สตง. ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านใกล้ล่มสลาย บางพื้นที่เงินเหลือแค่ 100 บาท
.....
(ปกหน้าของหนังสือพิมพ์มติชน ฉ.10286 ปีที่ 29 วันที่ 9 พ.ค. 2549)
ในฐานะคนที่คุ้นเคยและติดตามระบบการเงินฐานราก ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์นี้ไม่น่าจะสร้างความตกใจอะไร เพราะพอจะคาดเดาออกมาตั้งแต่ต้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ “การเมือง” นำเอารูปแบบการตั้งกลุ่มการเงินไปใช้ในการหาเสียง และผลักดันให้เกิดขึ้นจริง
ผมเองเคยได้ยินผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบและบริหารกองทุนหมู่บ้านในห้องแอร์กรุงเทพฯว่า นี่คือการทำวิจัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะทำทีเดียวทั้งประเทศ เราจะได้องค์ความรู้มากมาย .... ตอนนี้บอกตามตรงผมเองก็นึกไม่ค่อยสบอารมณ์กับการแสดงออกด้วยท่าทีอย่างนั้น เพราะ มันมีการพิสูจน์มามากพอแล้ว ปัญหาคือคุณไม่สนใจที่จะ review literature ในส่วนปัญหา คุณสนใจแต่จะหาข้อมูลมา support นโยบายมากกว่า
ข้อมูลบอกให้เรารู้ว่าการรวมกลุ่มเพื่อจัดการการเงินในประเทศไทย ให้ชาวบ้าน(ชาวบ้านเกษตรกร,แรงงาน ที่มีการศึกษาระดับป.4 ชีวิตส่วนใหญ่ต้องทำมาหากินมากกว่าบริหารจัดการ) บริหารการเงินกันเอง ล้มเหลวเพราะปัจจัยสำคัญ คือ
ประวัติศาสตร์จึงซ้ำรอยเดิม เพราะ เราคิดและทำแบบเดิม คือ การทำให้นักการเมือง และรัฐบาล มาทำตัวเป็น “พ่อ” ที่เห็นประชาชนเป็นลูกที่โง่ ... ทำตัวเป็นพ่อรู้ดี ไปเสียหมด ...
หน้าที่หนึ่งขององค์กรการเงินชุมชน คือ การทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใจด้วยตัวเขาเองว่า เขาสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจของเขาเองได้จริงๆ บริหารการเงินภายในของเขาเองได้จริงๆ ข้าราชการคือคนหนุนเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง นี่คือหลักการที่ถูกต้อง เราต้องอดทนและอึดพอที่จะสร้างการเรียนรู้ ครับ ... ผมเองก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า นักการเมืองจะเล่นบทนี้เป็นหรือเปล่า โดยเฉพาะในยุคทุนนิยมบริโภคแบบนี้ ...
อย่างไรก็ตาม ผมเองก็เห็นถึงความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านในหลายๆ
หมู่บ้านที่องค์ประกอบดีอยู่แล้ว และการได้รับโอกาสใหม่ๆ
ที่ทั้งประเทศได้รับ
มองแบบนักยุทธศาสตร์ที่เน้นเป้าหมายก็ถือว่าสำเร็จ
แต่มองแบบนักยุทธศาสตร์กระบวนการแล้วก็คงต้องทำงานหนักอีกมาก
ที่จะเร่งเข้าไปสร้างศักยภาพให้กับชุมชนในการบริหารจัดการ ...
เอาใจช่วยกันนะครับ