farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร


น้ำหมักชีวภาพ เทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงสู่นวัตกรรมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

 

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร (22-23 / 9 / 2552)

น้ำหมักชีวภาพ  เทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงสู่นวัตกรรมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

 

น้ำหมักชีวภาพ

               เริ่มแรกที่แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยนั้น  ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรอินทรีย์เพื่อทดแทนสารเคมีในปุ๋ย  ยากำจัดศัตรูพืช  ฮอร์โมนบำรุงพืช  ฯลฯ  รวมถึงการจัดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล  ลดความเน่าเสีย  กลิ่นเหม็น  ในระบบบำบัดน้ำเสีย  การกำจัดขยะอินทรีย์  เป็นต้น  ต่อมาได้เริ่มถูกดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน  ได้แก่  น้ำยาถูบ้าน  น้ำยาขัดส้วม  น้ำยาซักผ้า  น้ำยาล้างจาน  และน้ำยาล้างผักผลไม้  แต่ในยุคแรก ๆ ได้มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามกลุ่มองค์กรที่ส่งเริมการใช้ประโยชน์  เช่น  น้ำจุลินทรีย์  หรือน้ำหมักเปรี้ยว  หรือน้ำสกัดชีวภาพ  ฯลฯ 

 

น้ำหมักชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพ (Bioextract : BE)

              เป็นวิธีการสกัดน้ำเลี้ยงจากเซลพืชและเซลสัตว์ซึ่งประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์โดย ใช้น้ำตาลหรือกากน้ำตาล(Molasses) ใส่ลงไปจะได้น้ำเลี้ยงที่สกัดออกมาเป็นสีน้ำตาล โดยขบวนการ พลาสโมไลซีส (plasmolysis) และน้ำเลี้ยงที่ได้จะถูกจุลินทรีย์ในธรรมชาติและที่ติดมากับวัสดุที่นำมาหมัก ดำเนินกระบวนการหมักต่อไปโดยใช้กากน้ำตาลและสารประกอบอินทรีย์จากวัสดุเหล่านั้นเป็นแหล่งอาหารและพลังงาน โดยจุลินทรีย์แต่ละชนิดจะทำการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้มีโมเลกุลเล็กลงตามลำดับ ของเหลวหรือน้ำหมักที่ได้นี้จะมีทั้งจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลากหลาย ชนิด รวมทั้งมีสารประกอบที่สกัดได้จากเซลพืชและเซลสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ สารพวกคาร์โบไฮเดรท โปรตีน กรดอมิโน ฮอร์โมน เอนไซม์ และอื่น ๆ น้ำสกัดชีวภาพจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเลี้ยงในต้นพืช โดยปกติน้ำเลี้ยงในต้นพืชสดจะมีอยู่ประมาณ 90-98% ถ้าส่วนของพืชมีน้ำมาก น้ำสกัดก็จะเกิดขึ้นมาก ภายในระยะเวลาเพียง 2-3 วัน แต่เนื่องจากขบวนการทำในระยะแรกเกี่ยวข้องกับขบวนการสกัดน้ำเลี้ยงจากเซลทางชีวภาพ (bioextract) และในช่วงหลัง เกี่ยวข้องกับขบวนการหมัก ดังนั้นนักวิชาการบางกลุ่มจึงเรียกน้ำสกัดชีวภาพว่า น้ำหมักชีวภาพ

 

 

 

 

ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพ

 

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการปศุสัตว์

              การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะมีการนำจุลินทรีย์จากการหมัก น้ำหมักชีวภาพที่มีประโยชน์หลายชนิดมาใช้ในกระบวนการผลิต  ดังนี้

                1.  การเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร  สัตว์ปีกและสุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว  ไม่สามารถย่อยหญ้าได้ดีเท่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง  เช่น  วัว  ควาย  การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางให้สัตว์ปีกและสุกรกินในอัตรา  1 ส่วนต่อน้ำ  1,000  ส่วน  จะทำให้สัตว์ย่อยหญ้าสดหรือพืชสดได้ดีขึ้น  เป็นการประหยัดอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ถึง  30%

              2.  การเพิ่มความต้านทานโรคแก่สัตว์  การใช้น้ำหมักชีวภาพแบบเจือจางแก่สัตว์ทั้งทางน้ำหรือาหารในอัตรา  1  ส่วน  ต่อน้ำ  1,000  ส่วนอย่างสม่ำเสมอ  จะทำให้สัตว์แข็งแรง  มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น  อุจจาระไม่เหม็น  ลูกดก  ไข่ดก  ช่วยลดความเครียดจากการเปลี่ยนอาหารระยะต่าง ๆ ลดความเครียดจากการขนย้ายสัตว์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดี

              3.  การกำจัดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์  ในการเลี้ยงสัตว์  มูลสัตว์นับเป็นปัญหาสำคัญต่อสภาพแวดล้อมในฟาร์มและบริเวณใกล้เคียง  การผสมน้ำหมักชีวภาพในอัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  1,000  ส่วนให้สัตว์กินทุกวัน  จะช่วยลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ได้มากจนเกือบไม่มีเลย  และคอกสัตว์โดยเฉพาะสุกรและโคนมที่ได้รับการฉีดล้างด้วยน้ำหมักชีวภาพที่เจือจางด้วยอัตราส่วน  1  ส่วนต่อน้ำ  100  -  300  ส่วนเป็นประจำ  จะไม่มีกลิ่นเหม็น  สำหรับน้ำที่ได้จากการล้างคอก  ถ้ากำจัดอย่างถูกวิธีจะสามารถนำไปรดน้ำต้นไม้หรือปล่อยลงแม่น้ำลำคลองโดยไม่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

              4.  การลดปัญหาเรื่องแมลงวันและยุง  บริเวณคอกสัตว์ที่ได้รับการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพในอัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  300  ส่วนเป็นประจำ  จะลดปัญหาเรื่องแมลงวันลงจนเกือบไม่มีเลย  รวมทั้งยุงจะลดน้อยลงด้วย

 

น้ำหมักชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม

              ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและทวีความรุนแรงควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีถือเป็นปัญหาคู่ขนานร่วมกันของทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย  ดังนั้นจึงได้มีการนำน้ำหมักชีวภาพมาประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อทดแทนสารเคมีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง  น้ำยาดับกลิ่น  น้ำยาทำความสะอาด  และอื่น ๆ ซึ่งเคมีภัณฑ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่สามารถตกค้างอยู่ในธรรมชาติ  และทำลายสมดุลสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น  ดังนั้นการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อทดแทนสารเคมีจึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมที่มากยิ่งขึ้น

                  1.  การทำความสะอาดโรงเลี้ยงสัตว์  นำน้ำหมักชีวภาพมาผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำสะอาด  200  ส่วน  ใช้ราดพื้นบริเวณโรงเรือนและรอบ ๆ โรงเรือน  สามารถช่วยในการทำความสะอาด  ไล่แมลง  และขจัดกลิ่นเหม็นในโรงเลี้ยงสัตว์ได้

              2.   ดับกลิ่นท่อระบายน้ำ  นำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำสะอาด  200  ส่วน  ใช้เทลงท่อระบายน้ำเพื่อดับกลิ่นเหม็น

              3.  ทำความสะอาดตลาดสด  นำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำสะอาด  200  ส่วน  ใช้ราดพื้นตลาดเพื่อทำความสะอาด  ไล่แมลง  และขจัดกลิ่นเหม็น

                  4.  รดน้ำสนามหญ้า  นำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำสะอาด  1,000  ส่วน  ใช้รดน้ำสนามหญ้า

                  5.  การบำบัดน้ำเสีย  นำน้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อน้ำที่จะทำการบำบัดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำที่จะทำการบำบัด  500  ส่วน  สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียได้

                  6.  ดับกลิ่นและลดการอุดตันของห้องน้ำ  นำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วนต่อน้ำสะอาด  500  ส่วน  ใช้ราดพื้นห้องน้ำและโถสุขภัณฑ์

 

น้ำหมักชีวภาพกับการใช้ในครัวเรือน

               1.  ใช้เป็นน้ำยาซักล้าง  เช่น

                 1.1  อาบน้ำ  ล้างหน้า  ช่วยดับกลิ่นตัว  รักษาโรคผิวหนัง  แก้สิวฝ้า  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  30  ส่วน  ใช้ผ้าชุบเช็ดให้ทั่วตัว

                     1.2  สระผม  ช่วยกำจัดรังแค  แก้คันศีรษะ  ผมจะนุ่ม  สะอาด  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  10  ส่วนหมักผมไว้สักครู่  สระแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด  ถ้าหากใช้น้ำหมักชีวภาพจากส้มป่อย  ใบหมี่  จะทำให้ผมนุ่มสลวยเป็นเงางาม

                     1.3  ซักผ้า  ช่วยให้เนื้อผ้านุ่มและคงทน  ดับกลิ่นอับ  ฆ่าเชื้อโรค  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  5  ส่วน  แช่ผ้าทิ้งไว้  10  นาที  ขยี้แล้วซักด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง  กรณีสกปรกมาก  ให้ใช้น้ำยาซักผ้าซักคราบสกปรกออกก่อน

                     1.4  แปรงฟัน  ช่วยป้องกันฟันผุ  ขจัดคราบหินปูน  ดับกลิ่นปาก  ลดอาการเสียวฟัน  ใช้แปรงสีฟันเปียกจุ่มน้ำหมักเพียงเล็กน้อย  แล้วแปรงฟันจนสะอาด  บ้วนน้ำล้างปากให้สะอาด  ข้อควรระวังคือไม่ควรใช้น้ำหมักชีวภาพแปรงฟันในเด็กเนื่องจากฟลูออไรด์ที่เคลือบฟันอาจถูกสลายได้จากความเป็นกรดของน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น

                     1.5  น้ำยาบ้วนปาก  มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปากได้  โดยการนำน้ำหมักชีวภาพผสมเข้าในตำรับน้ำยาบ้วนปากในอัตราส่วนที่เหมาะสม

                 1.6  ล้างจาน  ช่วยดับกลิ่นคาว  ฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา  มือนุ่นขึ้น  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1 ส่วน  ต่อน้ำ  20  ส่วน  กรณีมีคราบไขมันมากให้ใช้ร่วมกับน้ำยาล้างจานก่อนถ้าหากใช้น้ำหมักชีวภาพจากมะกรูดหรือมะนาวจะยิ่งช่วยให้น้ำยาล้างจานที่ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                 1.7  ล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้  ช่วยให้กรอบขึ้น  และเก็บได้นานโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่ำน้ำ  100  ส่วน  แช่ไว้  45  นาที  หรือแช่ไว้ในน้ำหมักชีวภาพเข้มข้น  20  นาที  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง

                     1.8  ล้างห้องน้ำ  ถูพื้น  ช่วยขจัดคราบสกปรก  กำจัดกลิ่นเหม็น  ฆ่าเชื้อโรคโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  10  ส่วน  ราดทิ้งไว้  5 10  นาทีก่อนขัดถู

                     1.9  เช็ดกระจก  ล้างรถ  ช่วยขจัดคราบสกปรก  ใสสะอาด  ฝุ่นเกาะน้อยลงโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  10  ส่วน  ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดคราบสกปรกออกให้หมด  แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งจนใสสะอาด

                 1.10  ไล่แมลงวัน  มด  ยุง  แมลงสาบในบ้าน  ทำให้แมลงแสบตายและค่อย ๆลดจำนวนลง  อากาศดีขึ้น  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  10  ส่วน  ฉีดพ่นทุกห้อง  ทุกซอกมุมทั่วบ้าน

                     1.11  กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำหรือท่อระบายน้ำ  ช่วยลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพราดทุกวัน  500  มิลลิเมตร (ครึ่งลิตร)  นอกจากนี้ยังสามารถขจัดคราบหินปูนที่สะสมบนพื้นและผนังห้องน้ำได้อีกด้วย  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพเข้มข้นเทตรงรอยคราบทิ้งไว้ก่อนเช็ดถู

                     1.12  กำจัดและบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยทิ้ง  โดยนำน้ำหมักชีวภาพเทใส่ใสบ่อน้ำที่จะทำการบำบัดในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำที่จะทำการบำบัด  500  ส่วน

                 1.13  ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  และขจัดคราบสนิมได้อีกด้วย

                     1.14  ใช้ขัดทำความสะอาดเครื่องใช้เซรามิก  เครื่องเงิน  ทอง  อัญมณี  และเครื่องประดับต่าง ๆ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ส่วน  ต่อน้ำ  100 ส่วน

 

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร

               1.  ช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น  ทำให้ดินโปร่ง  ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์สารได้เร็วขึ้น  และลดการเสื่อมสภาพของดิน  เป็นปุ๋ยธรรมชาติได้ดีกว่าปุ๋ยเคมี  เพราะจุลินทรีย์จากการทำน้ำหมักชีวภาพจะลงสู่ดิน  ทำให้มีการย่อยอินทรีย์สารในดินได้ดีขึ้น  พืชจึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนได้มากขึ้น  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเกษตรได้ดี  และเป็นเกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี

                  2.  ช่วยป้องกันแมลงและโรคระบาดที่เป็นศัตรูพืช  พืชที่นิยมนำมาหมักเพื่อเป็นสารขับไล่แมลงศัตรูพืช  เช่น  สะเดา  สาบเสือ  ขิง  ข่า  หางไหล  ตะไคร้หอม  บอระเพ็ด  เป็นต้น  โดยการผสมน้ำหมักที่ได้จากพืชต่าง ๆ กับน้ำในอัตรา  น้ำหมัก  1  ส่วน  ต่อน้ำ  500  ส่วน  ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว  ควรเริ่มใช้หลังต้นพืชงอก  ก่อนที่แมลงจะมารบกวน  และควรทำในตอนเช้าหรือหลังจากฝนตกหนัก  และให้อย่างสม่ำเสมอนอกจากมีผลในการป้องกันแมลงและโรคระบาดที่เป็นศัตรูพืชแล้ว  ยังช่วยปรับสภาพให้พืชมีภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย

                  3.  ช่วยสร้างฮอร์โมนพืชและเร่งการเจริญเติบโตของพืช  โดยส่วนประกอบที่นิยมนำมาใช้  เช่น  น้ำมะพร้าวที่สามารถหาได้จากการคั้นกะทิ  หรือเปลือกสับปะรดจากร้านขายผลไม้  สำหรับฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของผลนั้นต้องฉีดพ่นให้ทั่วผล  มิเช่นนั้นจะทำให้ด้านที่ได้รับน้ำหมักฮอร์โมนจะโตมากกว่าปกติ  ทำให้ผลของพืชที่พ่นน้ำหมักฮอร์โมนจะโตมากกว่าปกติ  ทำให้ผลของพืชที่พ่นน้ำหมักฮอร์โมนมีรูปร่างผิดปกติ

                  4.  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดชิ้นส่วนพืชที่เหลือทิ้งทางการเกษตร  และยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีกด้วย  โดยการแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร  ปศุสัตว์  สิ่งแวดล้อม  และการบริโภค     กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด  ในน้ำหมักจากพืชพบ 0.05 - 0.49 % และน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 0.29 - 1.0%
               5.  ใช้ป้องกันน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  1  ลิตร  ต่อน้ำ  10  ลูกบาศก์เมตร  ใส่บ่อทุก  7  วัน  แล้วแต่สภาพน้ำและความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง  และช่วยลดการถ่ายน้ำบ่อย ๆ หรืออาจจะไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะโตเต็มที่

 

                  ดังนั้น  น้ำหมักชีวภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี  โดยการใช้วัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่น  ขยะสดจากตลาด  จากครัวเรือน  เศษวัสดุจากโรงงานแปรรูปอาหาร  โรงงานปลากระป๋อง  เศษปลาจากตลาด  หอยเชอรี่

                 น้ำหมักชีวภาพจะมีธาตุอาหารหลัก  อาหารรอง  จุลธาตุ  กรดอะมิโนและอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุดินที่ใช้ในการหมักซึ่งมีสูตรมาตรฐานชัดเจนขึ้นอยู่กับความสะดวกในการหาแหล่งที่เหมาะสม  นอกจากนั้นจะต้องเข้าใจในการจัดการพื้นฐาน  คือ  การใส่ธาตุอาหารหลัก  N-P-K  กับการจัดการธาตุอาหารรอง  และจุลธาตุ  รวมทั้งสมดุลของคุณสมบัติดินทั้งกายภาพและเคมีอย่างเหมาะสม  การผลิตใช้เองเกิดประโยชน์ในด้านลดต้นทุน  แต่ต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตในระยะยาว

 

สมบัติทั่วไปของน้ำหมักชีวภาพ


                  น้ำหมักชีวภาพ จะมีลักษณะเป็นสารละลายสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นของแอลกอฮอล์ผสมกลิ่นเปรี้ยวของกรดอินทรีย์เมื่อชิมดูจะมีรสเปรี้ยว

สมบัติทางเคมี 
     

คำสำคัญ (Tags): #น้ำหมักชีวภาพ
หมายเลขบันทึก: 290456เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 06:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านดูแล้วน่าจะมีประโยชน์มาก อยากขอสูตรเด็ดๆสำหรับปุ๋ยหมักชีวภาพสำหรับใส่ยางพาราเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำยาง เอาแบบที่คนอยู่ชนบทๆๆทำได้และมีวัตถุดิบนะครับ

OHOดีมากเลยนะค่ะ

พอดีกลุ่มของพวกเราก็ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์อยู่

ซึ่งก็มีเรื่องของปุ๋ยชีวะภาพเข้ามาเกี่ยวด้วยเหมือนกัน

ดีมากเลยค่ะ ขอนำข้อมูลไปทำโครงงานวิทยาศาสตร์ หน่อยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

น่าสนใจมากเลยค่ะ

ไม่ทราบว่ามีจำหน่ายหรือเปล่าคะ

อยากทราบรายละเอียด

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ 

 

อยากขอสูตรน้ำหมักชีวภาพสำหรับเลี้ยงโคนมเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมจังเลยคะ

ชอบน้ำหมักชีวภาพ  ตอนนี้ทำน้ำหมักจากผลไม้รสเปรี้ยว ไว้ทำน้ำยาซักล้างหลายชนิดเลยค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท