วัฒนธรรมไทย ใยต้องย้อนยุค


วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนาชีวิต

          ช่วงหลังมานี้  มีการจัดงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอยู่บ่อยครั้ง ลักษณะของการจัดงานก็จะเน้นไปที่การพูดถึงวัฒนธรรมไทยในอดีต  โดยจะมีการนำเด็กและเยาวชนมานั่งฟัง  มาชมนิทรรศการ  เพื่อให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยในอดีต  พร้อมกับบอกว่าให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในวิถีชีวิต

          เท่าที่ผมสังเกตบรรยากาศ พบว่าเด็กและเยาวชนไม่ค่อยสนใจ และ ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไรนัก  กับบรรยากาศดังกล่าว

        

           ผมลองมาวิเคราะห์ดูว่าที่เด็กไม่สนใจเพราะ

         1.  ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วครับ  จะให้เด็กและเยาวชนมาถอยหลังเข้าคลองย้อนกลับไปหาอดีต  ใช้ชีวิตแบบอดีต  มันเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงครับ (วิทยากรหลายท่าน มักจะออกมาพูดว่าเป็นเพราะการพัฒนาที่ผิดพลาด  เป็นการพัฒนาแบบตะวันตก  ทำให้สังคมไทยมีปัญหา ทางแก้ คือ ต้องย้อนกลับไปหาสิ่งที่ดีงามใน อดีต)

         

     2.  ผู้จัดมักจะมองวัฒนธรรมในมิติเดียว  คือ มิติรูปแบบที่แยกส่วน   เช่น  การแสดง การเล่น  ภาษา  การแต่งกาย   การฝีมือ ศิลปวัตถุ ฯลฯ  จึงมองไม่เห็นความเป็นองค์รวมและความเชื่อมโยงกับชีวิตจริงในปัจจุบัน  เป็นวัฒนธรรมที่ไม่มีพลังในการพัฒนา

           3.   บรรยากาศการจัดงาน มักจะเป็นบรรยากาศของวิทยากรเซ็นเตอร์ครับ  ให้เด็กมานั่งฟังบรรยาย โดยไม่มีส่วนร่วม  ไม่ได้แสดงออก  ก็น่าเบื่อนะครับ

        ในมุมมองของผม ผมว่าหากจะนำวัฒนธรรมไทยมาใช้ในการพัฒนาชีวิตให้เกิดประโยชน์อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน  คงจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า

       วัฒนธรรมไทย จะปรับตัวอย่างไรให้เป็นผู้นำ  ในกระแสเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชี่ยวกราก

         

         แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว คือ ต้องมองไปที่สาเหตุก่อนครับ

          ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ บอกว่าปัจจัยหลักที่ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ มี 2 อย่าง คือ

           1. การหวังพึ่งอำนาจดลบันดาล (จากการพึ่งพาคนอื่น และ พึงพาสิ่งมีอำนาจเร้นลับ) ทำให้ไม่เพียรพยายามทำการให้สำเร็จด้วยตนเอง

          2. การเห็นแก่ความสะดวกสบาย และ ค่านิยมเสพบริโภค  ชอบความโก้เก๋

          ดังนั้น  แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว จะต้องสร้างวัฒนธรรม ที่นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับคนไทย  ด้วยการ “ใฝ่รู้  สู้สิ่งยาก” (พระพรหมคุณาภรณ์)

          และการจัดระบบวัฒนธรรมให้เด็กและเยาวชน “ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก”  จะต้องเป็นระบบวัฒนธรรมที่ “ทำให้เด็กและเยาวชนพึ่งตนเองได้”  ครับ  ไม่ใช่ ระบบที่คอยป้อน คอยบอก คอยสอน คอยสั่งให้ทำตาม

          นั่นคือ จะต้องเป็นการจัดงานด้วย  “วัฒนธรรมแห่งปัญญา” ครับ

          เป็น "วัฒนธรรมแห่งปัญญา"  ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเป็นตัวของตัวเอง   เป็นผู้นำด้วยการ "ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก"

           ไม่ใช่ “วัฒนธรรมแห่งอำนาจ”  ด้วยการสอนการสั่งให้ถอยหลังเข้าคลอง ย้อนกลับไปหาอดีตที่ไม่มีความเป็นพลวัต

        

หมายเลขบันทึก: 291755เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 05:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)

ขอบคุณแนวคิดดี ๆดีนะคะ

ที่บ้านน้องแตมชอบแบบวัยรุ่นเกาหลีมาก

แต่ก็ยังไม่ลืมแบบไทย ๆ มารยาทแบบไทย ไปมา ลาไหว้

โดยเฉพาะเวลาอยากได้เงินซื้อหนังสือ

Pคุณประกายครับ

   เมื่อมีรากวัฒนธรรมไทยที่เข้มแข็งแล้ว   เราก็รับอย่างอื่นได้หมดครับ    ต้านไม่ได้ครับ  เพราะเป็นกระแส   มีอยู่ว่าจะรับอย่างไร

                       ขอบคุณครับ

ทำไม วัฒนธรรมเกาหลีเข้า เด็กไทย ปิ๊งแว่บ..!

แต่วัฒนธรรมไทย...เด็กไทย ส่ายหน้า ?

น่าจะเพราะผู้ใหญ่ชอบขู่..แกมบังคับ มากกว่าสมัครใจ..มั้งคะ

สังคมปัจจุบันชอบแก้ที่ปลายเหตุจริงๆขอรับ..

เราพยายามนำเด็กไปนุ่งผ้าโจงกระเบน

แต่ไม่พยายามนำผ้าโจงกระเบนมาวิวัฒนาการให้เด็กนุ่ง..

ธรรมะยามเช้าขอรับท่านรอง..

Pครู ป 1   ครับ

      ถูกใจ ครับ   ถูกใจ

ทำไม วัฒนธรรมเกาหลีเข้า เด็กไทย ปิ๊งแว่บ..!

แต่วัฒนธรรมไทย...เด็กไทย ส่ายหน้า ?

น่าจะเพราะผู้ใหญ่ชอบขู่..แกมบังคับ มากกว่าสมัครใจ..มั้งคะ

          เป็นข้อคิดเห็นที่โดนใจครับ

                   ขอบคุณครับ

Pท่านธรรมฐิตครับ

     เรามักแก้ที่ปลายเหตุ   ขาดความเป็นพลวัตครับ

                         ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะท่านรอง

มาเยี่ยมค่ะ

เห็นด้วยค่ะ  ต้องจัดการกระบวนความคิด เป็น "วัฒนธรรมแห่งปัญญา"  ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเป็นตัวของตัวเอง   เป็นผู้นำด้วยการ "ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก"

สวัสดีครับท่านรองฯ

เห็นด้วยยิ่งกับแนวคิดของท่านรองฯครับ

แต่จะทำอย่างไรให้เกิด"วัฒนธรรมแห่งปัญญา" ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้นำด้วยการ "ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก"เร็วๆ ละครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยม What did the Buddha teach?

ซาบซึ้งในพระกรุณาสมเด็จย่าค่ะ เพราะท่าน จึงได้ทราบศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆเกี่ยวกับพุทะศาสนา

PคุณMSU-KMครับ

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม

Pอาจารย์คมสันครับ

     สำหรับคำถาม

      แต่จะทำอย่างไรให้เกิด"วัฒนธรรมแห่งปัญญา" ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้นำด้วยการ "ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก"เร็วๆ ละครับ

    ก็ที่อาจารย์คมสันทำนั่นแหละครับ  (การจัดการความรู้ในสถานศึกษา)   ใช่เลย

     ต้องให้เด็กได้มีโอกาสได้แลกปลี่ยนเรียนรู้ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก  จนค้นหาความเป็นตัวเองพบ  มีความเป็นตัวของตัวเองตามศักยภาพ   สามารถพึงพาตัวเองได้

      อย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นพลวัตครับ

       ที่สำคัญ  วัฒนธรรมขององค์กร(โรงเรียน) ต้องเป็นวัฒนธรรมแห่งปัญญา ด้วยครับ

       พอแค่นี้ก่อนครับ

                   ขอบคุณมากครับ

Pคุณณัฐรดาครับ

     ผมก็มาเรียนรู้ศํพท์อังกฤษที่เกี่ยวกับศาสนานี่แหละครับ

                        ขอบคุณครับ

สวัสดี ครับ อาจารย์ smallman

มาเชียร์ บันทึก คุณภาพทางการศึกษา  ที่พูดเรื่องวัฒนาธรรมไทยได้

อย่างเฉียบ คม

ทานกาแฟด้วยกัน ครับอาจารย์

ผมเสริฟ์ ถ้วยคุณภาพถ้วยนี้ให้ ครับ

มีความสุข ครับที่ได้เสริฟ์

Pคุณแสงแห่งความดีครับ

     ขอบคุณมากครับ ที่นำมากาแฟมาเสิร์พ

                      

สวัสดีค่ะ คุณsmall man ต้องให้เด็กเขียนเวปบล็อกโดยที่ให้ที่ผู้สอนก็ใช้เทคนิค เลือกblackgroundแบบไทยๆ เช่น ลายรามเกีรติ์ สอดแทรกเล่าเรื่องรามเกียร์เป็นบางตอนให้เด็ก พร้อมกับให้เด็กเล่นเวปบล็อกไปด้วย เด็กก็สนุกกับการใชเทคโนโลยี พร้อมกับได้ความรู้จากวัฒนธรรมไทยค่ะ

เด็กไทยเราดูการแสดงไทยๆ แล้วรู้สึกเฉยๆ แต่พอดีนักร้องจากต่างชาติกับเฮฮาค่ะ

หรือว่าเวลาแสดงอะไรไทยๆต้องวัฒนต่างชาติมาประยุกต์ด้วยหรือเปล่าค่ะ

Pคุณbeger01238ครับ

    ต้องนำวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความทันสมัยในปัจจุบันนะครับ  อย่างที่เขียนมาก็โอเคครับ

                     ขอบคุณครับ

  

Pคุณbeger0123ครับ

   วัฒนธรรมไทย ต้องประยุกต์ให้น่าสนใจครับ 

  ผมเคยดูรำไทยอเมซิ่ง  เขานำรำไทยมาประยุกต์เข้ากับดนตรีและจังหวะสมัยใหม่   เด็กชอบ สนุก และ น่าสนใจครับ

                   ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะท่าน

มาอ่านด้วยความสนใจและเห็นด้วยค่ะ

สนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมให้เด็ก ๆ ของเรา...

“ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก”

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

  • ผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรมีในทุกๆเรื่อง ทุกๆกิจกรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเยาวชนทั้งหลาย
  • ผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีเฉพาะแต่ในห้องเรียน หรือมีเฉพาะในการจัดการเรียนการสอนเท่านั้น..ไม่น่าจะพอที่จะสร้างคนให้พึ่งตนเองได้
  • เห็นด้วยกับวัฒนธรรมแห่งปัญญามากครับ

เห็นด้วยที่สุดครับ

ผมก็เบื่อมากเมื่อต้องเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการสืบทอดรักษาวัฒนธรรม

สภาพไม่ต่างจากที่กล่าวมา

ในทัศนะผมนะครับ

วัฒนธรรมก็เหมือนศาสนา

มีทั้งส่วนที่เป็นเปลือก กระพี้ และแก่น

การรื้อฟื้นวัฒนธรรมส่วนใหญ่มักกระทำกันที่เปลือกและกระพี้โดยไม่ใช่แก่น

ไปดูเถอะครับราชการโดยมากทำกันแบบนี้ทั้งนั้น

เลือกเอาเปลือกและกระพี้ไว้ ส่วนแก่นไม่ได้สนใจในที่สุดก็โยนทิ้งไป

มิใช่เปลือกและกระพี้ไม่สำคัญนะครับ

แต่ความสำคัญมันต้องเป็นตัวห่อหุ้มแก่นเอาไว้

ปราศจากแก่นเมื่อใดเปลือกและกระพี้นั้นก็ไม่มีคุณค่าความหมาย

ประเพณีต่าง ๆ ที่รื้อฟื้นกันขึ้นมาใหม่จึงไร้สาระ ไร้ความหมาย ไม่มีคุณค่าใดนอกจากมูลค่าที่เกิดจากการส่งเสริมการท่องเที่ยว และไม่ได้ทำให้เจ้าของวัฒนธรรมเกิดความภาคภูมิใจอะไร

Pขอบคุณคุณคนไม่มีรากมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยม

     มาร่วม "ใฝ่รู้   สู้สิ่งยาก"  ด้วยกันครับ

Pอาจารย์ธนิตย์ครับ

  ผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรมีในทุกเรื่องจริงๆนะครับ ไม่ใชเฉพาะในห้องเรียน   ผมเห็นหน่วยงานอื่น จัดอบรมให้เด็ก  มักไม่ค่อยยึดเด็กเป็นสำคัญเท่าไรเลยครับ การพัฒนาเลยไม่ได้ผล

                     ขอบคุณครับ

Pคุณหนานเกียรติครับ

    ตรงนี้ถูกใขผมมากครับ ที่ว่าวัฒนธรรมที่ทำกันมามีแต่กระพี้ ไม่ได้สนใจที่แก่น  นอกจากนั้นยังโยนแก่นทิ้งไปอีก

     การอบรมถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย  ส่วนใหญ่ป็นอย่างนั้นจริงๆครับ

     วัฒนธรรมไทยที่ทำกันมา  จึงไร้สาระ  เหลือไว้เพียงให้ท่องเที่ยวหรือมาจัดนิทรรศการ

                ขอบคุณมากครับ สำหรับแนวคิดที่เสริมเติมเต็ม

เท่าที่พบมา เด็กๆ สมัยนี้ยิ่งยัดเยียดยิ่งต่อต้าน แค่ให้รู้ว่าควรวางตัวอย่างไรในสถานการณ์ไหนก็น่าจะพอแล้ว เช่น อยู่กับเพื่อนก็ทำตัวตามสบายได้ แต่ถ้าอยู่กับผู้ใหญ่ควรสำรวม ขอบคุณแนวคิดของคุณ small man นะคะ

Pคุณเดือนอ้วนครับ 

    เด็กสมัยนี้  ยิ่งยัดเยียด ยิ่งต่อต้านจริงๆ ครับ 

                 ขอบคุณมากครับ

ขอบคุรค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชม

ช่างเป็นผู้ที่เข้าใจความรู้สึกของคำพูดที่บรรยายออกมาจากความรู้สึกจริงๆค่ะ

เพราะวันศุกร์...เป็นวันสุขของใครหลายๆคน

จริงไหมคะ

สวัสดีค่ะท่านรอง

เท่าที่ได้มีโอกาสัมผัสกับการจัดกิจกรรมแบบนี้ บรรยายกาศและความสนใจของเยาวชนก็จะคล้ายกับที่ท่านรองกล่าวมา...คือ เบื่อหน่าย วิทยากรเซ็นเตอร์ ท่านรองเปรียบเทียบได้เห็นภาพชัดเจนจริงๆ

ยุคสมัยเปลี่ยนไป ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ทำอย่างไรจึงบูรณาการวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้อง ประสานกลมกลืนกับกระแส... ให้เป็นวัฒนธรรมแห่งปัญญา และรู้เท่าทัน น่าคิดนะคะ... ทำไมเด็กไทย ถึงหลงไหลวัฒนธรรมเกาหลีกันนัก?

PคุณTwinครับ

      ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม  ครับวันศุกร์ คือวันของความสุข

Pครูจดีครับ

    นั่นนะซิครับ ทำไมเด็กไทยไปหลงวัฒนธรรมเกาหลีกันนัก

    ขณะที่วัฒนธรรมไทยเราก็ยัดเยียดกันอยู่  ทำไมไม่สนใจ  555...

                             ขอบคุณมากครับ

   

          วัตนธรรมไทย  คือ เอกลักษณ์ไทยที่คนไทยควรอนุรักษ์  แต่..ลักษณะของการอนุรักษ์ด้วยการบรรยาย  หรือสั่งให้ทำมันไม่น่าสนใจจริง ๆ  เช่น"เธอต้อง..อย่างนั้นนะ  อย่างนี้นะ จึงจะถูกต้อง"  เสมือนว่าผู้ใหญ่ใช้อำนาจในการสั่งเด็กให้ปฏิบัติ   มันไม่ได้เกิดจาก  "ใจ" ที่ใคร่ทำ มันจึงน่าเบื่อหน่าย และบรรลุเป้าหมายยากจัง

"วัฒนธรรมแห่งปัญญา".....                     ต้องรู้ค่าความเป็นไทยไม่สับสน

"แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง"ผองปวงชน    จุดเริ่มต้นรณรงค์ตรงประเด็น

นิทรรศกงนิทรรศการปั่นใช้งบ                  ทุกเรื่องจบงบหมดตดหายเหม็น

พวกนี้เข็นประเทศไทยไปติดเลน               หลอกเพียงเน้น"วัฒธรรมความหลอกลวง" 

Pครูตาครับ

   ส่วนใหญ่จะเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้วยการบรรยาย  ด้วยการบอกให้ทำ  โดยขาดการมีส่วนร่วม   เลยไม่ค่อยได้ผลครับ

                        ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • การปลูกฝัง  เป็นเรื่องที่ถูกถ่ายทอดมาจากครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก
  • รองลงมาในสังคมของเด็กคือโรงเรียนค่ะ
  • เลือกให้นักเรียนปฏิบัติและแยกแยะเลือกส่วนที่เปลี่ยนแปลง  ให้อยู่ในขอบเขต..แต่ต้องมีแบบอย่างที่ศรัทธาและเชื่อถือ
  • ต้องให้ความร่วมมือกันหลายฝ่าย ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็คงลำบาก
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

คุณวิโรจน์ครับ

 

   ขอขอบคุณ    บทกลอน               สะท้อนคิด

   ด้วยดวงจิต     วัฒนธรรมไทย       ไม่ขัดเขิน

   วัฒนธรรม      หลอกลวงได้           เพื่อใช้เงิน    

   เป็นส่วนเกิน     วัฒนธรรม             ชอกช้ำใจ

Pพี่คิมครับ 

      หัวใจหลักน่าจะอยู่ที่ตรงนี้นะครับ ในการปลูกฝังวัฒนธรรม

ให้นักเรียนปฏิบัติและแยกแยะเลือกส่วนที่เปลี่ยนแปลง  ให้อยู่ในขอบเขต..แต่ต้องมีแบบอย่างที่ศรัทธาและเชื่อถือ

    ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ บ้าน และ โรงเรียน  รวมทั้งทุกฝ่าย

            ขอบคุณมากครับสำหรับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์

  

เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือ...เรารับเอาวัฒนธรรมระหว่างกันแบบข้ามวัฒนธรรม โดยไม่ได้แยกแยะ และเราไม่ได้มีการปลูกฝังวัฒนธรรมไทยให้เด็กตั้งแต่ต้น จึงเป็นความขัดแย้งที่มีแต่หนทางเลือกรับปรับเปลี่ยน แต่ไม่สามารถขจัดออกไปโดยสิ้นเชิงได้

ขอบคุณมากค่ะ

เห็นด้วยกับท่านรองฯคะ เด็กมันไปไกลมากแล้ว

สวัสดีค่ะท่านรอง

วัฒนธรรมแปลว่าอะไรเอ๋ย

เฉลยก็ได้ค่ะ ไม่อยากให้ท่านรองปวดหัวคิดมากอีก

วัฒนธรรม หมายถึง ทำวัตรน่ะ

ที่กอทำอยู่ก็มีทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นค่ะ

อิอิ วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ควรศึกษาค่ะ

ท่านรองเขียนไว้ดีแล้ว ขอบคุณน่ะค่ะ

Pอาจารย์Vijครับ

  จริงครับ  ที่ว่าเราไม่ได้แยกแยะและปลูหกฝังแต่ต้น   มาแก้ที่ปลายเหตุก็แทบจะไม่ได้ผลเลยนะครับ

                     ขอบคุณครับ

Pคุณmenaครับ

    เด็กเขาไปไกลแล้วจริงๆครับ   จะให้มาถอยหลังเข้าคลองคงลำบาก

               ขอบคุณครับ

Pคุณสุดสายป่านครับ

    วัฒนธรรม แปลว่า  ทำวัตร   เข้าท่าดีเหมือนกันนะครับ

            ขอบคุณมากครับ

ท่านรองคะ  วันนี้ยังได้คุยกันกับเพื่อนครูถึงนักเรียนหญิงระดับมัธยม (ที่อื่น )  ว่ามักจะเห็นเขาสวมใส่ชุดนักเรียนแล้วนั่งค่อมซ้อนมอเตอร์ไซด์  เป็นสมัยเรา( เมื่อ30กว่าปีก่อน )  แม่แทบไม่ให้ซ้อนท้ายผู้ชาย  หรือไม่ให้นั่งค่อมเมื่อไปกับผู้ชายเลย  ยุคสมัยเปลี่ยนไป  เราบอกอะไรเขาเหมือนเขาไม่เข้าใจ  เราตามเขาไม่ทันแล้ว

PคุณSheครับ

    วัยรุ่นเดี๋ยวนี้  เราตามเขาไม่ทันจริงๆครับ  มันมีช่องว่างอยู่   และ ช่องว่างที่มีอยู่  เป็นช่องว่างที่เกิดจากการ "ขาดความรัก" ครับ  ไม่ใช่ "ขาดความรู้"

                        ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ ท่านรองฯ
   * ตรงประเด็นดีแท้ค่ะ
   * Pually เองก็พยายามเชิญชวนชาวต่างชาติทั้งครูและเด็กที่อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ กว่าคน มาเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของเราบ่อยๆค่ะ   มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน  แต่จะรับเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่ขัดต่อวิถีชีวิต  ความเชื่อและเอกลักษณ์ของไทย
                
                                       ภาพเคลื่อนไหว

PคุณKPuallyครับ

รับเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่ขัดต่อวิถีชีวิต  ความเชื่อและเอกลักษณ์ของไทย

    ตรงนี้แหละครับ คือ แก่น วัฒนธรรม  ที่จะต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

                        ขอบคุณครับ

   

ชอบค่ะได้สาระจริง ๆ

ขอบคุณคุณสุพัตรามากครับ

อาจารย์ครับ ผมเคยทำงานวัฒนธรรมที่ จ.เพชรบุรี

การทำงานคร้ังนั้นได้หนังสือเล่มนึงครับ

อยู่ที่นี่ครับ

http://gotoknow.org/blog/kgeneral/294817

Pคุณหนานเกียรติครับ

     ขอบคุณมากครับ จะตามไปอ่านวันหลังครับ(เครื่องที่บ้านช้ามาก สมาชิกรอใช้อยู่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท