อันดับแรกข้าพเจ้าขอกล่าวถึงเครื่องจักกลที่ใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ก่อน
เพราะปู๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่อาศัยจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพิชและซากสัตว์ให้สลายตัวกลายเป็นแร่ธาตุพอที่พิชหรือสัตว์นำไปเป็นอาหารได้
ข้าพเจ้าเคยเป็นกรรมการพัฒนาองค์กรเข้มแข็งจังหวัดบุรีรัมย์ พอช
เคยไปร่วมประชุมกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยอินทรีย์อิดเม็ด
ได้รู้ปัญหาห้องเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ที่แต่ละกลุ่มมีอยู่
ข้อดีข้อเสียของแต่ละเครื่อง คือ
เครื่องอัดแม็ดอินทรีย์แบบจานดาวเทียม
แขงกลุ่มอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ของนายบุญเพ็ง ประธานกลุ่ม เป็นขนาด 1.5
เมตร สามารถปั้นเม็ดปุ๋ยได้วันละไม่เกิน 2
ตัน กลุ่นนี้มีสมาชิก 1,600 คน
เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยเล็กขนาดนี้จึงไม่สามารถปั้นเม็ดปุ๋ยให้พอกับความต้องการด้
ตรงกันข้ามกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านสองชั้น ตำบลสองชั้น
อำเภอกระสัง
มีเครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยแบบจานดาวเทียมเหมือนกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านสนวน
ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คือขนาด 2 เม็ด สามารถปั้นเม็ดปุ๋ยได้วันละ 4-5 ตัน
แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำเพราะสมาชิกมีเพียงไม่ถึงร้อยคน
และไม่นิยมใช้ปุ๋ยอัดเม็ด
เครื่องอัดเม็ดปุ๋ยแบบจานดาวเทียมขนาด 2 ม. ของบ้านหนองบก
ตำบลพุทไธสง
อำเภอพุทไธสงสามารถอัดเม็ดได้วันละ 4-5 ตัน
ก็ต้องทั้งเพราะมีสมาชิกนิยมใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมาก
ต้องรอคิวกันจึงเปลี่ยนไปซื้อเครื่องอัดเม็ดแบบลูกโม 1 ขนาด
30” สามารถอัดเม็ดปุ๋ยได้วันละ 1015
ตันต่อวัน จึงเพียงพอกับความต้องการของสมาชิก
เครื่องนี้ซ้อมาจากจังหวัดยะโสธรใช้มอเตอร์ฉุดขนาด 20 แรงม้า
ข้าพเจ้าเห็นว่า สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า เป็นจำนวนมากต่อเดือน
ข้าพเจ้าจึงคิดว่า
ข้าพเจ้าต้องการที่จะทำเครื่องอัดปุ๋ยแบบนี้ให้สามารถทำงานอัดปุ๋ยได้ปริมาณเท่ากับเครื่องนี้
แต่ใช้เครื่องฉุดเพียง 32 แรงงม้า
จึงไปหาอาจารย์เทคนิคคูเมืองให้เขาช่วยทำให้ตามที่ข้าพเจ้า
สามารถจะหาอุปกรณ์ให้เข้าทำให้ได้
อาจารย์เทคนิคคูเมือง ดำเนินการสร้างเป็นเวลา 2 เดือน
จึงสำเร็จ ตามรายประกอบท้ายนี้
ขอบคุณพ่ออุ่นที่ช่วยเล่าความรู้ดี ๆ มาบอกต่อกัน ดิฉันเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานค่ะ เคยพบพ่ออุ่น 1-2 ครั้งจากการไปร่วมงานที่บ้านครูบาสุทธินันท์ ดีใจค่ะที่พ่ออุ่นเข้ามาเป็นสมาชิก blog จะคอยติดตามอ่านบันทึกต่อ ๆ ไปของพ่ออุ่นค่ะ