นักปราชญ์(A man of learning)"โสเครติส"


"คนฉลาด" ในมุมมองของ "โสเครติส" นั้น ไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง แต่ "คนฉลาด" คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ส่วน "คนโง่" นั้น คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้

นักปราชญ์   "โสเครติส" 

 

     ผมขอนำคำกล่าวของนักปราชญ์(A man of learning) มาแบ่งปันให้เห็นมุมมองที่น่าสนใจ น่าคิดและน่าทำตาม เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้พิจารณาเผื่อว่าจะมีประโยชน์ครับ

 

"โสเครติส" 

"เป็นนักปรัชญาเอกของโลก ที่สอนลูกศิษย์

ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ 

สร้างองค์ความรู้ จาก "คำถาม" 

กลยุทธ์ของ "โสเครติส" ในการสอน คือ 

ไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน และ 

ทำลายความมั่นใจของ นักเรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้

"โสเครติส" เชื่อว่าเมื่อเด็กตระหนักใน "ความไม่รู้" 

ของตนเอง เขาจะเริ่มต้น แสวงหา "ความรู้ " 

แต่ถ้า เด็กยังเชื่อมั่นว่าตนเองมี "ความรู้" 

เขาก็จะไม่แสวงหา "ความรู้ " 

การตั้งคำถามของโสเครติส จึงมีเป้าหมายโจมตี

และทำลายความเชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนัก

เรียน 

เป็นกลยุทธ์เท "น้ำ" ให้หมดจากแก้ว 

เมื่อแก้วไม่มีน้ำ เขาจึงเริ่มเท "น้ำ" ใหม่ใส่แก้ว

ด้วยมือของเขาเอง 

"น้ำ" ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเอง

มาจาก "คำตอบ" ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง 

"คำตอบ" จาก "คำถาม" ของ "โสเครติส" 

"โสเครติส" นิยามศัพท์คำว่า "คนฉลาด" 

และ "คนโง่" ได้อย่างน่าสนใจ 

"คนฉลาด" ในมุมมองของ "โสเครติส" นั้น

ไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง 

แต่ "คนฉลาด" คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ 

ส่วน "คนโง่" นั้น คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้

แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้

 

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

หมายเลขบันทึก: 291465เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คนที่คิดว่ารู้อาจจะทำให้เป็นจุดอ่อน เพราะไม่อยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท