ต่อ จิ๊กซอว์ KM สถาบันบำราศนราดูร (1)


การแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการให้ความรู้คนไข้ ก็จะมีการแลกเปลี่ยนกันกับกลุ่มพยาบาลด้วยกัน ซึ่งแต่ละคนจะมีประสบการณ์ที่เจอมาไม่เหมือนกัน และหากไม่ได้แลกเปลี่ยนกันโดยตรง ก็จะสามารถอ่านได้จากบันทึกประจำวันได้อีกด้วย

             สคส. ได้พบว่า หน่วยงานราชการมีการจัดการความรู้อยู่มาก ซึ่งหนึ่งในนั้น มีสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลควบคุมโรค สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อยู่ด้วย
            โดยวันนี้ ทีมประชาสัมพันธ์นัดดูงาน และจับภาพกิจกรรม กิจกรรมจัดการความรู้ ซึ่งมีการสัญจรไปทั่วทั้งโรงพยาบาล เพื่อให้เห็นภาพจิ๊กซอว์เล็กๆขององค์กร ที่เริ่มนำกระบวนการจัดการความรู้ เข้าไปผสมกับกระบวนการทำงานเดิม ที่มีการทำจัดการความรู้อยู่บ้างแล้ว
            หน่วยแรกที่เรา ได้สัมผัสอรรถรส ในการทำงาน และการประชุมแบบกันเอง เพื่อแก้ปัญหาหน้างานของ แผนกผ่าตัด : ทีมนี้มีกิจกรรมน่าสนใจคือ ทุกเช้าจะมีเวที Morning Talk ซึ่งเป็นเวที ที่ทุกคนในหน่วยจะมาสนทนาเรื่องปัญหาหน้างานด้วยกัน วันนี้ชมรมคนชุดเขียว (ที่เขาเรียกกัน) มีสมาชิกกว่า 15  คน มาล้อมวงพูดคุยกัน มี
พี่เล็ก” (ศุภลักษณ์) เป็นแกนนำในการนำพูดคุย 
           

 กิจกรรมแรกที่มีการนำในเวทีนี้ คือ การนั่งสมาธิ สัก 2-3 นาที เพื่อเป็นการตั้งสติก่อนการประชุม เป็นการนึกถึงทบทวนเรื่องราวที่ตนเอง ได้ประสบ พบเจอมาในหน้างานที่แต่ละคนรับผิดชอบ หลังจากนั่งสมาธิเสร็จเรียบร้อย “พี่เล็ก” ก็เริ่มนำประชุม
โดยก่อนหน้าจะเริ่มการประชุมมีการชี้แจงเวรประจำวัน และหน้าที่ของทุกคนที่รับผิดชอบ ทั้งการเช็คคนไข้เก่า การรับคนไข้ใหม่ การเปลี่ยนเวร วัน เวลา ในการรับผิดชอบหน้างานในวันนั้น เป็นการย้ำว่าวันนี้ต้องทำงานอะไรบ้าง
และต่อด้วยการเล่าเรื่องหน้างาน พี่เล็กบอกว่า
Cause แรก  มีประวัติคนไข้ ที่พี่เปีย พบเมื่อวาน คือ คนไข้แพ้ยาซัลฟาฯ ซึ่งคนไข้แจ้งว่าตนเองแพ้ยามา 10 ปีแล้ว และมาที่ตรวจที่ รพ.บำราศนราดูรเป็นครั้งแรก แต่ไม่มีสติ๊กเกอร์สีชมพูติดที่หน้าแฟ้มว่าแพ้ยา เมื่อคนไข้กินไปแล้วก็เกิดอาการ “อาเจียน” (เหมือนแพ้ทอง) ซึ่งเป็นปัญหา ที่ทุกคนจะต้องรับรู้ และหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งทุกคนก็ได้ข้อสรุปของปัญหา และควรแก้ปัญหาด้วยการ
* ควรสอบถามคนไข้ก่อนทุกครั้งว่ามีการแพ้ยาอะไรหรือไม่
* เมื่อพบว่าแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้โทรภายใน ไปแจ้งได้ที่หมายเลข 3459
Cause 2    คุณแอน บอกว่า มีคนไข้จะผ่าตัดตา และคนไข้ปิดตามาผิดข้าง จะผ่าตัดตาข้างขวา แต่ปิดตาด้านซ้ายมา ซึ่งโดยปกติพยาบาลจะสังเกตว่า คนไข้ปิดตาข้างไหน ก็จะทำข้างนั้น ซึ่งก็ได้ส่องตาดูเพื่อความแน่ใจก่อน แล้วถามคนไข้ว่าทำข้างไหนเพื่อความแน่ใจ
             พี่จิน หัวหน้าโครงการป้องกันการผ่าตัดข้างผิดตำแหน่ง กล่าวเสริมว่า เรามีโครงการป้องกันความสี่ยงเรื่องนี้ โดยเริ่มแรกจะให้ผู้ที่มีความรับผิดชอบ คือเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในห้องผ่าตัด ดูคนไข้สอบถามคนไข้ ดูชาร์ท ดูเวชระเบียนให้ตรงกัน และต้องมีการปั๊มตรายางจากประชาสัมพันธ์ก่อนให้ถูกต้องเป็นการตรวจเช็คในขั้นตอนแรก ขั้นตอนต่อไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัดเข้าใจอีกครั้ง และขั้นตอนที่ 3 หลังจากมีการให้ยาสลบคนไข้แล้ว มีการตรวจสอบอีกครั้งโดยแพทย์ วิสัญญี และพยาบาล มีการเซ็นกำกับอีกครั้งว่าตำแหน่งที่ผ่าตัดนั้นถูกต้องหรือไม่ ทั้งหมด 3 ครั้ง
            และยังมีเรื่องเล่าใน Cause ต่างๆ อีกมาก ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่เจ้าหน้าที่ทุกคนจะได้ประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นทุกวัน นอกจากฟังเรื่องเล่าประสบการณ์ตื่นเต้นแล้ว ทุกคนจะได้ศึกษาปัญหาและร่วมกันแก้ไขจากประสบการณ์ตรงต่อกันทุกวัน
ซึ่งนับว่าเป็นการจัดการความรู้ที่ดีมาก นอกจากงานได้ผลแล้ว คนยังเป็นสุขในงานอีกด้วย หลังจากจบกิจกรรม ผมและทีมงานจับภาพ ได้สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมจัดการความรู้ในแผนกผ่าตัดเพิ่มเติมกับ “พี่เล็ก”  ศุภลักษณ์
            พี่เล็ก เล่าให้ฟังว่า เมื่อมีเจ้าหน้าที่ หรือพยาบาลคนใหม่เข้ามาในแผนกผ่าตัด ทางหน่วยก็จะมีหนังสือ หรือ ที่เขาเรียกกันว่า “แผ่นพับความรู้” ซึ่งในนั้นจะมีเนื้อหา ที่บรรจุวิธีการรักษาเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคนั้นๆ ไว้จำนวนมาก ให้พยาบาลและเจ้าหน้าที่ใหม่ได้ศึกษาตามกรณี ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้โดยตรงจากตำรา ที่เหล่าพยาบาลรุ่นพี่ได้ถอดประสบการณ์ ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือพร้อมทั้งรูปภาพสวยๆให้ได้ดู ซึ่งในนั้นยังมีการบันทึกว่าคนไข้มีความพิงพอใจเท่าไหร่ คนไข้กลุ่มไหน และคะแนนผู้ป่วยที่ได้รับเท่าไหร่ ซึ่งจะมีการบันทึกทุกวันเพราะต้องมีการส่งต่อคนไข้


 “พี่เล็ก” บอกว่า ทุกคนสามารถทำหน้าที่แทนกันได้เสมอ แม้กระทั่งในเรื่องการดำเนินเวที Morning Talk (ทุกวันพฤหัส) ก็มีตัวตายตัวแทนสำรองไว้เยอะ โดยจะมีแกนหลักอยู่2-3 คน ขณะที่ประเด็นการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการให้ความรู้คนไข้ ก็จะมีการแลกเปลี่ยนกันกับกลุ่มพยาบาลด้วยกัน ซึ่งแต่ละคนจะมีประสบการณ์ที่เจอมาไม่เหมือนกัน และหากไม่ได้แลกเปลี่ยนกันโดยตรง ก็จะสามารถอ่านได้จากบันทึกประจำวันได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการประชุมวิชาการสหวิชาชีพ เดือนละครั้ง เพื่อนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้สหวิชาชีพสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เป็นลดปัญหาในการทำงานได้อีกด้วย
ซึ่งหน่วยนี้มีการเปิดบล็อกของกลุ่มงานตนเองแล้ว คือ “ชมรมคนชุดเขียว”
หมายเลขบันทึก: 29055เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุณเยี่ยมมากๆค่ะ

ขอบอกว่านายแน่มาก...เยี่ยมมาก ๆ เก็บข้อมูลของพี่ไปชนิดไม่ขาดตกบกพร่องเลยนะเนี่ย ขอแก้ความคลาดเคลื่อนนิดหน่อยนะคะเพื่อความเป็นศิริมงคล 

1. Cause ต้องแก้เป็น Case ค่ะ

2. Morning Talk ของเราเปิดเวทีทุกวันทำการค่ะ

3. Blog ของห้องผ่าตัด ชื่อ“ชุมชนคนชุดเขียว”
ขอบอกว่าพวกเราก็รู้สึกดีมาก ๆที่มีน้อง ๆ จาก สคส.มาช่วยส่งความสุขให้กับเราและยังช่วยให้ผู้คนทั่วไปรู้จักเราอีกด้วย

ขอบอกว่านายแน่มาก...เยี่ยมมาก ๆ เก็บข้อมูลของพี่ไปชนิดไม่ขาดตกบกพร่องเลยนะเนี่ย ขอแก้ความคลาดเคลื่อนนิดหน่อยนะคะเพื่อความเป็นศิริมงคล 

1. Cause ต้องแก้เป็น Case ค่ะ

2. Morning Talk ของเราเปิดเวทีทุกวันทำการค่ะ

3. Blog ของห้องผ่าตัด ชื่อ“ชุมชนคนชุดเขียว”
ขอบอกว่าพวกเราก็รู้สึกดีมาก ๆที่มีน้อง ๆ จาก สคส.มาช่วยส่งความสุขให้กับเราและยังช่วยให้ผู้คนทั่วไปรู้จักเราอีกด้วย

ขอบคุณาครับพี่เล็ก...ต้องขอขอบพระคุณมากครับ ที่ช่วยแนะนำในการเขียนภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง และก็ขอขอบคุณที่ช่วยชี้แจงว่ามี  morning talk ทุกวัน ความจริงเรื่องนี้ผมก็ทราบนะครับ แต่ว่าตอนไปเยี่ยมทีมวันนั้นเป็นวัพฤหัสบดีที่ 4 พ.ค. ก็เลยทำให้เขียนไปอย่างนั้น ทั้งๆที่ผมก็ฟังมากับหู และจดมาในบันทึกของผมเอง

ยังงัยก็ขอเป็นกำลังใจให้ "ชุมชนคนชุดเขียว" ทำ km กัน จนเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยอื่นๆ ภายในองคืกร ตลอดจนสามารถเป็นสถานที่ดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง km ให้กับหน่วยงานภายนอกด้วยนะครับ

 

 

ขอชื่นชม และอยากให้ทุก ๆรพ.ของรัฐได้มีการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน blog อย่างนี้กันมาก ๆ

       สำหรับประเด็นการแพ้ยาทางรพ.ของเรามีระบบการ Screening ตั้งแต่ครั้งแรกของการ regist พร้อมเข้าระบบการป้องกันการแพ้ยาซ้ำโดยร่วมกับวิชาการเภสัช เป็นผู้บันทึกเข้าระบบข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย

                          (เป็นแนวทางที่ได้จาก KM)

       ปัจจุบันใน OPD การค้ดกรองอารการเบื้องต้นจะAdd การแพ้ยาด้วยทุกครั้งจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการประเมินผู้ป่วยไปแล้ว

                                                                

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท