การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย: บูรณาการระหว่างนิยามความรู้ในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก


การจัดการความรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้ ปฏิเวธ

การจัดการความรู้ในมหาิวิทยาลัย (Knowledge Management) เป็นคำที่เป็นที่นิยมกันในสังคมอุดมศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นสังคมฐานความรู้
อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งknowledge  ต้องเริ่มจาก data (ข้อมูล) เข้าสู่กระบวนการประมวลผลจนได้้ Information (สารสนเทศ) จาก Information ก็มีการนำไปใช้และตีความจนเกิดเป็น knowledge ซึ่งอยู่ในตัวบุคคล ตลอดจนมีการจัดเก็บเป็นรูปแบบของระบบฐานความรู้ขึ้น 

อย่างไรก็ตาม จุดมุ่งหมายของ knowledge management ก็คือการสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

จากแนวคิดเรื่อง Five Discipline ของ Peter Senge ซึ่งได้กล่าวถึงวินัยข้อหนึ่งที่ว่า การมีแบบแผนความคิด (Mental Models) หมายถึง ลักษณะขององค์การที่บุคลากร
มีคุณลักษณะแสดงถึงความเป็นผู้ที่วิจารณญาณพิจารณา และการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน
ในนิยามนี้ Peter Senge มุ่งให้บุคลากรในองค์การได้เกิด knowledge ซึ่งต้องผ่านกระบวนการ Systems Thinking และกระบวนกาีร Personal Mastery ก่อน 
Mental Models จัดเป็นภาพของความรู้ที่จะอยู่ในใจของทุกฅน แสดงถึงภาวะความรู้ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือหลาย ๆ เรื่องของบุคคลฅนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม หากจะพิจารณาถึงศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะทางพุทธศาสนาแล้ว จะพบว่า ศาสนาพุทธได้เอ่ยถึงความรู้มานานแล้ว โดยปัญญามี 3 ระดับ ตั้งแต่ ปัญญาจากความจำ ปัญญาจากการคิด และปัญญาจากความเข้าใจ และพุทธศาสนายังได้กล่าวถึงหลักการของการสร้างความรู้่ว่า ต้องเกิดจากการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการทำความเข้าใจให้รู้แจ้งแทงตลอด

 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไม่วาจะเป็นศาสตร์สาขาใดก็ตาม ก็มีการกล่าวถึงความรู้และการจัดการความรู้ทั้งสิ้น การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา อาจต้องมีการปฏิรูปด้วยการเชื่อมโยงแนวคิดระหว่างศาสตร์ตะวันตกและศาสตร์ตะวันออกเข้าด้วยกัน
ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาที่ทรงคุณค่าต่อไป

หมายเลขบันทึก: 290978เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

PERSONAL MASTERY

"No man is free who is not a master of himself."

(Epictetus)

Personal Mastery จากคำจำกัดความของ Peter Senge กล่าวไว้ว่าเป็นขีดความสามารถและทักษะ ของคนคนหนึ่งทีสามารถจัดการตลอดชีวิตของตนเองได้อย่างมีวินัย อย่างเป็นกระบวนการ โดยมีความสามารถจัดการชีวิตส่วนต้วและการทำงาน ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยที่รู้ว่าจุดอ่อนจุดด้อยและจุดแข็งของตนเองคืออะไร พร้อมกับมีความมั่นใจ ที่จะก้าวเดินไปในเส้นทางของตนอย่างมีความสุข (Senge 1990: 142)

โลกาภิวัฒน์ช่วยบูรณาการความรู้ในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกเพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาความรู้และทักษะของมนุษยชาติ เห็นด้วยครับหากการจัดการความรู้นั้นทำให้เกิดองค์ความรู้ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความสงบสุขให้กับมวลมนุษย์โลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท