของเวียดนามนั้น ก็อ้างว่า คุณภาพดีกว่า และที่สำคัญ คือ ถูกกว่า ของไทยอีกด้วย

ประเด็นการแข่งขันระหว่างสินค้าไทยกับเวียดนามในเขมรและลาวนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เพราะการแข่งขันดุเดือดมากยิ่งขึ้น และเพราะเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศรัดตัวมากขึ้น ต้องแย่งตลาดกันในทุกๆ ด้าน, เรื่องของคุณภาพกับราคาระหว่างของไทยกับของเวียดนาม จึงกลายเป็นเรื่องที่เป็นหนามยอกอกไทยเราตลอดมา

ต้องไม่ลืมว่าสินค้าบริโภคไทยเราไม่ได้แข่งแต่เฉพาะกับเวียดนามเท่านั้น แต่เงาทะมึนของสินค้าบริโภคจากประเทศจีน ก็กำลังเป็นภัยคุกคามต่อเราอย่างน่าหวาดหวั่นอีกเช่นกัน

รัฐบาลนี้พูดเรื่อง "ความสามารถในการแข่งขัน" มาหนักหนาแล้ว ถึงกับตั้งคณะกรรมการระดับชาติมีนายกฯ เป็นประธาน...แต่วันนี้ใครต่อใครต่างก็พุ่งแรงแซงหน้าเราไปเสียแล้ว

วันหน้า ยังมีข้อมูลและแนวทางวิเคราะห์ "ความสามารถในการแข่งขัน" ของไทยเรากับเพื่อนบ้านอีกหลายด้านที่จะมาเล่าสู่กันฟังในคอลัมน์นี้

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/2006/05/17/u001_103092.php?news_id=103092

หมายเลขบันทึก: 29263เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

งานใหญ่แบบนี้ ผมคงต้องทำเป็นนโยบายของประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่างๆ นะครับ

ผมว่า ที่ผ่านมา ทางคณะผู้บริหารหรือคณะที่เกี่ยวข้องกับการวางนโยบายด้านนี้ ยังไม่เห็นความสำคัญในการมีเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์เป็นของตัวเอง 

เรื่องเทคโนโลยีในการผลิตยานยนต์ ถ้าเราคิดจะทำเอง

คงจำเป็นต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ แล้วคงต้องศึกษารายละเอียดของชิ้นส่วนทุกชิ้นซะก่อน ไม่ใช่แม้กระทั่งแท่นเครื่อง (Chasis)  เท่านั้น  แม้แต่การผลิตน๊อต ตัวเล็กๆ ซักตัว ก็ต้องมีเทคโนโลยีของมัน.

ผมว่า ถ้าลงทุนซื้อเทคโนโลยีของเขาไปก่อน แล้วมาพัฒนาไปเป็นของตัวเองทีหลัง อาจจะทำให้สามารถย่นระยะช่องว่าง จากเทคโนโลยีของเขาได้มากขึ้นดีกว่าไปเริ่มต้นจากศูนย์ 

เมื่อเราซื้อเทคโนโลยีของเขามาแล้ว เขาก็จะต้องถ่ายทอดความรู้ของเขาในส่วนที่เราซื้อ มาให้เราทั้งหมด ไม่ปิดบัง มีการส่งทีมงานมาฝึกบุคลากรให้เราอย่างมีประสิทธิภาพ  เราจะรู้ความลับของการผลิตทุกชิ้นส่วน หลังจากนั้นเราสามารถพัฒนามาเป็นเทคโนโลยีของตัวเองได้ครับ

เรื่องแบบนี้ต้องใช้งบประมาณมาก แต่ผมเห็นด้วยว่าควรจะต้องเร่งลงมือทำครับ

----------------------------------------------------------------

ที่ชั้นเรียนผม มีเพื่อนเวียดนามสี่ห้าคนครับ ทุกคนขยัน ในใจลึกๆ ผมถือว่าพวกเขาว่าเป็นมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพมาก...... หันมามองเด็กไทยแล้วรู้สึกหดหู่มากเลยครับ

บางประเทศที่เรามักจะคิดกันว่า พวกเขาล้าหลังประเทศของเรา

แต่ความเป็นจริงจะไม่ปรากฎ  ถ้าเรายังไม่ออกนอกกะลา เราก็จะไม่ทราบความจริง ที่มักชอบดูถูกเพื่อนบ้าน

จากประสบการณ์ที่ผม เรียนที่  อินโดนีเซีย มาสองปี ผมพบว่ากิจการรถไฟสายหลักในประเทศอินโดนีเซีย พัฒนาไปมากกว่าบ้านเรามากนัก

กิจการของเขาอยู่ในรูปแบบที่ หลายบริษัทที่มาลงทุนหรือเป็นเจ้าของขบวนรถไฟ  และระบบรถไฟของเขาก็มีหลายแบบมากกว่าที่เมืองไทย

เมื่อตัวรถไฟเข้าสู่เขตของนคร Jakarta ระบบรางสายหลักจะยกขึ้นเหนือพื้นดิน ไม่มีการตัดผ่านกับถนน ซึ่งเขาสร้างแบบนี้มาเป็นสิบปีแล้ว

เรื่องระบบรางลอยไฟของรถไฟ คงอีกหลายปีจะเกิดในเมืองไทย

และผังเมืองของนคร Jakarta ดีกว่า Bangkok มากมายนักครับ  

  • ขอบคุณครับที่อ่านและมาร่วมคุยกัน
  • บางครั้งที่เราก็ดูเหมือนประมาณคนอื่นๆ ต่ำเกินไป เหมือนภาพยนต์ไทยที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในตอนนี้ จนคล้ายๆ ว่าเราไปดูถูกเขา
  • เท่าที่ทราบรู้สึกว่าอินโดนีเซียก็มีโรงงานประกอบรถไฟครับ
  • เราด้องให้ความสนใจกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้น และควรวิจัยในเรื่องที่มันพอจะเป็นไปได้ ไม่ใช่วิจัยเพื่อ ให้เงินเดือนขึ้นแล้วก็เก็บงานวิจัยนั้นขึ้นหิ้งไป
  • การผลิตมีกระบวนการให้เลือกได้หลายอย่างครับ เช่นประกอบรถยนต์โดยสั่งชิ้นส่วนมาประกอบ หรือจะร่วมทุน หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ แต่สิ่งสำคัญคือก้าวแรกครับ อย่าคิดแต่จะซื้อ โดยไม่พยายามคิดทำขึ้นมา
  • บ้านเรามีเทคโนโลยีหลายอย่างที่ต่างชาติยอมรับ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนได้ในตัวเดียวกัน
  • แต่ที่แย่คือเราไม่ได้มีการแปร เทคโนโลยีออกมาเป็นเงิน คือทำออกขาย
  • เรามีโรงงานประกอบรถยนต์ รถทัวร์ รถบรรทุกมากมาย น่าจะให้โรงงานเหล่านี้มาร่วมทุนกัน กับบริษัทต่างประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีก็ได้
  • มาเลย์เซียยังขยายผลจากโรงงานรถยนต์ (โปรตรอน) มาทำโมโนเรลได้เลย รถไฟก็แค่ใหญ่กว่าโมโนเรลหน่อยนึงเรามีโรงงานประกอบรถยนต์น่าจะมากกว่ามาเลย์เซียอีก เราก็น่าจะขยายผลอย่างเค้าได้ ขอเพียงเราอยากทำเท่านั้นเอง
  • อย่างจีนกำหนดให้รถไฟฟ้าที่จะขายในจีนต้องประกอบในจีน ฝรั่งก็ต้องไปตั้งโรงงานประกอบในจีนโดยร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวจีน
  • เราก็น่าจะเอาอย่างจีนบ้าง รถไฟฟ้าทั้งหลายที่จะมาใช้ในโครงการเมกกะโปรเจคทั้งหลาย เราก็กำหนดว่าต้องประกอบในบ้านเราบ้าง

 

     เป็น KM แบบ บ่น ๆ ที่ได้เรื่องได้ราวเลยครับ มันส์...ครับ

 Conductor การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งครับ คงต้องใช้อีก"หลายๆเครื่องมือ" ครับ





  • ขอบคุณครับ
  • ผมเขียนบันทึกนี้เพราะผมรักเมืองไทยครับผมอยากให้เมืองไทย ยืนอยู่บนเวทีโลกได้ตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาใคร
  • เราปฏิเสธไม่ได้ว่า รถไฟ เป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมไม่ว่าประเทศไหนในโลก
  • รถไฟเอาไว้ทำอะไรคงไม่ต้องบอก
  • ดังนั้นถ้ารถไฟเป็นสิ่งจำเป็น และเราไม่อยากพึ่งใคร เราก็ต้องสร้างรถไฟขึ้นมาเอง
  • ไม่มีใครทำอะไรเก่งมาแต่เกิด
  • ลองคิดถึง James Watt ตอนเค้าประดิษฐ์อะไรต่อมิอะไรในอดีต ตอน Honda ประดิษฐ์เครื่องยนต์ ตอนสองพี่น้องตระกูลไรท์ประดิษฐ์เครื่องบิน ตอนนี้ Know how ของคนไทย น้อยกว่าคนเหล่านี้ ตอนเขาเริ่มลงมือทำหรือปล่าว
  • สมัย ร.4 เราต่อเรือกลไฟ ส่งออกเป็นจำนวนไม่น้อย
  • สมัยนี้เราต่อเรือใบ สำหรับแข่งลำละเป็นพันล้านบาทได้
  • ทำไมแค่รถไฟคันละ 100 ล้าน ถึงไม่มีใครทำ
  • นอกจากจัดการความรู้แล้ว เราต้องเอาความรู้ที่ได้จากการจัดการ มาทำให้เป็น product ด้วย ถึงจะมีประโยชน์กับโลกครับ
  • ความรู้ถ้าอยู่แต่ในหัว มันจะมีประโยชน์อะไร กับโลกละครับ
  • เรามาช่วยทำบ้านเราเมืองเราให้ดีขึ้นกันดีกว่าครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณคุณเปมิชทำให้เห็นคุณค่าอะไรหลายอย่างนะครับ

เรียนคุณเปมิช

  • ช่วยกันบ่นไปเรื่อยๆ แบบนี้ครับ ถ้าช่วยกันบ่นหลายๆ คน (หลายเรื่องด้วย) เดี๋ยวพอมีแนวร่วม เราก็รวมพลังสร้างชาติครับ
  • ขอบคุณครับที่เขียนเรื่องดีๆ
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านและขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีๆ ครับ

บ่นดังๆ...และลงมือทำ

ร่วมด้วยช่วยกัน..

กอบกู้...ไทยเรา...

เป็นแนวร่วมอีกคนคะ...

ขอบคุณครับ

ผมก็ไม่รู้จะไปบ่นที่เวทีไหนครับ เคยไปเสนอไอเดียบางอย่างที่ศาลากลางจังหวัด ในคราวประชุมทำแผนพัฒนาจังหวัด เมื่อประมาณปีที่แล้ว แต่ไม่มีใครสนใจเลยครับ โบ้ยให้ไปกลุ่มโน้นกลุ่มนี้ ทำไปทำมาผม Present ไปแทบทุก Focus Group แต่ก็ไม่มีใครสนใจ

ผู้เข้าร่วมทำแผนพัฒนาจังหวัดเป็นตัวแทนจากทุกกระทรวงที่มีเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดเลยครับ เช่นงานที่เกี่ยวกับถนน ภาษี ฯลฯ

ที่จริงเรื่องที่ผมเสนออยู่ในวิสัยที่ผู้ว่า CEO จะสั่งการหรือผลักดันได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายครับไม่มีใครสนใจเลย

ประสบการณ์คร้งนั้นทำให้ผมพบเลยว่าเจ้าหน้าที่บ้านเราจำนวนมาก

  • ทำเป็นแต่งานรูทีนครับ ไม่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  • ต้องรอคำสิ่งผู้ใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว (Top-Down) ไม่กล้านำเสนอเรืองดีๆ สู่เบื้องบน (Bottom -Up)

นี่น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งในจำนวนหลายสาเหตุที่ทำให้บ้านเราแทบไม่มีการพัฒนาอะไรขึ้นมาเลย อยู่ไปวันวันเท่านั้นเอง

 

  • ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช...                                     
  • บันทึกนี้ตั้งชื่อเรื่องได้ดีครับ... พอคนเห็นคำว่า "การจัดการความรู้..." ก็เข้ามาอ่านแล้ว
  • การตั้งชื่อดีน่าจะเรียกได้ว่า ชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว           
  • เวียดนามมีอิทฺธิพลในกัมพูชามาก...
    1). คนเวียดนามที่เข้าไปทำสงคราม และไม่กลับประเทศ ดูเหมือนอาจารย์นิติภูมิท่านว่า เป็นแสน
    2). คนเวียดนามดูจะชอบทำการประมง + ค้าขาย -> อยู่ริมแม่น้ำ ทะเลสาบ(ตนเลสาบ)มาก
    3). คนกัมพูชามีประชากรไม่กี่ล้านคน
    -> ต่อไปคนเวียดนาม(ในกัมพูชา)จะค่อยๆ กลายเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ (hugh minority)              
    -> ส่วนหนึ่งกลายเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง (middle class) และกลุ่มชนที่มีการศึกษาสูง (well-educated ones) ในเวลาไม่กี่ปี เพราะขยัน ประหยัด อดออม เรียนรู้เร็ว ค้าขายเก่ง และไม่พิการอย่างชาวกัมพูชาจำนวนมาก
  • ผมมีประสบการณ์ตามคุณอานำพระไตรปิฎก-อรรถกถาไปถวายวัดในกัมพูชา(พนมเปญ)
  • 1). คนเขมรส่วนหนึ่งเรียนเก่ง ขยันมากเหมือนกัน อุตส่าห์หัดอ่านภาษาไทย เพื่ออ่านพระไตรปิฎก-อรรถกถาก่อน
    2). ต่อมาเรียนบาลีที่กรุงเทพฯ+ลำปาง เพื่อจะแปลต้นฉบับจากพม่าเป็นกัมพูชา
    3). ขยันอย่างนี้ก็คงจะยังไม่ทันคนเวียดนามกลุ่มน้อย เพราะประเทศที่ขาดปัญญาชน และมีคนพิการมากขนาดนี้ ต้องอาศัยรัฐบาลที่ซื่อสัตย์ +ขยัน+เสียสละ... ที่หาได้แสนยาก 
  • มีโอกาสรู้จักกับท่านสวน โอสถ นายกสมาคมแพทย์ทางเลือกกัมพูชา
  • ท่านว่า คนกัมพูชาที่พอจะมีฐานะและป่วย เช่น เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ฯลฯ จะล่องเรือไปทางแม่น้ำโขง
    -> ออกไปตามแนวที่ราบลุ่มของเวียดนาม(ดูจะชื่อ "แขมร์กร็อม")
    -> ไปรักษาที่ไซ่ง่อน (โฮจิมินต์ซิตี้) หมอ-พยาบาลเวียดนามคงจะเก่งครับ... นี่ก็เป็นการรักษาข้ามชาติเหมือนกัน
  • พูดถึงเมืองไทยแล้ว                                              
    -> เมืองไทยดูเหมือนกำลังมองหา "พรรคใหม่"
    1). ไม่โกง
    2). ขยัน
    3). เก่ง
    ถ้ามีพรรคที่ 3 แบบนี้มีสิทธิ์ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายเหมือนกัน (People need voice & choice - Khin Mg Myint 2006)
  • ขอบคุณครับ สำหรับทุกความเห็น
  • ถึงแม้บางท่านจะออกความเห็นแต่เพียงในใจ แค่แวะมาอ่านผมก็ดีใจแล้วครับ
  • ผมรู้สึกว่า พรรคในอุดมคติอย่างนั้นหายากหน่อยครับ
  • นี่อีกนานกว่าจะเลือกตั้ง ถึงแม้บางพรรคจะโดนยุบเพราะเล่นแทคติกบางอย่างเอาไว้แต่ในที่สุดก็คงไป SWAP (ภาษาหุ้น) เอาพรรคบางพรรคเข้ามา แล้วก็เลือกตั้งใหม่ได้อยู่ดี มันก็เหมือนเอาน้ำเสียจากถังนี้ ไปใส่ถังนั้น อยู่นั่นเองครับ
  • ตราบใดที่ละครน้ำเน่ายังคงมีเรทติ้งสูงอยู่ในบ้านเรา ตราบนั้นการเมืองเราก็ยังเป็นเฉกเช่นเดียวกันครับ
  • จากประสบการณ์ ทำให้รู้สึกว่าการเมือง (บ้านเรา) เป็นเรื่องปกปรก เหมือนเรานุ่งขาวห่มขาวแล้วไปเดินในที่ๆ มีพื้น แฉะๆ หรือเลอะเทอะ ชุดเราก็เปรอะอยู่ดีครับ
  • ผมเชื่อว่าคนเก่งๆ และดีๆ บ้านเรามีอีกมากครับ แต่ท่านเหล่านั้นอาจคิดอย่างเดียวกับผมก็ได้ เหมือนเอาน้ำกลั่นไปเทลงคลองแสนแสบ ยังไงแสนแสบก็ไม่ใสขึ้นครับ
  • อีกอย่างที่สำคัญ คนดีย่อมไม่โกหก คนโกหกไม่เป็นออกไปหาเสียงยังไงก็แพ้วันยังค่ำครับ
  • ขออภัยที่ต้องพูดตรงๆ (บางคนเคยว่าผมปากเสีย) นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวครับ ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ
  • อย่างไรก็ตามผมเป็นเพียงแค่ขาจรเท่านั้นเอง ยังไม่ถึงขั้นขาประจำครับ

ศีลธรรมกลับมา โลกาสงบเย็น (พระท่านพูดบ่อยๆ ตอนผมเป็นเด็ก)

เรามาช่วยสวดมนต์ และแผ่เมตตา เพื่อชาติกันเถอะครับ ชวนลูก หลาน เด็กๆ มาร่วมด้วยก็จะดีมาก เพราะผมเองก็ไม่รู้จะช่วยชาติด้วยวิธีไหนอีกแล้ว

 

อ่า ไหนๆ ป๋าเปมิช ส่งมา ให้อ่าน
ขอมาบ่นมสั่ง ในมุม คนรอบนอกวงการจักหน่อย
ถ้าเรื่องเวียดนาม ณ เวลานี้ถ้าวัดเรื่องในคุณภาพของคน
ในความคิดของผมว่า เวียดนาม แซง บ้านเราแล้ว
ไม่ว่าการปลูกฝังในกระบวนการทางความคิดตั้งแต่ประถมยันมหาลัย
และถ้าบ่นตรงๆในเรื่องระบบการศึกษา บ้านเรามีแต่นักคิด ที่คุณวุฒิระดับปริญญาเอก เพียบ
แต่ แปลกใจไหมว่า ต้นทุนการศึกษาแพงขึ้น การปฏิบัติในคำสั่งของระบบการศึกษา ผู้ปฎิบัติทำไมคิดไม่เหมือนกัน
และถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2500 ทำไม ผู้ที่เรียนในด้านการศึกษา
จะเป็นคณะที่มีคะแนนค่อนข้างต่ำ (แบบท้ายๆตารางพวกทีมที่ใกล้ตกชั้นแต่ละลีกเลยวุ้ย)
ครานี้คนเก่งๆ จะมีเยอะ อะเป่าเนี่ย......
มองต่ออีกหน่อย
เพราะสังคมบ้านเราให้ความสำคัญกับบางวิชาชีพมากเกินไปหรือเปล่า
และการคิดค่าตอบแทนกับวิชาชีพ ก็เงินเดือนเนี่ย
อาชีพไหนได้ค่าตอบแทน มากน้อย เชื่อเหอะ รายได้ของคุณครู ก็อยู่ท้ายๆ เหมียนเดิม
คนที่รักอาชีพครู  ต้องคนที่มีใจรักในอาชีพนี้จริงๆ ถึงทำงานถึงอยู่ในวงการนี้ได้
แต่ที่บางคนต้องทนทำเพราะไม่รู้จะไปทำอะไร และพอระบบทุนนิยมเข้ามาครอบงำ
(เช่นต้องมีรถปิกอัพ ,มอไซค์,เข้าสังคมต้องมีสุรานอก)
คุณครูของเราบางกลุ่ม ต้องดิ้นรน หารายได้เสริม
คือ มีการเดินสายขายตรง กะประกันชีวิตเพื่อ ความอยู่รอดและหน้าตา

แต่ผลกรรมก็ตกกะนักเรียน พอนักเรียนชุดนี้ออกมาสู่ตลาดแรงงาน
ก็เป็นแรงงานด้อยคุณภาพ
คงไม่แปลกใจหรอครับ ว่าทำไมเวียดนามถึงแซงบ้านเราเรื่องคนในตอนนี้

ยิ่งการปฎิรูปการศึกษาตั้งแต่การล้มมาจากวิกฤติต้มยำกุ้ง
และต้นทุนการศึกษาที่ทำไม ต้องจ่ายมากกว่าเดิม
ส่วนอื่นๆ ที่ว่า ทำไมบ้านเราอุตสาหกรรมต้นน้ำเกิดแบบพิกล ๆ  ที่มีมาอย่างไรว่างๆ คงจะมาร่ายต่อ
พร้อมกับเรื่องการศึกษา แล้วก็รถไฟ ในลำดับต่อไป นะครับ ป๋าเปมิช
ณัฐ

ยิ่งการปฎิรูปการศึกษาตั้งแต่การล้มมาจากวิกฤติต้มยำกุ้ง และต้นทุนการศึกษาที่ทำไม ต้องจ่ายมากกว่าเดิม ส่วนอื่นๆ ที่ว่า ทำไมบ้านเราอุตสาหกรรมต้นน้ำเกิดแบบพิกล ๆ  ที่มีมาอย่างไรว่างๆ คงจะมาร่ายต่อพร้อมกับเรื่องการศึกษา แล้วก็รถไฟ ในลำดับต่อไป นะครับ ป๋าเปมิช ณัฐแต่ผลกรรมก็ตกกะนักเรียน พอนักเรียนชุดนี้ออกมาสู่ตลาดแรงงาน ก็เป็นแรงงานด้อยคุณภาพ

ผมมีความคิดเห็นคล้ายๆ กับคุณ natt เรื่อง ปฎิรูปการศึกษาในเมืองไทย   หัวข้อแบบนี้ ช่วยร่ายกันยาวๆ หน่อยนะครับ (ตั้งแต่ระดับหัวถึงหาง บนลงล่าง ทั้งนอกและใน ที่ลับและที่แจ้ง; แต่อย่าเลยครับ ผมพูดเล่นน่ะ เดี๋ยวจะกระทบกระทั่งคนอื่นครับ อิอิ)

ทั้งๆ ที่ผมทำงานด้านการสอนอยู่ แต่จนทุกวันตอนนี้ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ เรื่องปฎิรูปการศึกษาในเมืองไทย ซะเท่าไหร่เลยครับ เพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถของผมที่จะเข้าใจ  และก็เนื้อหาที่แท้จริงคงรู้กันอยู่ในเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น

ผมเข้าใจอย่างเดียวว่า รู้สึกเป็นห่วงเหลือเกินที่มีคนในแวดวงการศึกษาพูดคำว่า ตลาดวิชา หรือคำอื่นๆ ที่พยายามเชื่อมโยงการบริหารการศึกษาให้เป็นไปในเชิงพาณิชย์

ผมคาดว่าอีกไม่นานหรอกครับวัฒนาธรรมขององค์กรด้านการศึกษา กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป  ความรู้สึกถึงหน้าที่การงานของคนในองค์กรการศึกษาก็จะเปลียนไปด้วยเช่นกัน  

ใช่หรือเปล่าครับ ? ผมคงต้องถามผู้บริหารกันมั๊งครับว่า กำลังคิดอะไรกันอยู่เอ่ย

ห่วงจังเลยว่าต่อไปลูกๆ ของผม (แต่ตอนนี้ยังโสดอยู่ครับ) คงต้องเสียค่าเทอมเพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่คุ้มค่ากับคุณภาพของการศึกษาที่ได้รับมาแน่เลย สงสารคุณคุณผู้น้อยบ้างเถอะครับ

  • ขอบคุณครับ
  • เรื่องที่ฮอตฮิตติดปากล่าสุดเห็นจะเป็น โอเด็ต เอ๊ย ! โอเน็ต เอเน็ต อะไรนี่แหละครับ
  • ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ที่แย่คือระบบยังไม่เข้าที่เข้าทางแต่กลับเอามาใช้งานแล้ว)
  • ผมเองเชื่อมั่นในการสอบแบบ Classic
  • คือไปวัดกันตอนสอบเลย ไม่ต้องเอาเกรดมาใช้ประกอบเพราะหลายโรงเรียนอาจเปล่อยเกรดให้ลอยตัวเหมือนค่าเงินบาทได้
  • ต่อมาผู้จัดสอบก็มีการเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย คือให้มีข้อสอบเติมคำ แทนที่จะเป็น ตัวเลือกล้วนๆ (ก ข ค ง จ) โดยอ้างว่าเด็กๆ อาจจะเดามากเกินไปถ้าเติมคำนี่เดาไม่ได้ โอเคก็พอยอมรับได้
  • จากประสบการณ์ คิดว่าผู้สอบได้ส่วนใหญ่มาจากความสามารถส่วนบุคคล ที่เดาล้วนๆ (ไม่รู้อะไรเลย) โอกาสสอบติดน้อยมาก
  • ผู้สอบ (Ent) ติด ถ้าตั้งใจเรียนแล้ว จบทุกคน
  • ผู้เรียนที่ไม่จบ คือ ผู้ที่ไม่ตั้งใจเรียน
  • โดยที่คะแนนสอบเข้าแทบไม่มีผลเลย
  • คนสอบ Ent ได้ที่ 1ของคณะ ยัง retired มาแล้ว
  • ในขณะที่คนได้คะแนน Ent อันดับท้ายๆ ก็จบเป็นบัณฑิตไปแล้วมากมาย
  • ไม่รู้จะพลิกแพลงกระบวนการสอบไปทำไมให้ปวดหัว และเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
  • การสมัครสอบและดูผลสอบทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ไม่ชอบด้วยสิทธิมนุษยชน
  • นักเรียนจำนวนมากไม่มีคอมพิวเตอร์
  • หลายบ้านที่มีคอมพิวเตอร์ ก็ไม่มีอินเตอร์เน็ต
  • ควรมีทางเลือก โดยสมัครด้วยบุคคลแบบเดิมๆ (ตั้งโต๊ะรับสมัคร) และประกาศผลโดยการติดบอร์ด เหมือนเดิม
  • ให้อินเตอร์เน็ตเป็นแค่บริการเสริม ไม่ใช่ช่องทางหลัก

 

  • สุดท้ายนี้ ใครพอจะทราบบ้างว่ารัฐบาลจะเอายังไงกับ หัวรถจักรรถไฟทั้ง 7 คัน
  • ทำให้นึกไปถึงคราวที่ ครม อนุมัติงบฯ 7 หมื่นล้านให้สร้างสะพานข้ามอ่าวไทย (ที่มีชื่อเล่นว่าโครงการแหลมผักเบี้ย) ทั้งๆ ที่ EIA  ยังทำไม่เสร็จ
  • เงินจำนวนนี้ซื้อรถจักรรถไฟได้ประมาณ 700 คัน
  • แต่ถ้าจะให้ยั่งยืน เจียดงบฯ ส่วนนึงมาแค่ 1 หมื่นล้าน แล้วตั้งโรงงานประกอบรถไฟ ก็จะประหยัดงบฯ ได้อีกมหาศาล เพราะเมกกะโปรเจคอีกนับ 10 โครงการของเรายังไงก็ต้องใช้อยู่ดี
  • เงิน 7 หมื่นล้านก้อนนี้หายไปไหนแล้ว
  • ลองคิดดูว่า....การขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า ราคาขายสินค้า ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน การนำเข้าน้ำมัน มลภาวะทางอากาศ จะมีทิศทางดีขึ้นขนาดไหน ถ้าหากการรถไฟฯ ได้รับงบประมาณในแต่ละปีเท่ากับกรมทางหลวง

 

อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันนี้ได้ความว่า

โครงการ Barter Trade ล่าสุด 3 โครงการได้แก่

1 โรงงานยาสูบครบวงจร 15,000 ล้านบาท (จีน)

2 หัวรถจักรรถไฟ 700 ล้านบาท (จีน)

3 ปืนใหญ่ 800 ล้านบาท (ฝรั่งเศส)

ทั้ง 3 โครงการข้างต้นจะใช้ข้าวไปแลก

ผู้มีอำนาจวาสนาบารมีทั้งหลายในประเทศสาระขันเขาคิดว่าบุหรี่จำเป็นต่อประชาชนมากกว่าการคมนาคมขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า การประหยัดพลังงาน ปัญหามลภาวะ คุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการใช้ถนน

จากป๋า เปมิศ
พูดว่า สุดท้ายนี้ ใครพอจะทราบบ้างว่ารัฐบาลจะเอายังไงกับ หัวรถจักรรถไฟทั้ง 7 คัน”
เรื่องนี้ยังคาราคาซัง ที่ กระทรวงเกษตร เพราะรอเอาข้าวไปแลกอยู่
ป๊หน้าโน้นมั้ง เพราะ ท่าน รมต .ตอนนี้ ไม่ว่าง ลานหมด เลยหยุดไข
และเรื่องโควต้าข้าวเนี่ย ใครได้ ใครเสีย งดออกความเห็น
กัวสมอง มีตะกั่วเป็นก้อนวิ่งผ่าน หรือฝังใน
เรื่องงบ ในกระทรวง คมนาคม ป๋า กรุณาไปหาที่นี่เ้ด้อคับ
http://portal.mot.go.th/
หลังจากอ่านแล้ว ระบบ ราง ได้งบแค่ 1 ในสิบส่วน ของกรมทาง
แต่หนี้ที่เกิดจากการให้บริการสาธาราณะ และงบผูกพันที่ต้องจ่ายค่าบำเหน็จ บำนาญ
ของข้าราชกากรการรถไฟ ปีนึงเกือบ 2000 ล้านอีกต่างหาก
(ค่าบริการสาธาราณะ คือค่่าน้ำมันเนี่ย กับการปรับค่าโดยสารที่ดองเค็มจนหาทางออกแบบศรีธนชัย
คือหารายได้จากค่าธรรมเนียมรถโดยสาร สาเหตุที่ทำอะไร ไม่ได้ด้วยตัวเอง
ต้องไปอ่านที่ พรบ.การรถไฟ ที่ออกมาตั้งแต่ก่อน ปี2500 กะหลัง 2500 นิดหน่อย
ผู้มีอำนาจเสนอคือบอรด์ เสอนผ่าน รมต คมนาคม และครมต้องอนุมัติจึงจะได้ขึ้นราคาค่าโดยสาร
ส่วนค่าธรรมเนียม เป็นเรื่องแค่ระดับบอรด์ เสนอ รมต.)
ครานี้ต้นทุนรายได้มันเพี้ยน เลยผลกระทบในเรื่องที่ต้องจ่ายตรงตามระเบียบราชการ
มันเลยเป็นเรื่อง งมหาทางออก มะล่าย
ส่วนเรื่องการจัดสร้างโรงงานผลิตรถไฟ ทางกระทรวงอุต ฯ เคยหาวิธีเมื่อปี 2548
จะทำคัสเตอร์เมื่อโครงการโมเดิรน์ไนซ์ ไทยแลนด์ โดย เมกะโปรเจค รถไฟฟ้า
เป็นโครงการนำร่อง
ทำไมไมนักลงทุนเรื่องรถไฟ หรือรถไฟฟ้า มองแล้วจะลงทุนในบ้านเราหรือไม่
เพราะ ปัญหา ในเรื่องระบบราง ที่บ้านเราโตแบบเดี้ยงๆ
ตราบใดที่ไม่มีการผลักดันอย่างจริงๆ จังๆ
ถ้าเป็นพี่จะควักตัง มาลงเนี่ย คงไม่ลืมเรื่องชิวๆชิวๆแบบนี้ง่า
อย่างแรก    มาตรการจูงใจที่จะมาลงทุน
อย่างที่สอง  แหล่งวัตถุดิบ
อย่างที่สาม  อุตสาหกรรมต่อเนื่อง
อย่างที่สี่      ระบบสาธรณูปโภคพื้นฐาน
อย่างที่ห้า     การเติบโตทางการตลาด
อย่างที่หก     คน
มองแล้วป๋าเปมิศ ว่ามันหมูไหม เนี่ย  ต่อให้มีหมื่นล้านก้อเหอะ
เพราะแค่โรงงานทำเครื่องยนต์อย่างน้อยต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 700-1000 ล้านแย้ว
ไม่รวมโรงงานประกอบขึ้นรูป ขึ้หมูขี้หมา ก้อใช้ตังราวๆ 1500-3000 ล้าน ง่า  
คราวนี้เอาเรื่องวัตถุดิบก่อน
โรงงานผลิตอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในประเทศ เกิดมาจากช่วงปี 2532-2535
และเดี้ยงตามภาวะต้มยำกุ้งมะใช่หรือ ตอนนี้บางรายยังแก้ปัญหา ตัดผม(Hair cut) หนี้เดิม
ยังบ่แล้วบ่สิ้นและนโยบายในการที่ผลิตเหล็กที่เกิดจากการหลอม ที่ต้องใช้สินแร่และเศษเหล็ก
(บ้านเรามีแหล่งแร่พอไหมในที่มีระยะยืนได้ด้วยตัวเองไม่น้อยกว่า 50 ปี)
ถ้าเรื่มจะผลิตเหล็กที่ใช้ในงานที่เกี่ยวกับ รถไฟ และเครื่องยนต์
ที่เป็นเหล็กชนิดพิเศษ พอทำได้ ณ เพลานี้
ยังมะมีโรงงานผลิตประกอบเครื่องยนต์ในบ้านเราเลย
พอมีการผลิตเหล็กชนิดที่ว่าเนี่ย เริ่มทำได้คือ 2550-2552  เป็นต้นไปหละป๋า
ถ้าเอาชิ้นส่วนมาประกอบ การสร้างมูลค่าเพิ่มและเทคโนโลยี่ยังถึงจะเกิดมะใช่หรือ
อานิสงค์ มันถึงจะมาที่เรื่องการสร้างคนมารองรับและการเรียนรู้ อะ
ตอนต่อไปมาบ่นเรื่อง แหล่งวัตถุดิบ กะอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในทางดิ่งต่อ อะป๋า
วันนี้ขอปั่นการบ้านส่งเจ้านายก่อนคับ

natt

ถึง คุณเปมิชเรื่องกลับบ้านปลอดภัย มีเรื่องพิจารณา คือ  คนขับรถบรรทุก* ที่เป็นกลไลในการขับเคลื่อน.ในระบบ Logistic ทางถนน มีอยู่ประมาณ 1,000,000 คนเศษ(*ที่มา จากจำนวนผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถขนส่งสาธารณะ ประเภท รถบรรทุก)หากมองจากข่าวที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ ต่างๆ สาเหตุ เกิดจาก1.ประมาท ( เกิดจากคน เช่นสภาพของผู้ขับขี่ไม่พร้อม เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ (หลับใน) ,เมาสุรา หรือใช้สารเสพติด , ไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย จราจร )  2.สภาพของรถไม่สมบรูณ์ ( เกิดจากการบกพร่องของเครื่องจักร คือสภาพของรถ )3.สภาพแวดล้อมเช่น ทัศนวิสัยไม่ดี ,ไม่คุ้นเคยเส้นทาง ในกรณีที่เกิดจากคน เช่นเหตุการณ์ล่าสุดที่ กทม.เมื่อวันที่ 30 / 7 /06 ช่วงเวลาเย็น  บริเวณหลักสี่ หรือ บางเขน ที่เป็นทางตัด เสมอระดับระหว่างถนน กับทางรถไฟที่คนขับรถบรรทุก เมาสุรา ขับฝ่าเครื่องกั้น ชนรถไฟที่เป็นรถโดยสารตกรางความเสียหาย ที่เป็นรูปธรรมคือ เครื่องกั้น รถบรรทุก รถไฟ และความบาดเจ็บ ของผู้ขับขี่ และผู้โดยสารส่วนทางเศรษฐกิจ ที่ตามมา คือ รถติด ความสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง, งบประมาณของรัฐที่ต้องนำมาแก้ไข ประเด็นที่เกิดจากคน ถึงแม้จะมีกฎหมาย ออกมาควบคุม แต่ จิตสำนึกของคน ไม่เคารพกฎ และไม่ปฎิบัติตามกฎหมายเท่ากับว่า คน 1,000,000 คน  มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น ฆาตกร ต่อผู้อื่น หรือไม่ ครับ natt   
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท